อบต.กับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ด้วยเกษตรอินทรีย์เพื่อแผ่นดินไทย
เกษตรอินทรีย์บ้านนางิ้วต้นแบบบูรณาการขจัดปัญหาชุมชน...เมื่อมีความเจริญทางด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้วิถีชีวิต การกินการอยู่ของคนเปลี่ยนไปจากเดิม ผลที่ตามมาคือ มีโรคภัยแบบใหม่ๆ บางโรครักษาได้ บางโรครักษาไม่ได้ ขณะเดียวกันโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ และโรคร้ายอย่างมะเร็ง ก็ยังเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ซึ่งแพทย์เชื่อว่า ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ มาจากกระบวนการผลิตอาหาร ที่มีการใช้สารเคมี ไม่ว่าผู้ผลิตจะทราบหรือไม่ทราบ แต่ผู้บริโภคเป็นผู้รับเคราะห์ ด้วยการเป็นโรคต่างๆ ไปโดยปริยาย  "เกษตรอินทรีย์" เป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ ที่หลายหน่วยงานพยายามส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่รักษาสุขภาพ และพื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์อย่างที่บ้านนางิ้ว ต.ยางคำ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ได้เริ่มต้นลงมือทำแล้ว


บ้านนางิ้ว เป็นชุมชนติดกับภูเขาเม็ง ต้นน้ำของลำห้วยหลายสายใน อ.หนองเรือ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง และทำนา แต่เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว จึงพึ่งพาสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช เพราะต้องการให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่มาก อย่างการทำนา ชาวนาจะใช้สารเคมีปริมาณมาก เริ่มจากฉีดยาฆ่าหญ้าตามคันนา ฉีดยาคุมหญ้าในแปลงนาข้าว เมื่อข้าวงอกก็ยังต้องฉีดยาฆ่าหญ้าอีกครั้ง ทำให้เกิดการสะสมสารเคมีตกค้างในดินตลอดทั้งฤดูกาลทำนา  ผลที่ตามมาคือ ชาวบ้านมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทุกปี เพราะเมื่อใช้สารเคมีเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ส่งผลให้แมลงเริ่มดื้อยา เมื่อต้องการกำจัดก็ต้องเพิ่มสารเคมีมากขึ้น ที่ร้ายกว่านั้น คือ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และระบบห่วงโซ่อาหาร อย่าง ปู ปลา กุ้ง หอย กบ เขียด ก็มีปริมาณลดลง ที่มีชีวิตรอดก็อาจได้รับสารเคมี เมื่อคนจับมากินก็จะเกิดอาการท้องร่วง หรือได้รับสารเคมีทางอ้อมผ่านการกินอาหาร พืช ผัก ผลไม้ ฯล
อยากเห็นเกษตรกรไทยมีคุณภาพชีวิตทีดีขึ้นด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีและการเขตกรรมที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม...กรณีศึกษาบางส่วนที่มิได้มีเจตนาโฆษณาสินค้า

โรงงานน้ำตาลที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นก็ส่งนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักจากกากน้ำตาล และกากอ้อย มาให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ส่วนที่โรงเรียนบ้านนางิ้ว ครูก็ให้เด็กทำแปลงปลูกผักปลอดสาร เพื่อให้เด็กบริโภคเป็นอาหารปลอดภัยในโรงเรียนโดยใช้น้ำหมักที่กลุ่มผลิตเอง  องค์กรท้องถิ่นอย่าง อบต. ก็ให้ความร่วมมือ โดยเชิญอาจารย์จากคณะเกษตรฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาให้คำแนะนำเรื่องการปลูกพืชเชิงเดี่ยว พร้อมกับให้งบประมาณมาส่วนหนึ่ง เพื่อไปศึกษาดูงานด้วย และเตรียมนำรูปแบบโครงการนี้เข้าสู่แผนงานประจำปีของ อบต.ยางคำ ด้วย
ต้นทานตะวันพืชที่ใช้น้ำนอยและสารเคมีน้อยปลูกรอบที่สองหลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้ว ปลูกได้ทั่วไทย รัฐบาลน่าส่งเสริมรายได้และการจ้างงานประชาชนโดยเอามาเป็นวัตถุดิบทำพลังงานทดแทน biogass-biofuels แต่รัฐบาลต้องมีใจกล้าอุดหนุนadderไฟฟ้าเท่ากับการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ solar farm คือให้adder6.50 บาท รับรองว่าเกิดได้ทั่วไทยและสร้างความมั่งคั่งแก่เกษตรกรไทยในยุคAEC

“ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ ชาวบ้านเริ่มตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาลูกโซ่ที่เกิดจากการใช้สารเคมี จึงเริ่มหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ทั้งทำเองและซื้อตามท้องตลาด ราคากระสอบละ 350 บาท แทนที่จะซื้อปุ๋ยเคมีราคา 900 บาท ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของปุ๋ยเคมีลดลง จาก 12,000 บาทต่อปีต่อครัวเรือน เหลือเพียง 5,000 บาทต่อปีเท่านั้น” 

ขอขอบคุณ-//www.komchadluek.net/detail/20141215/197699.html  (ข่าวคมชัดลึกออนไลน์วันที่ 16-12-2557)




Create Date : 20 ธันวาคม 2557
Last Update : 20 ธันวาคม 2557 10:50:53 น.
Counter : 1719 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ธันวาคม 2557

 
3
4
5
7
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
21
22
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog