Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข้อควระวังการใช้ Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ::: หมอแมว และ 1412 Cardiology





การระมัดระวัง การใช้ Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข

posted on 26 Jun 2014 09:46 by mor-maew  in MedicalStudy

https://mor-maew.exteen.com/20140626/social-media




การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข

สืบเนื่องจากกรณีฉาวที่ผ่านมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ผมต้องไปหาบทความข้อเขียนที่ทำไว้ประกอบการบรรยายเมื่อครึ่งปีที่แล้ว เอาออกมาปัดฝุ่นใหม่
ข้อความข้างล่างนี้ คือสิ่งที่รวบรวมมาจากแนวทางการใช้Social media สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และนิวซีแลนท์

บางส่วนอาจจะมีบริบทไม่ตรงกับประเทศไทย แต่ก็ควรระมัดระวังไว้เพราะดราม่าเกิดได้ทุกที่

****
ข้อควรรู้และพึงระวังในการใช้ social media ของบุคลากรทางการแพทย์
****

1. การสั่งการรักษาหรือการให้คำแนะนำในinternet
ต้องระวังแง่ ข้อมูลไม่เพียงพอ เพราะเรามักมีแต่ประวัติ ไม่มีการตรวจร่างกาย ไม่มีการตรวจพิเศษ
การอธิบายเป็นการพิมพ์ ทำได้สั้น กว่าการพูด การพิมพ์คุยกันมักจะได้ข้อความที่ขาดการมองเห็นหน้าตา เราไม่สามารถเห็นสีหน้าว่าเค้าเข้าใจหรืองง
นอกจากนี้ผู้ประกอบวิชาชีพอาจจะต้องรับผิดชอบในการให้คำแนะนำหรือการรักษา หากผลที่ได้ไม่ตรงตามความต้องการแม้ว่าเหตุนั้นจะเกิดจากการที่ให้ข้อมูลไม่ ครบ

2. ระวังการadd friendผู้ป่วย
ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย และมีความเสี่ยงที่จะละเมิดความเป็นส่วนตัวของอีกฝ่าย
ผู้ป่วย/แพทย์ เกิดความลำบากใจ เมื่อมีการขอadd friend หรือการขอร้องบางอย่าง
หมอบางคนขอaddผู้ป่วยเพราะหวังจะปรับการรักษาให้ดี ผู้ป่วยลำบากใจได้เพราะรู้สึกถูกบังคับ ,บางบ้านสามีหรือภรรยาหึงมาก ซวยอีก
ผู้ป่วยบางคนขอAddหมอ หมอก็อาจจะลำบากใจเพราะบางครั้งมีการถามปรึกษานอกเวลามากไป

ข้อมูลหลายอย่างสามารถค้นหากลับไปได้จากการadd friend เข้ามา คนไข้สามารถไปถึงบ้านได้ สามารถหาเบอร์โทรศัพท์ได้ (ในต่างประเทศมีกรณีคนไข้บุกไปบ้านหมอได้ด้วยการหาที่อยู่จากวงsocial network)

ถ้าคนไข้ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ในช่วงเวลาที่เราพักผ่อน(แพทย์บางรายถูก โทรตามตอนกลางดึกยันเช้า) กดส่งข้อความ ส่งเมล์มา การไม่ตอบมีผลต่อความสัมพันธ์ของคนไข้และแพทย์ โดยเฉพาะกรณีฉุกเฉิน การไม่ตอบหรือบางโปรแกรมมีระบุว่าอ่านแล้วไม่ตอบ หรือแม้แต่ตอบแล้วทางนั้นต้องการให้เราแก้ไขปัญหาให้ (เช่นให้เราต่อสายขอความช่วยเหลือให้เขา ) หากไม่สามารถช่วยเหลือได้ ก็สามารถเกิดปัญหาทางข้อกฎหมายตามมา

3. การเล่าเคสที่ระบุได้ถึงตัวตนของผู้ป่วย/ การใส่รูปภาพหรือวีดีโอ
ปกติทางการแพทย์จะมีการเอาเคสมาเล่าเพื่อการศึกษา แต่ต้องปิดบังตัวตนของผู้ป่วย
การปกปิดในระดับการเรียนการสอน มักจะใช้คำไม่ระบุตัวตนเช่น "ชายไทยคู่อายุ34ปี" "หญิงไทยโสดอายุ80ปี"หรือคาดตา ซึ่งเพียงพอในระดับการเรียนในโรงพยาบาล แต่การปกปิดนี้อาจจะไม่พอ
- ห้ามถ่ายรูปในรพ.แล้วติดคนไข้ เพราะบางครั้งคนไข้ไม่ต้องการให้คนอื่นทราบว่ามารพ.หรือป่วย
- ห้ามลงเอกสาร ฟิล์มรังสี ชื่อยา ของคนไข้แล้วระบุชื่อ หรือสิ่งที่ทำให้ระบุตัวตน
- ไม่ควรเล่าลักษณะของเคสที่เข้ามาและรักษา โดยเฉพาะเคสที่อาจจะเป็นข่าว
(พยาบาลต่างประเทศ ถูกไล่ออก เพราะในเมืองมีกรณีตำรวจสู้กับโจรจนตาย โจรบาดเจ็บ เธอช่วยรักษาโจรจนรอดและโพสท์บอกว่าเสียใจกับตำรวจ และด้วยจรรยาบรรณ ทุกคนก็ต้องรักษาโจรเช่นกันอย่างเท่าเทียม .. เหตุที่โดนไล่ออก เพราะตอนที่โพสท์มีข่าวแล้วว่ามีคดีนี้ และการระบุเหตุการณ์ทำให้ทุกคนรู้ว่าตำรวจที่ตายและคนร้ายคนนี้รักษาตัวที่ ใด เพราะถ้าเลื่อนสเตตัสลงไปล่างๆ จะมีสเตตัสที่บอกว่าเธอทำงานที่รพ.ไหน ถือเป็นการเปิดเผยความลับผู้ป่วย)

ทั้งนี้ในต่างประเทศมีการวิเคราะห์ว่ากรณีเปิดเผยความลับแบบไม่ตั้งใจ อาจจะมากถึง 17%ของเคสที่เล่าๆกัน

4. ปัญหาการระบุตัวตน – การอ่านผลเลือด การระบุตัวยา บางครั้งไม่ใช่ของคนที่เอามาถามเรา
อาจมีผลทางกฎหมายเพราะไปเปิดเผยความลับผู้ป่วยให้คนอื่น

เคยกรณีคนมาถามผลเลือดธาลัสซีเมียบอกว่าเป็นของตนเอง ดูไม่มีอะไร ตอบไปเสร็จ อีกสักพักมีอีกคนมาถามเหมือนกัน ( ถามย้อนกลับไปได้ความว่ามีคนอ้างว่าป่วยน่าสงสาร ... หลายคนเอาไปโพสท์ในpantipห้องสวนลุมให้ช่วยอ่านผลเลือด หลายคนอ้างว่าเป็นผลเลือดตนเอง จากนั้นเมื่อมีคนตอบ ก็เอาไปด่าเจ้าของผลเลือดว่าโกหกแล้วอ้างชื่อหมอ)

การระบุตัวยา – มักจะมาด้วยการถามชื่อยา บ้างว่ากินแล้วแพ้แต่หมอ-เภสัชจ่ายยามาไม่บอกชื่อ ฯลฯ บางครั้งเป็นยากลุ่มจิตเวชหรือARV ... พอถามจะได้ความว่าเป็นยาของคนใกล้ตัว ซึ่งสงสัยว่าป่วยเป็นโรคอะไรเลยอยากรู้

5. การประพฤติตัวของแพทย์ในพื้นที่ส่วนตัวสาธารณะ – กินเหล้า สูบบุหรี่ โพสท์ภาพแปลกๆ การjoin group
- กรณีตัวอย่างเช่นเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินในอังกฤษ โดนพักงานเพราะการทำท่า Planking ในพื้นที่โรงพยาบาลGreat Western Hospital คนภายนอกเห็นแล้วชอบมีเยอะ แต่ที่ไม่ชอบก็มีเพราะถือว่าไม่น่าดู
- การดื่มเหล้าสูบบุหรี่ แม้จะทำนอกเวลางาน แต่บางครั้งคนไข้เห็นสเตตัสแล้วมองว่าไม่เหมาะสม (เช่นหมอกินเหล้าสังสรรค์เมื่อคืน คนไข้กลัวว่าหมอเมาแฮงก์มาทำงานก็ร้องเรียนได้)
- การupdate status ในขณะทำงาน (บางครั้งมีคนไข้แต่รอlab เลยว่าง แต่ก็อาจเสี่ยงกับความไม่เหมาะสม)
- เวลาjoinกลุ่มfacebook บางครั้งมันจะโชว์ในไทม์ไลน์หรือโผล่ที่แถบข้าง คนไข้มาเห็นอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือหรือส่งผลด้านจริยธรรมได้ เช่นเกิดหมอไปกดถูกใจเพจ18+ ยกกระดาน)
- แพทย์โพสท์ภาพทางการแพทย์ในเวลาอาหาร (เช่นชันสูตรศพที่มีหนอนไต่ตอน11.45น.)

6. การเขียนบ่นผู้ป่วย
คือถ้าหากเขียนว่าตรงๆก็เป็นเรื่องอยู่แล้ว ประเด็นคือบางครั้งบุคลากรทางการแพทย์คนนั้นเขียนไม่ระบุ แต่เกิดคนป่วยหรือญาติแอดเฟรนท์อยู่ แล้วมากดดู อ่านเหตุการณ์แล้วจำได้ก็สามารถเกิดปัญหาได้
การเขียนบ่นเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะทางการแพทย์ เช่นวิตารณ์คนที่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ วิจารณ์คนที่ตับแข็งแต่ยังกินเหล้า วิจารณ์การใช้ยาเสพติดไม่ว่าจะแบบหนักหรือเบา วิจารณ์การทำผิดกฎจราจร ต้องระวังการวิจารณ์ผลที่นอกเหนือจากสุขภาพ เพราะอาจจะถูกตำหนิหรือด่าจากคนที่สนับสนุนหรือทำพฤติกรรมดังกล่าวได้

ในเว็บเฉพาะแพทย์พยาบาล คนอาจจะเหมารวมว่าคนที่ออกความเห็นเป็นแพทย์พยาบาล
และบางครั้งไม่ใช่การบ่น แต่เป็นการdiscuss ขอความเห็นทางการแพทย์ แต่ความเข้าใจผิดเกิดได้ง่ายหากคนอ่านไม่ได้ทำงานด้านสุขภาพ (เพราะBiasในความที่มีโอกาสเป็นผู้ป่วย)

7. การถกเคสออนไลน์ – บางกรณี อาจจะต้องทำในที่ลับ ในเว็บที่มีการใช้password

ในหลายพื้นที่มีการใช้ไลน์กลุ่มและfacebookกลุ่มเพื่อให้เจ้าหน้าที่ในที่ ห่างไกลขอความเห็นจากแพทย์ ก็ต้องระวังเพราะอาจจะมีการบอกข้อมูลที่จำเป็นในการวินิจฉัยที่อาจส่งผลต่อ การรู้ตัวผู้ป่วย
หากคนในกลุ่มมีมาก มีความเสี่ยงที่จะเกิดมือมืดแคปหน้าจอเอาข้อมูลออกไปได้
และแม้แต่การคุยถกเถียงกันทางวิชาการ ก็ควรระมัดระวังคำพูดที่ใช้ ภาษาที่ใช้ เพราะมีความเสี่ยงที่เราอาจถูกคนตัดประโยคบางส่วนที่สุ่มเสี่ยงเอาออกไปขยาย ผลให้รุนแรงได้
พื้นที่ที่เหมาะสมในการใช้คุยทางการแพทย์ ต้องไม่สามารถเจาะได้ด้วยกูเกิล เพราะจะทำให้เหลือcacheอยู่แม้ลบไปแล้ว และมีโอกาสที่คนนอกจะเข้ามาอ่านได้ด้วยการกดค้นหาจากกูเกิล

และบางคนมองว่ากูเกิลcache เก็บได้ไม่นาน พอเรื่องเงียบสักปีนึงก็หายไป แต่ถ้าเป็นArchive.orgก็ย้อนได้ตลอดกาล ย้อนได้หลายปี

8. พื้นที่social network คือพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัว
บุคลากรทางการแพทย์หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการตั้งค่าให้เห็นได้เฉพาะเพื่อนและห้ามแชร์จะถือเป็นที่ส่วนตัว
เกินครึ่งหนึ่งของเรื่องที่เกิดขึ้นหรือเป็นเรื่องเป็นราวในต่างประเทศ เกิดจากคนที่แอดเฟรนท์แค่ไม่กี่ร้อยคน เป็นเพื่อนร่วมงาน
แต่เพื่อนร่วมงานแคปหน้าจอเอาไปประจาน
แต่เพื่อนร่วมงานแชร์เข้าเพจใหญ่
หรือเพื่อนร่วมงานเขียนถึงแล้วแชร์เรื่องออกไป
(มีกรณีพยาบาลเอาอาหารคนไข้มาเล่นfood fightกัน จากนั้นถ่ายแชร์ในกลุ่ม มาเป็นเรื่องเมื่อมีคนนอกมาเห็นแล้วแชร์ไปพร้อมเชื่อมโยงว่าแผนกนี้มีอัตรา การติดเชื้อสูง ผลคือพยาบาลเจอไล่ออกและพักงาน)

9. ระวังในการให้ความรู้แปลกๆหรือแชร์เรื่องแปลกๆ
การแชร์เรื่องแปลกๆหรือความรู้สุขภาพแปลกๆ มีความเสี่ยงที่จะทำให้ถูกมองว่าเราเห็นด้วยกับสิ่งนั้น
ในที่นี้รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ขายเครื่องสำอาง วิตามิน ยาลดความอ้วน ในinternetด้วย

10. เมื่อให้สัมภาษณ์ หรือแสดงความเห็นในสื่อใดๆ ควรเข้าไปเช็คด้วย
ถ้อยคำบางอย่าง รูปประกอบบางชนิด ผิดกฎข้อบังคับทางวิชาชีพ(ที่เจอบ่อยคือผิดข้อการโฆษณา) บางครั้งเราไม่รู้เรื่องแต่คนเขียนบทความพาเราซวย

11. การเขียนบทความใดๆลงอินเตอร์เนท ควรลงในที่ที่เราคุยเพื่อแก้ไข หรือเข้าไปแก้ได้
ความรู้บางอย่างตกยุคได้ในเวลา3-5ปี หากเราแก้ไขไม่ได้ มีความเสี่ยงที่บทความจะอยู่เป็นสิบปี คนมาอ่านแล้วนำไปใช้เกิดผลเสีย อาจร้องเรียนเราได้

12. รูปประกอบ ระวังลิขสิทธิ์
ระวังเรื่องภาพ เพราะภาพบางอย่างมีลิขสิทธิ์ เราอาจจะโดนเรียกเก็บเงินย้อนหลังได้
หลายภาพที่เอาไปลงblog หรือบทความต่างประเทศ ต้องจ่ายเงินให้เว็บขายภาพ
การไปก็อปภาพมาเราจะโดนข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้
เว็บที่ขายภาพในinternet ส่วนใหญ่จะเขียนว่า Royalty free stock photo (มีคำว่าFreeแต่ไม่ได้Free)
13. หมอแมวขอตัดออก อะฮิ อะฮิ ไม่ตัดเดี๋ยวดราม่า

14. ระวังเรื่องการขัดแย้งกับบุคลากรทางการแพทย์ท่านอื่นเรื่องการรักษาในinternet
เพราะปัจจัยที่คุมไม่ได้หลายอย่างข้างต้น อาจจะทำให้การdiscuss case กลายเป็นกรณีหมิ่นประมาทได้
บ่อยครั้งมีการเอาเคสมาถาม บ้างก็ถามว่าหมอที่รักษารักษาถูกไหม
พึงระวังว่าการเกิดข้อพิพาทระหว่างหมอกับคนไข้ แปลว่าคุยกันแล้วข้อมูลความเห็ฯไม่ตรงกัน ข้อมูลที่เราได้มาย่อมไม่ตรงกับอีกฝั่ง
นอกจากนี้ พอเราพิมพ์ความเห็นลงsocial network ข้อความนั้นมันจะคงอยู่ต่อไป
ต่อมาแม้เราทราบข้อมูลเพิ่มเติม เขียนแก้ไข แต่ก็อาจถูกแคปหน้าจอนำไปอ้างอิงจนเกิดข้อพิพาทได้

15. มีผลกับการสมัครงานและการสมัครเรียนต่อได้(บ้าง)
ได้ข่าวว่าบางที่อาจจะนำมาใช้ประกอบการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน

16. ปัญหาระหว่างสหวิชาชีพ ความเห็นไม่ตรงกัน นโยบายที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน กรณีความขัดแย้งในที่ทำงาน การเอาข้อผิดพลาดของเพื่อนร่วมงานมาประจาน
เช่น
- การเอารูปลายมือผู้ร่วมงานมาวิจารณ์
- การตำหนิเพื่อนร่วมงานเรื่องข้อผิดพลาดในการทำงาน
- เมื่อมีดราม่าวิชาชีพแล้วตอบโต้ด้วยถ้อยคำหยาบคาย
คือบางอย่างทำในที่ลับ ทำในองค์กรไม่เป็นไร แต่พอออกมาข้างนอกมันทำให้ภาพลักษณ์เสียเพราะบางครั้งคนนอกอ่านไม่เข้าใจ
คนที่ทำผิดก็ผิดอยู่เดิม
แต่คนที่นำเรื่องออกมาไม่ว่าด้วยหวังให้เกิดการปรับปรุงหรือว่าหวังบ่อนทำลาย ก็อาจมีความผิดได้เหมือนกัน

17. ระวังเรื่องการโฆษณา
การโฆษณาสินค้าบางอย่างโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การใส่ชื่อตนเอง + สถาบัน ลงไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของสถาบันนั้นๆได้
นอกจากนี้ต้องระวังการโฆษณาสินค้าที่เป็นโทษต่อสุขภาพ
รวมถึงการโฆษณาสินค้าอาหารเสริมหรือเครื่องมือที่ไม่ได้รับรองโดยโลกวิทยาศาสตร์

และระวังการให้สัมภาษณ์ข่าวหรือบทความ เพราะหากคนใส่ภาพประกอบใส่เครื่องหมายสถานประกอบการที่เป็นเอกชน เราก็อาจผิดเรื่องการโฆษณาได้

18. สำหรับผู้ดูแลเพจหรือชื่อซึ่งเป็นของหน่วยงานทางสาธารณสุข ควรระวังการให้ความเห็นในฐานะหน่วยงาน ไม่ควรใส่เรื่องส่วนตัวหรือความเห็นส่วนตัวลงไป

19. วิธีที่ดีที่สุด หากจะเล่นsocial network บุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรระบุอาชีพ หรือสถานที่ทำงานที่จะบ่งบอกว่าตนเป็นหมอ ... หากจะออกความเห็นทางการแพทย์บ้าง ก็เลี่ยงไปใช้accountที่ไม่ใช่ส่วนตัวที่มีชื่อจริงของตน
แม้การใช้ชื่อว่าเป็นแมว ยาม เกาลัด เป็ด มิวมิว หมา ปลากระเบน หมู ไม่ได้ช่วยอะไรมากหากผิดระเบียบข้อบังคับ แต่อย่างน้อยลดดราม่าที่ไร้สาระหรือลดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นได้ ...

ปล. ข้อเขียนตัดมาจากบทการบรรยายเมื่อ6เดือนก่อน แก้ไข 23มิย.57
ปอ. คำเตือน ยาว 5 หน้าA4
ปฮ. สงสัยจะเตือนช้าไป



******************************************

1412 Cardiology
8 มกราคม เวลา 16:45 น. ·

วิธีเล่น social network สำหรับแพทย์และพยาบาล

1. อย่าโพสท์ระบายความไม่พอใจจากการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว หรือด่าคน ด่าสถาบัน ด่าองค์กร ลงใน fb ig line นอกจากไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาแล้ว มีแต่ผลเสียต่อคุณ น้องๆพี่จำไว้ เรื่องนี้สำคัญมาก ถ้าทนไม่ไหวบันดาลโทสะมือมันสั่นให้ตั้ง only me เอาไว้ก่อน ผ่านไป 1 สัปดาห์ถ้ายังเห็นว่าสมควรโพสท์ ค่อยปลด only me ออก

2. อย่าใช้คำว่า "กูไม่แคร์" ไม่จริงหรอกครับ ตราบใดที่คุณยังอยู่ในสังคม มีคนรอบตัวคุณทั้งคนรักและคนในครอบครัว ยิ่งคุณเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีตำแหน่งหน้าที่การงาน ยิ่งต้องแคร์

3. ห้ามโพสท์อะไรก็ตามที่เป็นการเปิดเผยตัวตนและข้อมูลของผู้ป่วยลงใน social network (HIPAA violation)

4. อย่าโพสท์ข้อมูลส่วนตัวของคุณ​โดยไม่จำเป็นลงใน social network แม้จะตั้ง privacy เอาไว้แล้วก็ตาม

5. หลีกเลี่ยงการทะเลาะกันใน social network ให้ หยุด อดทนและวางเฉย ถ้าจะเคลียร์ให้ทำนอก social network อย่างมีสติ การตอบโต้มีแต่สร้างความบันเทิงให้กับผู้พบเห็น จำไว้ว่าคนนอกชอบดราม่าเสมอ ยิ่งทะเลาะกันยิ่งดี แต่ไม่มีอะไรดีกับตัวคุณเลย

6. ศึกษากฎหมายเรื่อง พรบ คอม อย่างละเอียด อะไรที่ผิดกฎหมายห้ามทำ การโพสท์ การแชร์ ทำง่าย แต่คุณต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่โพสท์ทั้งหมดในแง่ของกฎหมาย

7. ไม่มีคำว่า "ส่วนตัว" ใน social network แม้คุณ​จะตั้ง privacy หรือ โพสท์ในกรุ๊ปไลน์ส่วนตัว จำไว้ ทุกอย่างสามารถถูกแคปและแคชไว้ได้ทั้งหมด

8. ถ้ายังไม่ได้ทำ ให้กลับไปทำ แล้วมาแล้วไป แต่ข้อมูลทุกอย่างใน fb ควรตั้ง privacy ถ้าตั้ง public นั่นคือกลางสี่แยก ไม่ว่าใครก็เห็นได้หมดแค่กดเข้ามาใน account ของคุณ

9. เดี๋ยวนี้คนไข้มาหาหมอเค้า google นะครับ ผมไม่ได้พูดเล่น จะสมัครเรียนหรือสมัครงาน แค่คลิ๊กเดียว เห็นทุกอย่างของคุณหมด และหลังปี 2020 เราจะเข้าสู่ AI เต็มรูปแบบ ทุกอย่างที่คุณเคยโพสท์เอาไว้บน social network AI จะเห็นทั้งหมด

เตือนในฐานะรุ่นพี่ เตือนในฐานะแอดมินเพจที่เห็นอะไรมามากทั้งหน้าไมค์หลังไมค์ เตือนในฐานะคนที่ใช้ social network มานานที่สุดคนนึงครับ

1412

https://www.facebook.com/JarvisChaisiriLancelotWipat1412/posts/1041115999428828?__tn__=H-R

******************************************

ลิงค์เรื่องที่เกี่ยวข้อง

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

ข้อแนะนำวิธีตั้งกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-06-2008&group=26&gblog=7

ชี้แจงเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เนต

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-02-2008&group=26&gblog=8

มาทำบุญด้วยการตอบกระทู้ .... เป็น คำแนะนำเบื้องต้น ไม่ได้วินิจฉัยโรค ....

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-09-2009&group=26&gblog=9

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

ข้อควระวังการใช้ Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ::: หมอแมว และ 1412 Cardiology

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

แพทยสภาเตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

ฝากเตือนแพทย์ เกี่ยวกับ การรับปรึกษา วินิจฉัย ผ่านแอพ ผ่านเวบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-09-2016&group=26&gblog=11

หมอไม่ควรไปตอบปัญหาทางเนตจริงหรือ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-11-2009&group=26&gblog=10

 




Create Date : 28 มิถุนายน 2557
Last Update : 16 มกราคม 2562 15:13:24 น. 1 comments
Counter : 3035 Pageviews.  

 
1412 Cardiology
8 มกราคม เวลา 16:45 น. ·

วิธีเล่น social network สำหรับแพทย์และพยาบาล

1. อย่าโพสท์ระบายความไม่พอใจจากการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว หรือด่าคน ด่าสถาบัน ด่าองค์กร ลงใน fb ig line นอกจากไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาแล้ว มีแต่ผลเสียต่อคุณ น้องๆพี่จำไว้ เรื่องนี้สำคัญมาก ถ้าทนไม่ไหวบันดาลโทสะมือมันสั่นให้ตั้ง only me เอาไว้ก่อน ผ่านไป 1 สัปดาห์ถ้ายังเห็นว่าสมควรโพสท์ ค่อยปลด only me ออก

2. อย่าใช้คำว่า "กูไม่แคร์" ไม่จริงหรอกครับ ตราบใดที่คุณยังอยู่ในสังคม มีคนรอบตัวคุณทั้งคนรักและคนในครอบครัว ยิ่งคุณเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีตำแหน่งหน้าที่การงาน ยิ่งต้องแคร์

3. ห้ามโพสท์อะไรก็ตามที่เป็นการเปิดเผยตัวตนและข้อมูลของผู้ป่วยลงใน social network (HIPAA violation)

4. อย่าโพสท์ข้อมูลส่วนตัวของคุณ​โดยไม่จำเป็นลงใน social network แม้จะตั้ง privacy เอาไว้แล้วก็ตาม

5. หลีกเลี่ยงการทะเลาะกันใน social network ให้ หยุด อดทนและวางเฉย ถ้าจะเคลียร์ให้ทำนอก social network อย่างมีสติ การตอบโต้มีแต่สร้างความบันเทิงให้กับผู้พบเห็น จำไว้ว่าคนนอกชอบดราม่าเสมอ ยิ่งทะเลาะกันยิ่งดี แต่ไม่มีอะไรดีกับตัวคุณเลย

6. ศึกษากฎหมายเรื่อง พรบ คอม อย่างละเอียด อะไรที่ผิดกฎหมายห้ามทำ การโพสท์ การแชร์ ทำง่าย แต่คุณต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่โพสท์ทั้งหมดในแง่ของกฎหมาย

7. ไม่มีคำว่า "ส่วนตัว" ใน social network แม้คุณ​จะตั้ง privacy หรือ โพสท์ในกรุ๊ปไลน์ส่วนตัว จำไว้ ทุกอย่างสามารถถูกแคปและแคชไว้ได้ทั้งหมด

8. ถ้ายังไม่ได้ทำ ให้กลับไปทำ แล้วมาแล้วไป แต่ข้อมูลทุกอย่างใน fb ควรตั้ง privacy ถ้าตั้ง public นั่นคือกลางสี่แยก ไม่ว่าใครก็เห็นได้หมดแค่กดเข้ามาใน account ของคุณ

9. เดี๋ยวนี้คนไข้มาหาหมอเค้า google นะครับ ผมไม่ได้พูดเล่น จะสมัครเรียนหรือสมัครงาน แค่คลิ๊กเดียว เห็นทุกอย่างของคุณหมด และหลังปี 2020 เราจะเข้าสู่ AI เต็มรูปแบบ ทุกอย่างที่คุณเคยโพสท์เอาไว้บน social network AI จะเห็นทั้งหมด

เตือนในฐานะรุ่นพี่ เตือนในฐานะแอดมินเพจที่เห็นอะไรมามากทั้งหน้าไมค์หลังไมค์ เตือนในฐานะคนที่ใช้ social network มานานที่สุดคนนึงครับ

1412

https://www.facebook.com/JarvisChaisiriLancelotWipat1412/posts/1041115999428828?__tn__=H-R


โดย: หมอหมู วันที่: 16 มกราคม 2562 เวลา:15:08:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]