ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจและเกษตรกรรมของไทย 2014
1.ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 51 ล้านเฮคเตอร์ แบ่งเป็นพื้นที่ใช้เพื่อการเกษตร 24 ล้านเฮคเตอร์ (47% ของพื้นที่ทั้งหมด) มีการปลูกพืชเกือบ 70% ของพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดโดย 50% เป็นการปลูกข้าว รองลงมาคืออ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดและยางพารา ไทยมีพื้นที่ป่าประมาณ 17 ล้านเฮคเตอร์ (33% ของพื้นที่ทั้งหมด) พื้นที่เกษตรกรรม/ครัวเรือนมีจำนวนประมาณ 4 เฮคเตอร์ (25ไร่)

 2.ประชากรไทย 44 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ  66 ล้านคนอาศัยอยู่ในชนบท สัดส่วนของชาวชนบทคิดเป็น 66% ของทั้งหมด อัตราการเจริญเติบโตของความเป็นเมืองต่อปีถึงพ.ศ. 2558 อยู่ที่ 1.8% ครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมมีจำนวน 5.87 ล้านครัวเรือน และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยทุกปีเนื่องจากขนาดครัวเรือนที่เล็กลง...41% หรือประมาณ 16 ล้านคนจากเเรงงานทั้งหมด 38.5 ล้านคนในประเทศไทยอยู่ในภาคเกษตรกรรม (ที่มา:เว็บไซร์สถานทูต สหพันธ์รัฐเยอรมณี,2014)

3.คนจนในไทย 
Population below poverty line: 13.2% (2011 est.)
(Population living on less than $1.25 a day)
SOURCE: 2014 CIA WORLD FACTBOOK AND OTHER SOURCES

4.นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ปาฐกถาพิเศษ สภาวะทางเศรษฐกิจและภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ 12 ล้านล้านบาท เป็นอันดับที่ 29 ของโลก มีประชากร 68 ล้านคน และมีการลงทุน 27% ของจีดีพี.
(//www.dailynews.co.th/วันศุกร์ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 16:50 น.)


 i have a dream ! ผมอยากเห็นเมืองไทยมีโรงงานผลิตไบโอก๊าซและCBG (compressed bio gas)จากวัตถุดิบพืชพลังงานของเกษตรกร 10,000 เมกกะวัตต์ทั่วไทย(มีชุมชนและสหกรณ์ถือหุ้นในโรงงานด้วย)เท่าเยอรมันขณะนี้...ตอนนี้รัฐบาลใหม่ก้ทำการยกเลิกโรงไฟฟ้าวิสาหกิจชุมชนพืชพลังงานสีเขียว 12 แห่งเป็นเรื่องจริง ตอนพวกผมผลักดันใหม่ๆเมื่อสามปีมาแล้ว เพื่อสร้างเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เป็นโรงงานแปรรูปผลิตผลการเกษตรและมีผลพลอยได้เป็นพลังงานไฟฟ้า ความร้อนอบพืชผลการเกษตร และปุ๋ยชีวภาพส่งกลับคืนสู่ไร่นาเกษตรกร ทุกองค์กรเห็นด้วยเพราะสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ เปิดสัมนารับฟังความคิดเห็นหลายครั้ง ผู้ที่ค้านคือผู้แทนจากภาคเกษตรกลัวว่าจะไปกระทบกับการผลิตพืชอาหาร (ตอนนั้นจะเอาข้าวโพดพร้อมฝักระยะสะสมแป้งเป็นวัตถุดิบแบบเยอรมัน) จนสุดท้ายผมไปพบว่ามีหญ้าตัวหนึ่งมีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตละลายน้ำสูง มีงานวิจัยปลูกเปรี่ยบเที่ยบกับข้าวโพดทีประจวบคีรีขันธ์โดยกรมปศุสัตว์พบว่าสร้างรายได้ให้เกษตรกรสูงกว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าหญ้าเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด ปลูกง่าย ทนแล้ง ใช้ปุ๋ยและสารเคมีน้อย ใช้น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันรดได้ ไม่เลือกดินอุดมสมบูรณ์มากนัก ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวใด้ 7 ปี (ออ้ยได้3ปี) ขยายพันธ์จากลำต้นเหมือนออ้ย ออกดอกติดเมล็ดไม่มาก ไม่ขยายพันธ์ได้เองเหมือนหญ้าขจรจบและไมยราพหรือไม่แพร่ขยายเองเป็นวัชพืช คำนวนเป็นโมเดลธุรกิจว่าถ้าเกษตรกรรวมตัวกันปลูกในรูปวิสาหกิจชุมชนตัดหญ้าทุก45วันด้วยเครื่องจักรนำไป เลี้ยงวัว แพะ หมู ไก่ ปลากินพืช ผลผลิตหญ้าส่วนเกินส่งขายโรงไฟฟ้าชุมชนผลิตก๊าซชีวภาพ คำนวนออกมาเป็นรายได้สุทธิ (กำไร) คนละ 6,000บาทต่อคนต่อเดือน (1เมกกะวัตต์ใช้หญ้าสด40,000ตันต่อปี ซื้อหน้าโรงงานตันละ600บาทจะมีเงินตกถึงเกษตรกร24ล้านบาทต่อชุมชนต่อปี)ในขณะที่ค่าเฉลี่ยรายได้เกษตรกรข้อมูลของ ธปท.คือ 4,500 บาทต่อเดือนต่อครอบครัวหรือรายได้คนละ2250บาทต่อคนต่อเดือนเท่านั้นเอง (พืชพลังงานจากไร่นาเกษตรกรในทีนี้ได้แก่หญ้าเนเปียร์ ทานตะวัน ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง ฯล) 


บ้านเมืองของเรา ณ วันนี้จะเดินไปทางใหนดี ?

อ่านเพิ่มเติม:พืชที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวภาพได้มหาศาลถ้ารัฐบาลอุดหนุนมากพอ //esc.agritech.doae.go.th/webpage/e-book/veg-short.pdf




Create Date : 29 ตุลาคม 2557
Last Update : 31 ตุลาคม 2557 16:05:27 น.
Counter : 1341 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
4
7
8
9
11
12
13
15
18
21
22
27
 
 
All Blog