bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ จังหวัดเชียงใหม่, เชียงใหม่ Thailand
พิกัด GPS : 18° 47' 31.93" N 98° 57' 46.49" E



ดูแผนที่เพิ่มเติม




หายไปซะนานเลยครับ ไม่ได้หายไปไหนนะครับ ไปหาวิธีลงรูปให้เยอะๆ ในบล็อกเดียวอ่ะครับ จนแร๊วจนรอดก็ยังไม่มีโปรแกรมที่ถูกใจ ก็เลยต้องใช้วิธีการเลือกรูปให้เหลือน้อยเอาครับ อิอิอิ

คราวที่แล้วพาไปเที่ยวเรือนได้แค่ 2 เรือนเองครับ เดี๋ยวมาต่อเรือนหลังที่ 3 กันเลยนะครับ


พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ จังหวัดเชียงใหม่




เรือนหลังที่สามเป็น เรือนกาแล(อุ๊ยผัด)


Photobucket

Photobucket


สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2460 เดิมตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่


Photobucket

Photobucket


เป็นเรือนกาแลที่ขนาดเล็ก ยกพื้นสูง มีความยาวเพียง 3 ช่วงเสาเท่านั้น แต่ละช่วงเสามีความยาวน้อยกว่าเรือนกาแลแบบอื่น การขึ้นเรือนนี้ค่อนข้างลำบากครับ เพราะหน้าบันไดแคบมากๆ ถ้าไม่ระวังให้มีหวังได้ตกลงไปจุกแอ๊กที่พื้นแน่ๆครับ


Photobucket

Photobucket

Photobucket


สภาพของเรือนก็เก่ามาก มีบริเวณที่ทำท่าจะพังแหล่มิพังแหล่ ไม่กล้าเดินไปถ่ายรูปเยอะครับ เดียวทะลุลงไปที่พื้น อิอิอิ


Photobucket

Photobucket



เมื่อขึ้นบันไดเรือนมาแล้วทางขวามือจะเป็น "ชานแดด" ต้องเดินขึ้นยกพื้นขึ้นไปถึงจะถึงห้องนอนครับ ด้านซ้ายเดาว่าคงจะเอาไว้วาง "น้ำต้น" หรือคณโฑใส่น้ำดื่มสำหรับแขกครับ หลังคามุงด้วยแป้นเกร็ดเช่นกัน

พอขึ้นยกพื้นไปแล้ว ด้านซ้ายเป็นห้องโล่งๆ มีผนังด้านเดียวถัดไปเป็นเรือนครัวเล็กๆ ขวามือเป็นส่วนที่อยู่อาศัยยาวไปจนถึงหลังเรือน

ลักษณะเด่นของเรือนหลังนี้คือมี "หัมยนต์" ติดด้านบนของประตูห้องนอนไว้เพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ป้องกัน และขับไล่อันตรายต่าง ๆ จากภายนอก ตามความเชื่อของชาวล้านนา

มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์และอาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ ได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และนำมาสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2537


Photobucket

Photobucket



เรือนหลังต่อมาคือ เรือนพื้นบ้านล้านนา (อุ๊ยแก้ว)


Photobucket


เดิมเป็นของอุ๊ยอิ่น และอุ๊ยแก้ว ธาระปัญญา ตั้งอยู่บ้านสันต๊กโต (สันติธรรม) แจ่งหัวลินใกล้ๆ กับถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

เป็นรูปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะการจัดพื้นที่ใช้สอยยังเป็นแบบบ้านชนบทแต่ทำฝาและประตูหน้าต่างแบบใหม่


Photobucket


Photobucket


เป็นเรือนเครื่องผูกแบบเดียว ลักษณะเป็นเรือนแฝด สร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง ยกพื้นสูง มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าและหลัง


Photobucket

Photobucket

Photobucket


ขึ้นมาบนเรือนแล้วจะมีที่วางน้ำต้น มีนอกชานแล่นตลอดหน้าส่วนที่ใช้อยู่อาศัยจนถึงหลังบ้านที่เป็นส่วนของเรือนครัว ระเบียงสามารถเลื่อนปิดเปิดได้ คาดว่าเพื่อป้องกันลมหนาวครับ

Photobucket

Photobucket

Photobucket


มี 2 ห้องใหญ่ๆ ใช้เป็นส่วนที่อยู่อาศัย ด้านหลังเป็นเรือนครัว

Photobucket

Photobucket


หลังคาเป็นหน้าจั่ว 2 อันเชื่อมต่อ มุงกระเบื้องดินขอ มี “ฮ่อมริน” (ทางเดินระหว่างเรือน 2 หลัง) ยาวตลอดห้องนอนทั้ง 2 ห้อง เหนือฮ่อมรินเป็น“ฮางริน” (รางระบายน้ำฝน) ในจุดที่หลังคาทั้ง 2 อันมาบรรจบกัน

ชายคาด้านหน้ายื่นยาวกว่าเรือนพื้นถิ่นโบราณ โดยยื่นยาวมาถึง “เติ๋น” (ชานร่ม) และ “จาน” (ชานแดด) ไว้ทั้งหมด โครงสร้างเป็นระบบเสาและคานใช้การเจาะช่องเข้าเดือย บาก พาด ผนังเรือนใช้ไม้แผ่นตีซ้อนแนว ส่วนพื้นเรือนปูด้วยไม้ “แป้น” (แผ่น) โดยมีการยกระดับพื้นห้องนอนและเติ๋นหนึ่งระดับ เพื่อแบ่งพื้นที่ใช้สอย

อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ซื้อเรือนหลังนี้ไว้และมอบให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมูลนิธิยาคาซากิ มหาวิทยาลัยเกียวโต เซกะ ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และนำมาสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2540


Photobucket



เรือนกาแล(พญาวงศ์)

Photobucket

Photobucket

Photobucket


สร้างเมื่อปี 2440 มีอายุกว่า 114 ปี เป็นเรือนไม้ขนาดกลางใต้ถุนสูง เมื่อขึ้นเรือนไปจะมี "ชานแดด" กว้างขวางมากๆ มีบันไดขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังเรือน

Photobucket

Photobucket


หลังคาทรงหน้าจั่ว มีกาแลเป็นลักษณะเด่น ถือเป็นเครื่องหมายของความเป็นสิริมงคล ลักษณะเป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากปั้นลมไปไขว้กันที่ยอดจั่วเรือน

Photobucket

Photobucket


บนประตูห้องทั้งสองมี "หัมยนต์" เป็นเครื่องรางป้องกันสิ่งไม่ดี เรือนครัวจะอยู่ทางด้านหลัง


Photobucket

Photobucket


เรือนหลังนี้เดิมเป็นของพญาวงศ์ อยู่ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2440 ลูกหลานพญาวงศ์ได้สืบทอดบ้านหลังนี้มาราว 3 รุ่น ต่อมาได้ย้ายไปปลูกไว้ในวัดสุวรรณเจดีย์ จังหวัดลำพูน

ต่อมานายแฮร์รี่ วอง ได้ซื้อไว้จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2541 มูลนิธิ ดร.วินิจ–คุณหญิงพรรณี วินิจนัยภาค ได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และนำมาสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Photobucket

Photobucket


ยุ้งข้าวหลังนี้เป็นยุ้งข้าวของเรือนพญาวงศ์ นำมาปลูกสร้างใหม่ พร้อมกับตัวเรือนกาแล คุณแจ่มจิตต์ เลาหวัฒน์และครอบครัว ได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และรื้อย้ายมาปลูก ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2542


Photobucket

Photobucket

Photobucket


เรือนชาวเวียงเชียงใหม่(พญาปงลังกา)


Photobucket


เป็นอีกหนึ่งเรือนที่เก่าแก่ สร้างขึ้นเมื่อปี 2439 อายุราว 115 ปี เดิมตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่


Photobucket


เจ้าของเดิมคือพญาปงลังกา ซึ่งมอบเรือนไว้ให้แก่บุตรหลานได้สืบทอดกันมา 5 รุ่น ต่อมาคุณจรัส วณีสอน และน้อง ๆ ได้มอบเรือนหลังนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และนำมาสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2554


Photobucket

Photobucket


เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง ลักษณะเป็นเรือนหลังคาทรงจั่ว สองจั่วเหลื่อมกัน เรือนสองหลังร่วมพื้น ด้านตะวันตกเป็นเรือนนอนโล่งกว้าง ด้านตะวันออกเป็นเรือนครัว ระหว่างชายคาของเรือนทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝนเรียกว่า "ฮ่องลิน" หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ใต้ถุนสูง ใช้เป็นที่นั่งทำงานและเป็นที่พักผ่อนเรือนพญาปงลังกา


Photobucket

Photobucket

Photobucket


เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร)


Photobucket


เรือนไม้ขนาดใหญ่สองชั้น หลังคาทรงปั้นหยาเหลื่อมซ้อนกันอย่างลงตัว ผสมผสานกับหลังคาทรงจั่ว เป็นมุขยื่นออกมาด้านหน้าของตัวเรือน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา (ดินขอ) ชั้นบนของตัวเรือน มีระเบียงทางเดินอยู่ด้านหน้าห้องโถงใหญ่ จนถึงด้านหลังบ้าน

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


ภายในห้องโถงมีบันไดลงสู่ชั้นล่าง

หลวงอนุสารสุนทร และนางคำเที่ยง ชุติมา ได้สร้างบ้านหลังนี้ให้บุตรชาย คือนายแพทย์ยงค์ ชุติมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2467 เดิมตั้งอยู่บริเวณตลาดอนุสารสุนทร อยู่ในความครอบครองของบริษัทสุเทพ จำกัด ต่อมาทายาทได้มอบเรือนหลังนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และนำมาสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2547


Photobucket

Photobucket



เรือนสุดท้ายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณคือ ยุ้งข้าวหรือหลองข้าวสารภี


Photobucket


สร้างขึ้นเมื่อปี 2450 เจ้าของเดิมคือ พ่อโต (เศรษฐี) ต่อมาพ่อเมืองใจ ทองคำมา แห่งบ้านสันกลาง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ได้ซื้อและทำการปลูกสร้างในรูปแบบเดิม

หลองข้าวสารภีหลังนี้ มีรูปแบบโครงวร้างเป็นแบบเดิม มีเสาไม้ 8 ต้น ยกพื้นสูงเพื่อป้องกันสัตว์ และไว้เก็บเครื่องมือการเกษตร มีทางเดินรอบส่วนที่ไว้ใช้เก็บข้าวเปลือก โครงสร้างหลังคาใช้วิธีเจาะเพื่อเข้าเดือยปลายเสา หลังคาเป็นทรงหน้าจั่วลาดต่ำ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาปลายตัด
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่อยู่คู่กับเรือนของชาวล้านนา ใช้เก็บข้าวเปลือกไว้กินได้ตลอดปี

ในปี 2550 Professor Han Jurgen Lanshol แห่งมหาวิทยาลัย Georg August Universitat Gottingen ประเทศเยอรมัน กับภรรยา เป็นผู้ออกทุนทรัพย์ในการซื้อและขนย้ายหลองข้าวนี้ มาปลูกไว้ที่ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา เพราะเล็งเห็นว่าสิ่งปลูกสร้างที่แสดงให้เป็นถึงวัฒนธรรมล้านนาเริ่มลดน้อยถอยลงไป

Photobucket

Photobucket

Photobucket



หวังว่าการพาเที่ยว พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ จะให้ควสามสนุก และความรู้ให้แก่ทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ


-----------------------------------------------------------


ขอขอบคุณท่านเหล่านี้ ที่ทำให้การเที่ยวของเราได้ความรู้มากขึ้นครับ


พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ จังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


Stay Chiangmai.com


ปั้น "พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา" ให้มีชีวิต
คมชัดลึก



บทความของคุณ นภาวรรณ อาชาเพ็ชร นักประชาสัมพันธ์ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



พาแอ่ว "เรือนล้านนา" เก่าแก่อายุนับ 100 ปี ภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ จ.เชียงใหม่ โดย ครูทิพย์




Chubby Lawyer Tour …………… เที่ยวไป ..... ตามใจฉัน







Create Date :12 กุมภาพันธ์ 2556 Last Update :13 กุมภาพันธ์ 2556 5:24:58 น. Counter : 10315 Pageviews. Comments :2