Emerging Markets ...ภาวะสภาพคล่องเศรษฐกิจโลก 2013
รายงานการประเมินความเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่างๆ ที่เราจะเห็นในระหว่างนี้ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030      ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างจากปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเชิงสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การบริโภค ทรัพยากรธรรมชาติ และอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษยชาติ ซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานราชการของสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อว่า National Intelligence Council จากรายงานดังกล่าวที่เขาว่าไว้ว่า…

ประเด็นหลักนั้นก็คือ “อัตราการเจริญเติบโตของผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นกลาง” ที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง
“ชนชั้นกลาง” ในที่นี้นอกจากจะหมายถึงกลุ่มคนชั้นกลาง-ล่างในประเทศพัฒนาแล้วที่ขยับตัวเองขึ้นมาสูงขึ้นแล้ว ยังหมายความถึงประชากรส่วนมากในประเทศกลุ่มEmerging Markets อย่างบราซิลที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ยกระดับรายได้ครัวเรือนขึ้นมา ซึ่งประชากรในประเทศเหล่านี้แหละครับที่ส่งผลต่ออัตราส่วนโดยรวมของดัชนีชนชั้นทางเศรษฐกิจของประชากรโลกอย่างชัดเจน

นอกจากความเปลี่ยนแปลงในเรื่องอัตราเติบโตของชนชั้นกลางแล้ว เรายังต้องคำนึงด้วยอีกว่า ชนชั้นกลาง เหล่านี้นี้เป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้รับการศึกษาและสวัสดิการในเรื่องสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าชนชั้นกลางในอดีต มีเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ มากมายอยู่ในมือ และถูกเชื่อมต่อถึงกันด้วยระบบเครือข่ายการสื่อสารที่ล้ำสมัยกว่าเมื่อก่อนอย่างมาก ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกที่ชนชั้นกลาง รุ่นใหม่นี้จะสามารถเป็น Catalyst สำหรับการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆตามมา ( ทีมา : เศรษฐา ทวีสิน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 24 ธันวาคม 2555)

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ รายงานว่า เศรษฐกิจโลกจะมีสภาพคล่องล้นเหลือ “ไปอีกนานหลายปี” ซึ่งในระยะสั้นก็จะทำให้เกิดเศรษฐกิจที่ “ซื้อง่ายขายคล่อง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความตั้งใจของนายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐที่ต้องการให้ประชาชนและนักธุรกิจเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ขอให้ลองนึกภาพดูว่าธนาคารกลางสหรัฐนั้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะพิมพ์เงินใหม่เดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ (ปีละ 1.02 ล้านล้านดอลลาร์) ไปซื้อพันธบัตรที่มีคุณภาพสูงสุด คือพันธบัตรที่ค้ำประกันโดยอสังหาริมทรัพย์ (mortgage-backed securities) และพันธบัตรรัฐบาลจากมือประชาชน ทำให้ประชาชนต้องนำเงินที่ได้มาจากธนาคารกลางสหรัฐไปลงทุนในส่วนอื่นของเศรษฐกิจ ซึ่งย่อมจะต้องมีความเสี่ยงมากกว่า MBS และพันธบัตรรัฐบาล

บางคนอาจนึกไม่ออกว่าการพิมพ์เงินใหม่เดือนและ 85,000 ล้านดอลลาร์ (โดยไม่บอกว่าจะหยุดพิมพ์เมื่อใด) นั้นเป็นจำนวนมากหรือน้อย ก็ต้องบอกว่าเป็นจำนวนมากมหาศาล กล่าวคือก่อนวิกฤติในปี 2008 นั้นมีเงินดอลลาร์สหรัฐไหลเวียนในระบบประมาณ 8 แสนล้านดอลลาร์ และต่อมาเมื่อเกิดวิกฤติอย่างรุนแรงในปี 2008-2009 ก็ได้มีการเร่งพิมพ์เงินออกมา ทำให้งบดุลของธนาคารกลางสหรัฐขยายตัวจาก 8 แสนล้านดอลลาร์มาเป็น 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ในขณะนี้ กล่าวคือในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้น อาจพูดได้ว่ามาตรการผ่อนปรนทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐมีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเฉลี่ย 5 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี แต่ใน 2 ปีข้างหน้านั้นปริมาณเงินที่จะพิมพ์ออกมาใหม่จะเพิ่มไปอีก 1 เท่าตัวคือ 1.02 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

ทีมา : การเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางการเงินและนโยบายการเงิน (1)

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  วันที่ 24 ธันวาคม 2555 04:00





Create Date : 27 ธันวาคม 2555
Last Update : 27 ธันวาคม 2555 15:13:12 น.
Counter : 1881 Pageviews.

2 comments
  
เป็นเรื่องที่เราเข้าใจยากค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 27 ธันวาคม 2555 เวลา:15:35:09 น.
  
สำหรับใครที่รักสุขภาพ รักสวยรักงาม มีทิปเด็ด รวมไว้ให้คุณแล้วในนี้เลย ^^
//freeloveshop.bloggang.com/

สำหรับใครที่อยากซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือ อาหารเสริมเพื่อดูแลผิวก็แวะไปได้ที่
freeloveshop.lnwshop.com
โดย: emayza วันที่: 27 ธันวาคม 2555 เวลา:17:19:36 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ธันวาคม 2555

 
 
 
 
 
 
2
3
4
5
7
8
10
12
13
15
16
19
23
24
25
28
30
 
 
All Blog