bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ ห้วยแก้ว เชียงใหม่, เชียงใหม่ Thailand
พิกัด GPS : 18° 47' 34.41" N 98° 57' 37.68" E



ดูแผนที่เพิ่มเติม




ถ้าใครเดินทางมาเชียงใหม่แล้วไปเดินเล่น (ด้วยการเดินเท้า) แถวในกำแพงเมือง หรือว่าแถวๆ วัดเกตุเป็นต้น คงสังเกตเห็นบ้านไม้แบบเก่าในรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวล้านนาที่เต็มไปด้วยเสน่ห์และกลิ่นอายของวัฒนธรรมล้านนา ความงามของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่งดงามในอดีตกันบ้างนะครับ บ้านไม้รูปแบบโบราณเช่นนี้อยู่คู่เมืองเชียงใหม่มานับร้อยๆปี เดี๋ยวนี้มีจำนวนลดน้อยลงมากอย่างน่าใจหาย ด้วยเพราะคนนิยมสร้างบ้านรูปทรงทันสมัยด้วยวัสดุที่กำลังเป็นที่นิยมทำให้บ้านแบบล้านนาเดิมกำลังถูกกลืนหายไป

“พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา” นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่แห่งหนึ่งที่ได้รวบรวมบ้านไม้หลังเก่าทรงโบราณรูปแบบต่างๆทั้งในเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง จากการบริจาคหรือขายให้กับพิพิธภัณฑ์ มาปลูกรวมกันไว้ภายในอาณาเขตของสำนัก ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์อย่างถาวร และควรค่าแก่การเที่ยวชม “พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา” ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ติดถนนเลียบคลองชลประทาน ใกล้สี่แยกตลาดต้นพยอม


Photobucket

Photobucket


ผศ.วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่าจุดกำเนิดของ “พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา” คือเจ้าของเรือนโบราณท่านหนึ่งมีความประสงค์บริจาคเรือนเพื่อการอนุรักษ์ หลังจากนั้นก็มีเรือนโบราณเพิ่มมากขึ้น โดยเจ้าของเรือนต้องการให้อนุรักษ์ไว้ ไม่อยากให้ทิ้งร้างหรือถูกทำลายโดยเปล่าประโยชน์ จึงยกให้ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องรับผิดชอบค่าขนย้ายเอง เพราะค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการขนย้ายและอนุรักษ์จากมูลนิธิจุมภฏ- พันธุ์ทิพย์

ปัจจุบันได้อนุรักษ์และรวบรวมเรือนโบราณประเภทต่างๆที่ควรค่าแก่การศึกษา อนุรักษ์ เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์อันได้แก่ เรือนคิวริเปอล์ (เรือนลุงคิว) เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด) เรือนกาแล (อุ๊ยผัด) เรือนพื้นบ้านล้านนา (อุ๊ยแก้ว) เรือนกาแล (พญาวงศ์) และยุ้งข้าวหรือหลองข้าว เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ (พญาปงลังกา) เรือนทรงปั้นหยา (หลวง อนุสารสุนทร) ซึ่งปัจจุบันสำนักส่งเสริมฯ ได้ทำการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์แบบมีชีวิต (live museum) ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนและรูปแบบของสถาปัตยกรรมล้านนาอันงดงาม


Photobucket

Photobucket

Photobucket


อาคารหลังแรกใช้เป็นอาคารที่ทำการของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีชื่อเรียกว่า “เรือนลุงคิว”


Photobucket


เป็นอาคารรูปทรงอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกหรือทรงอาณานิคมหรือแบบ โคโลเนียล (Colonial) สร้างขึ้นราว พ.ศ.2465 มีหม่องตันเป็นสถาปนิกและผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าของเดิมคือ นายอาเธอร์ ไลออนแนล เคอริเปล์ (Mr. Arther Lionel Queripel)


Photobucket


ในอดีตบ้านหลังนี้เคยปลูกไม้ดอกและไม้ผลนานาชนิดโดยเฉพาะสตรอเบอรี่ นายคิวริเปอล์คือคนแรกที่นำสตรอเบอรี่ มาปลูกในเมืองไทย ต่อมามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดให้อาคารหลังนี้เป็นสถานที่ทำการของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา


Photobucket

Photobucket


“เรือนไทยลื้อ (หม่อนตุด)"


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


เป็นของอุ๊ยตุด เดิมตั้งอยู่ที่บ้านเมืองลวงเหนือ ต.ลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2460 เป็นเรือนที่นิยมปลูกกันมากในสมัยก่อน

ลักษณะเป็นเรือนไม้ขนาดกลาง ลักษณะเป็นเรือนแฝดสองหลังหน้าเปียง ยกพื้นสูง มีชานแล่นตลอดด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังเรือน หลังคามุงด้วยแป้นเกร็ด


Photobucket

Photobucket

Photobucket


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


ด้านตะวันออกเป็นเรือนนอนโล่งกว้าง

Photobucket

Photobucket


ด้านตะวันตกเป็นเรือนครัว


Photobucket

Photobucket


ทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝนเรียกว่า “ฮ่องลิน” อยู่ระหว่างชายคาของเรือน


Photobucket


มีใต้ถุนสูงใช้เป็นคอกวัว ควาย
Photobucket


เรือนหลังนี้มูลนิธิจุมภฏ- พันธุ์ทิพย์ ได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และนำมาสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อปี 2536 มีอายุยาวนานกว่า 94 ปี

“เรือนกาแล(อุ๊ยผัด) "สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2460 เดิมตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

เป็นเรือนกาแลขนาดเล็ก มีความยาวเพียง 3 ช่วงเสา แต่ละช่วงเสามีความยาวน้อยกว่าเรือนกาแลแบบอื่น ยกพื้นสูง หลังคามุง "แป้นเกร็ด"


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


มีนอกชานยาวตลอดกว้างกว้างของหน้าเรือน


Photobucket

Photobucket


หน้าเรือนมีเรือนหลังเล็ก เปิดโล่ง 3 ด้าน ไว้วาง "น้ำต้น" (คนโฑ) ใส่น้ำดื่มสำหรับแขก


Photobucket


เรือนหลังนี้มีลักษณะเด่นของเรือนกาแลคือมีหำยนต์ ติดด้านบนของประตูห้องนอน มีไว้เพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ป้องกัน และขับไล่อันตรายต่าง ๆ จากภายนอก ตามความเชื่อของชาวล้านนา


Photobucket

Photobucket

มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์และอาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ ได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และนำมาสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2537


ตืดตามชมตอนที่ 2 ในวันพรุ่งนี้นะครับ ข้อมูลเยอะเกินครับ


ขอขอบคุณท่านเหล่านี้ ที่ทำให้การเที่ยวของเราได้ความรู้มากขึ้นครับ


พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ จังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


Stay Chiangmai.com


ปั้น "พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา" ให้มีชีวิต
คมชัดลึก



บทความของคุณ นภาวรรณ อาชาเพ็ชร นักประชาสัมพันธ์ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



พาแอ่ว "เรือนล้านนา" เก่าแก่อายุนับ 100 ปี ภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ จ.เชียงใหม่ โดย ครูทิพย์




Chubby Lawyer Tour …………… เที่ยวไป ..... ตามใจฉัน




Create Date :29 มกราคม 2556 Last Update :29 มกราคม 2556 17:20:31 น. Counter : 6405 Pageviews. Comments :1