Group Blog
All Blog
### งานของนักบวชนักปฏิบัติ ###










"งานของนักบวชนักปฏิบัติ”

พอเรามีเวลาปลีกวิเวก

เราก็จะได้ไม่ต้องมาวุ่นวาย

ไปกับเรื่องราวต่างๆ

 เรื่องของการทำมาหากิน

เรื่องของการทำอะไรตามความอยากต่างๆ

 เพราะเราจะควบคุมจิตใจของเรา

 ควบคุมการกระทำการพูดของเรา

ให้มีน้อยลงไป โดยเฉพาะการกระทำ

ตามความอยากต่างๆ

หลังจากที่เรารักษาศีล ๕ ข้อ

 เราก็เพิ่มเป็น ๘ ข้อ

 ข้อที่ ๓ เราก็ถือศีลพรหมจรรย์

 คือเราจะไม่หาความสุขตามความอยาก

ด้วยการร่วมหลับนอนกับผู้อื่น

 ข้อ ๖ เราก็จะไม่หาความสุข

จากความอยากรับประทานอาหาร

แบบไม่มีขอบมีเขตไม่มีเหตุไม่มีผล

 เราจะไม่รับประทานอาหารตามความอยาก

 เราจะรับประทานอาหารตามเหตุตามผล

 ตามเวลา ตามความต้องการของร่างกาย

 ไม่ใช่ตามความต้องการของใจ

ของตัณหาความอยาก

 และเราก็จะควบคุมการหาความสุข

จากการบันเทิงต่างๆ

ซึ่งเป็นความอยากในกาม กามตัณหา

 ความอยากในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 ไม่หาไม่ดูไม่ฟังไม่ร้องรำทำเพลง

 หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องบันเทิงทั้งหลาย

 เกี่ยวข้องกับเรื่องของสวยๆ งามๆ

 เช่นเสื้อผ้าอาภรณ์ น้ำหอมน้ำมัน

เครื่องสำอางต่างๆ อันนี้เป็นการเสียเวลา

 เป็นความสุขชั่วประเดี๋ยวประด๋าว

ไม่เป็นความสุขจริงเป็นความสุขปลอม

 สู้เอาเวลาที่หมดไปกับการเสียเวลา

กับสิ่งเหล่านี้มาเจริญสติ

 มาควบคุมความคิดต่างๆ

ไม่ให้คิดปรุงเเต่ง ไปในทางความอยาก

เพื่อใจจะได้เข้าสู่ความสงบได้

 แล้วก็จะพักผ่อนหลับนอน

ตามความต้องการของร่างกาย

 จะไม่พักผ่อนหลับนอน

ตามความอยากของกิเลสตัณหา

วิธีพักผ่อนตามความอยาก

ของกิเลสตัณหาก็คือ

ต้องหลับนอนบนฟูกหนาๆ สบายๆ

 เวลาร่างกายได้พักผ่อนพอแล้ว

 ตื่นขึ้นมาก็จะไม่อยากจะลุก

 เพราะที่นอนมันนุ่มมันสบาย

ก็จะหลับต่ออีก ๔-๕ ชั่วโมง

 แทนที่จะหลับเพียง ๔ -๕ ชั่วโมง

ก็จะกลายเป็น ๘-๙ชั่วโมงไป

 ก็จะเสียเวลาอันมีค่า ที่จะเอามาใช้

ในการบำเพ็ญคือมาเดินจงกรมนั่งสมาธิ

ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

ให้นักบวชนักปฏิบัติทั้งหลายบำเพ็ญ

 คือตั้งแต่เวลา หกโมงเย็นถึงสี่ทุ่ม

ก็ให้เจริญสติด้วยการเดินจงกรมนั่งสมาธิกัน

 จากสี่ทุ่มถึงตีสองก็ให้พักผ่อน

 ถ้าพักผ่อนบนพื้นไม้บนพื้นแข็งที่ไม่นุ่มก็

ร่างกายก็จะพักไม่เกิน ๔-๕ ชั่วโมง

 พอได้พักพอตื่นขึ้นมาก็จะไม่อยากนอนต่อ

เพราะมันไม่นุ่มไม่สบายก็จะลุกขึ้น

มาเดินจงกรมนั่งสมาธิต่อ

จากตีสองถึงหกโมงเช้า

หลังจากหกโมงเช้าก็ไปทำภารกิจ

เกี่ยวกับทางด้านร่างกาย

 เป็นพระก็ออกไปบิณฑบาต

ไปหาอาหารมาขบมาฉัน

จนกว่าจะเสร็จภารกิจทางด้านร่างกาย

แล้วก็กลับมาเดินจงกรมนั่งสมาธิต่อ

จนถึงยามบ่ายก็พัก

ก็ทำหน้าที่ในการทำความสะอาดสถานที่

พักกวาดถู ปัดกวาดลานวัดอะไรต่างๆ เหล่านี้

 แล้วถ้ามีน้ำปานะอยากจะดื่มน้ำปานะ

ให้แก่ร่างกายก็ดื่มได้

น้ำปานะคือน้ำที่คั้นมาจากผลไม้

 ที่มีขนาดไม่เกินกำปั้น

 น้ำผลไม้อะไรที่ใหญ่กว่ากำปั้น

ก็ไม่สามารถเอามาใช้เป็นน้ำปานะได้

 เช่นสัปะรดนี้ถือว่าใหญ่กว่า

 แต่ส้มนี้ถือว่าขนาดพอๆกับกำปั้น

ก็สามารถที่จะเอามาบีบเอาน้ำของผลไม้มาดื่ม

แต่ต้องเป็นน้ำล้วน ๆ ไม่ให้มีกากไม่ให้มีเนื้อ

 ต้องใช้ผ้ากรองออกไป

 เพราะไม่ต้องการให้รับประทานเป็นอาหาร

 ให้รับประทานเป็นเภสัช

 คือน้ำปานะนี้ถือว่าเป็นเภชสัชอย่างหนึ่ง

ช่วยรักษาเยียวยาร่างกาย

หลังจากที่ได้ดื่มน้ำปานะเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ก็กลับมา ถ้ามีกิจส่วนตัวต้องทำอะไรก็ทำไป

 จนถึงเวลาอาบน้ำอาบท่าสรงน้ำ

พอถึงเวลาหกโมงเย็นก็เดินจงกรม นั่งสมาธิต่อ

 อันนี้คือกิจของผู้ที่ปลีกวิเวก

ของผู้ที่เจริญจิตตภาวนา

ผู้ที่ต้องการความสงบทางใจ

 ผู้ที่ต้องการความสุขที่ยิ่งใหญ่

กว่าความสุขทั้งหลายในโลกนี้

 อันนี้แหละคือกิจของผู้บำเพ็ญ

ตั้งแต่ตื่นจนหลับให้เจริญสติ

เป็นหลักเสมอ ทางด้านจิตใจ

ส่วนทางด้านร่างกายก็ทำอะไรไป

ตามความเหมาะสม

ถ้านั่งนานไปเมื่อยก็ลุกขึ้นมาเดิน

 ถ้าเดินเมื่อยก็กลับมานั่ง

 ถ้ามีภารกิจทำก็ทำไป

 แต่ในขณะที่ทำก็ให้มีสติ

จดจ่ออยู่กับการกระทำอยู่ตลอดเวลา

การเจริญสตินี้ไม่เปลี่ยนไป

ไม่ว่ากำลังจะทำอะไรก็ตาม

จะเดินจงกรม จะนั่งสมาธิ จะปัดกวาด

เดินบิณฑบาต จะทำกับข้าวกับปลา

จะขบฉัน จะอาบน้ำอาบท่า

 ทำอะไรก็เจริญสติต่อไปอยู่ตลอดเวลา

 ถ้าใช้พุทโธก็บริกรรมพุทโธไปเป็นหลักไป

 ถ้าใช้การเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ก็ดูไป เป้าหมายก็คือ

ไม่ให้ไปคิดเรื่องต่างๆ นานา

ให้อยู่กับปัจจุบัน

ให้อยู่กับเรื่องเดียวให้สักแต่ว่ารู้

 เช่นถ้าเราใช้ร่างกายก็ให้สักแต่ว่ารู้

 รู้ว่าขณะนี้ร่างกายกำลังทำอะไรอยู่ เท่านี้ก็พอ

 ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้หยุดความคิด

 เพราะความคิดนี้ส่วนใหญ่ทำให้ใจเราไม่สงบ

 ทำให้ใจของเราวุ่นวายฟุ้งซ่าน

 เราต้องควบคุมความคิดนี้ให้ได้

 ถ้าควบคุมความคิดได้

ใจก็จะรวมลงเข้าสู่ความสงบได้

 พอเข้าสู่ความสงบแล้ว

เราก็จะได้เข้าสู่ความสุขที่แท้จริง

 ความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งต่างๆในโลกนี้

มาเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ

ไม่เหมือนกับความสุขที่พวกเรา

กำลังหากันอยู่ทุกวันนี้

เราต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือต้องมีร่างกาย

 ต้องมีรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ให้เสพสัมผัส

 ถ้าส่วนมดส่วนหนึ่งมันบกพร่องไป

ความสุขส่วนนั้นก็จะหายไป

ถ้าตาไม่ดีความสุขทางตาก็จะหายไป

หรือตาดีแต่ของที่ดูไม่ดี

ก็เป็นความทุกข์ขึ้นมาได้

 เห็นภาพที่ไม่ถูกอกถูกใจ

เห็นภาพที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจ

ก็เป็นไปได้

เพราะรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะนี้

ก็ไม่เที่ยงแท้แน่นอน

ไม่ใช่ว่าจะให้ความสุขกับเราเสมอไป

 เป็นความทุกข์ของเรา

ก็เกิดจากการได้เสพสัมผัส

รูปเสียงกลิ่นโผฏฐัพพะเหมือนกัน

บางครั้งก็เสพกับรูป

ที่ถูกอกถูกใจก็มีความสุข

 บางครั้งไปเสพกับรูปที่ไม่ถูกอกถูกใจ

ก็มีความทุกข์

เวลาได้ยินเสียงสรรเสริญก็มีความสุข

 เวลาไปได้รับเสียงนินทาว่ากล่าวติเตียน

ก็มีความทุกข์ขึ้นมา

 นี่คือความสุขที่พวกเราเเสวงหากัน

 เป็นความสุขที่ไม่นอน

และเป็นความสุขที่ไม่ถาวร

 เพราะร่างกายที่เป็นเครื่องมือ

ในการหาความสุขเหล่านี้

ย่อมมีความเสื่อมลงไปตามลำดับ

 ตาหูจมูกลิ้นกายย่อมเสื่อมสมรรถภาพ

ลงไปตามลำดับ แล้วต่อไปก็อาจจะ

ไม่สามารถใช้ตาหูจมูกลิ้นกาย

 เป็นเครื่องมือหาความสุข

ทางตาหูจมูกลิ้นกายได้

 เวลานั้นก็จะมีแต่ความเศร้าสร้อย

หงอยเหงามีความเบื่อหน่าย

 บางครั้งก็คิดอยากจะฆ่าตัวตายไป

 โดยเฉพาะเวลาที่ต้องสัมผัสกับโผฏฐัพพะ

ที่ไม่พึงปรารถนา เช่นความเจ็บปวดต่างๆ

 ทางร่างกายที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

ที่รักษาไม่หาย แต่ถ้าเรารู้จักวิธี

หาความสุขภายในใจได้

ความสุขภายในใจนี้จะทำให้ไม่เดือดร้อน

กับความเจ็บ ความปวดของทางร่างกาย

 แล้วก็ไม่เดือดร้อนกับความเสื่อม

ของตาหูจมูกลิ้นกาย

 เพราะการหาความสุขทางใจนี้ไม่จำเป็น

ที่จะต้องใช้ตาหูจมูกลิ้นกายนั่นเอง

 เช่นเวลาเรานั่งสมาธิเราก็หลับตา

หลับหูหลับอะไรต่างๆ

ทวารทั้ง๕เราก็ปิดมัน

ไม่ไปสนใจรับรู้ ให้เราเกาะติดอยู่กับ

อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

 เช่นการบริกรรมพุทโธๆ ไป

ใจของเราก็จะเข้าสู่ความสงบ

เข้าสู่ความสุขได้ แล้วถ้าเราทำบ่อยๆ

ต่อไป เราก็สามารถเข้าได้อย่างรวดเร็

เหมือนกับการขับรถ เวลาขับรถใหม่ๆนี้

รู้สึกว่าเราจะต้องคอยทำอะไรหลายอย่าง

ต้องคอยเหยียบน้ำมันคอยเหยียบเบรค

คอยเข้าเกียร์ คอยจับพวงมาลัย

รู้สึกว่าเป็นงานที่ยุ่งยากมากมาย

 แต่หลังจากที่เราทำบ่อยๆ เข้า

มันก็กลายเป็นความเคยชิน

 ก็จะเป็นความง่ายดายขึ้นมา

 ฉันใดตอนต้นเวลาที่เรานั่งสมาธิใหม่ๆ

เราก็จะรู้สึกว่ายากเหลือเกิน

การที่จะต้องคอยบริกรรมพุทโธๆ

 แล้วก็มีอุปสรรคต่างๆมามากมาย

บางทีนั่งแล้วก็หลับก็มี

 บางทีนั่งแล้วก็ไม่สงบ

ฟุ้งซ่านคิดแต่เรื่องนั้นคิดเเต่เรื่องนี้

บางทีนั่งแล้วก็เจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้

ก็ไม่อยากจะนั่ง

อันนี้ก็เป็นเพราะว่าสติไม่ต่อเนื่อง

 ถ้าสติต่อเนื่องแล้วอาการต่างๆ

 จะไม่มารบกวนใจ

ใจจะเกาะติดอยู่กับพุทโธนี้

แล้วจะไม่รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน

จะไม่รู้สึกรำคาญกับอาการ

เจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ของร่างกาย

จะไม่มีความคิดฟุ้งซ่านตามมา

ใจก็จะดิ่งเข้าสู่ความสงบได้อย่างง่ายดาย

ดังนั้นการที่จะนั่งสมาธิให้เกิดผลขึ้นมา

จึงต้องอาศัยการเจริญสติเป็นจุดเริ่มต้นก่อน

ต้องให้จิตของเรานี้มีสติอย่างต่อเนื่อง

ไม่เผลอไปกับเรื่องอื่นไม่คิดไปกับเรื่องอื่น

 ให้คิดอยู่กับพุทโธๆ เพียงอย่างเดียว

หรือให้อยู่ในปัจจุบันอยู่กับการเฝ้าดูร่างกาย

อย่างไม่คลาดสายตาทุกเวลานาที

อันนี้คือเรื่องของการบำเพ็ญจิตตภาวนา

เพื่อให้จิตเข้าสู่ความสงบ

ที่ความสุขที่เลิศที่สุด

ที่ดีกว่าความสุขทั้งหลายในโลกนี้

เพราะเป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัย

สิ่งต่างๆ ในโลกนี้เป็นเครื่อมือ

ร่างกายจะแก่ จะเจ็บ จะตายไป

ก็ยังสามารถผลิตความสุขอันนี้ได้

 เพราะเป็นความสุขของใจผลิตโดยใจ

ไม่ได้ใช้ร่างกายเป็นผู้ผลิตขึ้นมา

 และพอเราได้ความสุขนี้

เราก็ต้องรักษาความสุขนี้ให้ได้

 เพราะว่าความสุขนี้จะจางไป

เวลาที่ออกจากสมาธิ

เวลาออกจากสมาธิถ้าไม่เจริญสติต่อ

ความสุขนี้ก็จะหายไปได้

ถ้าอยากจะรักษาความสุขต่อ

ก็ต้องอย่างน้อยก็ต้องเจริญสติ

 แต่การเจริญสตินี้ก็มีขอบเขต

ของความจำกัดก็คือ ต้องเจริญอยู่เรื่อยๆ

ถึงจะไม่หายไป ถ้าเวลาใดเผลอ

หรือหยุดเจริญสติขึ้นมา มันก็หายไปได้

เพราะเวลาเผลอสติก็มีตัณหา

ความอยากโผล่ขึ้นมา

มาทำลายความสงบอันนี้ได้

ถ้าอยากจะไม่ให้ความสงบนี้

หายไปอย่างถาวรโดยที่ไม่ต้องเจริญสติ

 ไม่ต้องใช้พุทโธต่อไปเรื่องก็ต้องใช้ปัญญา

ปัญญานี้จะเป็นผู้ที่จะมาทำลายความอยาก

 ปัญญาก็คือการมีเหตุมีผล

การดูสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุด้วยผล

 ถ้าจิตสงบแล้วเวลาออกมาจิตไม่สงบ

เพราะอะไรก็จะรู้ อ๋อ เพราะความอยาก

 พอความอยากแล้วความสงบที่ได้จากสมาธิ

มันก็จะหายไป

ถ้าอยากจะให้ความสงบกลับคืนมา

ก็หยุด ความอยากเท่านั้นเอง

 และการจะหยุดความอยากได้

ก็ต้องสอนให้ใจ ชี้ให้ใจเห็นเลยว่า

สิ่งที่อยากได้นี้ มันเป็นงูพิษ

มันไม่ใช่เป็นของเล่นของดี

มันเป็นพิษเป็นอันตรายเพราะอะไร

 เพราะว่ามันไม่เที่ยง

เพราะเราไม่ควบคุมบังคับ

ให้มันให้ความสุขกับเราไปตลอดไม่ได้

เราเห็นอะไรเราชอบเรา

คิดว่า ได้มาแล้วเราจะมีความสุข

 เราก็ไปเอามา เราก็ได้ความสุขจากสิ่งนั้น

 แต่วันดีคืนดีสิ่งนั้นก็เปลี่ยนไปได้

พอเปลี่ยนไปแล้วการที่จะเคยให้ความสุข

ก็กลายเป็นให้ความทุกข์กับเรา

 เช่นเรารักใคร เราชอบใคร

 เราคิดว่าเราได้เขามาแล้ว

เขาจะให้ความสุขกับเราไปตลอด

 เเต่พอมาอยู่กับเขา

ได้สักพักหนึ่งเขาเปลี่ยนไป

 ตอนนั้นเราก็จะเสียใจเราจะทุกข์ใจ

 เพราะเขาไม่ให้ความสุขกับเรา

เหมือนกับที่เราคิดว่า

เขาจะให้เราไปตลอดนั่นเอง

เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้

มีความไม่แน่นอน มีความไม่เที่ยงเเท้

มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ

ไปตามเหตุตามปัจจัยต่างๆ

หรือเขาอาจจะดีกับเราไปตลอด

แต่เขามีโรคภัยไข้เจ็บมีอุบัติเหตุ

ทำให้เขาต้องจากเราไปก่อน

 อันนี้ก็เป็นอนิจจังเหมือนกัน

 เป็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นอนัตตา

ก็คือเราไม่สามารถที่จะไปควบคุมบังคับ

ไปสั่งให้เขาเป็นไปตามความอยากของเราได้

 พอเรามีความอยากก็จะเกิดทุกขัง

 ความทุกข์ขึ้นมาในใจ

พอเราเห็นว่าสิ่งที่เราอยากได้นั้น

เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 เราก็จะหยุดความอยากได้สิ่งต่างๆ ได้

 พอเราไม่มีความอยากได้ในสิ่งต่างๆ

 จิตก็กลับเข้าสู่ความสงบได้เหมือนเดิม

เหมือนตอนที่ออกจากสมาธิมาใหม่ๆ

แล้วก็จะสงบไปอย่างถาวร

เพราะว่าเหตุที่จะทำให้ใจไม่สงบนี้

จะถูกทำลายไปหมดด้วยปัญญา

ด้วยไตรลักษณ์ ด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 ด้วยอริยสัจ ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

 นี่แหละคือปัญญาของทางพระพุทธศาสนา

ปัญญาของทางพระพุทธศาสนานี้

ไม่กว้างใหญ่ไพศาล

เหมือนกับปัญญาความรู้ทางโลก

 ความรู้ทางโลกนี้แตกแยกเป็น

หลายสิบหลายหมื่นหลายพันสาขาด้วยกัน

 แต่เป็นความรู้แบบท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

คือไม่รอดพ้นจากความทุกข์นั่นเอง

ไม่ว่าเรียนรู้วิชาอันใดถึงระดับขั้นปริญญาเอก

ก็จะไม่สามารถที่จะมาดับความทุกข์

 บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่จิตใจได้

เหมือนกับปัญญาทางพระพุทธศาสนา

ที่เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง

เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 ที่เห็นว่าความทุกข์ของใจนี้

เกิดจากความอยาก

และการจะดับความทุกข์ของใจ

ก็ต้องเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้นเอง

อันนี้แหละคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้

ที่ไม่มีใครรู้มาก่อน เป็นความรู้แบบ

เรียกว่าเส้นผมบังภูเขา

เป็นความรู้เล็กๆน้อยๆ

 ที่มีอยู่ในใจตลอดเวลาแต่ไม่มีใครมองกัน

แทนที่จะหาวิธีบำบัดทุกข์บำรุงสุข

ที่มีอยู่ภายในใจ

คำตอบมีอยู่แล้วภายในใจ

 กลับไม่หาคำตอบภายในใจกัน

กลับไปหาคำตอบข้างนอกใจ

ไปศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวิชาการต่างๆ

จนมีวิชาการแทบจะนับไม่ถ้วน

แล้วว่ามีกี่วิชาด้วยกัน

แต่วิชาความรู้ต่างๆ ภายนอกนี้

ไม่สามารถที่จะมาดับความทุกข์ภายในใจได้

 ดังนั้นผู้ที่จะเข้าถึงความรู้อันนี้

ได้ก็ต้องปฏิบัติอย่างที่พระพุทธเจ้า

ได้ทรงปฏิบัติ คือทำทาน

สละราชสมบัติเพื่อจะได้มีเวลา

ออกบำเพ็ญรักษาศีล บำเพ็ญจิตตภาวนา

ได้อย่างเต็มที่ ถ้ายังต้องยุ่งเกี่ยว

อยู่กับพระราชทรัพย์

ต้องยุ่งเกี่ยวกับชีวิตของผู้ครองเรือนอยู่

 ก็จะไม่มีเวลาพอ

ก็จะเป็นจะต้องสละทุกอย่าง

 ทำทาน แบบเต็มที่เลย

 มีอะไรเท่าไรก็ยกให้ผู้อื่นไปหมด

 ไม่มายุ่งไม่มากังวลด้วย

 เพื่อจะได้เอาเวลามาทุ่มเทให้กับการรักษาศีล

 และเจริญจิตตภาวนา จนในที่สุด

ก็ได้พบกับอริยสัจ ๔ ได้พบกับไตรลักษณ์

 อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

จึงได้พบกับความสิ้นสุด

ของความทุกข์ทั้งหลาย

 ได้พบกับการสิ้นสุด

ของการเวียนว่ายตายเกิด

 คำตอบอยู่ภายในใจของเราไม่ได้อยู่ภายนอก

 ถ้าเรายังไปหาคำตอบอยู่ภายนอกอยู่

ก็แสดงว่าเรายังหลงทางอยู่

 เช่นเดินทางไปหาพระพุทธเจ้า

ที่ประเทศอินเดียนี้ก็หลงทางกันไป

 ไปผิดทาง มองป้ายผิดไป

 ป้ายชี้บอกให้เข้าข้างในกลับไปข้างนอกกัน

ไปทางตา หู จมูก ลิ้น กายกัน

ท่านบอกให้ปิดทวารทั้ง ๕

คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

 ถ้าอยากจะเห็นพุทธะให้เข้าข้างใน

ให้บำเพ็ญปฏิบัติ จนเห็นธรรมะ

 พอเห็นธรรมแล้วก็จะเห็นพุทธะ

ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต

 ไม่ใช่ผู้ใดไปอินเดียผู้นั้น จะเห็นเราตถาคต

 พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสสอนอย่างนั้น

 สอนแต่ว่าให้เข้าข้างในสำรวมอินทรีย์

ตาหูจมูกลิ้นกาย เจริญสติ

 ดึงใจให้เข้าข้างในให้ได้

ด้วยการบริกรรมพุทโธๆ

อันนี้แหละการเข้าหาพระพุทธเจ้า

 พระธรรม พระสงฆ์ ดึงเข้ามาข้างใน

พอดึงเข้ามาข้างในจิตก็จะสงบ

จิตก็จะเห็นธรรมะ เห็นอริยสัจ ๔

พอเห็นอริยสัจ๔ ก็จะเห็นพระพุทธเจ้า

 อ๋อ นี่หรือ คือพระพุทธเจ้า

ก็จะเห็นพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้เอง

 จิตของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร

จิตที่มีธรรมก็เป็นอย่างนี้ คือจิตที่สงบ

 ผู้ที่มีจิตสงบก็คือผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

สุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน ยายะปฏิปันโน

 สามีจิปฏิปันโน ก็อยู่ตรงนี้

อยู่ที่การบำเพ็ญจิตตภาวนา

อยู่ที่การรักษาศีล อยู่ที่ทำทานนี่เอง

 ไม่ได้อยู่ที่ไหน อย่าไปที่อินเดียให้เสียเวลา

 หลวงปู่มั่น ไม่ได้ไป หลวงตามหาบัวไม่ได้ไป

 ผู้ที่ไปแล้วเจอพระพุทธเจ้ากันหรือยัง

อันนี้ก็ขอให้นำเอาไปคิดว่า

แนวทางการบำเพ็ญของเรานั้น

ไปในทิศางไหนกันแน่

ทางของพระพุทธเจ้าหรือ

 ทางของโมหะอวิชชา

ความหลงความมืดบอด

ถ้าไปทางตาหูจมูกลิ้นกายไปทางข้างนอก

ก็ถือว่า ไปตามทางของโมหะ อวิชชา

ถ้าไปสู่การสำรวมตาหูจมูกลิ้นกาย

ไปสู่ทางศีล ๘ สู่ทางจิตตภาวนา

 อันนี้แหละเป็นทางไป

ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงไป

 ทรงดำเนินไป และทรงสอนให้พวกเรา

บำเพ็ญตามกัน ดังนั้นขอให้พวกเรา

จงพยายามตะเกียกตะกาย

 ต่อสู้กับความหลงที่จะหลอก

ให้เราไปหาสิ่งต่างๆ ภายนอก

ให้ดึงใจของเราให้เข้ามาสู่ภายใน

ให้ได้แล้วเราจะได้พบกับสรณะ

ที่พึ่งที่ประเสริฐ ที่แท้จริงต่อไป

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

........................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

“ทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอน”






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 19 ธันวาคม 2559
Last Update : 19 ธันวาคม 2559 11:13:49 น.
Counter : 666 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ