Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์ .... โดย doctorlawyer








Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์

British Medical Journal (BMJ) ได้ตีพิมพ์บทความการสำรวจการใช้socialmedia พบว่า 88%ของนักศึกษาแพทย์ และ 80%ของแพทย์ประจำบ้านยอมรับว่ามีการใช้Facebook อย่างไม่เหมาะสม (unprofessional) โดยไปล่วงล้ำหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย

มีรายงานว่าแพทย์ประจำห้องฉุกเฉินที่ Rhode Island ได้ถูกไล่ออกจากงานเพราะไปแชตเรื่องผู้ป่วยรายหนึ่งบนfacebookส่วนตัวของเธอแต่บังเอิญว่าfacebookที่เธอบอกว่าส่วนตัว(accountของเธอเอง)นั้นไม่ได้เป็นส่วนตัวจริงอย่างที่เธอเข้าใจ เพราะมีคนติดตามดูเธอ (Friend) มากมายแม้เธอจะกล่าวอ้างว่าไม่ได้ระบุชื่อผู้ป่วยแต่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยที่ได้รับการโพสต์นั้นมากพอที่จะสันนิษฐานได้ไม่ยากว่าเป็นใคร

สิ่งที่เธอทำผิดพลาด (โดยไม่ได้ตั้งใจ) ก็เหมือน ๆกับที่เกิดขึ้นกับแพทย์อีกหลายคนกระทำคือ การขาดความยั้งคิด ขาดประสบการณ์และขาดความระมัดระวังในการใช้งานแอพเหล่านี้ โดยลืมนึกไปว่าไม่มีความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ การโพสต์อะไรต่ออะไรลงไปผ่านแอพเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวและสูญเสียความไว้วางใจของผู้ป่วยเพราะมีโอกาสสูงมากที่ข้อความเหล่านี้จะถูกส่งต่อไม่รู้จบและไปลงเอยถึงสื่อสารมวลชนรวมทั้งนายจ้าง ผู้บังคับบัญชา

Social Medial Highway Code

ในต่างประเทศได้มีการสรุปกฎเหล็กที่แพทย์ต้องระมัดระวังในการใช้socialmediaที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของแพทย์ ดังนี้

(๑) ระมัดระวังในการโพสต์จำไว้ว่าการเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราส่งเข้าในโลกออนไลน์นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย

(๒)ตระหนักไว้เสมอว่าเรื่องส่วนตัวกับความเป็นวิชาชีพนั้นในหลายกรณีไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด

(๓) การให้คำแนะนำด้านการแพทย์ในโลกออนไลน์ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะโลกออนไลน์ที่เราคิดว่าเป็นส่วนตัวนั้นอาจกลายเป็นที่สาธารณะของคนอื่นที่คอยแอบดูอยู่เงียบ ๆ และอาจนำข้อความเราไปใช้อย่างไม่สมบูรณ์

(๔)เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่อ่อนไหวและอาจขัดต่อจริยธรรมทางการแพทย์

(๕)แม้ว่าแพทย์จะมีด้านหนึ่งที่เป็นมนุษย์ปุถุชนที่ต้องการแสดงออกเหมือนคนอื่นแต่ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามรักษาสถานะความเป็นมืออาชีพ (Professional)ไว้ด้วยเสมอดังนั้นการโพสต์สิ่งที่หมิ่นเหม่ต่อภาพพจน์ส่วนตัว เช่น ภาพอนาจารข้อความหยาบคาย ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

(๖)ความเป็นวิชาชีพทำให้ความคิดเห็นของเรามีน้ำหนักมากในโลกออนไลน์ดังนั้นต้องมีความรับผิดชอบที่เหมาะสมในการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ข้อความที่เราแสดงออกอาจถูกนำไปบิดเบือนได้โดยง่ายเพียงแค่การcopyและpasteเพียงบางเสี้ยวของข้อความทั้งหมดเพื่อไปใช้ในวัตถุประสงค์แอบแฝงของคนอื่น

(๗)ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นด้วยความสุภาพ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ให้ความเห็นอกเห็นใจเช่นเดียวกับในโลกความเป็นจริง

(๘)ระลึกไว้เสมอว่าบนโลกออนไลน์ที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมนั้นอาจมีคนอื่นเฝ้าดูเราอยู่ด้วยเสมอ

(๙) แพทย์อาวุโสที่มีประสบการณ์บนโลกออนไลน์มากกว่าแพทย์ใหม่ควรให้คำแนะนำแก่น้อง ๆ ร่วมวิชาชีพในการใช้ชีวิตบน Social media โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อผู้ป่วยหรือ สถาบันการศึกษาส่วนรวม

(๑๐)ผิดพลาดแล้วแก้ตัวใหม่ได้ โลกออนไลน์สำหรับผู้เข้ามาใหม่ ก็เหมือนโลกในความเป็นจริงที่ทุกคนต้องพบเจอทุกวัน เพื่อนใหม่ สังคมใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่ความผิดพลาดใหม่ ๆ จำไว้เป็นบทเรียนและแก้ตัวใหม่ และสนุกกับมัน!


คำแนะนำของ American College of Physicians และ BritishMedical Association

- คิดก่อนโพสต์

- ไม่จำเป็นอย่างที่สุด จงอย่า “Friend” กับผู้ป่วยของเรา

- หลีกเลี่ยงการติดต่อผู้ป่วยผ่านทางSocial media ยกเว้นมีเหตุจำเป็นหากจำเป็นต้องติดต่อกับผู้ป่วยผ่านโลกออนไลน์แพทย์ต้องสร้างระยะห่างที่เหมาะสมไว้เสมอ

- จำไว้ว่า ในโลกออนไลน์นั้นมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแยกแยะความคิดเห็นส่วนบุคคลกับความคิดเห็นในฐานะวิชาชีพออกจากกันอย่างเด็ดขาดดังนั้นต้องระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็น เพราะเราสวมหมวกกว่าหนึ่งใบอยู่ตลอด

- แพทย์หลายคนมักทำผิดพลาด ซึ่งเป็นการทำร้ายตัวเองทางอ้อมโดยทำการโพสต์ข้อมูลที่ปราศจากการกลั่นกรองความถูกต้องหรือปราศจากความรับผิดชอบ ซึ่งอาจย้อนกลับมาทำร้ายเราได้ในภายหลังอย่าลืมว่าข้อมูลที่เราโพสต์นั้นจะอยู่บนโลกออนไลน์ได้ตราบนานเท่านานโดยเฉพาะกรณีที่มีการส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าไปควบคุมแก้ไขความผิดพลาดในภายหลัง

-หากแพทย์ตัดสินใจแสดงตัวตนบนโลกออนไลน์อย่างเปิดเผยว่าตนเองมีอาชีพอะไรเชี่ยวชาญด้านไหนแล้ว แพทย์ก็ควรจะต้องตระหนักไว้เสมอว่า “ไม่ว่าเราจะทำอะไรลงไปในโลกออนไลน์การกระทำนั้นต้องไม่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของตัวเองในฐานะแพทย์” แม้ว่าเราอาจมีนามแฝงอื่นสำหรับกิจกรรมอื่นที่เราเข้าร่วม จำไว้เสมอว่า เรายังคงเป็นแพทย์ที่จำเป็นต้องมีความเป็นมืออาชีพมีความน่าเชื่อถือ ได้รับการเคารพและความไว้วางใจจากผู้ป่วย

- หากท่านเมา หรืออยู่ในอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เสียใจ แค้นเคืองหงุดหงิด อย่าไปยุ่งกับโลกออนไลน์ โดยเด็ดขาดมิฉะนั้นท่านอาจเสียใจในสิ่งกระทำลงไปในภายหลัง

- หากท่านอยากมี “Follower” “Friend” “Fans” มาก ๆท่านต้องมองว่าท่านมีดีอะไรให้คนติดตามท่านนอกเหนือจากความเป็นแพทย์มิฉะนั้นแล้วมีโอกาสสูงมากที่ท่านจะหลุดออกไปนอกกรอบจริยธรรมทางการแพทย์

- ควรตั้งค่าเพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัว (Privacysetting) ไว้อย่างแน่นหนา ทั้งนี้เพื่อปกป้อง อัตลักษณ์ความเป็นตัวตน (Identity)ของเราเองมิให้ถูกมิจฉาชีพนำไปใช้และสร้างความเสื่อมเสียแก่วงการแพทย์และตัวท่านเองได้แต่ต้องไม่ลืมว่าไม่มีระบบป้องกันใด ๆ ในโลกออนไลน์ที่ปลอดภัย 100 %

ท้ายที่สุดนี้ หลักการง่าย ๆที่ได้รับการรับรองอย่างไม่เป็นทางการจากหลายสำนัก คือ 

“เมื่อไรที่เริ่มลังเลว่าควรจะโพสต์ข้อความหรือรูปภาพเหล่านี้ดีหรือไม่นั่นแสดงว่าท่านไม่ควรโพสต์”

สวัสดีและขอให้มีความสุขกับโลกเสมือนจริง

ส่งโดย: doctorlawyer.


...................................

ลิงค์เรื่องที่เกี่ยวข้อง

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10




Create Date : 29 มิถุนายน 2557
Last Update : 7 กรกฎาคม 2560 13:50:55 น. 1 comments
Counter : 1869 Pageviews.  

 
การเล่นเฟสเดี๋ยวนี้ออกจะน่ากลัว หากปราศจากความระมัดระวังก็อาจจะเข้าคุกได้ แม้ว่าจะไม่เป็นความผิดในทุกกรณี แต่บางเรื่องมันก็เสี่ยงอยู่ไม่ใช่น้อย
.
1 ไม่ควรโพสเฟสกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อการค้า ยิ่งตอนนี้กำลังเป็นข่าวอยู่ด้วย บางทีจะมีพวกพริตตี้มาให้ถือป้ายแล้วถ่ายรูปด้วย มันอาจเข้าข่ายเป็นการโฆษณาอันเป็นการชักจูงให้คนอื่นมาดื่ม ซึ่งเป็นความผิดตาม พรบ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยคุณไม่รู้ตัว (มาตรา 32) โทษสูงสุด คุก 1 ปี ปรับ 5 แสน
.
2 ไม่ควรโพสเฟส ทวงหนี้ ระบุตัว เพราะกฎหมายเค้าห้ามทวงหนี้โดยเปิดเผยความเป็นลูกหนี้ให้ผู้อื่นรู้ (มาตรา 11 (3) พรบ การทวงถามหนี้) โทษสูงสุด คุก 1 ปี ปรับ 1 แสน
.
3 ไม่ควรโพสเฟสด่าคนอื่นระบุตัว เพราะการด่าคนอื่น อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นผู้อื่นด้วยการโฆษณา มีโทษปรับและจำคุก
.
4 ไม่ควรโพสรูปโป๊ หรือ live โชว์เต้า โชว์จิ๋ม หรือโชว์ใดๆ ส่อไปในทางเพศ เพราะอาจถือว่าเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอรืทีมีลักษณะลามกและประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ เป็นความผิดตาม พรบ คอม มาตรา 14(4) มีโทษสูงสุด คุก 5 ปี ปรับ 1 แสน
.
5 ไม่ควรโพสเฟสประจานคนอื่นระบุตัว อันนี้อาจเป็นความผิดได้หลายกฎหมายเลย เช่น หมิ่นประมาท ดูหมิ่น พรบ ทวงหนี้ ฯลฯ ซึ่งต้องดูรายละเอียดประกอบ
.
กฎหมายคอมพิวเตอร์มันเอาผิดคนเล่นเฟสได้อย่างน่ากลัวมาก คนเล่นเฟสต้องรู้กฎหมายไว้บ้าง ไม่งั้นอาจติดคุกโดยไม่ทันตั้งตัว....
.
เพจ สายตรงกฎหมาย ยึดมั่นความยุติธรรม
.
ขอบคุณเจ้าของภาพ ขอบคุณภาพจาก Breitbart

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1856306677729744&set=a.220933817933713.72570.100000512881979&type=3&theater


โดย: หมอหมู วันที่: 2 สิงหาคม 2560 เวลา:13:09:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]