bloggang.com mainmenu search
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร



วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่พอดี แต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา

ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา ซึ่งต่อมารวมพื้นที่กับวัดสุขมินท์ วัดหอธรรมวัดสบฝางหรือป่าฝาง และบางส่วนของวัดพันเตา

เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกูฏ กุฏาราม ราชกุฏาคาร หรือวัดโชติการาม


Photobucket

Photobucket

Photobucket


เชื่อกันว่าวัดเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๕๔) ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928 - พ.ศ. 1945 ปัจจุบันมีอายุกว่า ๖๐๐ ปี

วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดในวัดเจดีย์หลวงแห่งนี้ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่


Photobucket

Photobucket

Photobucket


ตามตำนานเล่าว่า จุลศักราช 289 (พ.ศ. 1874) พระเจ้าแสนภู โปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน และต่อมาอีก 4 ปีทรงสร้างมหาวิหารขึ้นกลางเมืองเชียงแสนคือวัดเจดีย์หลวงองค์ที่ 1 ซึ่งอยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน

สมัยพระเจ้าแสนเมืองมาซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากือนา (พ.ศ. 1928 - 1945) กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ ขณะที่มีพระชนมมายุ 39 ปี เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา

ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2000 วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้

แต่การสร้างพระเจดีย์ก็ยังไม่ทันแล้วเสร็จดีก็ทรงสวรรคต พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีอัครมเหสีของพระองค์ ได้โปรดให้ดำเนินการสร้างต่อจนพระธาตุเจดีย์หลวงแล้วเสร็จ จนเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี เรียกกันว่า “กู่หลวง”


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


มหาเจดีย์หลวงที่พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีทรงก่อสร้างนั้น พระนางทรงให้ยกฉัตรยอดมหาเจดีย์ แล้วปิดด้วยทองคำ พร้อมทั้งเอาแก้ว 3 ลูก ใส่ยอดมหาเจดีย์นั้นไว้ ประดับด้วยโขงประตูทั้ง 4 ด้าน มี พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งในโขงทั้ง 4 ด้าน มีรูป พญานาคปั้นเต็มตัว 4 คู่ (8 ตัว) ตัวละ 5 หัว อยู่ 2 ข้างบันไดทางขึ้นโขงทั้ง 4 ด้าน รูปปั้นราชสีห์ 4 ตัว ตั้งอยู่ตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี 28 เชือก แต่ในประวัติศาสตร์มีเพียง 8 เชือกเท่านั้น


Photobucket

Photobucket


ช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงทั้ง 8 เชือกนั้นมีการตั้งชื่อไว้ด้วย จากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) เวียนมาตามทิศตะวันออก มีดังนี้

ตัวที่ 1 เมฆบังวัน
ตัวที่ 2 ข่มพลแสน
ตัวที่ 3 ดาบแสนด้าม
ตัวที่ 4 หอกแสนลำ
ตัวที่ 5 ก๋องแสนแหล้ง
ตัวที่ 6 หน้าไม้แสนเปียง
ตัวที่ 7 แสนเขื่อนก๊าน
ตัวที่ 8 ไฟแสนเต๋า


Photobucket


การสร้างรูปปั้นช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง 8 เชือก เพราะเชื่อว่า จะทำให้เกิดสวัสดิมงคล นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้

1. เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก ทำให้ผู้รุกราหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”
2. เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”
3. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”
4. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”
5. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”
6. เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”
7. เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)
8. เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”


Photobucket

Photobucket


ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม โดยให้มีส่วนสูง 80 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง ด้านละ 56 เมตรถือได้ว่าเป็นเจดีย์ที่สูงให่ที่สุดในอาณาจักรล้านนาไทย และได้ทรงปรับรูปทรงของพระเจดีย์เป็น แบบผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนาและแบบโลหะปราสาทของลังกา และรูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกาม ดัดแปลงซุ้มจระนำ มุกเจดีย์ด้าน ตะวันออกทำเป็นซุ้มและแท่นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
โดยมีพระม
หาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดโชติการาม (วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๔

และได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตจากที่เคยประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวงของวัดมาประดิษฐานที่ซุ้มจรนำ ซึ่งพระแก้วมรกตก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่ซุ้มจรนำแห่งนี้ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 79 ปี ระหว่างที่พระแก้วมรกตประดิษฐานที่เชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2011 – 2091 ก่อนพระไชยเชษฐาธิราช จะอัญเชิญเสด็จสู่เมืองเชียงทอง หลวงพระบาง ต่อมาประดิษฐานที่นครเวียงจันท์ ก่อนเสด็จมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศสาดาราม กรุงเทพ


Photobucket

Photobucket


ในรัชสมัยพระเมืองแก้ว หรือ พญาแก้วมีการบูรณะอีกครั้งโดยขยายฐานใหม่ให้ใหญ่ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้ว และอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐาน สร้างมหาวิหาร ส่วนการบูรณะพระเจดีย์หลวงได้ดำเนินการเพียงเล็กน้อย

ปี พ.ศ. 2055 พระเมืองแก้วพร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง 3 ชั้นคิดเป็นเนื้อเงินทั้งสิ้น 254 กิโลกรัม
จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน 30 กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง 2,382.517 กิโลกรัม


Photobucket


ประมาณ พ.ศ. 2088 ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย เกิดพายุฝนตกหนัก แผ่นดินไหว พระมหาเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาเหลือเพียงครึ่งองค์ จากนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า 4 ศตวรรษ ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ ๔๐.๘ เมตร ฐานกว้างด้านละ ๖๐ เมตร

กระทั่งปี พ.ศ. 2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง

ช่วงปี พ.ศ. 2471-2481 สมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่าเป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา


Photobucket


พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่

พระเจดีย์หลวง ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 โดยได้ว่าจ้างบริษัท ศิวกรการช่าง จำกัด บูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวง โดยรักษารูปทรงที่เหลืออยู่จากครั้งแผ่นดินไหว ให้มั่นคงยิ่งขึ้นโดยทำฐานกว้างด้านละ 60 เมตรและเสริมเติมส่วนที่มีร่องรอยเช่น ช้างทั้ง 8 เชือก ใช้งบประมาณในการบูรณะถึง 35 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535


Photobucket


แต่เดิมวัดเจดีย์หลวง ชื่อ “โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณะทูต 8 รูป ภายใต้การนำพระโสณะ และ พระอุตตะระ เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตสุวรรณภูมิ รวมทั้งภูมิภาคนี้ด้วย ได้นำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์องค์เล็กสูง 3 ศอก ที่สร้างขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์หลวงในปัจจุบัน ในเวลานั้นมีมีชายผู้หนึ่ง อายุ 120 ปี มีใจเลื่อมใส ได้แก้เอาผ้าห่มชุบน้ำมันจุดบูชา และได้ทำนายว่า ต่อไปในภายภาคหน้า ตรงนี้จะเป็นอารามใหญ่ชื่อโชติการาม

นอกจากนี้ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า “โชติการาม” คือ เวลาที่มีการจุดประทีปโคมไฟไปประดับบูชาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง จะปรากฏจะปรากฏแสงสีสว่างไสว มองเห็นองค์พระเจดีย์คล้ายเชิงเทียนที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงสว่างไสว ดูแล้วมีความงดงามยิ่งนัก สามารถมองเห็นได้แต่ไกล
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากในภาษาเหนือ หรือคำเมือง หลวงแปลว่า “ใหญ่” หมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478


เจดีย์หลวงตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยาของชาวลัวะ

คติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยา ในยุคแรกใช้อินทขีลเป็นสัญลักษณ์สะท้อนความเชื่อดั้งเดิมของชาวลัวะซึ่งได้ผสมผสานกับความเชื่อของพราหมณ์ ในระยะต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก ได้ใช้พระธาตุเจดีย์หลวงเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล คตินี้เห็นได้ชัดจากการสร้างเจดีย์หลวงให้สูงใหญ่ ตั้งอยู่กลางใจกลางเมือง เช่นเดียวกับเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาล

ปัจจุบันบริเวณวัดเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ มีสิ่งสักกาละหลากหลายได้แก่ เจดีย์หลวง อินทขีล ต้นยาง กุมภัณฑ์ พระฤๅษี ซึ่งสะท้อนพัฒนาการคติจักรวาลได้ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่แวดล้อมของเมือง
คติเจดีย์หลวงในฐานะศูนย์กลางจักรวาล ปรากฏในคัมภีร์มหาทักษาเมือง กล่าวถึง การสร้างวัดสำคัญในเมืองเชียงใหม่ 9 แห่ง โดยกำหนดให้สอดคล้องกับชัยภูมิ และความเชื่อเรื่องทิศทั้ง 4 และทิศเฉียงอีก 4 เป็น 8 เมื่อทิศทั้ง 8 มาบรรจบกัน เกิดจุดศูนย์กลางรวมกันเป็น 9 ถือเป็นเลขมงคล ตำแหน่งจุดศูนย์กลางเมือง เป็นสะดือเมือง กำหนดให้เป็นเกตุเมืองตรงกับวัดเจดีย์หลวง วัดทั้ง 8 แห่งที่สร้างตามทักษาเมือง คือ

บริวารเมือง ทิศตะวันตก (ทิศปัจฉิม) วัดสวนดอก
อายุเมือง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ) วัดเจ็ดยอด
เดชเมือง ทิศเหนือ (ทิศอุดร) วัดเชียงยืน
ศรีเมือง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) วัดชัยศรีภูมิ
มูลเมือง ทิศวะวันออก (ทิศบูรพา) วัดบุพพาราม
อุตสาหเมือง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ทิศอาคเนย์) วัดชัยมงคล
มนตรีเมือง ทิศใต้ (ทิศทักษิณ) วัดนันทาราม
กาลกิณีเมือง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ทิศหรดี) วัดตโปทาราม


Photobucket



วิหารหลวง


หรือพระวิหารกลาง ปัจจุบันเป็นทั้งพระอุโบสถ ด้วย ตั้งอยู่ห่างพระธาตุเจดีย์หลวงประมาณ ๑๕.๘๔ เมตร ไปทางทิศตะวันออก เป็นสถาปัตยกรรมทรงล้านนาประยุกต์

วิหารที่วัดเจดีย์หลวงนี้หลังแรกซึ่งสร้างครั้งแรก โดยพระนางติโลกจุฑา พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกนเมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๔ พร้อมทั้งได้หล่อพระอัฏฐารสพุทธปฏิมาประธานและพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ สารีบุตร ไว้ในพระวิหาร

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๑๗ พระเจ้าติโลกราชให้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างวิหารหลังใหม่ มีขนาดกว้าง ๙ วา ยาว ๑๙ วา ขึ้นแทน

มาในปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระเมืองแก้วให้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างขึ้นใหม่ในที่เก่าอีก

ครั้นถึงสมัยพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ไฟได้ไหม้วิหารเสียหายจึงต้องรื้อแล้วสร้าง ใหม่ทับที่เดิมอีกครั้ง

ต่อมาในยุคเจ้าหลวงอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ราชวงศ์ทิพจักร ได้ รื้อวิหารหลังเดิม แล้วสร้างวิหารหลังใหม่ขึ้นที่เดิมอีก ซึ่งวิหารในยุคก่อน ๆ นั้นคงสร้างด้วยไม้ จึงมีการสร้างและรื้อถอนกันได้บ่อย ๆ


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket



วิหารหลังที่เป็นในปัจจุบันนี้ เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๑ หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยโดยนาคที่อยู่บนบันใดใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาเหนือ


Photobucket

Photobucket

Photobucket


สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่น


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket



พระอัฎฐารส

เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง หล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุฑา ราชมารดาของพญาติโลกราช โปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954

นอกจากนั้นราชมารดาของพญาติโลกราช ยังโปรดฯให้หล่อพระพุทธรูปองค์อื่นๆอีกด้วย มีพระอัครสาวก โมคคัลลาน์ สารีบุตร และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลายขนาดอีกจำนวนมากประดิษฐานอยู่รายล้อมพระอัฏฐารส พระพุทธรูปเหล่านี้ต้องใช้เตาในการหลอมเป็นจำนวนมาก พื้นที่ที่สันนิษฐานว่าเคยเป็นบริเวณที่ตั้งเตาสำหรับหลอมทองหล่อพระพุทธรูปภายหลังสร้างเป็นวัดจึงได้ชื่อว่า วัดพันเตา


Photobucket

Photobucket



เจดีย์ขนาดเล็ก


เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมแบบเชียงใหม่ มีลักษณะเดียวกันทั้งองค์ทางทิศเหนือ ทิศใต้ ตั้งอยู่กระหนาบ พระวิหารด้านเหนือและด้านใต้ เยื้องไปทางด้านหน้า

พระเจดีย์ทรงย่อเก็จ 3 ชั้น ฐานปัทม์ย่อเก็จสองชั้น คอระฆังหุ้มทองจังโก้ปิดทองคำเปลว ปลียอดและฉัตรทำด้วยทองเหลืองปิดทองคำเปลว

พระเจดีย์ที่อยู่ทางทิศใต้ ฐานกว้างด้านละ 6.95 เมตร สูง 15.88 เมตร ส่วนพระเจดีย์ที่อยู่ทางทิศเหนือ ฐานกว้างด้านละ 6.55 เมตร สูง 13.43 เมตร ทำการบูรณะพร้อมกันเมื่อปี พ.ศ. 2536


Photobucket

Photobucket

Photobucket



กุฏิแก้วนวรัฐ


เป็นกุฏิหลังแรกของวัด สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เจ้าแก้วนวรัฐสร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑

กุฎิหันหน้าไปทางพระวิหารด้านทิศเหนือ มีสามมุข มุขกลางคือมุขจามรี มุขตะวันตกคือมุขราชบุตร (วงศ์ตะวัน) สร้างเสริมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 ส่วนมุขตะวันออกคือมุขแก้วนวรัฐเป็นส่วนของกุฎิเดิม

กุฎิทั้งหลังปูพื้นไม้สักเชื่อมต่อกันทั้งสามมุข หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอแบบพื้นเมือง


Photobucket

Photobucket


ปลายปี พ.ศ. 2537 ถึง ปี พ.ศ. 2538 ทายาทของเจ้าแก้วนวรัฐคือ เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล พร้อมญาติมิตรเจ้านานฝ่ายเหนือได้ร่วมกันบิจาคทรัพย์บูรณะใหม่ทั้งหลัง

วัดเจดีย์หลวงทางกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓


Photobucket

Photobucket



ต้นยางใหญ่


ในวัดเจดีย์หลวงมีต้นยางใหญ่ ๓ ต้น แต่เท่าที่เห็นมี 2 ต้นครับ อยู่หน้าศาลอิทขีลต้นหนึ่ง และอยู่หลังพระเจดีย์ ข้างๆวิหารหลวงปู่มั่นต้นนึง


Photobucket



กู่พระมหาหมื่น


พระนักปราชญ์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีพระสงฆ์ผู้รวบรวมและรักษาคัมภีร์ ใบลานในวัดหอธรรม วัดเจดีย์หลวงจนทำให้มีตำนานพื้นเมืองส่วนหนึ่งอ่านกันในปัจจุบัน


Photobucket



วิหารหลวงปู่มั่น


สร้างขึ้นตรงที่เคยเป็นกุฎิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


เป็นวิหารแบบล้านนาแท้ๆ หลังคาลด 3 ชั้น ด้านนอกรวมทั้งหน้าบันประดับปูนปั้นประดับกระจกสี


Photobucket

Photobucket

Photobucket


ด้านในประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตตโต


Photobucket

Photobucket



วิหารบูรพาจารย์


เป็นวิหารจตุรมุขแบบล้านนาแท้ๆ มีหลังคาคลุมทางเข้า ลวดลายปูนปั้นประดับกระจกสี


Photobucket

Photobucket

Photobucket


เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนพระอาจารย์บัวและอัฐิพระอริยสงฆ์จากทั่วประเทศ


Photobucket

Photobucket



พระนอน หรือ พระพุทธไสยาสน์


เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่คู่กับพระเจดีย์ แต่ไม่ปรากฏว่า สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง

พระนอนองค์นี้สร้างด้วยอิฐฉาบปูนปิดทอง เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ได้บูรณะใหม่ทาสีทองสำเร็จแทน

เป็นพระนอนมีพุทธลักษณ์สวยงามมาก หันเศียรสู่ทิศใต้ พระพักตร์หันเข้าหาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง สูง ๑.๙๓ เมตร ยาว ๘.๗๐ เมตร อยู่ห่างจากพระเจดีย์หลวงไปทางทิศตะวันตก


Photobucket

Photobucket


พระมหาสังกัจจายน์

ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็ก อยู่ห่างจากพระธาตุเจดีย์ไปทาง ทิศเหนือ เชื่อว่ามีความเก่าแก่พอ ๆ กับพระนอน ปัจจุบันพระสังกัจจายน์มี ๒ องค์ องค์ใหม่อยู่ด้านหน้าวัด ติดกับวัดพันเตา สร้างเมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีมานี้เอง


Photobucket



หอธรรม และ พิพิธภัณฑ์วัดพระเจดีย์หลวง


เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๗ พระเจ้าติโลกราช ได้ทรงสร้างพระวิหารหลวงขึ้นใหม่ พร้อมทั้งให้สร้างหอธรรม (หอพระไตรปิฏก) ไว้ทางด้านเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์


Photobucket

Photobucket


สร้างเป็นอาคาร 3 ชั้นแบบล้านนาแท้ ทางเข้ามีซุ้มประตูโขงประดับปูนปั้นสวยงาม


Photobucket

Photobucket

Photobucket


ชั้นล่างของหอธรรมจัดแสดงประวัติวัดพระเจดีย์หลวง และโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับวัดเจดีย์หลวง


Photobucket


แผ่นทองจังโกที่เคยประดับตกแต่งพระเจดีย์หลวง


Photobucket

Photobucket

Photobucket


ตะปูที่ใช้ตรึงแผ่นทองจังโกกับองค์พระเจดีย์ และตะคันไว้ตามประทีปที่องค์พระเจดีย์เป็นที่มาของชื่อวัดว่า โชติการาม


Photobucket

Photobucket


รูปแกะช้างสามเศียรที่เคยอยู่บนหน้าบันพระวิหาร องค์ที่เล็กกว่าประดับอยู่ที่หน้าบันด้านหลังพระวิหาร


Photobucket

Photobucket



ขอขอบคุณคุณ moonfleet ที่เป็นแรงบันดาลใจในการไปเที่ยววัดสวยๆในเชียงใหม่ครับ


นี่เป็นบล็อกของคุณ moonfleet รวบรวมวัดต่างๆในเชียงใหม่ครับ


//www.bloggang.com/mainblog.php?id=moonfleet&month=01-04-2010&group=113&gblog=172


วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร - วิกิพีเดีย

th.wikipedia.org/wiki/วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร


วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

//www.med.cmu.ac.th/secret/admin/web/custom8.html


วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร จ.เชียงใหม่ : เว็บไซต์ธรรมะไทย

//www.dhammathai.org/watthai/north/watchediluang.php


วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่

//www.chiangmai-thailand.net/temple/jediloang/jetiyaluang.html


วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ - เที่ยวเชียงใหม่

teawchiangmai.com/chiangmaiboard/index.php?topic=49.0


lannaworld.com --> สถานที่ทางศาสนา : วัดเจดีย์หลวง(เชียงใหม่)


//www.lannaworld.com/place/wjdloung.htm




Photobucket



Chubby Lawyer Tour ........... เที่ยวไป ......... ตามใจฉัน





Create Date :02 ธันวาคม 2554 Last Update :2 ธันวาคม 2554 10:14:54 น. Counter : Pageviews. Comments :11