Group Blog
 
All Blogs
 
สร้างบุญอะไรดีกว่า ?

สำหรับผู้รักการสร้างบุญมักมีคำถามบ่อยๆ ว่า ทำอะไรได้บุญมากกว่ากัน ครั้นพอรู้ว่า ความดีนั้นได้บุญมากกว่าความดีนี้ บางท่านจึงกีดกันตนเองจากความดีประการที่เข้าใจว่าได้บุญน้อยกว่า เช่น ไม่ทำทานด้วยเหตุผลว่า สู้การรักษาศีลไม่ได้ หรือบอกว่า ทำไมต้องไปวัด เราอยู่ที่บ้านก็เจริญภาวนาได้ ซึ่งอันที่จริงความดีใดๆ ก็ดีทั้งสิ้นหากเราทำไปทุกๆบุญ ก็จะเกื้อหนุนส่งเสริมกันไปให้ถึงฝั่งได้ เปรียบเหมือน การเดินเรือข้ามฝั่งน้ำหากมีแต่เพียงเรือ ไม่มีพาย ก็ไปไม่ได้ แม้มีพายแต่ไม่มีเรี่ยวแรงพาย ก็ไปไม่ถึงฝั่งตรงข้าม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์สร้าบารมีอยู่ก็ทรงมีความสงสัยเช่นเดียวกันนี้ แต่เพราะทรงได้กัลยาณมิตรจึงทรงได้แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเนมิราช วันหนึ่ง
ทรงรักษาอุโบสถศีล ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่บนปราสาทในปัจฉิมยาม ทรงเกิดความสงสัยขึ้นว่า ทานประเสริฐหรือพรหมจรรย์ประเสริฐกว่า พระโพธิสัตว์ไม่สามารถตัดความสงสัยของพระองค์ได้



ในขณะนั้น ภพของท้าวสักกะเกิดร้อนขึ้นมาท้าวสักกะทรงรำลึกถึงก็ทราบเหตุ ทรงเห็นพระโพธิสัตว์ทรงวิตกอยู่อย่างนั้น จึงทรงดำริว่า เราจะตัดความสงสัยของพระโพธิสัตว์จึงเสด็จมาประทับอยู่ข้างหน้า พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสถามว่า “ท่านเป็นใคร?” จึงทรงบอกว่า พระองค์เป็นเทวราช แล้วตรัสถามว่า “มหาราช พระองค์ทรงดำริถึงอะไร?” พระโพธิสัตว์จึงตรัสบอกความสงสัยนั้น ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงให้เห็นว่าพรหมจรรย์นั่นแหละประเสริฐที่สุด จึงตรัสชี้แจงว่า

บุคคลเกิดในตระกูลกษัตริย์ ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์อย่างต่ำ
เกิดเป็นเทวดา ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์ปานกลาง
บุคคลบริสุทธิ์ได้ ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์อย่างสูง

เพราะพรหมจรรย์เหล่านี้มิใช่จะปฏิบัติได้ง่ายๆ ด้วยการประกอบพิธีวิงวอนขอร้องอะไรๆบุคคลผู้ที่เกิดในหมู่พรหมได้ต้องออกบวชบำเพ็ญตบะ(อธิบายว่า เมื่อพระภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปรารถนาเกิดในหมู่เทพอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างต่ำด้วยพรหมจรรย์อย่างต่ำนั้น บุคคลย่อมเกิดในเทวโลกตามที่ตนปรารถนา การที่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ยังฌานสมาบัติ ๘ ให้เกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์ปานกลาง ด้วยพรหมจรรย์ปานกลางนั้นบุคคลย่อมเกิดในพรหมโลกส่วนผู้มีศีลบริสุทธิ์เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตชื่อว่าพรหมจรรย์อย่างสูง บุคคลย่อมบริสุทธิ์ด้วยพรหมจรรย์สูงสุดนั้น)

สุดท้าย ท้าวสักกะได้ตรัสว่า“มหาราช การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นั้นแหละมีผลมากกว่าทานร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า แต่ถึงแม้พรหมจรรย์จะมีผลมากกว่าทานก็จริง ถึงกระนั้นพระมหาบุรุษก็ควรทำทั้งสองอย่าง จงเป็นผู้ไม่ประมาทในทานและพรหมจรรย์ทั้งสองจงให้ทานและจงรักษาศีลเถิด”
ตรัสดังนี้ แล้วก็เสด็จกลับเทวโลก



เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วก็ควรทำสองอย่าง ทำอย่างเต็มกำลังทั้งสองอย่างนั่นแล ถ้ากำลังใจเข้มแข็งก็รักษาพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ไปจนตลอดชีวิต

ถ้าไม่ได้ดังนั้น ก็รักษาให้บริสุทธิ์เป็นช่วงๆ อย่างน้อยก็จะได้เป็นวาสนาบารมีติดตัวไปในภพชาติเบื้องหน้า ส่วนทานก็ต้องทำอย่างเต็มกำลัง ไม่ใช่ทำตามกำลัง เพราะถ้าทำตามกำลังภพชาติต่อไป เวลารวยก็รวยตามกำลัง คือ รวยแบบขยักขย่อน เดี๋ยวรวย เดี๋ยวจนจะสร้างทานบารมีต่อก็ขัดสน จะประพฤติพรหมจรรย์ก็ไม่สะดวกมันติดขัดไปหมด สู้ทำให้เต็มที่จนติดเป็นอัธยาศัยทั้งสองอย่างเสียตั้งแต่ชาตินี้ ชาติต่อไปจะได้สะดวกสบายอะไรๆ ที่ดูเป็นเรื่องยาก มาถึงเราจะได้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ สบายๆ

ที่มา :หนังสือแรงบันดาลใจจากพระไตรปิฏก


Create Date : 08 สิงหาคม 2554
Last Update : 8 สิงหาคม 2554 20:55:20 น. 2 comments
Counter : 1836 Pageviews.

 
แต่บุญอันยิ่งกว่า ทานและการประพฤติพรหมจรรย์ คือบุญอันเกิดจากการภาวนาค่ะ

ถ้าทำทั้งสามอย่างคือ ทาน ศีล(ประพฤติพรหมจรรย์) และบำเพ็ญภาวนาให้ยิ่งๆขึ้นไป ย่อมไม่มีคำว่าตกต่ำอย่างแน่นอน


โดย: อุ่นอาวรณ์ วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:12:01:05 น.  

 
จะพยายามครับ


โดย: Philosopher_BG วันที่: 25 ตุลาคม 2554 เวลา:20:46:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.