Business, Management, Skill, Experiences--แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน ประสบการณ์ บริหาร และอื่น ๆ
Group Blog
 
All blogs
 
ระบบเตือนภัยล่วงหน้าและอัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้า

ระบบเตือนภัยล่วงหน้าและอัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้า



((( ลองดูนะครับ ...... ผมว่าน่าสนใจมากสำหรับการทำธุรกิจนะครับ )))

-----------------------------*----------------------------------



ระบบเตือนภัยล่วงหน้าและอัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้า
(Early Warning System and Early Warning Ratios)

โดย ดร. ปิยวดี โขวิฑูรกิจ

ผู้อ่านหลายท่านคงจะได้ยินข่าวที่ว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจะนำแนวทางการกำกับธุรกิจประกันภัยที่เรียกว่า “ระบบเตือนภัยล่วงหน้า” หรือ Early Warning System (EWS) มาใช้ตรวจสอบฐานะการเงินของบริษัทประกันภัยในเร็วๆ นี้ บทความการบริหารความเสี่ยงในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์จะช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้า ( Early Warning Ratios ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพิ่มมากขึ้น

อัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้านี้อาจดูเหมือนเป็นสิ่งใหม่สำหรับธุรกิจประกันภัยไทย แต่ในความเป็นจริงแล้ว อัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้าได้ถูกนำมาใช้กับธุรกิจประกันภัยในต่างประเทศมากว่า 40 ปี อัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้าในรูปแบบของอัตราส่วนทางการเงินนี้แรกเริ่มถูกพัฒนามาเพื่อใช้สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ต่อมาภายหลังจึงได้มีการพัฒนาอัตราส่วนทางการเงินสำหรับบริษัทประกันชีวิตตามมา

แต่เดิมนั้นการกำกับดูและธุรกิจประกันภัยในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาต่างก็ใช้อัตราส่วนทางการเงินเพื่อเป็นตัวชี้วัดถึงสภาวะทางการเงินของบริษัทประกันภัย อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดที่สามารถบ่งชี้ถึงสภาวะทางการเงินของบริษัทยังเป็นที่ถกเถียงกัน ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2516 สมาคมนายทะเบียนประกันภัยของสหรัฐอเมริกา (NAIC) ได้ว่าจ้างให้บริษัท McKinsey ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นแนวหน้าทำการศึกษาระบบการกำกับดูแลที่ใช้อยู่ในเวลานั้นและเสนอคำแนะนำและข้อแก้ไข

บริษัท McKinsey ได้ทดสอบอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้อยู่มากกว่า 100 อัตราส่วนกับข้อมูลจากบริษัทประกันภัยที่ล้มละลายในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น เพื่อที่จะดูว่าอัตราส่วนตัวใดมีความสามารถที่จะพยากรณ์การล้มละลายของบริษัทได้ดีที่สุด เนื่องจากข้อมูลที่ใช้ประกอบการศึกษามีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ McKinsey สามารถจะทดสอบความสามารถในการพยากรณ์การล้มละลายของบริษัทประกันภัยได้เป็นอย่างดี

ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนทางการเงินประมาณ 12 – 15 อัตราส่วนสามารถพยากรณ์ความถูกต้องของการล้มละลายของบริษัทประกันภัยได้ถูกต้องถึง 75 เปอร์เซ็นต์ 2 ปีก่อนการล้มละลายและอัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้สามารถพยากรณ์ความถูกต้องของการล้มละลายของบริษัทประกันภัยได้ถูกต้องอย่างน้อย 95 เปอร์เซ็นต์ 1 ปีก่อนการล้มละลาย อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้เหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า “อัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้า” หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า IRIS Ratios (The Insurance Regulatory Information System Ratio)

อัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้าแต่ละตัวนี้จะมีตัวเลขที่กำกับไว้เพื่อแสดงให้เห็นค่าที่ควรจะเป็นหรือที่เรียกว่า “ค่ามาตรฐาน” NAIC จะเป็นผู้กำหนดค่ามาตรฐานของ IRIS Ratios แต่ละตัว แต่ไม่ได้กำหนดค่ามาตรฐานของ IRIS Ratios สำหรับแต่ละบริษัทประกันภัย ผลของการคำนวณอัตราส่วน IRIS Ratios จะเป็นข้อมูลซึ่งเปิดเผยต่อสาธารณะ หากอัตราส่วนทางการเงินที่คำนวณได้ของแต่ละบริษัทอยู่นอกค่ามาตรฐานหลายอัตราส่วนก็จะทำให้บริษัทประกันวินาศภัยนั้นได้รับการจัดประเภทว่ามีความเสี่ยงสูง

ถึงแม้ว่าอัตราส่วนทางการเงินที่คำนวณได้ของบริษัทมีค่าอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะต้องล้มละลายภายใน 1 ปีเสมอไป มีความเป็นไปได้ที่บางบริษัทมีอัตราส่วนทางการเงินอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้จะสามารถดำเนินกิจการได้ แต่บริษัทใดก็ตามซึ่งท้ายสุดแล้วเกิดการล้มละลาย 95 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทเหล่านี้จะมีค่าอัตราส่วนทางการเงินเป็นจำนวนพอสมควรที่อยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ปกติ

เนื่องจากอัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีข้อโต้แย้งที่ว่า อัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้กับบริษัทประกันภัยในประเทศอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม McKinsey ให้ความเห็นว่าการดำเนินธุรกิจประกันภัยไม่ว่าจะที่ใดก็ตามก็คือธุรกิจประกันภัย ปัจจัยพื้นฐานในการประกอบธุรกิจและความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างตัวแปรต่างๆ ก็เป็นไปในทางเดียวกัน อัตราส่วนเตือนภัยล่วงหน้านี้จึงเป็นหลักการพยากรณ์ความมั่นคงของบริษัทประกันภัยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับบริษัทประกันภัยไม่ว่าในประเทศใดก็ตาม

บริษัทประกันภัยควรมีการใช้อัตราส่วนทางการเงินควบคู่ไปกับการตรวจตราและตรวจสอบข้อมูลทางการเงินอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์อัตราความเสียหายของแต่ละชนิดของการประกันภัย การวิเคราะห์อัตราส่วนค่าใช้จ่าย การวิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโต การวิเคราะห์การลงทุน และการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร เป็นต้น

ถึงแม้อัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้เป็นเสมือนสัญญาณเตือนภัยให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจประกันภัย การใช้อัตราส่วนทางการเงินเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบความมั่นคงทางการเงินของบริษัท มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์สัญญาณเตือนที่ผิดพลาดหรือที่เรียกว่า False Alarm ก็เป็นได้ การวิเคราะห์สภาวะทางการเงินของบริษัทนี้จึงควรทำควบคู่ไปกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน นอกจากนี้แล้ว คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง

ในการนำ IRIS Ratios มาใช้นั้น ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือว่า การนำค่ามาตรฐานสำหรับแต่ละอัตราส่วนมาใช้กับแต่ละประเทศอาจต้องมีการปรับให้เหมาะสม เนื่องจากสภาวะแวดล้อมในการประกอบธุรกิจประกันภัยในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ค่ามาตรฐานที่กำหนดนี้อาจต้องมีการปรับเป็นระยะให้สอดคล้องกับธุรกิจประกันภัยที่มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และท้ายสุดแล้ว ค่ามาตรฐานที่ใช้ทั่วโลกก็จะมีความแตกต่างกันไม่มากนัก นอกจากนี้แล้ว การนำอัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้มาใช้อาจต้องมีการปรับเพิ่มจำนวนอัตราส่วนที่ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศด้วย โดยอาจมีการเพิ่มอัตราส่วนทางการเงินจากอัตราส่วนมาตรฐานเหล่านี้ก็เป็นได้

...คลิกดาวน์โหลดไฟล์ pdf เพื่ออ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่
//www.iprbthai.org/contents2/RM12.pdf

ที่มาของบทความ :: IPRB Newsletter ฉบับที่ 12 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2551)



ที่มา: //www.iprbthai.org/




Create Date : 11 กรกฎาคม 2552
Last Update : 11 กรกฎาคม 2552 13:53:39 น. 0 comments
Counter : 1576 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

byonya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I am not a perfect, but simple!

 
 
Custom Search



 
 

Website น่าสนใจ  
 
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เว็บการศึกษา Eduzones.com

Business Web Directory .biz - Business Directory
 


Word of the Day

This Day in History

Quote of the Day

Hangman




Friends' blogs
[Add byonya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.