Group Blog
 
All Blogs
 

โลกวรรค

                         

                          

                          บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วมกับความประมาท
                          ไม่พึงเสพมิจฉาทิฐิ ไม่พึงเป็นคนรกโลก ภิกษุไม่พึงประมาท
                          ในบิณฑะที่ลุกพึงขึ้นยืนรับพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้
                          ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า

              
                          พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริตผู้ประพฤติ
                          ธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า มัจจุราช
                          ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก ดุจบุคคลเห็นฟองน้ำ
                          เห็นพยับแดด ฉะนั้น

                          ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันวิจิตร
                          เปรียบด้วยราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ [แต่] พวกผู้รู้
                          หาข้องอยู่ไม่ ก็ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ในภายหลังผู้
                          นั้นย่อมไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน
                          พระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น

                          ผู้ใดทำกรรมอันลามก
                          ผู้นั้นย่อมปิด [ละ] เสียได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้
                          ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น

                          โลกนี้มืดมน
                          ในโลกนี้น้อยคนที่จะเห็นแจ้ง สัตว์ไปสวรรค์ได้น้อย
                          ดุจนกพ้นจากข่าย

                          ฝูงหงส์ย่อมไปในทางพระอาทิตย์ ท่าน
                          ผู้เจริญอิทธิบาทดีแล้ว ย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ นักปราชญ์
                          ทั้งหลายชนะมารพร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมออกไปจากโลก
                          

                          คนตระหนี่ย่อมไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย คนพาลย่อมไม่สรรเสริญทานโดยแท้
                          ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทาน เพราะการอนุโมทนาทาน
                          นั่นเอง ท่านย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า

                          โสดาปัตติผล
                          ประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาเอกในแผ่นดิน กว่าความ
                          ไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็นอธิบดีในโลกทั้งปวง ฯ

 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๗๒๑ - ๗๔๗.  หน้าที่  ๓๒ - ๓๓.
ขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace Smiley




 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2556 17:06:05 น.
Counter : 1382 Pageviews.  

ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา มนุษย์ บรรพชิต ฯ




[๓๑] ครั้งนั้นแล สุมนาราชกุมารี  แวดล้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน และราชกุมารี ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส...

สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คน มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่าๆกัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งไม่ให้ คนทั้งสองนั้น เมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็นเทวดาย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นทิพย์ ดูกรสุมนา ผู้ที่ให้เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ ฯ


สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความเป็นมนุษย์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ฯ

พ. ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็น
มนุษย์ ย่อมข่มคนไม่ให้ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข
ยศ และอธิปไตยที่เป็นของมนุษย์ ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นมนุษย์ย่อมข่มคนผู้
ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ ฯ


สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวช แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นบรรพชิตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

พ. ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ คนที่ให้
เป็นบรรพชิต ย่อมข่มคนที่ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ เมื่อออกปากขอย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้บิณฑบาตมากเมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้บริขารคือยาที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มากเมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย และ

จะอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมนำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ย่อมนำสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาเป็นส่วนน้อย ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นบรรพชิตย่อมข่มผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ ฯ


สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัตแต่คนทั้งสองนั้นทั้งที่ได้บรรลุอรหัตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

พ. ดูกรสุมนา เราไม่กล่าวว่ามีเหตุแตกต่างกันใดๆ ในวิมุตติ กับ
วิมุตติ ข้อนี้ ฯ

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้กำหนดได้ว่า ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต ฯ

พ. อย่างนั้นสุมนา อย่างนั้นสุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะ
บุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า


"ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน เดินไปในอากาศย่อมสว่างกว่า
หมู่ดาวทั้งปวงในโลก ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
ศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวง
ในโลกด้วยจาคะ ฯ เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้า
ปลาบแปลบ มีช่อตั้งร้อย ตกรดแผ่นดินเต็มที่ดอนและที่
ลุ่ม ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วย
ทัสนะ เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้น ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วย
ฐานะ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และเปี่ยม
ด้วยโภคะ ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์ในปรโลก ดังนี้ ฯ"



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๖๙๖ - ๗๔๘. หน้าที่ ๓๑ - ๓๓.
ขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace. Smiley




 

Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2556 14:53:22 น.
Counter : 1486 Pageviews.  

บุญย่อมต้อนรับผู้มีบุญ



ญาติ มิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษ
ผู้ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี
ย่อมยินดียิ่งว่า ‘มาแล้ว’ ฉันใด, บุญทั้งหลายก็ย่อม
ต้อนรับแม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้ ซึ่งไปจากโลกนี้สู่
โลกหน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้ว ต้อนรับ
อยู่ ฉันนั้นแล.



บาทพระคาถาว่า ญาตี มิตฺตา สุหชฺชา จ ความว่า เหล่าชนที่ชื่อว่าญาติ เพราะสามารถเกี่ยวเนื่องกันด้วยตระกูล และชื่อว่ามิตร เพราะภาวะมีเคยเห็นกันเป็นต้น แล้วชื่อว่ามีใจดี เพราะความเป็นผู้มีหทัยดี.


บาทพระคาถาว่า อภินนฺทนฺติ อาคตํ ความว่า ญาติเป็นต้น เห็นเขาแล้ว ย่อมยินดียิ่ง ด้วยอาการเพียงแต่พูดว่า ‘มาดีแล้ว’ หรือด้วยอาการเพียงทำอัญชลี อนึ่ง ย่อมยินดียิ่งกะเขาผู้มาถึงเรือนแล้ว ด้วยสามารถนำไปเฉพาะซึ่งบรรณาการมีประการต่างๆ.


บทว่า ตเถว เป็นต้น ความว่า บุญทั้งหลายตั้งอยู่ในฐานะดุจมารดาบิดา นำเครื่องบรรณาการ ๑๐ อย่างนี้คือ "อายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นอธิบดีอันเป็นทิพย์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์" เพลินยิ่งอยู่ ชื่อว่าย่อมรับรองบุคคลแม้ผู้ทำบุญไว้แล้ว ซึ่งไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า ด้วยเหตุนั้นนั่นแล.


สองบทว่า ปิยํ ญาตีว ความว่า ดุจพวกญาติที่เหลือเห็นญาติที่รักมาแล้ว รับรองอยู่ในโลกนี้ฉะนั้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.


อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปิยวรรคที่ ๑๖

ขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace. Smiley




 

Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2556 12:03:17 น.
Counter : 1505 Pageviews.  

ทรัพย์อันไม่ถูกผจญ

 

[๗] ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ของพระราชาชื่อว่าอุคคะ ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาโดยเหตุที่มิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานโรหณเศรษฐี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากถึงเพียงนี้

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอุคคะ ก็มิคารเศรษฐีหลานโรหณเศรษฐี มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคสมบัติมากสักเท่าไร ฯ
            

 อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีทองแสนลิ่ม จะกล่าวไปไยถึงเงิน ฯ
            

 พ. ดูกรอุคคะ ทรัพย์นั้นมีอยู่แล เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ทรัพย์นั้นแล
เป็นของทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก

ดูกรอุคคะทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร

ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ๗ ประการเป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑

โอตตัปปะ ๑สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑ ดูกรอุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ไม่ทั่วไปแก่
ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ฯ
                        

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ  สุตะ จาคะ
และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือ ชายก็ตาม

เป็นผู้มีทรัพย์มากในโลก อันอะไรๆ พึงผจญไม่ได้ในเทวดาและมนุษย์

 เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา
 ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ

 

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๑๓๖ - ๑๕๗.  หน้าที่  ๖ - ๗.
ขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace.Smiley




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2556 10:35:11 น.
Counter : 1309 Pageviews.  

ปิยสูตร : ชนผู้รักตน

                         

                          ถ้าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รัก ไม่พึงประกอบด้วยบาป เพราะ
                          ว่าความสุขนั้นไม่เป็นผลที่บุคคลผู้ทำชั่วจะพึงได้โดยง่าย ฯ
                         

                          เมื่อบุคคลถูกมรณะครอบงำ ละทิ้งภพมนุษย์ไปอยู่ ก็อะไร
                          ..เป็นสมบัติของเขา และเขาย่อมพาเอาอะไรไปได้ อนึ่ง
                          อะไรเล่าจะติดตามเขาไปประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น ฯ
                          

                          ผู้ที่มาเกิดแล้วจำจะต้องตายในโลกนี้ ย่อมทำกรรมอันใดไว้ คือ
                          เป็นบุญและเป็นบาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแลเป็น
                          สมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไป (สู่ปรโลก)
                          อนึ่ง บุญและบาปนั้นย่อมเป็นของติดตามเขาไปประดุจเงาติด-
                          ตามตนไป ฉะนั้น ฯ

                          เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณกรรมสะสมไว้เป็นสมบัติใน
                          ปรโลก (เพราะว่า) บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
                          ในปรโลก ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  บรรทัดที่ ๒๒๖๙ - ๒๓๑๕.  หน้าที่  ๑๐๑ - ๑๐๓

ขอบพระคุณภาพประกอบจาก @Single Mind for Peace. Smiley




 

Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2556 17:51:43 น.
Counter : 1316 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.