Group Blog
 
All Blogs
 

ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้... [นิธิกัณฑ์]




บุรุษย่อมฝังขุมทรัพย์ไว้ในน้ำลึกด้วยคิดว่า เมื่อกิจที่เป็น
ประโยชน์เกิดขึ้น ทรัพย์นี้จักเป็นประโยชน์แก่เรา เพื่อ
เปลื้องการประทุษร้ายจากพระราชาบ้าง ความบีบคั้นจากโจร
บ้าง เพื่อเปลื้องหนี้สินบ้าง ทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวเกิด
อันตรายบ้าง

ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้ในโลกเพื่อประโยชน์นี้แล
ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้เป็นอย่างดี ในน้ำลึกเพียงนั้น ขุมทรัพย์
นั้นทั้งหมด ย่อมหาสำเร็จประโยชน์แก่เขาในกาลทั้งปวงที
เดียวไม่ เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนจากที่เสียบ้าง ความจำของ
เขาย่อมหลงลืมเสียบ้าง นาคทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ยักษ์
ทั้งหลายลักไปเสียบ้าง ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขุดเอาไปเมื่อ
เขาไม่เห็นบ้าง เมื่อใดเขาสิ้นบุญ เมื่อนั้นขุมทรัพย์ทั้งหมด
นั้นย่อมพินาศไป

ขุมทรัพย์คือบุญ เป็นขุมทรัพย์อันผู้ใด
เป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม ฝังไว้ดีแล้วด้วยทาน ศีลความ
สำรวม และความฝึกตน ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี
ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี ขุมทรัพย์
นั้นชื่อว่าอันผู้นั้นฝังไว้ดีแล้ว ใครๆ ไม่อาจผจญได้ เป็น
ของติดตามตนไป บรรดาโภคะทั้งหลายเมื่อเขาจำต้องละไป
เขาย่อมพาขุมทรัพย์คือบุญนั้นไป ขุมทรัพย์คือบุญ ไม่
สาธารณะแก่ชนเหล่าอื่น โจรลักไปไม่ได้

บุญนิธิอันใดติดตนไปได้
ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น บุญนิธินี้ให้สมบัติที่พึง
ใคร่ทั้งปวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายปรารถนานักซึ่งผลใดๆ ผลนั้นๆ ทั้งหมด อันเทวดา
และมนุษย์เหล่านั้นย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้

ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีเสียงไพเราะ
ความเป็นผู้มีทรวดทรงดี ความเป็นผู้มีรูปสวย
ความเป็นอธิบดี ความเป็นผู้มีบริวาร อิฐผลทั้งปวงนั้น
อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วย

บุญนิธินี้ ความเป็นพระราชาประเทศราช ความเป็นใหญ่
สุขของพระเจ้าจักรพรรดิอันเป็นที่รัก แม้ความเป็นพระราชา
แห่งเทวดาในทิพกาย อิฐผลทั้งปวงนั้น อันเทวดาและมนุษย์
ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ มนุษย์สมบัติ ความยินดีในเทวโลก
และนิพพานสมบัติ อิฐผลทั้งปวงนี้ เทวดาและมนุษย์ย่อม
ได้ด้วยบุญนิธินี้

ความที่พระโยคาวจร ถ้าเมื่ออาศัยคุณ
เครื่องถึงพร้อมคือมิตร แล้วประกอบอยู่โดยอุบายอันแยบ
คายไซร้ เป็นผู้มีความชำนาญในวิชชาและวิมุตติ อิฐผลทั้งปวง
นี้ อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ปฏิสัมภิทา
วิโมกข์ สาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และพุทธภูมิ
อิฐผลทั้งปวงนี้ อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้
คุณเครื่องถึงพร้อมคือบุญนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์มากอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญาจึงสรรเสริญความที่บุคคลมี
บุญอันทำไว้แล้ว ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๙๕ - ๒๓๖. หน้าที่ ๙ - ๑๑.
ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 26 มิถุนายน 2556    
Last Update : 26 มิถุนายน 2556 13:07:24 น.
Counter : 1291 Pageviews.  

ความเลื่อมใสแบบต่างๆ [รูปสูตร]



[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉนคือ

ผู้ถือประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป ๑ ผู้ถือประมาณในเสียง เลื่อมใสในเสียง ๑ ผู้ถือประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๑ผู้ถือประมาณในธรรม เลื่อมใสในธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ ฯ


ก็ชนเหล่าใด ถือประมาณในรูป และชนเหล่าใด คล้อยไป
ตามเสียง ชนเหล่านั้น เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ
ย่อมไม่รู้จักชนนั้น คือ ย่อมไม่รู้คุณภายในของเขา และ
ไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา บุคคลนั้นแล เป็นคน
เขลา ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ อันเสียงย่อมพัดไป อนึ่ง
บุคคลไม่รู้คุณภายใน และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
แม้บุคคลนั้นเห็นผลในภายนอก ก็ยังถูกเสียงพัดไป ส่วน
บุคคลรู้ทั่วถึงคุณภายในของเขา และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภาย
นอกของเขา บุคคลนั้นเป็นผู้เห็นธรรมอันปราศจากเครื่องกั้น
ย่อมไม่ถูกเสียงพัดไป ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๙๐๘ - ๑๙๒๔. หน้าที่ ๘๒.
ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace.




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2556    
Last Update : 25 มิถุนายน 2556 12:26:49 น.
Counter : 1060 Pageviews.  

ธรรมเก่าอันไม่มีผู้รังเกียจ ..[ธรรมปทสูตร]




[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทธรรม ๔ ประการนี้ บัณฑิตสรรเสริญ
ว่าเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะเป็นของเก่า ไม่กระจัด
กระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย บัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ และจักไม่รังเกียจ
อันวิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด บทธรรม ๔ ประการเป็นไฉนคือ

บทธรรมคือ อนภิชฌา ๑ บทธรรมคืออพยาบาท ๑ บทธรรมคือสัมมาสติ ๑บทธรรมคือสัมมาสมาธิ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทธรรม ๔ ประการนี้แล บัณฑิตสรรเสริญว่าเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะเป็นของเก่าไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย นักปราชญ์ย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจวิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด ฯ

บุคคลไม่พึงเป็นผู้มากไปด้วยความเพ่งเล็ง มีใจไม่พยาบาท
มีสติ มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งตั้งมั่นด้วยดีในความเป็นกลางอยู่ ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๗๖๗ - ๗๗๙. หน้าที่ ๓๓ - ๓๔.

ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2556    
Last Update : 21 มิถุนายน 2556 12:23:57 น.
Counter : 1006 Pageviews.  

คนตาบอด คนตาเดียว คนสองตา...[อันธสูตร]




[๔๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๓ จำพวกเป็นไฉน คือ คนตาบอด ๑ คนตาเดียว ๑ คนสองตา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตาบอดเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีนัยน์ตาอันเป็นเหตุได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ไม่มีนัยน์ตาเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีตรู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าคนตาบอด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตาเดียวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
มีนัยน์ตาอันเป็นเหตุได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น แต่ไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าคนตาเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลสองตาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ มีนัยน์ตาเป็นเหตุได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ทั้งมีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวหรือประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าคนสองตา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
โภคทรัพย์เห็นปานดั่งนั้น ย่อมไม่มีแก่คนตาบอดเลย และ
คนตาบอดย่อมไม่ทำบุญอีกด้วย โทษเคราะห์ ย่อมมีแก่คน
ตาบอดเสียจักษุในโลกทั้งสอง ต่อมา เราได้กล่าวถึงคนตา
เดียวนี้ไว้อีกคนหนึ่ง คนตาเดียวนั้นเป็นผู้คลุกเคล้ากับธรรม
และอธรรม แสวงหาโภคทรัพย์โดยการคดโกง และการพูด
เท็จ อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ทั้งสองอย่าง ก็
มาณพผู้บริโภคกาม ย่อมเป็นคนฉลาดที่จะรวบรวมโภคทรัพย์
เขาผู้เป็นคนตาเดียว จากโลกนี้แล้วไปนรกย่อมเดือดร้อน

อนึ่ง คนสองตา เรากล่าวว่าเป็นบุคคลที่ประเสริฐสุด คน
สองตานั้น ย่อมให้ทรัพย์ที่ตนได้มาด้วยความหมั่นเป็นทาน
แต่โภคะที่ตนหาได้โดยชอบธรรม เพราะเป็นผู้มีความดำริ
ประเสริฐสุด มีใจไม่สงสัย ย่อมเข้าถึงฐานะอันเจริญ ซึ่ง
บุคคลไปถึงแล้วไม่เศร้าโศก บุคคลควรเว้นคนตาบอด กับ
คนตาเดียวเสียให้ห่างไกล แต่ควรคบคนสองตา ซึ่งเป็น
บุคคลผู้ประเสริฐสุด ฯ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๓๗๓ - ๓๔๐๕. หน้าที่ ๑๔๖ - ๑๔๗.
ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace.




 

Create Date : 20 มิถุนายน 2556    
Last Update : 20 มิถุนายน 2556 12:37:53 น.
Counter : 1446 Pageviews.  

รัตนสูตร ...ว่าด้วยรัตนะ๓

ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา
เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็น
ผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดยเคารพ ดูกรภูตทั้งปวง เพราะ
เหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตาจิต
ในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวัน
ทั้งกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่
ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใด
อย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีต
ในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระตถาคตไม่มี
เลย พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระศากยมุนีมีพระหฤทัย
ดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่
สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรมอันประณีต ธรรมชาติอะไรๆ
เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะ
อันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้ว
ซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
ซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้น
ย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย
สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

บุคคล ๘จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคล
เหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระตถาคต ทาน
ที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี
แก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระ
โคดม ประกอบดีแล้ว [ด้วยกายประโยคและวจีประโยค
อันบริสุทธิ์] มีใจมั่นคง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย [ในกายและ
ชีวิต] พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุ
หยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่า เสวย
ผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจา
นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน
ไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็น
อริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหว
เพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะนี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อัน
พระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริย-
บุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง ถึง
กระนั้น ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ สังฆรัตนะแม้นี้เป็น
รัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่
สัตว์เหล่านี้

 สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรา
 มาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระอริย
บุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น
[นิพพาน] ทีเดียว อนึ่ง พระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจาก
อบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานทั้ง ๖ [คืออนันตริย-
กรรม ๕ และการเข้ารีด] สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
                          

พระอริยบุคคลนั้นยังทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือ
ด้วยใจ ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านไม่ควร เพื่อจะปกปิดบาป
กรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพานอันตน
เห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มี
พระภาคตรัสแล้ว สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใด
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง เป็น
เครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมีอุปมา ฉันนั้น
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอ
ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ
ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรง
แสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพ
ต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ
พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจ
ไม่งอกงามแล้ว เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือน
ประทีปอันดับไป ฉะนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน
ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
                          

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา
เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการ
พระพุทธเจ้าผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด
ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระ
ธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและมนุษย์บูชา
แล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุม
กันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกัน
แล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระสงฆ์ผู้ไปแล้ว
อย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจง
มีแก่สัตว์เหล่านี้ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๗๓ - ๑๕๔.  หน้าที่  ๔ - ๗.
ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for PeaceSmiley




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2556    
Last Update : 19 มิถุนายน 2556 12:29:41 น.
Counter : 1514 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.