อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน...BLUE OCEAN INDUSTRY IN THAILAND

จากภาพโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศปี2011จะพบว่าพลังงานไฟฟ้าทีเราใช้ในขณะนี้ผลิตจากเชื้อเพลิงสกปรก ฟอสซิล มากถึง รอ้ยละ 87 และมีพลังงานสีเขียวเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นเอง และในอีก 6ปีข้างหน้าการบริโภคไฟฟ้าอาจเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

เหลียวมองพลังงานทดแทนภายในประเทศทีมีศักยภาพสูงและจะเป็นอุตสาหกรรม BLUE OCEAN สำหรับประเทศไทย กรณีรัฐบาลและรัฐสภาไทยมีวิสัยทัศน์ ออก พ.ร.บ. พลังงานทดแทน คุ้มครองเพื่อประชาชนทั้งประเทศ ไม่ให้กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดผูกขาดพลังงาน....

พลังงานลม จุดอ่อนของไทยคือ สภาพภูมิศาสตร์ไม่เอื้อมากนัก คือมีกระแสลมโดยเฉลี่ยประมาณ  4-5 เมตรต่อวินาที ในขณะที่ประเทศที่เหมาะสม น่าจะมีกระแสลมอยู่ที่ประมาณ 7 เมตรต่อวินาที แต่ก็ยังมีนักพัฒนาโครงการมือดีพัฒนา 2 โครงการใหญ่ที่นครราชสีมา คือ ทุ่งกังหันลม ห้วยบง 2 และห้วยบง 3 ซึ่งรวมกันแล้วกำลังการผลิตติดตั้งจะอยู่ที่ 207 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าในต้นปีพ.ศ. 2556 เราจะได้เห็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ซึ่งสอดรับกับแผนของรัฐบาลที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้โคราชเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสานตอนล่าง แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (Micro Wind Turbine) ขนาดไม่เกิน 50 kW ซึ่งคนไทยทำเองใช้เองยังขาดนโยบายสนับสนุน

 


พลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับประเทศไทยอาจจะดูเหมือนอาทิตย์อัศดงไปแล้วก็ว่าได้ ปริมาณที่รัฐต้องการรับซื้อ 2,000 MW จนถึงอีก 10 ปีหน้า แต่มีปริมาณการเสนอขายกว่า 3,000 MWแล้ววันนี้ ตามมาด้วยธุรกิจค้าขาย PPA (ใบอนุญาต) อันอื้อฉาวไปทั่วโลก พลังงานแสงอาทิตย์หากภาครัฐขาดการส่งเสริมผู้ผลิตในประเทศ จะเกิดการนำเข้ากว่าร้อยละ 90 ซึ่งเป็นการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์  ทั้งนี้กว่าร้อยละ 70 ยังเป็นการนำเข้านักลงทุนอีกด้วย งานนี้ใครได้ใครเสียวิเคราะห์เอาเอง

 

ไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็ก เป็นโครงการของภาครัฐหรือเกี่ยวข้องกับภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากต้องใช้พื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติ

 

พลังงานชีวมวล พลังงานยิ่งใหญ่ซึ่งมีจุดแข็งด้านสภาพภูมิศาสตร์ มีเทคโนโลยีค่อนข้างพร้อม เป็นพลังงานที่นักลงทุนต่างประเทศประเภทฉาบฉวยไม่สนใจเนื่องจาก ต้องมีการพัฒนาด้านเชื้อเพลิง (Feedstock) ต้องใกล้ชิดชุมชน ต้องปลูกพืชพลังงานเสริม ทุกอย่างพร้อมขาดเฉพาะ Adder สนับสนุนการขายไฟที่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนขนาด 1- 2 MW

 


พลังงานก๊าซชีวภาพ อีกหนึ่งพลังงานยิ่งใหญ่ของไทย ปัจจุบันก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย โรงงานอุตสาหกรรมแทบจะไม่มีให้เห็น ด้วยฝีมือของสนพ.ร่วมกับสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คงต้องพัฒนาไปที่ Energy Crop คือพืชปลูกซึ่งก็ต้องปรับ Adder กันใหม่ โดยเฉพาะโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 1 – 2 MW

 พลังงานขยะ ภาครัฐประเมินพลังงานขยะไว้เพียง 160 เมกะวัตต์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ส.อ.ท. ประเมินว่าขยะเมืองไทยที่เป็นขยะชุมชนและบ่อฝังกลบเก่าซึ่งสามารถผลิตพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 400 เมกะวัตต์  ส่วนขยะอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ขยะอันตรายก็สามารถผลิตพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 500 เมกะวัตต์  ขอเพียงกำจัดจุดอ่อนต่าง ๆ ให้กับภาคเอกชน เช่น ระยะเวลาการออกใบอนุญาตขายไฟ (PPA) ลดจากปี 2 ปีให้เหลือ 3 – 6 เดือนและอัตราส่วนเพิ่มการขายไฟฟ้าที่เหมาะสม (คุ้มความเสี่ยง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนาดเล็กที่มีปริมาณขยะ 50 -100 ตันต่อวัน ควรเพิ่มในอัตราพิเศษ ซึ่งปัจจุบันพลังงานขยะ 0.5 เมกะวัตต์กับ 90 เมกะวัตต์ Adder เท่ากัน


 

ขอขอบคุณ //www.thailandindustrialtoday.com ใครคือจุดอ่อนของพลังงานทดแทนไทยโดย คุณ พิชัย ถิ่นสันติสุข

 

 

 

 

 

 




Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 13 มีนาคม 2556 11:30:38 น.
Counter : 2188 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
2
5
7
8
9
14
17
18
19
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog