พลังงานทดแทนเพื่อการพัฒนาภาคเกษตรและเพิ่มการแข่งยุค A.E.C.
  เปิดตลาดเสรี A.E.C. ภาคการเกษตรเราแข่งขันไม่ได้อย่างแน่นอนทั้งเรื่องต้นทุนสูงและผลผลิตต่ำจาก ดิน น้ำ ป่าไม้ และระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนไป เฉพาะดินการเกษตรบ้านเราที่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงกันมานานจะพบว่าดินเสื่อมสภาพ เป็นดินกรดและขาดอินทรีย์วัตถุถึงร้อยละ70 ปลูกอะไรก็ไม่งามหรือผลผลิตต่ำและต้นทุนสูงกว่าเพือนบ้าน โอกาสจะมีรายได้เป็นค่าแรงวันละ 300 บาทตามนโยบายรัฐบาลนั้น คงต้องรอชาติหน้า

ปี2552 อายุเฉลี่ยชาวนาไทยประมาณ 55 ปี กำลังเข้าสู่วัยชรา เป็นผู้ปลูกข้าวนาปี 3.4 ล้านครอบครัวและปลูกข้าวนาปรัง 4 แสนครอบครัวหรือเป็นชาวนาที่พอมีจะกินเพียงร้อยละ 12 เท่านั้น อีกร้อยละ 88 ต้องอาศัยน้ำฝนให้เทวดามาโปรดจึงจะได้ผลผลิตข้าวที่เอาแน่นอนไม่ได้ บางปีฝนทิ้งช่วงหรือโรคแมลงระบาดต้องไถทิ้งปลูกข้าว 2 ครั้งแต่ขายได้ครั้งเดียวจึงขาดทุนอย่างแน่นอน ถ้าไม่ปลูกข้าวก็ไม่รู้จะทำอะไร เพราะไม่มีตลาดรับซื้อพืชผล

ข่าวล่าสุด...นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 ว่าที่ประชุมเห็นชอบให้มีการตอบรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในระบบ Adder จำนวน 31 โครงการ โดยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 201.32 เมกะวัตต์ และมีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวมทั้งสิ้น 139.2 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นเชื้อเพลิง ชีวมวล 15 โครงการ รวม 90.58 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ12 โครงการ รวม 20.81เมกะวัตต์ และขยะ 4 โครงการ รวม 27.8
 เมกะวัตต์ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีการยื่นข้อเสนอค้างก่อนที่ กพช. จะมีมติให้หยุดรับซื้อไฟฟ้าในระบบ Adder เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 (โครงการส่วนใหญ่เป็น waste to energy หรือ ใช้ของเสีย-วัสดุเศษเหลือเศษเหลือเปลี่ยนเป็นพลังงานไม่ได้ส่งเสริมเกษตรกรปลูกไม้โตเร็วและพืชพลังงานเพิ่มรายได้เกษตรกรแต่อย่างใด)

 ชีวมวลถูกเผาทิ้งปีละ30ล้านตัน เพราะadderไฟฟ้าไม่จูงใจให้โรงงานตั้งราคาซื้อที่สูงพอเพื่อให้เกษตรกรคุ้มค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวและรวบรวมชีวมวลในพื้นที่เอามาขายทำพลังงานทดแทน...ทุกๆปีพอถึงช่วงฤดูแล้ง เดือนมกราคมถึงเมษายน ...เกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ 10 จังหวัด...เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน ตาก จะเผาทำลายตอซังฟางข้าว เศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกฤดูกาลใหม่ ผล...จากการเผา ทำให้เกิดความร้อน มีหมอกควัน ฝุ่นฟุ้งกระจายปกคลุมกินพื้นที่หลายจังหวัดข้อมูลการ “เผาตอซัง”...สองปีที่แล้วมีปริมาณตอซังและฟางข้าวสูงถึงปีละ 50-60 ล้านตัน ถ้าถูกเผาจะสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 27 ล้านตันกิโลกรัม คาร์บอนฟุ้งกระจายบนผิวโลก ส่วนพื้นดินที่เผาตอซังจะสูญเสียไนโตรเจน 6-9 กิโลกรัมต่อไร่...ฟอสฟอรัส 0.8 กิโลกรัมต่อไร่...โพแทสเซียม 15.6 กิโลกรัมต่อไร่ ...อภิชาต จงสกุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ฝากทิ้งท้ายว่า ถ้าไม่ทำอะไรเลย ยิ่งใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้นๆ ดินเสื่อมไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็จะสู้ต้นทุนการผลิตไม่ไหว...ต้นทุนอาจวิ่งแซงราคาผลผลิต  //www.thairath.co.th/content/482779

พลังงานทดแทนเพื่อการพัฒนาภาคเกษตรและเพิ่มการแข่งยุค A.E.C.นั้นจะต้องส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าชีวภาพที่มีการรับซื้อวัตถุดิบพืชพลังงานจากเกษตรกรจำพวกไม้โตเร็วและหญ้าเนเปียร์ปากช่อง1จึงจะเป็นการพัฒนาชนบท เพิ่มรายได้เกษตรกรและส่งเสริมพืชพลังงานที่สามารถแข่งขันได้ โดยรัฐบาลให้ความสนใจเป็นอันดับแรกและอุดหนุน adder ไฟฟ้าในอัตราเท่าพลังงานลมและแสงอาทิตยจึงจะเกิดได้ทั่วไทย (โรงไฟฟ้าชีวมวลและชีวภาพได้ adder0.50บาทต่อหน่วยแต่พลังงานลม-แสงอาทิตยได้ adder4.50-8.00บาทต่อหน่วย สร้างความเหลื่อมล้ำอย่างยิ่ง)









Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2558 20:30:39 น.
Counter : 1453 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2558

1
4
5
6
7
8
10
11
12
14
16
17
18
20
21
22
23
24
26
27
28
 
All Blog