Group Blog
 
All Blogs
 

สุขวรรค



เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เมื่อพวก
มนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เป็นอยู่สบายดีหนอ
เมื่อพวกมนุษย์มีความเร่าร้อนกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความ
เร่าร้อนอยู่ เป็นอยู่สบายดีหนอ เมื่อพวกมนุษย์มีความ
ขวนขวายอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายอยู่ เมื่อพวก
มนุษย์มีความขวนขวายกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายอยู่
เป็นอยู่สบายดีหนอ เราไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เป็น
อยู่สบายดีหนอ เรามีปีติเป็นภักษาเหมือนเหล่าเทวดา
ชั้นอาภัสสระ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเป็นทุกข์
พระขีณาสพผู้สงบระงับ ละความชนะความแพ้ได้แล้ว
ย่อมอยู่เป็นสุข ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอ
ด้วยโทสะไม่มี ทุกข์เช่นด้วยขันธ์ไม่มี สุขยิ่งกว่าความสงบ
ไม่มี ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง


บัณฑิตทราบเนื้อความนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้
แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ลาภทั้งหลาย
มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง
ญาติทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุข
อย่างยิ่ง บุคคลผู้ปีติในธรรม เมื่อดื่มรส ดื่มรสอันเกิดแต่
วิเวกและรสแห่งความสงบแล้ว ย่อมไม่มีความกระวนกระวาย
ไม่มีบาป การเห็นพระอริยะเจ้าทั้งหลายเป็นความดี การอยู่
ร่วมกับพระอริยะเจ้าเหล่านั้น เป็นสุขทุกเมื่อ บุคคลพึงเป็น
ผู้มีความสุขเป็นนิตย์ได้ เพราะการไม่เห็นคนพาลทั้งหลาย
ด้วยว่าบุคคลผู้สมคบกับคนพาลเที่ยวไป ย่อมเศร้าโศกสิ้น
กาลนาน การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ เหมือนการ
อยู่ร่วมกับศัตรู ส่วนนักปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือน
สมาคมแห่งญาติ เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงคบบุคคลนั้น
ผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เป็นพหูสูต มีปกตินำธุระไป
มีวัตร เป็นพระอริยะ เป็นสัปบุรุษ ผู้มีปัญญาดีเช่นนั้น
เหมือนพระจันทร์คบครองแห่งนักษัตร ฉะนั้น ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๙๙ - ๘๒๙. หน้าที่ ๓๕ - ๓๖.
ขอบพระคุณภาพประกอบจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 13 มกราคม 2558    
Last Update : 13 มกราคม 2558 17:31:14 น.
Counter : 982 Pageviews.  

ธุลีในนขา [อัญญตรสูตร]



ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย
โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

อัญญตรสูตร
ขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 29 ธันวาคม 2557    
Last Update : 29 ธันวาคม 2557 15:47:39 น.
Counter : 1171 Pageviews.  

ช้างทรงของพระราชา กับ ภิกษุในธรรมวินัย



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการเป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะองค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูปอย่างไร คือช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว เห็นกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ หรือกองพลเดินเท้า ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูปอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชา

เป็นสัตว์อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ได้ยินเสียงกองพลช้าง เสียงกองพลม้า เสียงกองพลรถ เสียงกองพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกที่กระหึ่ม ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาอดทนต่อเสียงอย่างนี้แล

ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถแห่งช้างของพระราชา (ฝ่ายข้าศึก)ที่ใหญ่กว่า ซึ่งเข้าสนามรบทั้งหลาย ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แลก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรสอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ไม่ได้กินอาหารแม้เพียงคืนหนึ่ง ๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน หรือ ๕ คืนย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ช้างของพระราชาอดทนต่อรสอย่างนี้แล

ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูกศรครั้งหนึ่ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง หรือ ๕ ครั้ง ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นพระราชพาหนะ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปอย่างนี้แล

ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในเสียงที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงอย่างนี้แล

ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในกลิ่นที่ชวนให้กำหนัดสามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แลภิกษุย่อมเป็นผู้อดทนต่อรสอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้วย่อมไม่กำหนัดในรสที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรสอย่างนี้แล

ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๓๖๘๐ - ๓๗๗๗. หน้าที่ ๑๖๐ - ๑๖๔.
ขอบพระคุณภาพจาก Internet




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2557    
Last Update : 23 ธันวาคม 2557 16:47:12 น.
Counter : 3643 Pageviews.  

ใจดี-ใจร้าย [จัณฑสูตร]




ปัญหา อะไรเป็นเหตุให้คนบางคนดุ ใจร้าย อะไรเป็นเหตุให้คนบางคนเป็นคนใจดี ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนนายคามณี คนบางคนในโลกนี้ยังละราคะไม่ได้ ยังละโทสะไม่ได้ ยังละโมหะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละราคา โทสะ โมหะ ไม่ได้ คนอื่นจึงทำให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธอยู่จึงแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ

“ดูก่อนนายคามณี ส่วนคนบางคนในโลกนี้ละราคะได้แล้ว ละโทสะ ได้ ละโมหะได้ เพราะละราคา โทสะ โมหะ ได้ คนอื่นจึงทำให้โกรธไม่ได้ คนที่ละราคา โทสะ โมหะ ได้แล้ว ถูกคนอื่นยั่วให้โกรธก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ”


จัณฑสูตร ดามณิสังยุต สฬา. สํ. (๕๘๖-๕๘๗)
ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 27 พฤศจิกายน 2557    
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2557 17:38:13 น.
Counter : 1063 Pageviews.  

รังของทุกข์ [อุปปาทสูตรที่ ๒]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรคเป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๒๘๐ - ๒๙๘. หน้าที่ ๑๓ - ๑๔
ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2557    
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2557 15:03:44 น.
Counter : 974 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.