Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
29 ธันวาคม 2564
 
All Blogs
 
Ladakh 2019 - ไปร่วมกลุ่มเก็บเกี่ยวฯ ที่หมู่บ้าน Saboo




Buckwheat เป็นหนึ่งในพืชที่เราไม่ค่อยคุ้นสักเท่าไหร่ว่ามันนำไปใช้แปรรูปเป็น
อาหารประเภทใดบ้าง -- ตามประสาคนไม่ชอบแป้ง ทราบแค่ว่ามันถูกปลูกในพื้นที่
ราบสูงอย่างลาดักได้ แล้วก็ในช่วงเวลาที่เราอยู่ที่ที่นั่น ก็มีการจัดงานโปรโมทผล
ผลิตและการแปรรูปที่มาจากธัญพืชชนิดนี้ ในชื่อ Buckwheat Festival ซึ่งได้เห็น
จากใบประกาศตามจุดต่าง ๆ ทั่วไป ของกลุ่ม NGO ลาดัก-ญี่ปุ่น : Juley Ladakh  


ถึงเราจะยังป้วนเปี้ยนอยู่ในภูมิภาคนี้อยู่ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ไปดูการจัดงานดังกล่าวตาม
คำชวนของเพื่อนที่เป็นอาสาสมัครชาวต่างชาติส่งข่าวมาให้ล่วงหน้าก่อนที่เราจะวาง
แผนออกไปอยู่นอกเลห์เป็นที่เรียบร้อย 

จนถึงเวลาที่ใกล้จะโบกมือลาลาดักสักที เราตอบรับคำชวนอีกครั้งกับการเดินทางไป
ร่วมกิจกรรมเก็บเกี่ยวบัควีต ที่หมู่บ้านใกล้เลห์อย่าง Saboo คงป็นประสบการณ์เล็ก ๆ
ที่น่าสนุกดีเหมือนกัน จากที่ได้ยินคำร่ำลือถึงธรรมเนียมท้องถิ่นระหว่างการทำงานใน
นาจะมีการร้องเพลงระหว่างเก็บเกี่ยว ล้อมลงพูดคุยข้างกองฟาง รวมถึงเสิร์ฟ Chaang
ให้ได้จิบ 

117 


เมื่อถึงเวลาตามนัดหมาย กลุ่มคนที่จะอาสาไปร่วมงานนี้และเราแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
เพื่อแยกกันนั่งรถรับจ้างไปยังหมู่บ้าน Saboo หารกันแล้วก็จ่ายกันห้าสิบรูปี ที่นี่อยู่ห่าง
จากเลห์ไปแค่ 8 กิโลเมตร และเดินลัดไปยังที่ตั้งของบ้านเล็ก ๆ หลังหนึ่งที่เข้าร่วม
โครงการปลูกบัควีตที่อยู่ภายใต้การดูแลของ Juley Ladakh  ที่ในปีนี้ (2019) ได้เริ่ม
ทำการทดลองเพาะปลูกเพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลครั้งแรก บนสภาพพื้นที่ที่ต่างกันใน
เรื่อง โดยมีจำนวน 5 หมู่บ้านที่เข้าร่วมคือ Saboo, Sakti, Shey, Shara และ Gangles
อาสาสมัครที่เข้ามาทำหน้าที่นี้จะมีหน้าที่จดข้อมูลรายละเอียดกัน ตั้งแต่ช่วงหว่านเมล็ด
พันธุ์และเก็บเกี่ยว เพื่อวิเคราะห์การใช้น้ำ คุณภาพดิน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ฯลฯ


บ้านที่เข้าร่วมโครงการนี้ไม่รู้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ จำได้แค่ว่าที่หมู่บ้านนี้มีอาสาสมัครที่
มาจากบราซิลหนึ่งคนที่ประจำอยู่มานานถึงสามเดือนแล้ว กลุ่มที่มาสมทบเพื่อร่วมด้วย
ช่วยกันภายหลังนี้ก็คละกันไปกับคนต่างชาติและจากองค์กรอื่นในเลห์  พวกขาจรอย่าง
เราก็มีหลงมาเหมือนกันอีกหนึ่ง  นับ ๆ ไปมีกันทั้งหมด 14 ราย บราซิล อเมริกา อินเดีย
ออสเตรเลีย อังกฤษ ญี่ปุ่น และไทย .... มาเกือบครบทุกทวีป ยกเว้นแอฟริกา 

หลังทำความรู้จักโดยการล้อมวงดื่มชา กินจาปาตี ปาดแยมแอพริคอต รองท้องและเอา
สัมภาระไปเก็บรวม ๆ กันในห้อง พวกเราก็ออกมายืนรอที่หน้าแปลงสาธิตที่มีช่อดอกบัควีต
ออกดอกสะพรั่งพร้อมเก็บเกี่ยว มันดูเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่ประหลาดดีในสายตาของเราจาก
ที่คิดเอาไว้คงจะมีแปลงเกษตรที่เต็มไปด้วยต้นบัควีตล้วน ๆ ใช่มั้ยล่ะ  แต่ว่าท่ามกลางดง
ธัญพืชนี้กลับมาพืชชนิดอื่นขึ้นแทรกปะปนเต็มไปหมด ทั้งดาวเรือง ดาวกระจาย หญ้า
และต้นอื่น ๆ ตามแต่ที่จะงอกแทรกไหว 



คุณซการ์มา ผู้เป็นแกนนำหลักของโครงการฯ เข้ามากล่าวแนะนำตัวเองให้ฟังโดยคร่าว
เนื่องจากเหล่าผู้มาช่วงเก็บเกี่ยวนี้ก็มีบางคนที่เป็นหน้าใหม่และหน้าเก่าปน ๆ กัน จากนั้น
ก็สาธิตการดึงต้นบัควีตให้ดู 

"ทุกคนแยกออกใช่มั้ย ต้นไหนหญ้า ต้นไหนบัควีต" 

เขาตรงไปยังพืชที่ออกช่อดอกสีชมพูก่ำ ๆ และกล่าวว่าหน้าตาแบบนี้แหละ บัควีต
เมล็ดของมันจะอยู่ข้างในดอก พร้อมคว้าจับที่โคนแล้วดึงเด็ดขึ้นมาอย่างง่ายดาย

"เรามีปัญหานิดหน่อยกับหญ้าและต้นอื่น ๆ ที่ขึ้นแทรก ดังนั้นใครจะถอนหญ้า
ก็ถอนหรือใครจะเก็บแต่บัควีต ก็ทำแยกกันไปเลย"  





พื้นที่แปลงสาธิตนี้ก็ไม่ได้กว้างมหาศาลเท่าไหร่ คงช่วยกันไม่กี่ชั่วโมงก็เก็บกันได้จน
แปลงนาโล่งโกร๋น  พี่เดวิด โปรแกรมเมอร์ชาวออสซี่ ผู้รักกิจกรรมทำสวนและงานอาสา
คงไม่มีใครอินได้ถึงขนาดนี้เท่าแก  ได้พกเอาถุงมือสำหรับใส่ทำสวนและเคียวส่วนตัวที่
ซื้อหามาจากตลาดโมติในเลห์ นั่งเกี่ยวเก็บบัควีตไปคุยไปอย่างความสนุกสนาน 
นี่ยังไม่รู้เลยว่าเขาสามารถชักชวน อาดี้ เด็กหนุ่มจากดารัมซาลาที่ลองขึ้นมาเที่ยวไกล
ถึงลาดัก มาลองทำอะไรแบบได้ยังไง  สำหรับอาดี้ เขาเองก็มองว่านี่เป็นประสบการณ์ที่
แปลกดีเหมือนกัน...ก็คงเหมือนกับเราที่คิดว่าพอเอากลับไปเล่าให้ใครฟังถึงทริปเที่ยว
ลาดักที่คนชอบร่ำลือถึงความน่าตื่นเต้น ว่ามีอยู่วันนึงได้ลองไปช่วยเขาลงแขกเก็บเกี่ยว
ต้นบัควีคที่หมู่บ้านนอกเมือง...ฟังดูแล้วใครมันจะไปสนใจกัน 

คนหลายคนอาจคุยแลกเปลี่ยนกันเรื่อยไป  ส่วนอีกกลุ่มที่เป็นเจ้าบ้านและชาวต่างชาติที่
คุ้นเคยกับวัฒนธรรมลาดัก พากันร้องเพลงโต้ตอบกันระหว่างนั้น มันเป็นการขึ้นต้นเสียงนำ
และมีผู้ร้องรับตาม เหมือน echo ดูเหมือนว่าการทำสวนนี้ไม่มีความเงียบมาแทรกได้เลย

นอกเหนือไปจากหญ้า บางครั้งก็เจอต้นตำแย ผักกาดเขียวน้อย แต่มีครั้งนึงที่บังเอิญมี
ใครคนหนึ่งดึงถอนหัวไชเท้าป้อม ๆ ได้หนึ่งหัว  "ยะฮู้!  เย็นนี้มีอาหารแล้ว" 

และบางครั้งเราก็อดกลั้นขำไม่ได้ เมื่อได้ยินเสียงเรียกที่ดังจากสาวบราซิลอาสาสมัคร
ที่มาอยู่กับครอบครัวนี้  กำลังทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านร่วมที่ดีในการอำนวยความสะดวกกับ
แขกเหรื่อที่มาช่วยกันเก็บเกี่ยวผลผลิต 

"น้ำมาแล้ว  มีใครเอาน้ำมั้ย?" 

พอหันไปตามทิศทางของเสียงก็พบว่ามันไม่ใช่น้ำที่เอามาบรรจุถังหรือคูลเลอร์เพื่อให้
ได้ไปรองใส่กระบอกน้ำดื่มกัน แต่เป็นน้ำที่พุ่งออกมาจากสายยางที่หน้าตามันคล้ายกับ
สายยางดับเพลิง และน้ำที่ว่านี้เขาว่ามันมาจากแหล่งน้ำใต้ดิน ทีแรกก็ลังเลนะว่าอาจเป็น
มุขตลกที่หยอกกัน แต่ก็มีคนไปรองน้ำมาดื่มกันจริง ๆ ซึ่งเราก็ต้องตามน้ำไป~ดื่มได้ก็ดื่ม
ดื่มไม่ได้ก็ไม่ต้องดื่ม

ผ่านไปสักพัก ดวงอาทิตย์เริ่มย้ายมาอยู่เกือบกลางหัวก็คงต้องถึงเวลานั่งพักหลบแดดกัน
ชั่วครู่ หลังเจ้าของบ้านเรียกให้เข้าไปพักดื่มชาในที่ร่ม ๆ   "ชาอะไรกัน ทำไมเป็นชา?"

หนึ่งในกลุ่มคนลงงานอาสาฯ แกล้งทำเป็นโวยวายเสียงดัง  

"ไม่เอาชา เราอยากได้ชาง"  ช่ายยย

"ไม่มีชาง พวกเราก็จะไม่ทำต่อ"

"แบบนี้ต้องสไตรค์"


อันที่จริง พวกเราก็แกล้งโอยครวญไปงั้น มีเสียงกระซิบกระซาบบอกถึงเหตุผลให้ได้รู้  
"คนบ้านนี้ พวกเขาแอนตี้แอลกอฮอล์"  เพื่อจะได้เลิกหวังกับสิ่งที่จะนำมาเสิร์ฟต่อ
จากนี้ ที่ยังไงมันจะไม่มีคิวของ'ชาง'แน่นอน!    

112



กิ่งบัควีตที่มีช่อดอกบนปลายยอด ถูกทยอยนำมาวางแผ่บนผ้าใบที่เตรียมไว้สำหรับตาก
เป็นการชั่วคราว กรรมวิธีต่อจากนี้เราไม่รู้ว่าจะฝัดเอาเมล็ดมันออกมายังไง พอเมื่อเคลียร์
พื้นที่ในแปลงนาจนจบงานแล้วก็ปล่อยมันผึ่งลมแดดอย่างนั้น ส่วนพวกคนที่มาช่วยงานใน
ครึ่งวันนี้ ก็ขึ้นไปกินข้าวกันบนบ้านโดยมีเจ้าของบ้านจัดเตรียมอาหารการกินให้ 

ได้ยินการแบ่งปันเรื่องอาหารการกิน ก็รู้สึกเอะใจเล็ก ๆ เมื่อพูดถึงสมัยก่อนที่มีการเพาะปลูก
กันหลากหลายกว่านี้  เป็นเพราะการค้าขายภายนอกที่มากำหนดทำให้พวกพืชชนิดอื่นที่ไม่
เป็นที่ต้องการของตลาดสูญหายไป อาหารท้องถิ่นหลายอย่างในตอนนี้ก็เลยมีแค่ไม่กี่อย่าง
ที่เป็นที่รู้จัก เอาเข้าจริง ๆ ก็ฟังดูไม่ต่างไปจากบ้านเราเช่นกัน


ในอีกครึ่งวันรอบบ่าย จะมีอีกบ้านหนึ่งที่มาจองคิวเหล่าอาสาสมัครให้ไปช่วยเช่นกัน
มีหลายคนที่จัดเตรียมข้าวของสำหรับมาค้างคืนนอกเมืองเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งพวกเขาดูพร้อม
ที่จะลุยกันต่อหลังจากนี้ ส่วนอีกสามสี่รายรวมถึงเราเองก็ด้วย (ไม่นับรวมกับพวกที่จะเดินทาง
ไปดูโครงการบัควีตต่อที่หมู่บ้านใน Shey) ก็ได้ติดรถคุณซการ์มาไปลงในตัวเมืองเพื่อต่อรถ
ประจำทางไปยังเลห์   




รอบนี้เราไม่ได้ถ่ายรูปไว้นะคะ มัวแต่ยุ่ง ๆ มือไม้ไม่ได้ว่างกันเลย 
ได้แต่ค้นดูรูปจากหมู่บ้านอื่น ๆ มาใช้วางประกอบแทน เพิ่งนึกออกว่าแปลงปลูกพืชมีดอกลักษณะเป็นสีขาว
หรือไม่ก็มีสีอมชมพูที่เคยเห็นผ่าน ๆ มาก่อน ที่แท้ก็คือบัควีตนี่เอง --  ปล. ภาพนี้ถ่ายจากหมู่บ้าน Sakti  

 




 


Create Date : 29 ธันวาคม 2564
Last Update : 9 มกราคม 2565 11:34:05 น. 0 comments
Counter : 905 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณNoppamas Bee, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณอุ้มสี, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก, คุณtuk-tuk@korat, คุณkatoy


กาบริเอล
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




ชอบต้นไม้, แมว, หนังสือ
และออกเดินทางท่องเที่ยวบ้าง

ไม่ชอบพบปะผู้คนมากนัก
เป็นมนุษย์จำพวก introvert

การเขียนบล็อก
คืออีกพื้นที่บอกเล่าผ่านตัวอักษร
และตัวตนของเราก็อยู่ในสิ่งที่เขียนค่ะ

ขอบคุณ Bloggang
สำหรับพื้นที่แบ่งปันตรงนี้

....

เริ่มต้นลงบันทึกอย่างเป็นทางการ
ณ วันที่ 16 ม.ค. 2014


###ไม่สะดวกพูดคุยหลังไมค์นะคะ###

© ขอสงวนลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย 
ห้ามนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข 
โดยไม่แจ้งที่มา ก่อนได้รับอนุญาต


New Comments
Friends' blogs
[Add กาบริเอล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.