Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

รวม 7 วันอันตรายปีใหม่เทศ 2562 เจ็บน้อย แต่ ตายเยอะกว่าปีก่อน





ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน(ศปภ.) ได้สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2561 –2 มกราคม 2562

เกิดอุบัติเหตุรวม3,791 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 463 ราย และผู้บาดเจ็บรวม 3,892 คน

จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ตาก สมุทรสงคราม สตูล

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราช 118 ครั้ง

จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุดเป็นจังหวัดนครราชสีมา 25 ราย

จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุดเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราช 137 คน

ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงกว่าปีที่แล้วส่วนอุบัติเหตุและผู้บาดเจ็บลดลง

สาเหตุหลักเกิดจากการดื่มแล้วขับ และขับรถเร็ว รวมถึงผู้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง

ปล.มาตรการที่ทำกันมาหลายปี น่าจะต้องหาวิธีอื่นได้แล้วนะครับ หาวิธีใหม่ ๆนำมาลองใช้ได้เลย ได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ค่อยว่ากัน ดีกว่าจะปล่อยให้เป็นแบบนี้

ปีใหม่ 2562เกิดอุบัติเหตุ 3,791 ครั้ง ตาย 463 ราย เจ็บ 3,892 คน

ปีใหม่ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423 ราย เจ็บ 4,005 คน

ปีใหม่ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478 ราย เจ็บ 4,128 ราย

ปีใหม่ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380 ราย เจ็บ 3,505 ราย

ปีใหม่ 2558เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341คน เจ็บ 3,117 คนน

*********************************************************

" เทศกาลแห่งความสุขแต่กลายเป็นวันสูญเสียของหลายร้อยครอบครัว จากอุบัติเหตุบนถนน ...วันหนึ่งอาจเป็นครอบครัวเรา ? "

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) กำหนดแนวทางปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2561 – 2มกราคม 2562 (รวม 7 วัน) โดยใช้ชื่อว่า “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร” โดยให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก คือการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด การดื่มแล้วขับ และการไม่สวมหมวกนิรภัย

ร่วมเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกัน-ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงปีใหม่ทุกท่าน ใครผ่านไปก็นำของกิน-ขนม-น้ำดื่ม ฝากคนทำหน้าที่อยู่บ้างก็ดีนะครับ ทั้งตำรวจ ทหาร อพปร กู้ภัย หมอพยาบาลเจ้าหน้าที่ ฯลฯ อยู่กันเพียบ จะได้มีแรงกายแรงใจสู้งานหนักกันต่อไป

เดินทางใกล้ไกลแค่ระมัดระวังตนเองยังไม่พอต้องคอยดูคอยระวังรถคันอื่นด้วย เราขับดีแต่คนอื่นอาจไม่ ?

รถเยอะ คนแยะขับช้าๆ ใจเย็นๆ เดินทางปลอดภัยทุกท่าน นะครับ

ปล.มาตรการที่ทำกันมาหลายปี น่าจะต้องหาวิธีอื่นได้แล้วนะครับ หาวิธีใหม่ ๆนำมาลองใช้ได้เลย ได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ค่อยว่ากัน ดีกว่าจะปล่อยให้เป็นแบบนี้

ปีใหม่ 2562 เกิดอุบัติเหตุ 3,791 ครั้ง ตาย 463 ราย เจ็บ 3,892คน

ปีใหม่ 2561 เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423 ราย เจ็บ 4,005คน

ปีใหม่ 2560 เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478 ราย เจ็บ 4,128ราย

ปีใหม่ 2559 เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380 ราย เจ็บ 3,505ราย

ปีใหม่ 2558 เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คน เจ็บ 3,117คนน

ทั้งนี้ ข้อมูลของ"ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.)"มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุการเสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit)ช่วงการควบคุมเข้มข้น (7วัน) จำนวน 3 ปี ระหว่างปี 2558- 2560 พบว่า มีอุบัติเหตุเฉลี่ยวันละ 490 ครั้งมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 57ราย มีผู้บาดเจ็บเฉลี่ย วันละ 512คน "ปัจจัยเสี่ยง" พบว่ามีอยู่ 4ด้าน ได้แก่

1. ด้าน"คน" พฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนน อาทิความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม/ การไม่ชำนาญเส้นทาง /การไม่เคารพกฎจราจร / ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน

2. ด้าน "ยานพาหนะ"ยานพาหนะไม่มีมาตรฐาน อาทิ ขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์พื้นฐานในรถยนต์ /อุปกรณ์ความปลอดภัย / การปรับแต่งสภาพยานพาหนะ/ การบรรทุกที่ไม่ปลอดภัย

3. ด้าน"ถนน"ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์อาทิ ถนนชำรุด ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ/สภาพการจราจรที่หนาแน่น / อุปกรณ์การควบคุมการจราจร ป้ายเตือน ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆมีสภาพไม่สมบูรณ์ และติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจน/จุดเสี่ยงจุดอันตรายจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยและจุดตัดทางรถไฟยังไม่ได้รับการแก้ไข

4. ด้าน"สิ่งแวดล้อม" ไฟฟ้าส่องสว่างชำรุดและไม่เพียงพอ / อุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศ/ สิ่งกีดขวางตกหล่นบนช่องทางจราจร /วัตถุอันตรายขวางทาง / สิ่งกีดขวางทัศนวิสัย

7 วันอันตรายปีใหม่ไทยเทศตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา? )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

ข้อมูลรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนนในรอบ24 ชั่วโมง

https://www.thairsc.com/

จังหวัดกำแพงเพชรจำนวนผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และลำดับความเสี่ยง

https://www.thairsc.com/p77/index/62

มาลุ้นกัน ปี 2561ว่า ประเทศไทยของเราจะทำลายสถิติ "มีคน เจ็บตาย บนถนน เกินหนึ่งล้านคน " ได้หรือเปล่า

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2018&group=30&gblog=11

ล้านแล้วจ้า ..สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี ๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง"หนึ่งล้านคน"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

ไทยชนะแล้ว ...ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก(ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ1.5 หมื่นรายกระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

แก้ปัญหาวินัยจราจรต้องไม่ใช้ตำรวจ ... By Dr.Adune

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลดเพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6

ขับขี่ปลอดภัยมีอะไรมากกว่า "จิตสำนึก" 9เหตุผลที่สวีเดน ลดการเสียชีวิตบนท้องถนนได้อย่างน่าทึ่ง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-04-2018&group=30&gblog=10

*******************************

แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่พ.ศ. 2562 (ศปถ.)คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ข่าวการเมืองมติคณะรัฐมนตรี -- อังคารที่ 4ธันวาคม 2561 19:48:31 น.

เรื่องแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 (ศปถ.)คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการ ความปลอดภัยทางถนนเสนอแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561ได้มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัดและอำเภอ ใช้เป็นกรอบแนวทางใน การดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

1. หัวข้อในการรณรงค์“ขับรถมีน้ำใจรักษาวินัยจราจร”

2. ช่วงเวลาการดำเนินการกำหนดเป็น 2 ช่วง ดังนี้

2.1ช่วงเตรียมความพร้อมและการรณรงค์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 26ธันวาคม 2561

2.2ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 27ธันวาคม 2561 – 2 มกราคม 2562

3. วัตถุประสงค์

3.1 เพื่อกำหนดเป้าหมายมาตรการ แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆในการบูรณาการการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและป้องกันการเกิดอุบัติภัยอื่นๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่

3.2เพื่อให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนำแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562ไปเป็นแนวทางการบูรณาการการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพรวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานตามอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ

3.3เพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติรวมทั้งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) ทุกระดับในช่วงเทศกาลปีใหม่

4. การประเมินความเสี่ยง

ศปถ.ได้นำหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงในระดับพื้นที่ตามระบบการเตือนภัยของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติพ.ศ. 2558 มาวิเคราะห์จากจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – 2561) โดยกำหนดให้มีระดับของความเสี่ยง 4 ระดับ ดังนี้

สีแดง หมายถึงสถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงสุดโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อวันขึ้นไป

สีส้ม หมายถึงสถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลตั้งแต่ 1.00 – 1.99 ครั้งต่อวัน

สีเหลือง หมายถึงสถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย โดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลตั้งแต่ 0.01 – 0.99 ครั้งต่อวัน

สีเขียว หมายถึงสถานการณ์อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงน้อยโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลเท่ากับ 0.00

ผลการประเมินความเสี่ยงในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย3 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2559– 2561

ลำดับระดับความเสี่ยง ช่วงเทศกาลปีใหม่

1อำเภอในระดับความเสี่ยงสีแดง จำนวน 35อำเภอ

2อำเภอในระดับความเสี่ยงสีส้ม จำนวน 109อำเภอ

3อำเภอในระดับความเสี่ยงสีเหลือง จำนวน 687อำเภอ

4อำเภอในระดับความเสี่ยงสีเขียว จำนวน 47อำเภอ

5. มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน

ได้กำหนดมาตรการในการดำเนินการช่วงเทศกาลปีใหม่พ.ศ. 2562เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งด้านคน ถนน ยานพาหนะและสิ่งแวดล้อมจำนวน 6 มาตรการหลัก และ 1 มาตรการเสริม ดังนี้

มาตรการ /สาระสำคัญ / หน่วยงานหลัก

1. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน

- การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจัง และต่อเนื่อง

- ด้านสังคมและชุมชนเช่น ให้สมาชิกในครอบครัว คอยตักเตือน และเฝ้าระวังคนในครอบครัว

- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน

- การดำเนินการด้านมาตรการองค์กรของหน่วยงานภาครัฐเช่นให้หน่วยงานรัฐกำชับเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีด้านวินัยจราจร

- กระทรวงมหาดไทย

- กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)

- กระทรวงคมนาคม(คค.)

- กรมสรรพสามัต

- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตช.)

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)

- จังหวัด

- อำเภอ

- กรุงเทพมหานคร(กทม.)

- สำนักงานเขต

- หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

- ทุกส่วนราชการ

2. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม

- มาตรการถนนปลอดภัย“1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย”โดยให้ อปท. ทุกแห่งจัดให้มีถนนปลอดภัยและสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน

- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนนจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดตัดรถไฟ และดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมให้มีความปลอดภัย

- ให้จัดเตรียมช่องทางพิเศษทางเลี่ยงทางลัดและจัดทำป้ายเตือนป้ายแนะนำต่าง ๆ ให้ชัดเจน

- ให้จังหวัดจัดให้มีจุดพักรถและจุดบริการต่างๆ

- ให้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างสัญญาณไฟจราจร เสาป้าย

- คค.

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- ตช.

- กรมชลประทาน

- จังหวัด

- กทม.

- อปท.

3. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ

- กำหนดมาตรการแนวทาง เพื่อกำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะ และรถโดยสารไม่ประจำทางพนักงานขับรถโดยสาร พนักงานประจำรถ

- ขอความร่วมมือกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งให้หยุดประกอบกิจการหรือหลีกเลี่ยงการใช้รถบรรทุกในการประกอบกิจการในช่วงเทศกาลปีใหม่

- เข้มงวดกวดขันกับผู้ใช้รถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักเกิน

- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ผู้ขับขี่ ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทางรวมถึงอันตรายจากการบรรทุกผู้โดยสารในกระบะท้าย

- คค.

- จังหวัด

- กทม.

4. มาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ

- จัดเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลแพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยกู้ชีพ และกู้ภัยทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือระบบการติดต่อสื่อสาร การสั่งการ ประสานงานและการแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน

- จัดเตรียมความพร้อมของระบบการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบเหตุณ จุดเกิดเหตุของแต่ละพื้นที่

- ประชาสัมพันธ์ระบบการช่วยเหลือต่างๆ ที่ผู้ประสบเหตุควรจะได้รับ

- สธ.

- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

- ตช.

- กระทรวงยุติธรรม

- สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมธุรกิจประกันภัย

- บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

- กทม.

- จังหวัด

- อำเภอ

- อปท.

5. มาตรการความปลอดภัยทางน้ำ

- ให้ คค.บูรณาการทำงานร่วมกับจังหวัด(เฉพาะจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ) กทม. อปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำหนดมาตรการแนวทางการดูแลความปลอดภัยทางน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติต่าง ๆ

- คค.

- จังหวัด(เฉพาะจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ)

- กองบังคับการตำรวจน้ำ

- กทม.

- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

6. มาตรการดูแลความปลอดภัย

- ให้จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและกทม.พิจารณาหามาตรการหรือแนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นพิเศษตามความเหมาะสมของพื้นที่เพื่อดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในช่วงเทศกาลปีใหม่

- จังหวัด

- กทม.

7. มาตรการเสริม

- ในพื้นที่อำเภอสีแดงและสีส้มให้เข้มงวด กวดขัน และกำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ

- ให้มีรางวัลสนับสนุนการปฏิบัติงานกับจังหวัดและอำเภอที่มีสถิติผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนดีเด่น

- ให้ ศปถ.จังหวัดและกทม.จัดตั้งคณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปประเด็นสำคัญและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา นำเสนอต่อคณะกรรมการศปถ. จังหวัด/กทม.เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการแนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนต่อไป

- จังหวัด

- อำเภอ

ทั้งนี้ให้ใช้งบประมาณปกติของแต่ละหน่วยงานในการดำเนินงานช่วงเทศกาลปีใหม่ สำหรับ อปท.ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตามคำสั่งของอปท.

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 ธันวาคม 2561--

อ่านต่อได้ที่ : https://www.ryt9.com/s/cabt/2924564

***********************************************





Create Date : 03 มกราคม 2562
Last Update : 3 มกราคม 2562 21:51:06 น. 0 comments
Counter : 1087 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณnewyorknurse


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]