ความสุขจากชีวิตพอเพียง และการกลับคืนสู่วิถีธรรมชาติ 2013

พระอาจารย์สิริปันโน (Ajahn Siripanyo) ลูกเศรษฐีมาเลย์ทิ้งสมบัติบวช โดย พระอาจารย์สิริปันโน จำพรรษาที่สำนักสงฆ์เต่าดำ เมืองกาญจน์ ชื่อเดิมคือ เว็น สิริปัญโญ (Ven Siripanyo) เรียกได้ว่ากำลังเป็นที่ฮือฮาในหมู่โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างยิ่งทีเดียว สำหรับเรื่องราวของพระชาวมาเลเซียรูปหนึ่งที่รู้สึกซาบซึ้งในรสพระธรรม จนถึงขนาดยอมทิ้งทรัพย์สมบัติมหาศาลถึง 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.85 แสนล้านบาท) เพื่อขอบวชศึกษาพระธรรมภายใต้ร่มกาสาวพักตร์ สำหรับพระสงฆ์ชาวมาเลเซียรูปนี้คือ พระอาจารย์สิริปัญโญ (Ajahn Siripanyo) ชื่อเดิมคือ เว็น สิริปัญโญ (Ven Siripanyo) ลูกชายคนเดียวของมหาเศรษฐี ที. อนันดา กริชนัน (Tan Sri Ananda Krishnan) ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีผู้ใจบุญสุนทานชาวศรีลังกาเชื้อสายทมิฬ ซึ่งมหาเศรษฐีผู้นี้ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ว่ารวยเป็นอันดับ 2 ของมาเลเซียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พระอาจารย์สิริปันโนจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษและสามารถพูดได้ถึง 8 ภาษา


+ หนังสือ time magazine บอกว่าที่อเมริกา ได้มีงานวิจัย พบว่า คนที่มีความสุขมากที่สุดในโลก ก็คือ พระในทางพุทธศาสนา โดยทดสอบด้วยการสแกนสมองของพระที่ ทำสมาธิ และได้ผลลัพธ์ออกมาว่าเป็นจริง..                                                                                                                                                  
+ หลักความเชื่อของศาสนาพุทธ ก็คือ เหตุที่ทำให้เกิดความสุข นั้นก็คือ อยู่กับปัจจุบันขณะ ปล่อยวางได้ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ควบคุมความอยากที่ไม่มีสิ้นสุด ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทะเลาะ และใช้หลัก เวรย่อม ระงับด้วยการไม่จองเวร ให้อภัย ตัวเอง และผู้อื่น มีจิตใจเมตตากรุณา และเสียสละเพื่อผู้อื่น                    
+ อริยะสัจ 4 สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและ บอกไว้ ว่าด้วย ทุกข์ สมุทัย มรรค นิโรธ แท้จริงแล้วก็คือทางเดินไปหาคำว่า " ความสุข " เพราะถ้าเมื่อไรเรากำจัด " ความทุกข์ " ได้แล้วความสุขก็จะ เกิดขึ้นทันที

+ อุปสรรคของความสุข ก็คือ แรงปรารถนา และตัณหา พระอาจารย์บอกว่า คนเราจะมีความสุขมันไม่มี ขึ้นอยู่กับว่า " มีเท่าไร " แต่ขึ้นอยู่ที่ว่าเรา " พอเมื่อไร " ความสุขไม่ได้ขึ้นกับจำนวนสิ่งของที่เรามี หรือเราได้...


รูปภาพ

Learning to live, Living to learn But have fun ?

Life is too short & unpredictable.What are tactics you use to make time to do things for yourself?
ลำนำจากครูบาสุทธินันท์ฯ ไปเก็บลูกตำลึง..
ก็ไปเจอดงอ่อมแซบต้นสูง3-4 เมตร
เจอดอกชมจันทร์แซมอยู่กับเสาวรส
เจอดอกอัญชันพัวพันกับถั่วพู
เจอข้าวไร่ขึ้นแทรกต้นอินทะผาลัม

เจอแตงไทยใกล้สุก ไม่เหมาะนำมาจ้ิมน้ำพริก
เก็บมาอย่างละนิดละหน่อยก็เต็มตะกร้า...


รูปภาพ

เป็นมนุษย์เงินเดือนมันเหนื่อยมันล้า
..ถ้าออกมาอยู่ชนบทจะทำอะไร?
ผมไม่ชวนปลูกชวนทำอะไรที่มันยากๆเหนื่อยๆหรอกนะเธอ
กลัวผิวนวลแม่คุณจะชอกช้ำเหมือนกัน

_ปลูกต้นไม้และสมุนไพร
_ปลูกมะพร้าว กล้วย ไม้ผล ไม้ผักยืนต้น
_ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
_เลี้ยงแพะนม ไก่ เป็ด ห่าน นก แมว สุนัข
_ปลูกไม้หอม ไม้ประดับ ไม้ดอก ไม้แดก
_ปลูกอ่อมแซบไว้ปั่นครอโรฟิลล์ ไว้ผัดกะทะร้อน
_ปลูกดอกสะเลเตไว้ดอมดม
_ปลูก ปลูก และปลูก ต้นรักสักหมื่นกอ


ฝนมาทุกสิ่งทุกอย่างได้รับประโยชน์ทั่วหน้า
ไร่ยางพารา ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ต้นไม้ใบหญ้า ทุกกลุ่มชีวิตยินดีเริงร่า. ไก่กระโดดลงจากคอนตอนเช้ามืด เสื้อกันฝนก็ไม่มี พากันเดิินท่อมๆทั้งที่เปียกไปหาอาหาร

ดูไปแล้วไก่นี่มีวินัยเยี่ยม
ถึงเวลาไม่เกี่ยงว่าสภาวะกาศจะแปรปรวนอย่างไร
ไก่ไม่มีข้ออ้าง ไม่ขี้เกียจ ไม่งอแง
ดำเนินชีวิตไปตามปกติ

ฝนไม่ตก ..ต้นไม้ก็ให้ร่มเงาปกป้องความร้อนให้ผืนดิน
ฝนตก ..ต้นไม้ก็ซึมซับน้ำไปเก็บไว้ในลำต้น
ไม่มีต้นไม้ ..ฝนก็ไหลทิ้งเปล่าประโยชน์


ตลอดระยะเวลากว่า4,000 ปี
ที่มนุษย์ได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์
เพื่อผลิตเป็นอาหารและการค้า
โดยให้ความสำคัญกับพืชและสัตว์ไม่กี่ชนิด
ได้ส่งผลให้พืชและสัตว์พันธุ์ท้องถิ่นดั่งเดิมถูกละเลย
และสูญหายไปเป็นจำนวนมาก


ลองนึกดูสิเธอ..
หากวันข้างหน้าพืชและสัตว์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ
ในการผลิตยารักษาโรคต้องสูญพันธุ์ไป
คงเป็นที่น่าวิตกว่า..
โลกของเราอาจต้องเผชิญกับ
"โรคร้ายชนิดใหม่"
ที่เกิดจากการขาดแคลนยารักษาโรค
ในอนาคตอันใกล้นี้

ขอขอบคุณ https://www.facebook.com/sutthinun.pratchayapruet?hc_location=stream



































Create Date : 28 สิงหาคม 2556
Last Update : 28 สิงหาคม 2556 8:00:48 น.
Counter : 2492 Pageviews.

1 comments
  
บ้านในรูปน่าอยู่มากค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 29 สิงหาคม 2556 เวลา:14:31:52 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2556

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
15
16
17
18
19
21
24
26
27
29
31
 
All Blog