Business, Management, Skill, Experiences--แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน ประสบการณ์ บริหาร และอื่น ๆ
Group Blog
 
All blogs
 
3 กุญแจความสำเร็จองค์กร สร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยง

3 กุญแจความสำเร็จองค์กร สร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยง

-----------------------------------------------------------------------------
((( ตอนนี้ความเสี่ยงสูงไปซะทุกด้าน .... มาเรียนรู้การสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยงดีกว่า )))
-----------------------------------------------------------------------------

ความเสี่ยงและการเติบโตทางธุรกิจเป็นเรื่องเล่าที่มักจะเดิน คู่ขนานกันไป ตราบเท่าที่องค์กรธุรกิจนั้นๆ มีภูมิต้านทานความเสี่ยงในระดับที่แข็งแกร่ง

อย่างไรก็ตามผลสำรวจล่าสุดซึ่งเผยแพร่เมื่อ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมาโดยเครือข่ายข่าวสารการตรวจสอบภายในองค์กรทั่วโลก หรือ (Global Audit Information Network : GAIN) ได้สะท้อนภาพที่น่าวิตกของการจัดการความเสี่ยงในช่วงหลังเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยพบว่าราว 40% ของประธานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กรของ 240 บริษัทที่ร่วมตอบแบบสอบถาม ระบุว่า มีการนำระบบการจัดการความเสี่ยงมาใช้ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยง ในจำนวนนั้น พบว่า 14% มีการเสนอแนะให้ฝ่ายบริหารว่า ควรมีการนำระบบการจัดการความเสี่ยง มาใช้ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

อย่างไรก็ตามในกลุ่มบริษัทที่มีระบบการจัดการความเสี่ยง พบว่าการดูแลเรื่องความเสี่ยงไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ ส่วนหนึ่งมีอุปสรรคในแง่ของการขาดการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร คณะกรรมการบริหารบริษัท รวมถึงพนักงานระดับต่างๆ

ผลการสำรวจสะท้อนถึงช่องโหว่ที่ยังคงเปิดกว้างอยู่ และเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจ "เปราะบาง" ต่อภัยคุกคามจากภายนอกและภายในที่เข้ามากระทบโดยง่าย



กุญแจแห่งความสำเร็จของการจัดการความเสี่ยงอยู่ที่ตัวแปร 3 ประการ ได้แก่ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี

จากการสำรวจของ GAIN เห็นได้ชัดว่า แม้ธุรกิจจะเล็งเห็นการจัดการความเสี่ยงมีความสำคัญ แต่ "คน" กลับเป็นอุปสรรค ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นปัจจัยสนับสนุน ทั้งนี้เป็นเพราะ "คน" มีอิทธิพลมากที่สุดต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการจัดการความเสี่ยง

คนมีบทบาทสำคัญต่อการจำแนกว่า อะไรคือความเสี่ยง ตลอดจนการตัดสินใจที่จะช่วยวางระบบในการสร้างภูมิต้านทานความเสี่ยงในระยะยาว หรือแม้กระทั่งการตัดสินใจแบบปัจจุบันทันด่วนเมื่อมีความเสี่ยงเข้ากระทบ หรือลดความเสี่ยง เมื่อการตัดสินใจนั้นๆ ส่งผลลบต่อธุรกิจ

การสื่อสารให้บุคลากรในทุกหน่วยย่อยของธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญ และ ผลกระทบจากการดึงความเสี่ยงเข้ามาหาองค์กรจึงมีความสำคัญยิ่ง

"คน" ที่มีบทบาทมากที่สุดในการจัดการความเสี่ยงคือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการความเสี่ยง หรือ Chief Risk Officer (CRO)

นอกเหนือจากคนยังมีปัจจัยในด้านกระบวนการ และเทคโนโลยี ปัจจุบัน "กระบวนการ" มีความสำคัญไม่แพ้องค์ประกอบตัวอื่นๆ เพราะการจัดการความเสี่ยงได้กลายเป็นงานใหญ่ที่มีความครอบคลุมและรอบด้าน ขยายไปตามบทบาทและภารกิจของ CRO ที่เพิ่มขึ้นจากการจัดการและควบคุมความเสี่ยงไปเป็นการบริหารวิกฤตการณ์ การป้องกันการฉ้อโกง จนถึงคุ้มครองทรัพย์สินองค์กร

จอห์น เอ็น. สจ๊วต รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายระบบความปลอดภัยในองค์กรของซิสโกเสนอแนะว่า ในการออกแบบกระบวนการจัดการความเสี่ยงจำเป็นต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตของธุรกิจ

เช่นเดียวกับ เทคโนโลยี ซึ่งต้องไม่มองว่าเป็นแค่เครื่องมือหรือส่วนเสริมของการจัดการความเสี่ยง แต่เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเทคโนโลยีเมื่อบวกเข้ากับข้อมูลที่แม่นยำ หากใช้ อย่างถูกต้องสามารถช่วยในการตัดสินใจ ต่อความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า จะสร้างความสมดุลของการจัดการความเสี่ยงได้อย่างไร คำตอบคือต้องเข้าใจ "หยินและหยาง" ของการจัดการความเสี่ยง ดังที่ ลีโอ เอ.แมคแคน ผู้อำนวยการ บริษัทริสก์ แอนด์ อินชัวรันซ์ แมเนจเมนต์ ได้แยกแยะองค์ประกอบ ด้านอ่อน หรือ "หยิน" ว่า ได้แก่ การตระหนักถึงความเสี่ยง คน ทักษะ คุณธรรม แรงจูงใจ วัฒนธรรม และค่านิยม จนถึงความไว้วางใจ และการสื่อสาร

ขณะที่ด้าน "หยาง" ประกอบด้วย คณะกรรมการกำกับดูแลความเสี่ยง นโยบายและขั้นตอนการดำเนินงาน การประเมินความเสี่ยง มาตรการ และการรายงาน การจำกัดความเสี่ยง กระบวนการในการตรวจสอบภายใน และระบบต่างๆ

แนวคิดและพัฒนาการของการจัดการความเสี่ยงกำลังรุดหน้าไปไกลมาก แม้ว่าการนำไปประยุกต์ยังไล่ไม่ทันอยู่ก็ตาม เอ็ม ชัยเทพ จากสถาบันการจัดการของอินเดียกล่าวว่า ปัจจุบันมุมมองต่อการจัดการความเสี่ยงได้แตกต่างไปจากเดิม การจัดการความเสี่ยงไม่ได้มีเป้าหมายแค่การลดความเสี่ยงทางการเงิน เพียงอย่างเดียว แต่เป้าหมายของการจัดการความเสี่ยงยังครอบคลุมถึงการนำมาใช้เพื่อทำให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพสูง และที่สำคัญการจัดการความเสี่ยงที่ดียังหมายถึงโอกาสทางธุรกิจด้วย หากธุรกิจบางรายมองเห็นโอกาสที่จะยกระดับธุรกิจ ไปสู่การเป็นผู้จัดการหานวัตกรรมการจัดการความเสี่ยง ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า (ฉบับพิเศษ การบริหารจัดการความเสี่ยงภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก)


ที่มา: //www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02sup03280552&day=2009-05-28§ionid=0218


Create Date : 28 พฤษภาคม 2552
Last Update : 28 พฤษภาคม 2552 18:04:13 น. 0 comments
Counter : 646 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

byonya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I am not a perfect, but simple!

 
 
Custom Search



 
 

Website น่าสนใจ  
 
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เว็บการศึกษา Eduzones.com

Business Web Directory .biz - Business Directory
 


Word of the Day

This Day in History

Quote of the Day

Hangman




Friends' blogs
[Add byonya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.