Group Blog
All Blog
<<< จับลิงเข้ากรง >>>









“จับลิงเข้ากรง”

การจะสร้างสมาธิขึ้นมาได้ ก็จะต้องมีเครื่องมือ

 สมาธินี้ก็เป็นเหมือนกับการจับลิงเข้ากรง

 จิตนี้เปรียบเหมือนลิง

การที่เราจะสั่งให้จิตสงบ ต่อไปนี้อย่าคิด

 ให้นิ่งๆ ให้สงบ ให้สบาย เราสั่งมันไม่ได้มันไม่ฟัง

 เพราะมันไม่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของเรา

 มันเป็นผู้อยู่เหนืออำนาจของเรา

 เราต่างหากที่เป็นผู้อยู่ใต้อำนาจของมัน

 มันต่างหากเป็นผู้สั่งให้เราไปหาสิ่งนั้นสิ่งนี้มา

 ให้เกิดความอยากต่างๆ

ทำให้ทำตามความอยากต่างๆ ของใจมาโดยตลอด

 ดังนั้นอยู่ดีๆ วันดีคืนดี ผู้ที่เป็นทาสจะลุกฮือขึ้นมา

แล้วสั่งให้ผู้ที่เป็นเจ้านายนี้ทำตามคำสั่งของทาสนี้

 ย่อมเป็นไปไม่ได้ถ้าไม่มีอาวุธ

อาวุธที่ทาสจะใช้ในการต่อสู้กับเจ้านายก็คือสมาธินี้เอง

 ทีนี้การที่จะทำให้เกิดสมาธิขึ้นมาได้

ก็ต้องมีเครื่องมือที่จะจับลิงคือจิตนี้

ที่ไม่ยอมอยู่ในความสงบเป็นเหมือนลิง

 ลิงนี้โดยปกติก็จะไม่อยู่ในความสงบ จะไม่อยู่เฉยๆ

จะเล่นจะเที่ยวทำโน่นทำนี่ของมันไป

 เวลาต้องการให้ลิงนิ่งอยู่เฉยๆ ต้องจับเข้ากรง

 การจะจับเข้ากรงได้ก็ต้องใช้เชือกรัดคอ

ถ้ารัดคอลิงได้ก็สามารถลากลิงเข้ากรงได้

 จิตก็เหมือนกัน จิตก็เป็นเหมือนลิง

ถ้าอยากจะจับให้จิตเข้าสู่ความสงบ

ให้เป็นสมาธิ ให้นิ่ง ให้สงบ

ก็จำเป็นจะต้องมีเชือกผูกรัดคอจิต

เชือกที่จะผูกรัดคอจิตนี้ก็คือสตินี่เอง

 สตินี้เป็นธรรมที่สำคัญที่สุด

ในการที่จะควบคุมจิตใจ

 ในการที่จะมาดับความทุกข์ใจ

 มาหยุดความอยาก จำเป็นจะต้องมีสติก่อน

เพราะว่าถ้าไม่มีสติ ก็จะไม่สามารถทำใจให้สงบ

 ให้เป็นสมาธิได้ และเมื่อใจไม่สงบ ไม่เป็นสมาธิ

 ใจก็จะไม่มีกำลังที่จะหยุดความอยากต่างๆ ได้นั่นเอง

 พระพุทธเจ้าจึงยกย่องสติว่าเป็นธรรมที่สำคัญ

 เป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาธรรมทั้งหลาย

 เพราะว่าถ้าไม่มีสติแล้วก็จะไม่สามารถทำให้จิตสงบได้

 เมื่อจิตไม่สงบก็ไม่สามารถหยุดความอยากได้

ทำตามปัญญาที่สอนว่าต้นเหตุของความไม่สบายใจ

 ของความทุกข์ใจ ก็คือความอยากต่างๆ ภายในใจ

ดังนั้นภารกิจแรกของนักปฏิบัตินักภาวนาก็คือ

การเจริญสติ ซึ่งการเจริญสตินี้ก็จำเป็น

จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ถ้าทำแต่เฉพาะเวลานั่งสมาธิ

จะไม่มีกำลังมากพอ จะไม่มีกำลังที่จะดึงจิต

ให้เข้าสู่สมาธิได้ เพราะเหมือนกับการจะจับลิง

ถ้าเรายังไม่มีเชือก เราต้องไปหาเชือกก่อน

 แล้วกว่าจะหาเชือกได้ กว่าจะเอามาคล้องคอลิงได้

เราก็หมดแรงเสียแล้ว

 เวลานั่งสมาธิ ตอนต้นก็ต้องสู้กับความคิดปรุงแต่งก่อน

 เพราะว่าเรายังไม่มีสติที่จะควบคุมความคิดปรุงแต่งได้

 กว่าที่จะควบคุมความคิดปรุงแต่งได้ก็นั่งไม่ไหวแล้ว

 เจ็บแล้ว เจ็บตามร่างกายต่างๆ ก็ต้องลุกขึ้นมา

 ไม่สามารถทำใจให้สงบได้

ดังนั้นเราต้องหาเชือกมาเตรียมคล้องคอจิตไว้ก่อน

 แล้วพอเวลาเรานั่งสมาธิ

เราจะได้ลากมันเข้ากรงได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

 เราจึงจำเป็นจะต้องเจริญสติ

ก่อนที่เราจะมานั่งสมาธิเราต้องเจริญสติตลอดเวลา

 เพราะเวลาใดที่เราไม่เจริญสติ

ก็เป็นเวลาที่เชือกขาดนั่นเอง

เป็นเวลาที่เราปล่อยให้ลิงไปเล่นเพ่นพ่าน

 ดังนั้นเราต้องเจริญสติให้มีกำลังมาก

ให้มีกำลังต่อเนื่องกันไม่ให้ขาด

 เพราะว่าเวลาใดที่ขาด เวลานั้นก็จะไม่สามารถดึงจิต

ให้เข้าสู่ความสงบได้ แต่ถ้าเราสามารถดึงจิต

ให้อยู่กับอารมณ์ที่เรากำหนดไว้

 เช่นถ้าเราใช้พุทโธ เราก็กำหนด

ให้จิตบริกรรมพุทโธ พุทโธไป

ไม่ให้ไปคิดเรื่องราวต่างๆ

 ไม่ให้คิดถึงเรื่องคนนั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้

 อย่าไปคิดให้เสียเวลา เพราะว่าไม่เป็นประโยชน์

กับการมาทำใจให้สงบ คิดแล้วก็จะเกิดความฟุ้งซ่าน

เกิดความหงุดหงิด รำคาญใจ

 เกิดความอยากต่างๆ ขึ้นมา

ถ้าคิดถึงบุหรี่ ก็อยากจะสูบบุหรี่

คิดถึงสถานที่ท่องเที่ยวก็อยากจะไปท่องเที่ยว

 คิดถึงขนมนมเนย ก็อยากจะรับประทาน

คิดถึงเครื่องดื่มต่างๆ ก็อยากจะดื่ม

 คิดถึงภาพยนตร์ คิดถึงละครก็อยากจะดู

ถ้าเกิดความอยากแล้วก็จะต้องไปทำตามความอยาก

 เพราะถ้าหยุดความอยากไม่ได้ก็จะทุกข์ทรมานใจ

 เราก็เลยจะไม่ได้มีเวลามาเจริญสติกัน

เพราะเราจะต้องไหลไปกับ

กระแสของความอยากต่างๆ

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องพยายามเจริญให้มาก

 ให้มีขึ้นมาให้ได้ก็คือ "สติ"

ถ้ามีสติอย่างต่อเนื่องก็เรียกว่า "สัมปชัญญะ"

คือไม่ขาดตอน มีการระลึกถึงพุทโธ พุทโธ

 อยู่อย่างสม่ำเสมอไม่เผลอ ไม่ลืม

 ทำอะไรในอิริยาบถ ๔ ทำกิจกรรมต่างๆ

ที่ไม่ต้องใช้ความคิด

ก็ใช้การบริกรรม พุทโธ พุทโธไป

 ถ้ากิจกรรมที่จำเป็นจะต้องใช้ความคิด

ก็หยุดบริกรรมไว้ชั่วคราว

แล้วก็ใช้ความคิดให้อยู่กับกิจกรรมเท่านั้น

 พอเสร็จกิจกรรมนั้นแล้ว ไม่ต้องใช้ความคิดแล้ว

ก็กลับมาบริกรรมพุทโธไปต่อ จนกว่าจิตไม่คิดอะไร

 ถ้าไม่คิดอะไรตอนนั้นก็จะไม่ต้องบริกรรมก็ได้

ตอนนั้นมีสติสัมปชัญญะตั้งอยู่ในปัจจุบัน

ไม่คิดปรุงแต่งอะไรต่างๆ

ถ้ามีเวลาว่างเวลาที่จะนั่งสมาธิได้ ก็นั่งได้เลย

 ถ้านั่งแล้วจิตก็จะเข้าสู่ความสงบได้

อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ภายในห้านาทีสิบนาที

จิตก็จะเข้าสู่ความสงบได้.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

......................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๖

"หยุดความอยาก"





ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 26 เมษายน 2560
Last Update : 26 เมษายน 2560 9:30:19 น.
Counter : 755 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ