สู่สังคมเกษตรยั่งยืนและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยอุตสาหกรรมอาหารผสม TMRจากหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1
หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ไม่ต่างอะไรกับสาวงามซ่อนตัวอยู่ในป่า ที่อยู่มาวันหนึ่งกระทรวงพลังงาน สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาพบเจอเข้า ถึงได้รู้ มีสรรพคุณรอบตัว เป็นอาหารสัตว์ก็ได้ ทำเป็นพืชพลังงานก็ดี” กำลังได้รับความสนใจ เพราะสามารถสร้างรายได้สุทธิให้เกษตรกร 3,500-6,000 บาท/ไร่ /ปี และผลิตเป็นพลังงานหมุนเวียนด้านก๊าซชีภาพและCBG ได้ แม้คนไทยจะเห็นเป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าที่เยอรมันทำสำเร็จมาแล้วโดยใช้หญ้าผสมข้าวโพดหมัก (grass & corn silage )ผลิตไฟฟ้าและก๊าซCBG กว่า 10,000 เมกะวัตต์ทั่วประเทศ
TMRมาจาก Total mixed ration หรือ Complete Ration (CR) หรืออาหารผสมสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นมาจากการนำอาหารหยาบ และอาหารข้นมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยต้องคำนวณสัดส่วนของอาหารทั้ง 2 ชนิด จากน้ำหนักแห้งให้ได้ตามความต้องการของโค แล้วนำไปเลี้ยงโคนม-โคเนื้อ แทนการเลี้ยงแบบเดิม ซึ่งจะแยกการให้อาหารหยาบ
และอาหารข้น เช่น ในโคนมผู้เลี้ยงจะให้อาหารหยาบ ตลอดทั้งวันแบบให้กินเต็มที่ และให้อาหารข้นเสริมวันละ   1-2 ครั้ง/วัน ขณะรีดนม เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทผลิตอาหารผสมสำเร็จรูปออกมาจำหน่ายทั้งในรูปอาหารผสมสำเร็จรูปอัดเม็ด อาหารผสมสำเร็จรูปแบบผง อาหารและการให้อาหาร โคนมเป็นสัตว์สี่กระเพาะหรือที่เรียกว่า สัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ประเภทนี้จะมี 2 ชนิดคือ อาหารหยาบ เช่น หญ้า ถั่ว อาหารสัตว์ ฟางข้าว และอาหารข้น เช่น อาหารผสม ในการให้อาหารแก่ โคนม อาหารทั้ง 2 ชนิด จะมีความสำคัญเท่า ๆ กัน และต้องมีความสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะทำให้โคนม สามารถให้น้ำนมได้สูงสุดตามความสามารถของโคแต่ละตัวที่จะแสดงออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงแม่โคนม เป็นค่าอาหารประมาณร้อยละ 70 โดยเฉลี่ย แม่โคนมนอกจากต้องการอาหารอย่างพอเพียง ยังต้องการความสมดุลของโภชนะด้วย (เทคนิคนี้ จีน เวียตนามกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมปุสัตว์แผนใหม่ด้วยการเลี้ยงโคเนื้อและโคนมจากอาหารผสม TMR หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1ทีดินแดนลาว)
ความต้องการสารอาหารของแม่โคนม แม่โคนมแต่ละตัวมีความต้องการสารอาหารได้แก่ โปรตีน พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ฯลฯ โดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อที่จะ (1) บำรุงร่างกาย (2) เจริญเติบโต (3) ผลิตน้ำนม (4) เพื่อการเจริญเติบโตของลูกใน ท้องแม่โคจะนำสารอาหารที่ให้กินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามลำดับทำให้แม่โคละตัวซึ่งมีน้ำหนักตัว ต่างกันและให้นมจำนวนไม่เท่ากัน มีความต้องการสารอาหารแตกต่างกันไปนอกจากนั้นในแม่โคตัวเดียวกัน ก็ยังมีความต้องการสารอาหารในแต่ละช่วงแตกต่างกันไปอีก

 การจัดการอาหารโคนมถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญ เนื่องจากอาหารเป็ นต้นทุนที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการผลิตนม (สุวรรณและคณะ,2545; William et al,1987) ดังนั้นการมีโปรแกรมการให้อาหารที่มีประสิทธิภาพจะมีส่วนช่วยให้เกษตรกรมีผลกําไรเพิ่มขึ้น เช่นระบบการให้อาหารแบบผสมรวม (Total Mixed Ration :TMR) หรือเรียกว่า ทีเอ็มอาร์ (ประชุม,2553; สุวรรณและคณะ,2545; William et al.,1987) คือเป็ นระบบผลิตอาหารผสมรวมอาหารข้ นและอาหารหยาบเข้ าด้วยกัน และให้มีคุณค่าทางโภชนะตามความต้องการของโคสําหรับการดํารงชีพและให้น้านม ซึ่งการให้อาหารจะให้ตามกลุ่มของโคที่มีผลผลิตแตกต่างกันโดยวัตถุดิบจะต้องดีและรู้ ถึงส่วนประกอบที่แน่นอน
ของส่วนผสมทุกชนิดที่นํามาประกอบเป็ นอาหารสูตรสําเร็จนั้น จากงานวิจัยและการนําไปใช้จริง (John B.O.,1979; Karen Dupchak, 2004; Rick Grant and Jeff Keown, 2004 ; William and Others 1987) พบประโยชน์ในการให้อาหารแบบทีเอ็มอาร์ หลายประการ เช่น (1) สามารถเพิ่มปริมาณน้านมคือโคนมมีความสามารถเพิ่มน้านมได้ 6-8 เปอร์เซ็นต์
, (2) ทําให้ลดต้นทุนด้านอาหารสัตว์ เพราะสามารถนําวัตถุดิบที่มีความน่ากินตํ่า แค่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาใช้ได้ (3) ทําให้ความสูญเสียในการกินอาหารของโคลดลง (4)เพิ่มปริมาณไขมันในน้านม (5) ช่วยลดการผิดปกติของระบบการใช้อาหาร ในร่างกายโคที่แยกอาหารหยาบและอาหารข้นจะมีความผิดปกติของระบบการใช้อาหารในร่ างกายคือต้ องดึงสารอาหารออกจากร่างกายมาใช้ ถ้าใช้อาหารทีเอ็มอาร์ จะทําให้สุขภาพโคและระบบสืบพันธุ์ดีขึ้น และ(6) ประการสุดท้ายสามารถลดแรงงาน เพราะลดเวลาการจัดการอาหารเวลาสําหรับการจัดการอาหารได้(วิทยาสารกําแพงแสน ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 2554)

อาหารผสม TMR และหญ้าเนปียร์ปากช่อง1  มุมมองต่อการเลี้ยงวัวเนื้อของไทยในอนาคตว่า "เมื่อการเลี้ยงวัวเนื้อในอนาคตจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไปสู่ระบบฟาร์ม ดังนั้น เรื่องอาหารที่ใช้เลี้ยงวัวก็ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย อนาคตเราคงไม่สามารถปล่อยวัวแบบเลี้ยงไล่ทุ่งได้ เราคงไม่สามารถไปเกี่ยวหญ้าข้างทาง หรือขอเกี่ยวหญ้าในแปลงของคนอื่นได้อีก หรือหากทำได้แต่ก็คงมีปริมาณไม่มากพอกับความต้องการกับการเลี้ยงในระบบฟาร์มปิด ผมจึงมองว่าในอนาคตระบบการให้อาหารแบบ ทีเอ็มอาร์ (TMR) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากแน่นอน เพราะมีความสะดวก มีคุณค่าทางอาหารตามที่วัวต้องการและประหยัดแรงงานในการจัดการด้านอาหารวัว" มาถึงตรงนี้เราต้องไล่ให้ทันกับ คำว่า ทีเอ็มอาร์ ผมขออนุญาตอธิบายคร่าวๆ สำหรับผู้อ่านท่านที่ยังไม่ทราบ ระบบการให้อาหารแบบผสมรวม (Total Mixed Ration : TMR) หรือเรียกว่า ทีเอ็มอาร์ เป็นระบบผลิตอาหารผสมรวมอาหารข้นและอาหารหยาบเข้าด้วยกันและให้มีคุณค่าทางโภชนะตามความต้องการของวัว สําหรับการดํารงชีพและให้น้ำนม ซึ่งการให้อาหารจะให้ตามกลุ่มของวัวที่มีผลผลิตแตกต่างกัน โดยวัตถุดิบจะต้องดีและรู้ถึงส่วนประกอบที่แน่นอนของส่วนผสมทุกชนิดที่นํามาประกอบเป็นอาหารสูตรสําเร็จนั้น ประโยชน์ในการให้อาหารแบบ ทีเอ็มอาร์ เช่น ลดต้นทุนด้านอาหารสัตว์ ทําให้ความสูญเสียในการกินอาหารของวัวลดลง ช่วยลดการผิดปกติของระบบการใช้อาหาร ในร่างกายวัวที่แยกอาหารหยาบและอาหารข้นจะมีความผิดปกติของระบบการใช้อาหารในร่างกาย คือต้องดึงสารอาหารออกจากร่างกายมาใช้ ถ้าใช้อาหาร ทีเอ็มอาร์ จะทําให้สุขภาพวัวและระบบสืบพันธุ์ดีขึ้น และสามารถลดแรงงาน เพราะลดเวลาสําหรับการจัดการอาหารได้ แต่ในขั้นตอนการผลิตและจ่ายอาหาร ทีเอ็มอาร์ แก่วัว จําเป็นต้องมีเครื่องจักรสําหรับเตรียมส่วนอาหารหยาบ เช่น เครื่องตัดสับแบบต่างๆ ส่วนเครื่องผสมและจ่ายอาหาร ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต้นกําลังจากรถแทรกเตอร์หรือขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่และราคาค่อนข้างสูง (สุวรรณ และ วัชมา, 2554)

              หมายเหตุ:การลี้ยงแพะนมด้วยอาหารผสมTMRอุตสาหกรรมทีมีอนาคตของเกษตรกรไทยยุคเปิดเสรีอาเซียน AEC 2015...นมแพะกำลังมีอนาคต - เกษตรนวัตกรรมในเดลินิวส์ วันศุกร์ 2 มกราคม 2558 เวลา 04:16 น...การลงทุนนั้นค่าพ่อแม่พันธุ์แพะ จำนวน 5 ตัว โดยเป็นตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 4 ตัว อยู่ที่ตัวละ 4,000 บาท รวมแล้ว 20,000 บาท ค่าอาหารข้น เฉลี่ยตัวละ 0.5 กก.ต่อตัวต่อวัน ขณะที่ให้นมรวม 16,000 บาท ค่าเวชภัณฑ์ ประกอบด้วย ยารักษา ยาถ่ายพยาธิ แร่ธาตุบำรุงอยู่ที่ 15,000 บาท ค่าใช้จ่ายอื่น โดยเฉลี่ยเป็นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ประมาณ 6,000 บาท และค่าอุปกรณ์การเลี้ยงและรีดนม 10,000 บาท รวม ๆ แล้วต่อแพะ 5 ตัวจะอยู่ที่ประมาณ 67,000 บาท...ผลตอบแทนจะเป็นค่าจำหน่ายน้ำนมสด ตัวละ 1.5 กก. ต่อ 120 วัน จำนวน 2 รอบต่อปี ได้ประมาณ 1,440 กก. กก. ละ 40 บาท โดยประมาณการรวม 57,600 บาท นอกจากนี้ยังมีรายได้จากค่าปุ๋ยมูลแพะ ตัวละ 3 กระสอบต่อปี กระสอบละ 20 กก. รวมเป็น 300 กก. กก. ละ 2 บาท รวมเป็น 600 บาท จำหน่ายลูกแพะแม่ละ 2 ตัว 2 ครอกต่อปีรวม 16 ตัว ตัวละ 2,000 บาท เป็น 32,000 บาท รวมรายได้ประมาณ 90,200 บาท หากเลี้ยงในปริมาณที่มากกว่านี้รายได้ก็จะเพิ่มสูงขึ้น ที่สำคัญขณะนี้น้ำนมแพะผู้บริโภคกำลังนิยมเพิ่มมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม : //kasamsan.wordpress.com/

อ่านเพิ่มเติม2: ต้นทุนการเลี้ยงแพะขุน///www.kasetporpeangclub.com





Create Date : 20 ธันวาคม 2557
Last Update : 2 มกราคม 2558 13:01:06 น.
Counter : 5868 Pageviews.

4 comments
  
ผมกำลังอยากเลี้ยงวัวขุนและอยากได้สูตรผสมTMRโดยใช้หญ้าNapier ปากช่อง1เป็นหลัก
โดย: ChusakSanguanruang IP: 27.145.198.105 วันที่: 17 พฤษภาคม 2558 เวลา:15:29:06 น.
  
ต้องการสูตรผสมtmrเหมือนกันครับ
โดย: veera IP: 119.42.75.161 วันที่: 7 กรกฎาคม 2558 เวลา:15:26:37 น.
  
ต้องการสูตรอาหาร tmr เพือเลี้ยงโคนม
โดย: leofarm farm IP: 49.230.141.54 วันที่: 8 กรกฎาคม 2558 เวลา:12:22:10 น.
  
ต้องการสูตรผสมtmrเหมือนกันครับ
โดย: สุริยา IP: 223.204.248.83 วันที่: 8 สิงหาคม 2558 เวลา:8:57:40 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ธันวาคม 2557

 
3
4
5
7
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
21
22
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog