Group Blog
 
All Blogs
 
ว่าด้วยแสงและความสว่าง.. [อาภาวรรคที่๔]





[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ แสงสว่างแห่งพระจันทร์ ๑ แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ ๑ แสงสว่างแห่งไฟ ๑แสงสว่างแห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาแสงสว่าง ๔ ประการนี้ แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ ฯ

[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัศมี ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ รัศมีแห่งพระจันทร์ ๑ รัศมีแห่งพระอาทิตย์ ๑ รัศมีแห่งไฟ ๑ รัศมี
แห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัศมี ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดารัศมี ๔ ประการนี้ รัศมีแห่งปัญญาเป็นเลิศ ฯ

[๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสว่าง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ความสว่างแห่งพระจันทร์ ๑ ความสว่างแห่งพระอาทิตย์ ๑ ความสว่าง
แห่งไฟ ๑ ความสว่างแห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสว่าง ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสว่าง ๔ ประการนี้ ความสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ ฯ


[๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอภาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ โอภาสแห่งพระจันทร์ ๑ โอภาสแห่งพระอาทิตย์ ๑ โอภาสแห่งไฟ ๑
โอภาสแห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอภาส ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาโอภาส ๔ ประการนี้ โอภาสแห่งปัญญาเป็นเลิศ ฯ

[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความโพลง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ความโพลงแห่งพระจันทร์ ๑ ความโพลงแห่งพระอาทิตย์ ๑ ความโพลง
แห่งไฟ ๑ ความโพลงแห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความโพลง ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความโพลง ๔ ประการนี้ ความโพลงแห่งปัญญาเป็นเลิศ ฯ

[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้ กาล ๔ เป็นไฉน คือ การฟัง
ธรรมตามกาล ๑ การสนทนาธรรมตามกาล ๑ การสงบตามกาล ๑ การพิจารณาตามกาล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้แล ฯ

[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ
ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ กาล ๔ เป็นไฉน
คือ การฟังธรรมตามกาล ๑ การสนทนาตามกาล ๑ การสงบตามกาล ๑
การพิจารณาตามกาล ๑ กาล ๔ นี้แล อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกบนภูเขา น้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็มซอกเขา ลำธารและห้วยเต็มแล้ว ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้วย่อมยังบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้วย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มแม้ฉันใด กาล ๔ นี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายวจีทุจริต ๔ ประการนี้แล ฯ

[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ พูดจริง ๑ พูดไม่ส่อเสียด ๑ พูดอ่อนหวาน ๑ พูดด้วยปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้แล ฯ

[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาระ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ สีลสาระ ๑ สมาธิสาระ ๑ ปัญญาสาระ ๑ วิมุตติสาระ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สาระ ๔ ประการนี้แล ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๓๘๓๕ - ๓๘๘๓. หน้าที่ ๑๖๔ - ๑๖๖.

ขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




Create Date : 13 มิถุนายน 2556
Last Update : 13 มิถุนายน 2556 12:03:01 น. 0 comments
Counter : 1373 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.