การลงทุน การจ้างงานและเศรษฐกิจใหม่บนฐานการลงทุนด้านไม้สักเศรษฐกิจ 2014
ประเทศไทยต้องปลูกต้นไม้-ป่าไม้เพิ่มอีกเท่าไหร่ ดร.อภิชาติ ขาวสะอาด ได้รายงานบทบาทของป่าไม้ต่อสภาพบรรยากาศโลกว่าการใช้มาตรการ ป้องกันรักษา และการปลูกสร้างเสริมป่า นับได้ว่าเป็นงานเร่งด่วนที่หน่วยที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น กรมป่าไม้ จะต้องเร่งกระทำในการลด Greenhouse gas emission ของบรรยากาศ จากการศึกษาของกลุ่มนักวิจัย IPCC (Intergovernmental Panel on Climatic Change) ได้ประเมิณออกมาว่า ป่าสามารถจะดูดซับเอา CO2 จากบรรยากาศได้ประมาณ 2.5 ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี หรือประมาณ 0.4 ต้นต่อไร่ต่อปี เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงและพลังงานเพื่อพัฒนาประเทศมากขึ้น การปล่อย CO2 ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจะมีระดับสูงถึง 102 ต้นต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2011 ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ป่าประมาณ 120 ล้านไร่ 38% ของพื้นที่ประเทศ เพื่อที่ดูดซับเอา CO2 ไว้ประมาณ 48 ล้านต่อต้นต่อปี จึงจะสามารถรักษาระดับของ CO2 ในบรรยากาศให้คงอยู่ในสภาพปัจจุบัน ที่มีการปล่อยสูงถึง 54 ล้านตัน ต่อปีได้นั่นคือประเทศไทยจะต้องมีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นประมาณ 30 ล้านไร่เพื่อรวมกับพื้นที่ป่าที่เหลือในปัจจุบัน 90 ล้านไร่ โดยมีอัตราการบุกรุกทำลายป่าประมาณปีละ 0.3% ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนสามารถที่จะปลูกป่าให้ได้ปีละไม่น้อยกว่า 1 ล้านไร่ จึงจะสามารถรักษาความสมดุล CO2 ได้ภาย ในระยะเวลาไม่เกิน 30 ปี

อ่านเพิ่มเติม : //piriya-pholphirul.blogspot.com/2014/05/blog-post.html
ไม้สักปลูกระยะห่าง 8x8เมตร เมื่ออายุ22ปี ต้นโตสุดวัดรอบได้ 175 ซม ความสูง 41 เมตร ...สถานีวนวัฒนวิจัยทองผาภูมิ กรมป่าไม้
ไม้สักปลูกอายุ22ปี ระยะปลูก8x8เมตร วัดรอบอกได้175 ซม หรือ โตปีละ7.9 ซม 

เศรษฐกิจสังคมและระบบนิเวศน์ที่ดีในอนาคตเพื่อลูกหลานไทย

1. ปัญหาโลกร้อน (Global warming) ทำให้อุณภูมิสูงขึ้นเกิดภาวะผันผวนด้านดินฟ้าอากาศและ การระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช กระทบต่อการผลิตพืชผลทางการเกษตร คือาจมีผลผลิตเพิ่มขั้นหรือลดลง แต่สำหรับพืชป่าไม้ซึ่งทนแล้งและอุณหภูมิสูงได้มากกว่า พืชเกษตรจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น (จุดแข็งไม้สักทอง)

2.ไมเคิล พอร์ตเตอร์ (Micheal E.Porter) จาก Harvard Business school ได้เสนอทฤษฎี ความได้เปรียบในการแข่งขันของชาติ Competitive Advantage of Nations ว่าชาติต่างๆ ต้องใช้จุดแข็งหรือจุดได้เปรียบของตนเอง สร้างความมั่งมีและมั่งคั่งให้แก่ตนเอง โดยจำเป็นต้องมีมุมมองใหม่และเครื่องมือใหม่ที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ตรเองประสบความสำเร็จในตลาดโลก แทนการพัฒนาตามกระแสนิยม (ในอดีตไม้สักทองของประเทศไทย เคยครอบครองตลาดโลกมาแล้ว เมื่อ35ปีมาแล้วผู้เชี่ยวชาญป่าไม้FAOเคยให้คำแนะนำรัฐบาลไทยส่งเสริมเกษตรกรปลูกไม้สักและไม้พะยูงเพื่อการส่งออกแต่รัฐบาลทุกชุดเมินเฉย)

3.ภาคอุตสาหกรรมและเฟอร์นิเจอร์ไม้สักของประ เทศไทยเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream Industry) ที่เป็นจุดแข็งและมีศักยภาพสูงในเอเชียมีการจ้างงานและมีแรงงานฝีมือ อยู่เป็นจำนวนมาก ตอนนี้กำลังประสบปัญหาวิกฤติ เพราะในปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพิงวััตถุดิบไม้สักจากต่างประเทศที่มีราคาแพงขึ้นและมีจำนวนไม้ที่ผลิตลดตอนนี้ประเทศเมียนมาร์หยุดการส่งออกไม้ซุงสัก แต่จะส่งออกเป็นสินค้าไม้สักสำเร็จรูปแทนเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและการจ้างแรงงานในประเทศ รวมทั้งอาจถูกภาวะกดดันจากนานาชาติให้รักษาป่าไม้เขตร้อนเอาไว้เป็นมรดกโลกอีกแหล่งหนึ่งด้วย

GOING GREEN....GREEN ECONOMY FOR THAILAND.







Create Date : 30 ตุลาคม 2557
Last Update : 31 ตุลาคม 2557 16:38:51 น.
Counter : 1337 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
4
7
8
9
11
12
13
15
18
21
22
27
 
 
All Blog