bloggang.com mainmenu search
วัดเจ็ดลิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองจริน เดิมเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

Photobucket

Photobucket


ปรากฎชัดว่ากษัตริย์ในราชวงศ์มังรายพระองค์ใด เป็นผู้สร้าง และสร้างใน พ.ศ. ใด แต่ได้มีการพบชื่อและที่ตั้งของวัดนี้จากโคลงนิราศหริภุญไชย จึงสันนิษฐานว่า วัดเจ็ดลิน คงสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2060 สมัยพระเมืองแก้ว หรือ พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช

Photobucket


ที่เรียกว่า วัดเจ็ดลิน นั้น ภายในวัดมีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง ปัจจุบันยังมีสภาพที่สมบูรณ์อยู่ ตามประวัติกล่าวว่า ในอดีต กษัตริย์ ในราชวงศ์มังราย พระองค์ใด ก่อนจะขึ้นเสวยราชย์จะต้องไป ทรงผ้าชุดขาว (นุ่งขาวห่มขาว) ณ วัดผ้าขาว ก่อน จากนั้นจะเสด็จ ไปสะเดาะเคราะห์ ณ วัดหมื่นตูม และจะเสด็จไปประกอบพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษก ณ หนองน้ำวัดเจ็ดลิน ในการประกอบพิธีราชาภิเษกนั้น จะทำรางน้ำ หรือที่ทางเหนือเรียกว่า "ลิน" ทำด้วยคำไว้ ๗ ลิน แล้วนำน้ำพุทธาภิเษกใส่สุวรรณหอยสังข์ หล่อลงรางลินทำด้วยคำทั้ง ๗ เพื่อสรงพระวรกาย จากนั้น จึงเปลี่ยนเครื่องทรงกษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ต่อไป ดังปรากฎในสมัย เจ้าแม่ฟ้ากุ (พระเมกุฎิวิสุทธิวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ ๒๐ พ.ศ. ๒๐๙๔ - ๒๑๐๗) ก่อนขึ้นเสวยราชย์ได้ทำพิธีราชาภิเษก โดยเสด็จ ไปสรงน้ำพระที่ วัดเจ็ดลิน "คำเชิญกษัตริย์เจ้า ไปลอยเคราะห์นอนหั้นแล ๓ วัน แล้วไปอุสสาราช หล่อน้ำพุทธาภิเษกสุคนธาด้วยสุวรรณหอยสังข์ที่วัด ๗ ลินคำ หั้นแล….."


Photobucket

Photobucket

Photobucket


จากบทสัมภาษณ์พระมหาวิษณุ จารุธมฺโม เจ้าอาวาสวัดเจ็ดลิน โดยคุณ KiT Ta (คลิกชมบทความของคุณ KiT Ta ได้ที่นี่)ได้กล่าไว้ว่า

“จากข้อความในตำนานเชียงใหม่ วัดเจ็ดลินน่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ล้านนามาก และเชื่อว่ากษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งรายเป็นผู้สร้าง เพราะมีเจตนาสร้างไว้ในพระราชพิธีโดยเฉพาะ อีกอย่างหนึ่งชื่อของวัดจะบ่งบอกหน้าที่ของวัดได้ วัดเจ็ดลินจึงเป็นวัดที่เคยใช้เป็นสถานที่สรงน้ำในพระราชพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ล้านนา” จึงกล่าวได้ว่า วัดเจ็ดลิน มีความสำคัญยิ่งยวดในประวัติศาสตร์ล้านนา เป็นประดุจตำนานที่จารประเพณีในอดีตของชาวล้านนาไว้ ควรค่าแก่การจดจำ


Photobucket

Photobucket

Photobucket


สาเหตุที่วัดเจ็ดลิน หรือวัดหนองจริน ตกอยู่ในสภาพวัดร้าง ไม่ปรากฎหลักฐานใดๆ กล่าวถึง พระมหาวิษณุ จารุธมฺโม เจ้าอาวาสวัดเจ็ดลินได้สันนิษฐานไว้ว่า

“วัดนี้จะต้องร้างไปก่อน พ.ศ. 2482 อาจจะประมาณ พ.ศ. 2475 ก็อาจเป็นได้ เพราะเป็นระยะที่บ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ชาวบ้านราษฎรไม่สามารถอุดหนุนหรืออุปถัมป์วัดในเชียงใหม่ได้ทุกวัด พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่สมัยที่วัดในเชียงใหม่เริ่มร้าง ได้เล่าว่าสาเหตุที่วัดต่างๆจำนวนมากต้องร้างไปเพราะมีจำนวนวัดมากกว่าจำนวนศรัทธา รวมทั้งจำนวนภิกษุสามเณรที่จะมาบวชน้อย ชาวบ้านจึงให้พระสงฆ์มาอยู่รวมกันแล้วปลอยให้วัดร้างไป”

Photobucket


ประมาณปี พ.ศ. 2509 สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอเช่าเนื้อที่ด้านหน้าติดกับถนนพระปกเกล้า เป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่และได้ย้ายออกไป ในปี พ.ศ. 2520 และได้มีประชาชนเข้าไปปลูกบ้านอาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง

ลุงโต ชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณพื้นที่วัดเจ็ดลินได้เล่าว่า ก่อนที่ลุงโตจะเข้ามาอาศัยในพื้นที่วัดนั้น สภาพโดยรอบเป็นป่ารกทึบ ต้องใช้รถแทรกเตอร์ถางป่าไม้ใบหญ้าเพื่อทำเป็นพื้นที่อยู่อาศัย และเพราะเนื้อที่กว้างใหญ่ค่อนข้างรกร้าง จึงชักชวนและอนุญาตให้ชาวบ้านจากที่อื่นมาตั้งถิ่นฐานร่วมในพื้นที่เดียวกัน ทั้งนี้ชาวบ้านก็ได้ร่วมแรงร่วมใจดูแลรักษา และเคารพบูชาสถาปัตยกรรมต่างๆเป็นอย่างดี โดยการสร้างศาลามุมสังกะสีและสร้างทางบันไดขึ้นไปสักการะองค์พระประธานเก่าแก่ รวมทั้งจัดคนคอยดูแลผลัดเปลี่ยนกระถางดอกไม้ธูปเทียนสำหรับเคารพบูชา

Photobucket

จวบจนกระทั่งในปี 2529 กรมศิลปากรได้ประกาศ ขึ้นทะเบียนวัดเจ็ดลิน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 65 ลงวันที่ 22 เมษายน 2529 เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์
ในวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๖ พระญาณสมโพธิ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นประธานพัฒนาฟื้นฟูวัดเจ็ดลิน และขอยกเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา และพัฒนาหนองน้ำที่กว้างให้คงเป็น หนองน้ำที่ใสสะอาดสวยงาม ให้คงเป็นหนองน้ำแห่งประวัติศาสตร์คู่เมืองเชียงใหม่


Photobucket

ตามหลักฐานที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไว้ ประกอบด้วย เจดีย์วิหาร และอาคาร ที่ต่อจากวิหาร (ศาลา) ตัววิหารอยู่ที่สภาพชำรุด พื้นที่ปูซ้อนกันอยู่ ๒ ระยะ ส่วนที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีฐานชุกชี และองค์ พระประธาน (องค์เดิมพบแต่เศียรปูนปั้นขนาดใหญ่ มีต้นโพธิ์ขึ้นกลางฐาน) ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ที่มีรูปทรงมณฑป ผสมทรงกลมอิทธิพลสุโขทัย มีซุ้มพระประดับ ๔ ทิศ อยู่ในยุคหลัง พระเจ้าติโลกราช เป็นลักษณะเจดีย์ที่สร้างในสมัย พระยายอดเมือง เชียงราย พระเมืองเกษเกล้า หลังจากนั้น ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ที่มีรูปทรงมณฑป ผสมทรงกลมอิทธิพลสุโขทัย มีซุ้มพระประดับ ๔ ทิศ

Photobucket


และตามเอกสารการค้นคว้าของวัลลภ นามวงศ์พรหม คณะกรรมการประสานงานพัฒนาวัดเจ็ดลิน กล่าวถึงวัดนี้ว่า “เป็นวัดร้างสร้างขึ้นเมื่อก่อนปี พ.ศ.2060 สมัยพระเมืองแก้วหรือพระเจ้าลกปนัดดาธิราช จากการขุดค้นของกรมศิลปากรพบว่า ในบริเวณวัดจะประกอบด้วยเจดีย์วิหาร และอาคารที่ต่อจากวิหารอยู่ในสภาพชำรุด ส่วนที่ค่อนข้างสมบูรณ์ได้แก่บริเวณฐานชุกชีและองค์พระประธาน (องค์เดิมพบแต่เศียรปูนปั้นขนาดใหญ่ด้านหลังวิหาร) บริเวณด้านหลังวิหารมีเจดีย์รูปทรงมณฑปผสมทรงกลมอิทธิพลสุโขทัย มีซุ้มพระประดับ 4 ทิศอยู่ในยุคสมัยของพระเจ้าติโลกราช เป็นลักษณะเจดีย์ที่สร้างในสมัยพระยายอดเมืองเชียงราย พระเมืองเกษเกล้า หรือหลังจากนั้น”


วัPhotobucket


ดเจ็ดลิน มีเนื้อที่ปรากฎตามหลักฐานโฉนดที่ดินออกในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ จำนวน ๗ ไร่เศษ เป็นวัดที่เคย รุ่งเรืองมาในอดีต จนถึงสมัยของท่าน ครูบาปัญญา เจ้าอาวาสวัดหัวข่วง ซึ่งเป็นรักษาการเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๒๐ - ๒๔๔๐ ได้ทำการสำรวจหัววัดต่างๆ และอุโบสถ ได้บันทึกไว้ว่า

" วัดเจ็ดลินตั้งอยู่แขวงด้านประตูเชียงใหม่ในเวียงเชียงใหม่ เจ้าอธิการชื่อ สีวิไช นิการเชียงใหม่ ยังไม่ได้เป็น พระอุปัชฌาย์ รองอธิการ ยังไม่มีจำนวนพระลูกวัดในพรรษานี้ยังไม่ พรรษาก่อน มีองค์ ๑ เณรมี ๒ ตน ขึ้นแก่วัด พันเท่า"

ปัจจุบันมีพระมหาวิษณุ จารุธัมโม ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดรินมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ 8 รูปและมีสามเณรจำพรรษาอยู่ 22 รูป มีประเพณีที่สำคัญคือการก่อเจดีย์ทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือที่เรียกว่า " เจดีย์ทรายสุดส้าว " จะกระทำกันในวันสงกรานต์ซึ่งความหมายหรือประวัติของการก่อเจดีย์ทรายมีเรื่องเล่ามาว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้

ส่วนในอีกตำนานหนึ่งซึ่งอยู่ในคำภีร์ใบลานชื่อ " ธรรมอานิสงส์เจดีย์ทราย "ได้กล่าวไว้ว่า ในครั้งที่พระโพธิสัตว์เกิดเป็นชายเข็ญใจชื่อว่า "ติสสะ" มีอาชีพตัดฟืนขาย วันหนึ่งติสสะได้พบลำธารที่มีหาดทรายสะอาดงดงามนัก จึงได้ทำการก่อทรายเป็นรูปเจดีย์และเพื่อให้เจดีย์นั้นสวยงามจึงฉีกเสื้อผูกกับเรียวไม้แล้วปักไว้บนยอดกองทรายเป็นรูปธงสัญลักษณ์ แล้วตั้งสัตย์อธิษฐานขอให้ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เมื่อเขาเวียนว่ายในวัฏฏะสงสารได้บำเพ็ญบารมีเต็มที่แล้ว ก็ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าชื่อสมณะโคดมองค์ปัจจุบัน

ภาพของธงที่ทำจากเสื้อของติสสะ ทำให้ชาวล้านนานิยมนำตุงไปปักเจดีย์ทราย ซึ่งตุงที่พบเห็นมักเป็นตุงที่มีลักษณะเป็นพู่ระย้าที่เรียก "ตุงไส้หมู" หรือตุงที่มีรูปสัตว์นักษัตรที่เรียกว่า "ตุงตั๋วเปิ้ง" ตุงดังกล่าวมักแขวนติดกิ่งไม้ไผ่หรือก้านเขือง (เต่าร้าง)

ในเช้าของวันพระญาวันคือวันเถลิงศกชาวบ้านจะนำตุงไปปักที่เจดีย์ทราย พอถึงตอนสายจะมีการถวายองค์พระเจดีย์ทรายแด่พระสงฆ์ ซึ่งชาวบ้านจะมาร่วมพิธีกันอย่างพร้อมเพรียง ด้วยหวังอานิสงส์เป็นหลักซึ่งนอกเหนือจากคัมภีร์ที่กล่าวมา ยังมีคัมภีร์แสดงอานิสงส์โดยตรงที่ชื่อ "ธรรมอานิสงส์ก่อเจดีย์ทราย" อีกฉบับหนึ่ง โดยเนื้อหาจะกล่าวถึงผลบุญมากมาย เช่น จะได้เกิดในตระกูลอันประเสริฐ เลอเลิศด้วยรูปสมบัติ เรืองจรัสในชีวิต ไม่ตกติดในนรก ยกระดับไปเกิดบนสวรรค์ จนถึงขั้นได้เกิดเป็นพระอินทร์

ศาสนสถานและปูชนียวัตถุวัดเจ็ดลิน ประกอบด้วย


พระวิหาร

เป็นพระวิหารก่ออิฐถือปูนทรงล้านนา สร้างขึ้นในยุคฟื้นฟูวัด ด้านข้างมีมุข ประตูประดับด้วยไม้แกะสลักที่งดงาม ส่วนของหลังคาประดับด้วย ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ปูนปั้นที่ประณีต สันหลังคาประดับด้วยบราลีรูปหงส์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นประธาน

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


เจดีย์ประธาน

ทรงมณฑป ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยม ชั้นบนเป็นฐานย่อเก็จ ประดับบัวลูกแก้วอกไก่ ลดหลั่นขึ้นไปถึงซุ้มจระนำ ที่มีอยู่สี่ด้าน ผนังประดับลวดลายปูนปั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยมรับองค์ระฆังส่วนยอดประดับด้วยฉัตร


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


เศียรพระพุทธรูปโบราณ


เดิมปรากฏอยู่ด้านหลังพระวิหาร เป็นเศียรพระพุทธรูปที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ที่หาชมยาก


Photobucket



ขอขอบคุณท่านผู้มีอุปการะคุณที่ทำให้การท่องเที่ยววัดเจ็ดลินมีความสุกและความรู้มากขึ้นครับ

วัดเจ็ดลิน บล็อคคุณ Moonfleet


นิยาย วัดเจ็ดลิน วัดในตำนานที่ถูกลืม โดย KiT Ta
a>