Group Blog
 
All Blogs
 

รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฏก : การบูชายัญที่มีผล คือ การให้ทานและบำเหน็จข้าราขการ



"รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฏกในความตอนที่แล้ว นำเสนอเรื่องวิีธีปราบโจรโดยชอบธรรมคือต้องส่งเสริมคนดีและควบคุมคนชั่ว โดยกล่าวถึงวิธีส่งเสริมและ คัดเลือกคนดีให้เข้ามาบริหารประเทศ" วิธีการปกครองบ้านเมืองตอนต่อไปนี้ นำเสนอเรื่องการบูชายัญให้เกิดผล ...ได้แก่อย่างไร เชิญศึกษาค่ะ".....



รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก

ตอน : การบูชายัญโดยชอบธรรม

Smiley


วิธีบูชายัญเพื่อให้บังเกิดผลไพบูลย์



หลังจากนั้น พราหมณ์ปุโรหิตก็ได้แสดงยัญวิธี 3 ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาใจให้ผ่องใส ปราศจากวิปฏิสารคือความเดือนร้อนใจ กังวลใจ เพราะเสียดายทรัพย์ในขณะที่พระราชาบูชายัญ โดยยัญในที่นี้หมายถึง "การให้ทานแก่ประชาชนŽ"

          (1) เมื่อทรงบูชายัญคือให้ทานอยู่ ความเดือดร้อนใจว่า กองโภคสมบัติใหญ่จักหมดเปลือง อย่าพึงมีแก่พระองค์
          (2) เมื่อทรงบูชายัญคือให้ทานอยู่ ความเดือดร้อนใจว่า กองโภคสมบัติใหญ่กำลังหมดเปลืองไปอยู่ อย่าพึงมีแก่พระองค์
          (3) เมื่อทรงบูชายัญคือให้ทานอยู่ ความเดือดร้อนใจว่า กองโภคสมบัติใหญ่ได้หมดเปลืองไปแล้ว อย่าพึงมีแก่พระองค์


กุศลกรรมบถคือคุณสมบัติของคนดี



          นอกจากนี้ พราหมณ์ปุโรหิตยังได้กำจัดความเดือดร้อนใจ อันจะเกิดขึ้นแก่   พระราชาว่า  ทั้งคนดีและคนไม่ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีหรือโรงทานของพระองค์ พวกคนที่ไม่ดีจักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอทรงตั้งพระทัยเจาะจงให้เฉพาะคนที่ดีเท่านั้น และทรงทำพระทัยให้ผ่องใสเถิด คนดีในที่นี้หมายถึง คนที่ประกอบกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในหัวข้อ   "หลักธรรมสำคัญในการปกครอง"


ยัญพิธีสำเร็จด้วยการให้ทานเว้นการฆ่าสัตว์



          ในยัญพิธีนั้น แตกต่างจากยัญพิธีของพราหมณ์เหล่าอื่นในยุคนั้นคือ ไม่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำเป็นหลักยัญ ชนที่เป็นทาส เป็นคนใช้ เป็นกรรมกร ก็มิได้ถูกอาญาคุกคาม มิได้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้กระทำการงาน คนที่ปรารถนาจะกระทำจึงกระทำ ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องกระทำ ปรารถนาจะกระทำการงานใดก็กระทำการงานนั้น ไม่ปรารถนาจะกระทำการงานใด ก็ไม่ต้องทำการงานนั้น ยัญนั้นได้สำเร็จแล้วด้วยการให้วัตถุเป็นทาน คือ เนยใส น้ำมัน เนยข้น นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เท่านั้น


กลุ่มคนระดับบนช่วยพระราชาบริจาคทาน


          เมื่อพระเจ้าวิชิตราชทรงบูชามหายัญ คือการบริจาคทานอยู่ พวกกษัตริย์ประเทศราช  พวกอำมาตย์ราชบริพาร พวกพราหมณ์มหาศาล พวกคหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งเป็นชาวเมืองและชาวชนบท ต่างก็พากันนำทรัพย์มากมายมาเข้าเฝ้าแล้วกราบทูลว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าได้นำทรัพย์มาถวายเฉพาะพระองค์

           พระเจ้ามหาวิชิตราชตรัสว่า อย่าเลย แม้ทรัพย์เป็นอันมากนี้ของข้าพเจ้า ก็ได้รวบรวมมาแล้วจากภาษีอากรที่เป็นธรรม พวกท่านจงนำทรัพย์จากที่นี้เพิ่มไปอีก 

           กษัตริย์ประเทศราชเป็นต้นเหล่านั้น เมื่อถูกพระราชาปฏิเสธ ต่างคิดร่วมกันว่า การที่พวกเราจะรับทรัพย์เหล่านี้กลับคืนไป ไม่สมควรเลย พระเจ้ามหาวิชิตราชกำลังทรงบูชามหายัญ อยู่ พวกเรามาบูชายัญตามเสด็จพระองค์บ้าง ด้วยเหตุนี้ พวกอนุยนตกษัตริย์ ก็ได้บำเพ็ญทานทางทิศตะวันออกแห่งหลุมยัญ พวกอำมาตย์ราชบริพารได้บำเพ็ญทานทางทิศใต้แห่งหลุมยัญ  พวกพราหมณ์มหาศาลได้บำเพ็ญทานทางทิศตะวันตกแห่งหลุมยัญ และพวกคหบดีผู้มั่งคั่งได้บำเพ็ญทานทางทิศเหนือแห่งหลุมยัญ


          เมื่อพระเจ้าวิชิตราชแก้ปัญหาสังคมและปกครองบ้านเมืองด้วยวิธีการอย่างนี้ จึงทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป พลเมืองเป็นผู้ขวนขวายในการงานของตนๆ ไม่เบียดเบียนกันและกัน ทำให้กองพระราชทรัพย์อันเกิดจากภาษีอากรมีจำนวนมาก บ้านเมืองก็ตั้งมั่นอยู่ในความเกษม หาเสี้ยนหนามมิได้ ประชาชนชื่นชมยินดีต่อกันไม่ต้องปิดประตูเรือนอยู่ 



บทวิเคราะห์การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช


          บทวิเคราะห์การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราชนี้ อ้างอิงข้อมูลพื้นฐานจากหนังสือ "รัฐศาสตร์เชิงพุทธ" โดยพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และบางส่วนผู้จัดทำหนังสือได้เขียนเสริมเข้าไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ โดยประเด็นแรกที่จะวิเคราะห์คือ พิธีกรรมบูชามหายัญยุคดั้งเดิม ดังนี้


1 พิธีกรรมบูชามหายัญยุคดั้งเดิม

          ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์นับพันๆ ปีก่อนพุทธกาล พระราชาแต่ละแคว้นปกครองประชาชนด้วยหลักราชสังคหวัตถุ อันเป็นหลักสงเคราะห์ประชาชนพลเมือง โดยสมัยนั้นเรียกหลักสงเคราะห์นี้ว่า ยัญ 5 มีดังนี้

          (1) สัสสเมธะ คือ ฉลาดในการทำนุบำรุงพืชพันธ์ ธัญญาหาร โดยเก็บภาษีที่นา      ร้อยละ 10 ตามความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อทำนุบำรุงเหล่าเกษตรกร

          (2) ปุริสเมธะ คือ ฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ    โดยให้ค่าจ้างบำเหน็จรางวัลแก่ทหารทุกๆ 6 เดือน

          (3) สัมมาปาสะ คือความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ ให้กู้ยืม เงินโดยปลอดดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี

          (4) วาชเปยยะ คือ การมีวาจาอันดูดดื่ม ด้วยการพบปะให้โอวาทประชาชน

          (5) นิรัคคฬะ คือ บ้านเมืองสงบสุขปราศจากโจรผู้ร้าย ไม่ต้องระแวงกัน บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน ซึ่งเป็นผลอันเกิดจากยัญ 4 ประการแรก

          ต่อมาเมื่อหลายร้อยปีก่อนยุคพุทธกาล มีพราหมณ์บางคน บางกลุ่ม บางพวก ไม่ซื่อตรงต่อวิชาความรู้ของตน ได้ดัดแปลงการบูชายัญเพื่อกำจัดศัตรูบ้านเมือง และเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนโดยเปลี่ยน
           (1) สัสสเมธะ เป็น อัสวเมธะ คือ การฆ่าม้าบูชายัญ
           (2) ปุริสเมธะ เป็นการฆ่าคนบูชายัญ
           (3) สัมมาปาสะ เป็นการทำบ่วงแล้วขว้างไม้ลอด ไปตกที่ไหนก็ทำพิธีบูชายัญที่นั่น 
           (4) วาชเปยยะ การดื่มน้ำเมาเพื่อกล่อมจิตใจให้พร้อมที่จะบูชายัญ
           (5) นิรัคคฬะ การฆ่าครบทุกอย่าง

  การบูชายัญโดยการฆ่าสัตว์นี้ ได้แพร่ระบาดไปทั่วชมพูทวีป จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแก้ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการบูชายัญ ให้กลับมาเป็นราชสังคหวัตถุตามเดิม ดังเรื่องราวในกูฏทันตสูตรที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


2 แผนภูมิการปกครองประเทศด้วยหลักบนสี่ล่างสาม

          จากเนื้อหาในกูฏทันตสูตร สามารถสรุปเป็นแผนภูมิการปกครองประเทศของพระเจ้ามหาวิชิตราชได้ดังแผนภูมิข้างบนนี้ จะเห็นว่ามีการแบ่งกลุ่มบุคคล ซึ่งเป็นเป้าหมายในการบริหารประเทศออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับล่าง 3 กลุ่ม และระดับบน 4 กลุ่ม

กลุ่มเป้าหมายระดับล่าง 3 กลุ่ม

          กลุ่มเป้าหมายระดับล่างนั้น ถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในปัจจุบันเรียกคนกลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มระดับรากหญ้า มีดังนี้

          (1) กลุ่มเกษตรกร ได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ ผู้ทำการเกษตรและกสิกรรม
          (2) กลุ่มพ่อค้าย่อย ได้แก่ พ่อค้า แม่ค้า ผู้ประกอบอาชีพอิสระทั้งหลาย
          (3) กลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อย และผู้รับจ้างในวงราชการ
  ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้เกิดกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นมา คือ กรรมกรผู้ใช้แรงงาน ซึ่งก็อาจจะรวมอยู่ในกลุ่มที่หนึ่งของระดับล่าง คือ กลุ่มเกษตรกร

กลุ่มเป้าหมายระดับบน 4 กลุ่ม

          กลุ่มเป้าหมายระดับบน ถือเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในแผ่นดิน หากเทียบปริมาณแล้ว กลุ่มนี้มีจำนวนน้อยกว่าคน 3 กลุ่มในระดับล่างมาก แต่แม้จะมีปริมาณน้อย ถึงกระนั้นกลุ่มคนเหล่านี้ก็มีอิทธิพลมากต่อการเมืองการปกครอง ซึ่งมีดังนี้
          (1) กลุ่มเจ้าเมืองประเทศราช หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มนักการเมืองระดับชาติ เช่น สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.), สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.), คณะรัฐมนตรี ฯลฯ กลุ่มคนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ
          (2) กลุ่มอำมาตย์ราชบริพารผู้ใหญ่ หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น เสนาธิการ, ปลัดกระทรวง, อธิบดี, ผู้ว่าราชการจังหวัด, ผู้บัญชาการทหารทุกเหล่า ฯลฯ ซึ่งถือเป็นกลุ่มรับนโยบายไปปฏิบัติ
          (3) กลุ่มพราหมณ์มหาศาล หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ ผู้นำทางความคิด        นักวิชาการใหญ่ สื่อมวลชนใหญ่ ซึ่งเป็นสถาบันทางความคิดที่ถ่วงดุลอำนาจรัฐโดยการชี้นำประชาชน
          (4) กลุ่มคหบดีมหาศาล หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจใหญ่ๆ หรือ พวกพ่อค้าระดับประเทศ เป็นกลุ่มที่มีทรัพย์มาก มีบริวารซึ่งเป็นชนในระดับล่างมาก 


ขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย



***เชิญติดตามตอนต่อไปค่ะ ***




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2555    
Last Update : 25 มิถุนายน 2555 18:21:14 น.
Counter : 2149 Pageviews.  

รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฏก : วิธีปราบโจรโดยชอบ

บทที่ 6 รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก



6.8 ตัวอย่างการปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช

           ตัวอย่างการปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้ แสดงให้เห็นถึงการนำหลักธรรมาธิปไตยมาใช้ในการปกครอง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจอันเป็นสิ่งสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อการปกครองโดยตรง จึงอาจจะเรียกว่าเป็น "เศรษฐศาสตร์การเมือง" ยุคโบราณก็ว่าได้ เพราะเป็นการปกครองที่เริ่มต้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีเป็นลำดับแรก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ลืมพัฒนาศีลธรรมอันเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองประเทศ

เนื้อหาในหัวข้อนี้อ้างอิงจาก "กูฏทันตสูตร" ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบูชามหายัญของพระองค์ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการปกครองได้เป็นอย่างดี พระสูตรนี้ พระสัมมาสัม-    พุทธเจ้าตรัสให้กูฏทันตพราหมณ์ฟัง โดยครั้งหนึ่ง กูฏทันตพราหมณ์ผู้ปกครองบ้านชื่อ "ขาณุมัต" ประสงค์จะบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์ เป็นต้น แต่มีความสงสัยในเรื่องพิธีกรรมอยู่หลายประการ จึงได้เข้าไปกราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงวิธีการบูชายัญที่ถูกต้อง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าถึงตัวอย่างการบูชายัญที่ถูกต้องดังนี้ ในอดีตกาล  มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า พระเจ้ามหาวิชิตราช เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก วันหนึ่งทรงดำริว่าเราได้ครอบครองสมบัติมนุษย์อย่างไพบูลย์แล้ว ได้ชนะข้าศึกและปกครองดินแดนมากมาย เราพึงบูชามหายัญที่จะเป็นประโยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน จากนั้นพระองค์จึงรับสั่งให้เรียกพราหมณ์ปุโรหิตมาแล้วตรัสว่าเราจะบูชามหายัญ ขอท่านจงชี้แจงวิธีบูชา        มหายัญแก่เรา


พราหมณ์ปุโรหิตซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ชนบทของพระองค์ยังมีเสี้ยนหนาม ยังมีการเบียดเบียนกัน โจรปล้นบ้านก็ดี ปล้นนิคมก็ดี ปล้นเมืองก็ดี โจรทำร้ายในหนทางเปลี่ยว ก็ดี ยังปรากฏอยู่ พระองค์ควรจะปราบโจรผู้ร้าย เพื่อให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยเสียก่อน แล้วค่อยบูชามหายัญ แต่การปราบปรามโจรด้วยการประหาร จองจำ ปรับไหม ตำหนิ หรือ เนรเทศ วิธีเช่นนี้ ไม่ชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ เพราะว่าโจรบางพวกที่เหลือจากการถูกกำจัดจักยังมีอยู่ โจรเหล่านั้นก็จักเบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์ได้

การปราบโจรที่ต้นเหตุคือเศรษฐกิจ


          จากนั้นพราหมณ์ปุโรหิตจึงกราบทูลวิธีการปราบโจรโดยชอบ ด้วยการแก้ปัญหาความยากจนหรือปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา โดยปุโรหิตได้ถวายคำแนะนำ     พระราชาว่า ให้ช่วยเหลือคนระดับล่าง 3 กลุ่มซึ่งขยันทำมาหากิน ดังนี้


          (1) เกษตรกรคนใด ขยันทำงาน ขอพระองค์จงเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่พวกเขาในโอกาสอันสมควร 
          (2) พ่อค้าคนใด  ขยันทำงาน ขอพระองค์จงเพิ่มทุนให้แก่พวกเขาในโอกาสอันสมควร 
          (3) ข้าราชการคนใด ขยันทำงาน ขอพระองค์จงพระราชทานเบี้ยเลี้ยง และ พระราชทานเงินเดือนให้แก่พวกเขาในโอกาสอันสมควร

          ปุโรหิตกราบทูลอีกว่า หากพระองค์ทำอย่างนี้ พลเมืองเหล่านั้นจักเป็นผู้ขวนขวายในการงานของตนๆ จักไม่เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์ กองพระราชทรัพย์อันเกิดจากภาษีอากรจำนวนมากจักเกิดแก่พระองค์  บ้านเมืองก็จะตั้งมั่นอยู่ในความเกษม  ไม่มีการเบียดเบียนกัน  พลเมืองจักไม่ต้องปิดประตูเรือนอยู่ ต่อมาเมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงทำตามคำแนะนำของพราหมณ์ปุโรหิตแล้ว ก็ปรากฏว่าได้ผลเช่นนั้นจริง


การขอความร่วมมือกลุ่มคนระดับบน


          หลังจากที่บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวดีแล้ว พระเจ้ามหาวิชิตราช จึงตรัสถามวิธีบูชามหายัญกับพราหมณ์ปุโรหิตๆ จึงกราบทูลให้พระราชาขอความเห็นชอบ และขอความร่วมมือเรื่องการบูชามหายัญจากคนระดับบน 4 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากต่อการเมืองการปกครองเพื่อเป็นบริวารของยัญ ดังนี้ 


          (1) อนุยนตกษัตริย์ หมายถึง กษัตริย์ประเทศราช
          (2) อำมาตย์ราชบริพาร หมายถึง ข้าราชการผู้ใหญ่
          (3) พราหมณ์มหาศาล หมายถึง พราหมณ์ที่มีฐานะร่ำรวย
          (4) คหบดีผู้มั่งคั่ง หมายถึง พวกพ่อค้าที่มีฐานะร่ำรวย

พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลให้พระราชาเรียกชนทั้ง 4 กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นชาวเมืองและชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของพระองค์มาปรึกษาว่า เราปรารถนาจะบูชายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงทำอย่างนั้น ชนทั้ง 4 เหล่านั้น กราบทูลว่า ขอพระองค์จงบูชายัญเถิด บัดนี้เป็นการสมควรที่จะบูชายัญ 

คุณสมบัติของผู้ปกครองประเทศ


          นอกจากนี้ พราหมณ์ปุโรหิตยังได้กล่าวถึงคุณสมบัติของพระเจ้าวิชิตราช8 ประการว่าจัดเป็นบริวารของยัญด้วยโดยคุณสมบัติเหล่านี้ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำหรือ    ผู้ปกครองประเทศ


          (1) ทรงมีชาติตระกูลดี ไม่มีใครติเตียนได้
         (2) ทรงมีบุคลิกดีคือ มีพระรูปงาม มีพระฉวีวรรณและพระรูปคล้ายพรหม น่าดู น่าชม
          (3) ทรงมั่งคั่งมีทรัพย์มาก 
          (4) ทรงสมบูรณ์ด้วยกองทัพทั้ง 4 เหล่า ที่มีวินัยเคร่งครัด
         (5) ทรงมีพระราชศรัทธา เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นดุจบ่อที่ลงดื่มของสมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจก
          (6) ทรงศึกษามามาก
          (7) ทรงแตกฉานในความรู้ที่ได้ศึกษามานั้น
         (8) ทรงเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระราชดำริถึง      เหตุการณ์ในอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ 

คุณสมบัติของที่ปรึกษาผู้นำประเทศ


          ในขณะเดียวกัน พราหมณ์ปุโรหิตก็ยังได้กล่าวถึง คุณสมบัติของตน 4 ประการว่า จัดเป็นบริวารของยัญเช่นกัน โดยคุณสมบัติเหล่านี้ ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ทำหน้าที่เป็น ที่ปรึกษาของผู้นำประเทศ
          (1) มีชาติตระกูลดี ไม่มีใครติเตียนได้
       (2) เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ได้มาก แตกฉานในคัมภีร์ทั้งปวงของพราหมณ์  และชำนาญในคัมภีร์มหาปุริสลักษณะ
          (3) เป็นผู้มีศีลอันมั่นคง
          (4) เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญามาก 

ที่มา : มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย


Smiley กรุณาติดตามตอนหน้าค่ะ Smiley




 

Create Date : 23 มิถุนายน 2555    
Last Update : 23 มิถุนายน 2555 17:46:03 น.
Counter : 2257 Pageviews.  

เรื่อง "โหงวเฮ้ง"ทำให้รู้หน้ารู้ใจ จริงหรือ

รู้หน้า รู้ใจจริงหรือ


        โหงวเฮ้ง เป็นลักษณะของการพิจารณาดู 5 ประการบนใบหน้าของเรา มี หู ตา คิ้ว จมูก และปาก เพื่อดูลักษณะนิสัยใจคอ รวมไปถึงอดีตและอนาคต ซึ่งทักษะการดูแบบนี้มันจะแม่นหรือตรงจริงหรือไม่



โหงวเฮ้ง เป็นลักษณะของการพิจารณาดู 5 ประการบนใบหน้า



        ตามตำราวิชาโหงวเฮ้ง ทำให้เราได้ทราบถึงการพิจารณาบุคคลที่จะรับเข้าทำงาน หรืออาจเป็นการสังเกตเพื่อหาคนมาร่วมลงทุน มาทำธุรกิจร่วมกัน ช่วยคัดกรองบุคคลต่างๆ เพื่อมาร่วมงาน ร่วมธุรกิจ หรือแม้กระทั่งร่วมชีวิตด้วยกัน


มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับศาสตร์การดูโหงวเฮ้ง?

        สิ่งที่คนเราคิด พูด ทำ ซ้ำๆ นั้นจะส่งผลต่อบุคลิกลักษณะ นี่คือข้อมูลพื้นฐานเลย และโดยบุคลิกของคนแต่ละคนก็พอจะสื่อถึงนิสัยใจคอได้เหมือนกัน เช่นถ้าคิดถึงแต่เรื่องไม่ดีบ่อยๆ หน้าตาก็จะดูหมองคล้ำดำเครียด โบราณว่า ราศีโจรจับ บุคลิกก็จะดูแย่ แต่ถ้าในคนๆ เดียวกันนี้กลับคิดถึงแต่เรื่องดีๆ กลับตัวกลับใจ เข้าวัดเข้าวา ปฏิบัติธรรม บุคลิกก็เปลี่ยนเป็นดูผ่องใส เพราะคิดแต่เรื่องดีๆ บ่อยๆ พูดถึงแต่สิ่งดีๆ บ่อยๆ ทำแต่สิ่งที่ดีบ่อยๆ ใจก็จะสบาย พอใจสบายบุคลิกก็ส่งผลสะท้อนออกมา
        ฉะนั้นแม้ในคนๆ เดียวกัน เราเองคงเคยรู้สึกว่า บุคลิกเราเองก็มีการเปลี่ยนตลอด บางช่วงกำลังอารมณ์ดีเบิกบาน สดใส บุคลิกก็จะดูดี แต่บางช่วงอารมณ์ไม่ดีติดปัญหาไปหมด หน้าตาก็จะดูเคร่งเครียด คนอื่นมองเห็นแล้วก็พลอยไม่สบายใจไปด้วย


การดูโหงวเฮ้งบนใบหน้าของเราจะบ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง?

        จริงๆ แล้วการพิจารณาดูใบหน้าของเราซึ่งมี หู ตา คิ้ว จมูก และปากนั้น ความจริงแล้วไม่ได้มีแค่นี้ ยังดูถึงผิวพรรณวรรณะ อากัปกิริยาต่าง การเดินนั่ง ทุกอย่างมีผลหมด มันจะสะท้อนบุคลิกออกมาให้เห็นทั้งหมดเลย อย่างตอนที่ใจเราสบาย อากัปกิริยาต่างๆ ของเราก็จะดูหนักแน่นมั่นคง แต่ถ้าคนไหนที่มีอะไรในใจท่าทางก็จะดูลุกลี้ลุกลน ในทางวิทยาศาสตร์เขาก็สามารถผลิตเครื่องจับเท็จได้แล้ว เพราะเขารู้ว่าคนเราถ้าคิดจะพูดเท็จแล้วอุณหภูมิในร่างกายจะเริ่มเปลี่ยนแปลง จังหวะการเต้นของหัวใจหรือความดันก็เริ่มเปลี่ยนจากปกติ คนเก่งๆ แค่มองหน้าตา คุยไปก็รู้แล้วว่าคนที่พูดนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะความคิดมันจะสะท้อนกลับออกมาหมด

เราจะใช้ประโยชน์จากการดูบุคลิกคนจากภายนอก ที่สามารถบ่งบอกนิสัยใจคอได้อย่างไรบ้าง?
        อันนี้คงจะช่วยได้มาก เพราะเราเองเมื่อจะคบใครถ้าดูออกว่าเขาเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ ก็จะช่วยเราได้เยอะ หรือถ้าเราเป็นหัวหน้างาน จะรับคนมาทำงานบางครั้งก็ต้องให้ซินแสมาดูโหงวเฮ้งให้ ว่าดีไหม อันนี้ก็ถือเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่ง
        ในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าสิ่งต่างๆ ที่เราคิด พูด ทำบ่อยๆ จนเป็นนิสัยนั้นมันส่งผลต่อบุคลิก ฉะนั้นการดูบุคลิกคนอื่นนั้นก็เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งได้เหมือนกัน แต่ถ้าจะมองให้รู้เห็นถึงอนาคตว่าชาติหน้าจะเป็นอย่างไร อันนี้ก็มีส่วนอยู่บ้าง แต่ก็คงจะไม่แม่น 100 % เพราะถ้าชาตินี้เขาคิดดี พูดดี ทำดี เราก็พอจะประมาณได้ว่า อนาคตข้างหน้าก็จะดีทั้งในชาตินี้และชาติหน้า แต่ถ้าต่อไปข้างหน้าเขาไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเองใหม่ จากคนดีๆ บางทีกลายเป็นร้ายก็มี อนาคตเขาก็ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ มันอยู่ที่การกระทำ นี่คือกฎแห่งกรรม เมื่อทำสิ่งที่ดีก็สะท้อนมาถึงบุคลิกที่ดี ถ้าไปทำสิ่งที่ไม่ดีก็จะสะท้อนถึงบุคลิกที่เสีย แล้วก็ส่งผลเสียต่อเนื่องทั้งในชาตินี้และชาติหน้าเลย
        เพราะฉะนั้น การอ่านคนได้ มีส่วนช่วยได้ แต่ถ้าแค่เจอหน้า พูดคุย ดูบุคลิก แล้วอ่านเลยอย่างนี้ก็ถือว่ายังคร่าวๆ ถ้าหากเราคบกับใคร คนรอบๆ ตัวเรา เรามีโอกาสสังเกตมากกว่านั้น ก็ให้ดูสิ่งที่เขาคิด พูด ทำ เพราะพฤติกรรมที่เขาแสดงออกมานั้นจะบ่งบอกได้ว่าเขาเป็นอย่างไร อย่างนี้เป็นประโยชน์กับเราแน่นอน

ปัจจุบันมีการทำศัลยกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนโหงวเฮ้ง ตรงนี้มีความเห็นว่าอย่างไร?
        เรื่องศัลยกรรมนั้น คงไม่สามารถแก้นิสัยของคนได้ ก็คงช่วยได้แค่ทำให้ดูดีขึ้น ทำให้เจ้าตัวเกิดความมั่นใจ สบายใจขึ้น แต่นี้ก็เป็นแค่ผิวเผิน ซึ่งมันก็มีวิธีการเปลี่ยนโหงวเฮ้งโดยไม่ต้องเจ็บตัวด้วย นั่นคือเราเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเอง คิดในเรื่องที่ดีๆ ให้มากกว่าเดิม พูดอะไรที่ไม่ดี เราก็พยายามงด ไม่พูด อะไรที่มันร้ายๆ พูดแล้วตัวเองและคนอื่นเสียหายก็ไม่พูด ให้พูดถึงแต่สิ่งที่เป็นบุญกุศล สิ่งที่ดีงาม แล้วก็ทำแต่เรื่องดีๆ ทำได้อย่างนี้โหงวเฮ้งเราก็จะเปลี่ยน บุคลิกจะผ่องใสดูดีโดยไม่ต้องพึ่งศัลยกรรม ไม่ต้องเจ็บตัวและเสียเงินด้วย เพราะมันดีมาจากภายในนั่นเอง อย่างนี้ดียาว ใครๆ ก็อยากเข้าหาเพราะดูแล้วเย็นตาเย็นใจ อย่าไปหลงประเด็นติดอยู่ที่เปลือกข้างนอก ต้องมองว่าเปลือกข้างนอกมันสะท้อนออกมาจากภายใน เมื่อไหร่ที่ไม่คิดจะแก้จากภายในแต่จะไปแก้ที่เปลือกนอก มันก็จะได้แค่ชั่วคราวไม่ยั่งยืน ดีไม่ดีจะเกิดผลเสียด้วยซ้ำ ฉะนั้นการทำศัลยกรรมก็ไม่ช่วยอะไรในการแก้เคล็ด แก้ดวง หรือเสริมโหงวเฮ้ง เสริมบารมีได้เลย


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้พูดถึงลักษณะของคนที่ดี ซึ่งดูได้จากภายนอกไว้บ้างหรือไม่?

คนที่ดี คือคนที่ คิด พูด ทำในสิ่งที่ดี พระพุทธองค์บอกว่าคนเราจะดีหรือไม่อยู่ที่การกระทำ ถ้าอยากมีโหงวเฮ้งดีก็ต้อง คิด พูด ทำ แต่สิ่งที่ดี แล้วบุญจะส่งผลให้เราดีได้หมดทุกอย่าง
        ในพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ หรือเป็นจันทานมาก่อนแล้วมาบวชเป็นพระ ก็ถือว่ามีความเท่าเทียมกัน เคารพกันตามอาวุโส ใครบวชก่อนก็เป็นพี่บวชทีหลังเป็นน้อง ก็ต้องให้ความเคารพพี่ แม้ว่าน้องจะเป็นโอรสกษัตริย์ พี่จะเป็นคนวรรณะจันทานก็ต้องเคารพกัน พื้นฐานความเป็นมนุษย์มันไม่ต่างกันมาก ความรู้ความสามารถก็ยังเป็นเรื่องรองลงมา มันยังฝึกกันได้ แต่หัวใจจริงๆ คือความชั่วดีกระด้าง ให้ตั้งใจฝึกปฏิบัติให้ดี แล้วเราก็จะเป็นคนที่ดี เป็นคนโหงวเฮ้งดี มีคนยอมรับนับถือ ประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิต
        ในสมัยโบราณ คนที่มีอิทธิพลต่อลูกมากก็คือพ่อแม่ ถ้าเป็นลูกผู้หญิง แม่จะมีผลมากที่สุด ถ้าลูกชายก็มีพ่อเป็นแบบอย่าง ฉะนั้นถ้าแม่เป็นอย่างไรลูกก็มีโอกาสเป็นอย่างนั้น เพราะเป็นคนอบรมบ่มนิสัย ถึงมีคำพูดที่ว่า ดูช้างให้ดูที่หาง ดูนางให้ดูที่แม่ ถ้าจะดูให้แน่ๆ ต้องดูถึงปู่ย่าตายาย แต่ว่าความจริงเป็นแค่ส่วนหนึ่งมันไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางทีแม่เป็นคนดี แต่ลูกบางทีเป็นคนไม่ดี อย่างนี้ก็มี


จะมีวิธีการดูได้อย่างไรว่าคนไหนเป็นคนดีหรือไม่ดี?

คนที่เป็นบัณฑิต คือ คนที่ชอบคิดดี พูดดี และทำดี ชอบชักนำไปแต่ในทางที่ดี เช่น ชวนเข้าวัด ฟังธรรม รักษาศีล ทำบุญ เป็นต้น ถ้าคนพาลคือคนที่ชอบคิดร้ายๆ พูดร้ายๆ และทำแต่ในเรื่องร้ายๆ ชอบชักนำไปแต่ในทางที่ผิด เช่นชอบชวนไปกินเหล้า เที่ยวเตร่เฮฮา เล่นการพนัน เป็นต้น และคนพาลจะชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ ชอบไปวุ่นวายเรื่องของชาวบ้านเขา คนพาลนั้นแม้พูดดีๆ ด้วยก็โกรธ และไม่รับรู้ระเบียบวินัย ชอบทำอะไรตามใจตัวเองเสมอ

 ถ้าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนพาล เช่น เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมชั้นเรียน เป็นต้น กรณีอย่างนี้ต้องตั้งสติให้ดี เพราะใกล้ไปก็ร้อน ห่างไปก็หนาว ก็ต้องไม่ให้ใกล้หรือห่างจนเกินไป ถึงจะพอประคองตัวเองให้ผ่านไปได้ ในสถานการณ์ที่คนใกล้ตัวจะห่างไปไม่ได้ และเราเองก็ต้องตั้งใจศึกษาและปฏิบัติธรรมให้มากเป็นพิเศษ จะได้มีหลักในการวินิจฉัยว่า แค่ไหน ได้หรือไม่ได้ หลักการที่ถูกต้องเป็นอย่างไร แล้วรีบเข้าวัดเข้าวาหาผู้หลักผู้ใหญ่ ครูบาอาจารย์ที่เป็นหลักใจให้เราได้ จะได้เป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้เชื้อพาลไปติดเราเข้า

โดย พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ
เรียบเรียงจากรายการข้อคิดรอบตัว ทาง DMC




 

Create Date : 23 มิถุนายน 2555    
Last Update : 23 มิถุนายน 2555 17:29:17 น.
Counter : 1977 Pageviews.  

Which things do Buddhists do differently to those of other religions?


Which things do Buddhists do differently to those of other religions?


Answer:

by: Venerable Nicolas Thanissaro


Buddhism is a very old and diverse religion. Thus, there have been many attempts to summarize the features which Buddhists have in common and hence how these differ from those of other religions. The most famous of these are Colonel Henry Olcott's fourteen points:


Buddhists are taught to show the same tolerance, forbearance, and brotherly love to all men (people, ed.), without distinction and an unswerving kindness to the members of the animal kingdom.
The universe was evolved, not created; and it functions according to law, not according to the caprice of any god.


The truths upon which Buddhism is founded are natural. They have, we believe, been taught in successive kalpas, or world periods, by certain illuminated beings called Buddhas, the word Buddha meaning enlightened.
The fourth Teacher in the present kalpa (aeon) was Sakyamuni or Gautama Buddha, who was born in a royal family of India about 2,500 years ago. He is an historical personage and his name was Siddhartha Gautama.


Sakyamuni taught that ignorance produces desire (craving unsatisfied desire is the cause of rebirth, and rebirth the cause of sorrow. To get rid of sorrow, therefore, it is necessary to escape rebirth; to escape rebirth, it is necessary to extinguish desire; and to extinguish desire, it is necessary to destroy ignorance.


Ignorance fosters the belief that rebirth is a necessary thing. When ignorance is destroyed, the worthlessness of every such rebirth, considered as an end in itself, is perceived, as well as the paramount need of adopting a course of life by which the necessity for such repeated rebirth can be abolished. Ignorance also begets the illusive and illogical idea that there is only one existence for man (humankind), and the other illusion that this one life is followed by states of unchangeable pleasure or torment.


The dispersion of all this ignorance can be attained by the persevering practice of an all-embracing altruism in conduct, development of intelligence, wisdom in thought, and destruction of desire for the lower personal pleasures.


The desire to live being the cause of rebirth, when that is extinguished, rebirths cease, and the perfected individual attains by meditation that highest state of peace called Nirvana.


Sakyamuni taught that ignorance can be dispelled and sorrow removed by the knowledge of the four Noble Truths, i.e.: the miseries of existence the cause productive of misery, which is the desire (craving, ed.), ever renewed, of satisfying oneself, without ever being able to secure that end the destruction of that desire or the estranging of oneself from it.
The means of obtaining this destruction of desire.

The means which he pointed out is called the Noble Eightfold Path: i.e.: Right Belief, Right Thought, Right Speech, Right Action, Right Means of Livelihood, Right Exertion, Right Remembrance, Right Meditation. Right meditation leads to spiritual enlightenment, or the development of that Buddha like faculty which is latent in every man. The essence of Buddhism, as summed up by the Tathagata (Buddha) himself, is " 'to cease from all sin, to get all virtue, to purify the heart'.


The universe is subject to a natural causation known as karma. The merits and demerits of a being in past experiences determine his condition in the present one. Each man (person, ed.), therefore, has prepared the causes of the effects which he now experiences.


The obstacles to the attainment of good karma may be removed by the observance of the following precepts, which are embraced in the moral code of Buddhism: i.e.: (1) kill not; (2) steal not; (3) indulge in no forbidden sexual pleasure; (4) lie not (5) take no intoxicating or stupefying drug or liquor.


Five other precepts which need not here be enumerated should be observed by bhikkhus and all those who would attain, more quickly than the average layman, the release from misery and rebirth.Buddhism discourages superstitious credulity. Gautama Buddha taught it to be the duty of a parent to have his child educated in science and literature.


He also taught that no one should believe what is spoken by any sage, written in any book, or affirmed by tradition, unless it accords with reason. If I were a school student, I would be focussing on points 1. (no violence is allowed even in the name of one's religion), 2. (no creator god is needed to account for existence) and 9. (salvation is achievable by a man's own efforts in meditation).


www.dmc.tv

The Buddhist TV Channel. Live Broadcast and on demand. Many Dhamma Programs available such as Buddhist Teaching, music, news, motion pictures, and ...





 

Create Date : 18 มิถุนายน 2555    
Last Update : 18 มิถุนายน 2555 17:37:35 น.
Counter : 1494 Pageviews.  

วิธีโบราณที่ผู้เฒ่าจีนใช้เลือกทายาท : "เกียรติยศย่อมเกิดจากการกระทำที่สุจริต"






ผู้เฒ่าจีนคนหนึ่ง คิดหาลูกหลานไว้สืบทอดกิจการ จึงตั้งใจจะเลือกจากทายาทที่ตนมีทั้งหมด 15 คน

วันหนึ่งจึงเรียกลูกๆมาพร้อมหน้ากัน และมอบเมล็ดพันธุ์พืขแก่ลูกทุกคน โดยบอกให้ทุกคนนำไปปลูกและดูแลให้ดี และจะขอดูผลงานในวันแซยิดปีหน้า

....เมื่อวันเกิดของผุ้เฒ่ามาถึง ลูกก็นำผลผลิตของตนออกมาแสดงกันอย่างถ้วนหน้า ทุกคนได้พืชพันธุ์ที่ออกดอกสวยสะพรั่ง ชายชราเดินตรวจและยิ้มอย่างมีความสุข .....จนถึงกระถางของตี๋เล็ก ซึ่งไม่มีสิ่งใดงอกออกมาเลย !!!

เจ้าตัวบอกว่าตนนั้นได้หมั่นรดน้ำพรวนดินไม่ว่างเว้น ด้วยความเสียใจจึงเอ่ยขอโทษท่านผู้เฒ่าไปพร้อมน้ำตาที่ไหลอาบสองแก้ม

ผู้เฒ่าได้ยินกลับหัวเราะร่าด้วยความปิติ พลางกล่าวกับลูกทุกคนว่า....

...ลูกเอ๋ย...สิ่งที่เจ้ามอบให้พ่อนั้นมีค่ายิ่งกว่าดอกไม้ทุกดอกในโลกยิ่งนัก เพราะสิ่งที่พ่อต้องการคือ "ความซื่อสัตย์" เนื่องจากเมล็ดที่พ่อให้ เป็นเมล็ดที่พ่อคั่วจนสุก ย่อมไม่สามารถงอกดอกผลิใบมาให้ใครชื่นชมทั้งนั้น

ไม่ต้องสงสัยว่าผู้เฒ่าตัดสินใจแต่งตั้งใครเป็นทายาทที่โหญ่โตของตระกูล



ขอบคุณเรื่องจาก : จิตรา


"เกียรติยศย่อมเกิดจากการกระทำที่สุจริต"






 

Create Date : 14 มิถุนายน 2555    
Last Update : 14 มิถุนายน 2555 18:45:51 น.
Counter : 1976 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.