Group Blog
 
All Blogs
 

อยู่คนเดียวแต่มีเพื่อน? [มิคชาลสูตร ที่ ๑]



ปัญหา บางคนอยู่คนเดียวในป่าเปลี่ยว ก็ชื่อว่ามีเพื่อนสองบางคนอยู่ท่ามกลางคนอื่น ๆ แต่ก็ชื่อว่าอยู่คนเดียว หมายความว่าอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา ... เสียงที่จะพึงรู้ด้วยหู ....กลิ่นที่จะพึงรู้ด้วยจมูก.. รสที่จะพึงรู้ด้วยลิ้น... โผฏฐัพพะที่จะถึงรู้ด้วยกาย... ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญ หมกมุ่น รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์นั้นอยู่.... ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดแรงกล้า เมื่อมีความกำหนัดแรงกล้าก็มีความเกี่ยวข้อง... ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ถึงจะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหญ้าและป่าไม้เงียบเสียง... ก็ยังเรียกว่า มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ เพราะผู้นั้นยังมีตัณหาเป็นเพื่อน ๒...


“ดูก่อนมิคชาละ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่กล่าวหมกมุ่น
รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์นั้นอยู่.... ความเพลิดเพลินย่อมดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัดก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง... ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว แม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ ก็ยังเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว เพราะตัณหาซึ่งเป็นเพื่อน ๒ เธอละได้แล้ว...”



มิคชาลสูตร ที่ ๑ สฬา. สํ. (๖๖-๖๗)
ขอขอบพระคุณภาพประกอบจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 30 กรกฎาคม 2556    
Last Update : 30 กรกฎาคม 2556 13:13:49 น.
Counter : 1312 Pageviews.  

ความเห็นผิด (มิจฉาทิฐิ) คืออย่างไร ?

 

ปัญหา ข้อที่ว่าโลภและโกรธเป็นมูลเหตุให้เกิดอกุศลกรรมนั้น พอจะเข้าใจแล้ว แต่ข้อที่ว่าโมหะอันเป็นเหตุให้เกิดมิจฉาทิฐิความเห็นผิดนั้นคือเห็นอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฐิมีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเช่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์พวกที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณะพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตามไม่มีในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทิฐิวิบัติ.... เพราะทิฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายเมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก.....ฯ”

 

อยสูตร ติ. อํ. (๕๕๗)
ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace Smiley




 

Create Date : 29 กรกฎาคม 2556    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 12:00:12 น.
Counter : 1187 Pageviews.  

เครื่องจองจำ....[พันธนสูตรที่ ๑๐]




[๓๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวกถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน ฯ


ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปครองผ้าเรียบร้อยแล้วในเวลาเช้าถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่พระนครสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต ครั้นกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตตาหารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

พวกภิกษุเหล่านั้นนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวกถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน ฯ

[๓๕๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า



นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวเครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ทำ
ด้วยไม้ และทำด้วยหญ้า (เชือก) ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่น
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวความความรักใคร่พอใจนักในแก้วมณี
และกุณฑล และความห่วงอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลาย
ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่น พาให้ตกต่ำ เป็นเครื่องจำที่หย่อนๆ
แต่ปลดเปลื้องได้ยาก นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำ
แม้เช่นนั้นออกบวช เป็นผู้ไม่มีความห่วงอาลัย ละกามสุข
เสียแล้ว ฯ




เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๔๘๖ - ๒๕๑๔. หน้าที่ ๑๑๐ - ๑๑๑.
ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2556    
Last Update : 28 กรกฎาคม 2556 10:42:00 น.
Counter : 1298 Pageviews.  

พุทธโอวาท : วิธีทำใจตอนเจ็บหนักจวนตาย




ในเวลาเจ็บหนักจวนตาย ควรจะทำจิตใจอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติคอยกาลเวลานี้เป็นคำแนะนำของเราแก่ท่านทั้งหลาย

“ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นภายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรในความรู้ตัว มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ พิจารณาเห็นจิตใจอยู่เป็นประจำ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เป็นประจำ อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้มีสติ

“ภิกษุเป็นผู้มีความรู้ตัวอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยหลับ.... การแล.... การเหลียว...การคู้เข้า...การเหยียดออก...การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ... การกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม... การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ... การเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง...
“ถ้าเมื่อภิกษุนั้น มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า เวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า เวทนานั้นมีที่อาศัยจึงเกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง

ก็กายนี่แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็เวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง จักเที่ยงแต่ที่ไหนดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความเที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและเวทนา ย่อมละราคานุสัยในกายและสุขเวทนา ย่อมละปฏิฆานุสัยในกายและทุกขเวทนา ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและอทุกขมสุขเวทนาเสียได้

“ถ้าภิกษุเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย เวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกาย ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกาย เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกตายหลังแต่ความสิ้นชีวิต เวทนาที่ไม่น่าเพลิดเพลินทั้งปวงในโลกนี้ จักดับเย็นสนิทไป...


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันอาศัยน้ำมันและไส้จึงลุกโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อเพลิง พึงดับไป...”



เคลัญญสูตร ที่ ๑ สฬา. สํ. (๓๗๔-๓๘๑)

ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 24 กรกฎาคม 2556    
Last Update : 24 กรกฎาคม 2556 11:59:56 น.
Counter : 1369 Pageviews.  

ญาณ ๕ จากสมาธิ....[สมาธิสูตร]




[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญ
สมาธิหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหา
ประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉน

คือ ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก
ต่อไป ๑ สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส ๑ สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้ ๑
สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรม
เอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร ๑ ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ฯ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๕๑๕ - ๕๒๗. หน้าที่ ๒๓ - ๒๔.
ขอขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace




 

Create Date : 17 กรกฎาคม 2556    
Last Update : 17 กรกฎาคม 2556 12:22:15 น.
Counter : 1178 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.