การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ - Cardiac catheterization
 

การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ
Cardiac catheterization
 


วันนี้มีโอกาสได้ไปเป็นเพื่อน พาเพื่อนไปตรวจเส้นเลือดหัวใจ หมอนัดมาหนี่งอาทิตย์ล่วงหน้า ทางรพ.บอกให้มีเพื่อนไปอยู่ด้วยได้สองคน แต่ต้องเตรียมใบฉีดโควิดวัคซีนใบจริงไปด้วย และให้ไปถึงรพ.ก่อน 6.30 น.เช้า ใช้เวลาประมาณ 45 นาที่ และอยู่รพ.ประมาณ 7 ชม.หรืออาจจะต้องค้างคืน
เพื่อนมีอาการเหนื่อยเวลาขี้นบันใด เคยมีปัญหาทางหัวใจเมื่อสองปีก่อนตรวจแล้วมีเส้นเลือดอุดตัน 30% หมอเลยอยากดูอีกที ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

เราเองก็กังวลดีใจที่มีโอกาสได้ไปเป็นเพื่อน เพื่อนไปตรวจ 

เช้าไปรับเพื่อนตีห้าสี่สิบนาที่ เพื่อจะไปถึงรพ.ก่อนหกโมงครี่งนิดหน่อย เราคนพายังกังวลเลย กลางคืนนอนหลับแต่ตีืนตี่สี กลัวจะไปไม่ทัน ทั่งๆทีตั้งนาฬิกาปลุกตีห้า นอนก็ฝันอีกว่าเอารถไปฝาก พอจะไปเอารถก็ช้า จะไปรับเพื่อนไม่ทัน... จิตคนคิดวุ่นวายจนฝันไปต่างๆนาๆ

ที่จริงการพาเพื่อนไปตรวจครั้งนี้ เราก็กังวลกลัวจะเจอปัญหาเส้นเลือดอุดตัน ต้องทำบัลลูน
หรือ stent ทั้งที่รู้ว่าทำแล้วก็ดี แต่ก็ยังกังวลว่าเกิดทำแล้วเป็นอะไรอีก ขนาดเรา
คนพาไปยังกลัวสารพัด เพื่อนคนที่จะไปทำจะกังวลขนาดไหน ...

เราไปถึงกันก่อนประมาณสิบนาที่ เพื่อนก็เดินไปแผนกรับคนไข้เลย และทำเอกสารต่างๆเรากับเพื่อนสองคนรอให้เขาทำเอกสาร รพ.นี้เป็นรพ.คาทอลิก มีห้องให้เข้าไปสวดมนต์เลยเข้าไปขอพรพระแม่มาเรีย และพระเยซู จุดเทียน ให้เพื่อนปลอดภัยด้วย

ทางแผนกรับคนไข้ เรียบร้อยเรียกเราไปกับเพื่อน เขามีเก้าอี้เข็นมารับเพื่อนและ
เราก็ไปกับเพื่อนที่ห้อง 214 แผนกคนไข้สำหรับตรวจหัวใจ ฝั่งตรงข้ามเป็นห้อง
Stat Heart ( ห้องผ่าตัดฉุกเฉิน​) ดูแล้วสบายใจว่า เป็นอะรไก็มีห้องรักษาทันที
พอเข้าไปที่ห้อง เพื่อนก็เปลี่ยนเสื้อผ้าของรพ. และพยาบาลก็มาซักประวัติ เปิดเส้นสำหรับให้น้ำเกลือ ส่วนการตรวจเลือดและตรวจโควิด เขาให้เพื่อนมาทำก่อนสามวันแล้วมีเจาะเลือดและตรวจโควิดด้วย

หลังจากพยาบาลซักประวัติและทำ EKG เรียบร้อย ประมาณ7.30 น.หมอดมยาก็มาคุยและอธิบายว่าจะให้ยาทางเส้น แค่ให้เคลื้มๆ ไม่ได้ให้หลับสนิท คุณหมอ
Dr. Arvind K.Agarwal ก็มาถามประวัติและอธิบายว่าจะใส่สายที่ข้อมือ ถ้าทำได้ถ้าทำไม่ได้ก็จะใส่ที่ต้นขา ทำไม่นาน ให้กำลังใจว่าจะดูแลให้ดีที่สุด (สบายใจกันหน่อย)
ราวๆ แปดโมงเช้า หมอดมยาก็พาเพื่อนไป ...​
พยาบาลบอกว่าเราสองคงไปทานอาหารเช้าที่ Cafeteria เถอะ ใช้เวลาประมาณชม.ครี่ง

เราไปห้องอาหารเลยสั่งอาหารเช้ากันเต็มที่ นั่งสบายๆ
ไม่มีคนเท่าไร เลยนั่งฆ่าเวลา
พอขี้นไปราวๆ เกือบสิบโมงเช้า อ้าวว เพื่อนมาแล้ว ..
เสียใจนิดๆ ที่เราไม่อยู่ตอนเพื่อนออกมา เพราะเขาบอกว่าใช้เวลานาน

พยาบาลบอก Good new เลยดีใจมากๆ
บอกว่าทุกอย่างโอเค สักพักก็จะได้กลับบ้าน ดีใจจริงๆ เพืือนก็ยังง่วงอยู่ เลยปล่อยให้หลับสักพัก

เราได้กลับบ้านกันราวๆ เที่ยงวัน การตรวจเรียบร้อยผลก็ดี
ไม่มีการอุดตันเสันเลือด
ทุกอย่างเรียบร้อยดี เราดีใจและสบายใจกันจริงๆ






เพื่อนเปลี่ยนเสื้อผ้าของรพ. 



พยาบาลมาทำ EKG และเปิดสายน้ำเกลือ







ไม่นานเพื่อนก็ไปห้องตรวจ
เราก็ไปทานอาหารเช้ากันที่ห้องอาหารของรพ.
พยาบาลบอกประมาณชั่วโมงครี่ง
เราเลยนั่งฆ่าเวลา ไม่ได้ขี้นมากจนเกือบสิบโมงเช้า



พอมาถึง เห็นเพื่อนกลับมาแล้ว และคงได้กินน้ำส้มแล้วด้วย
รู้สีกเสียใจที่มาช้าไป เพื่อนลืมตาบอกไม่มีอะไร เรียบร้อยดี
พยาบาลมาบอกว่า good new ทุกอย่างโอเค
โล่งใจไป เรากังวลกลัวจะมีปัญหาเส้นเลือดตีบ
ดีใจจริงๆ





เพื่อนนอนพัก ยังง่วงอยู่จากยาที่หมอดมยาให้ในห้องตรวจ


คุณหมอทำที่เส้นเลือดข้อมือขวา พยาบาลมาเปลี่ยนที่รองมือเป็นแบบบางหน่อยตอนแรกจะมีเทปปิดไม่ให้มือขยับ ตอนนี้เริ่มขยับได้บ้าง เตรียมกลับบ้าน
พยาบาลบอกว่าห้ามใช้มือ 24 ชม หลังจากนั้นก็ถอดที่วางมือแล้ว
ใช้มือได้บ้าง แต่ต้องระวัง ห้ามยกของหนักเกิน 5 ปอนด์
เป็นเวลาห้าวัน  แนะนำว่าเอาที่วางมือใส่ไว้ก็ดีจะได้ไม่ลืม
ตกลงเราก็รับเพื่อนกลับบ้านราวๆเที่ยง
ทุกอย่างเรียบร้อยดี แถมกำลังใจดีกับผลตรวจที่ดี ไม่ีเส้นเลือดตัน



ส่วนมากคนไข้ไปห้องตรวจ เขาจะสายปัสสาวะ ด้วย
เดี๋ยวนี้แผนกทางเดินปัสสาวะเขาก็พัฒนา ไม่ใช้สายปัสสาวะแล้ว
เผื่อป้องกันการติดเชื้อระบบปัสสาวะ เลยทำแบบมีที่สำหรับวาง
ระหว่างช่องปัสสาวะไม่ต้องใส่สายข้างใน เวลาปัสสาวะ มีสายทีถุง
ต่อไปยังเครื่อง Suction ดูดน้ำปัสสาวะ จะได้ไม่เปียกที่นอน
เหมาะสำหรับสว.เหมือนกัน จะได้ไม่ต้องใช้แพมเพิสและแฉะ
อาจจะทำให้เกิดเป็นแผลกดทับด้วย 
แต่ถ้าเราซื้อมาใช้เอง ต้องซื้อเครื่อง Suction ดูๆราคาประมาณ
350 เหรียญ อีกหน่อยราคาคงลดลง ช่วยลดการเปียกชื้นเวลา
คนไข้ หรือสว.ใช้แพมเพิสได้ด้วย

******

 

Cath Lab
ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ
การรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด

 





Cath lab เป็นชื่อเรียกง่าย ๆ ของห้องปฏิบัติการตรวจหัวใจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นห้องที่มีประสิทธิภาพในการประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดอื่น ๆ ในร่างกาย โดยจะแสดงผลเป็นภาพปรากฏขึ้นบนหน้าจอ และบันทึกเป็นระบบเทปโทรทัศน์แบบดิจิทัลที่สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทางตามความต้องการ เพื่อตรวจดูซ้ำได้อย่างละเอียดมากขึ้น ส่งผลให้แพทย์สามารถเห็นภาพได้ครบทุกมุมและสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำเพิ่มมากขึ้น



Cath lab ตรวจอะไรบ้าง


ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจ หรือ Cath lab สามารถดูตำแหน่งผิดปกติและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ ดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ และการวัดความดันในห้องหัวใจตำแหน่งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถดูความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ดูการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ หากพบความผิดปกติแพทย์จะทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน การตรึงหลอดเลือดหัวใจด้วยขดลวด การปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจหรือเส้นเลือดเกินโดยวิธีสวนหัวใจ
Cath lab สามารถใช้ตรวจวินิจฉัย และรักษาภาวะหลอดเลือดสมองด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคสมองขาดเลือด เป็นต้น โดยจะทำการตรวจรักษาด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง เพื่อดูความผิดปกติตามจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการตรวจที่ให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำกว่าการตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอ็กซเรย์


เมื่อใดจึงควรมาตรวจ Cath lab

เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สาเหตุเกิดจากเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการแน่นหน้าอก หรือเจ็บบริเวณหน้าอกมากกว่า 5 นาที และเหนื่อยง่าย แต่การตรวจ Cath lab จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของคนที่เป็นโรคหัวใจ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตอย่างฉับพลันจากโรคหัวใจนั่นเอง



วิธีตรวจ Cath lab

แพทย์จะเลือกฉีดยาชาบริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ แล้วจะใส่ท่อขนาดเล็กปราศจากเชื้อโรคประมาณ 2 มิลลิเมตรผ่านทางหลอดเลือดแดงเข้าไปจ่ออยู่ที่ทางออกของเลือด จากนั้นจะฉีดสีเพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดหรือไม่ โดยแพทย์จะสามารถดูได้จากหน้าจอภาพแบบดิจิทัลผ่านกล่องเอกซเรย์พิเศษ โดยจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที หากมีความผิดปกติแพทย์จะทำการสวนขดลวดเข้าไปเพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาต่อไป เมื่อเรียบร้อยแล้ว สายสวนจะถูกดึงออกแล้วต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผลห้ามเลือดจุดที่ใส่สายสวนสักระยะหนึ่ง

โดยการตรวจและการรักษาวิธีนี้จะทำให้คนไข้ฟื้นตัวเร็ว เพราะไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ และมีความเสี่ยงน้อยกว่า สามารถกลับบ้านไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ



การเตรียมตัวก่อนการตรวจสวนหัวใจ

ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายให้พร้อม เช่น การตรวจเลือดเอ็กซเรย์ปอดและตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น

ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวเข้านอนพักในโรงพยาบาลก่อนหนึ่งวัน และเซนต์ใบยินยอมเพื่อทำการรักษา

ผู้ป่วยควรอาบนํ้าทําความสะอาดร่างกายให้พร้อม โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแล้วจะได้รับการทำความสะอาดบริเวณขา ขาหนีบ โดยการโกนขน ซึ่งเป็นบริเวณที่แพทย์จะทำการสวนสายสวนเข้าไป

ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้าตรวจประมาณ 6 ชั่วโมง

ก่อนทำการตรวจผู้ป่วยต้องถอดเสื้อผ้า รวมถึงเครื่องประดับฝากไว้กับญาติ หรือเจ้าหน้าที่


การปฏิบัติตัวหลังการตรวจสวนหัวใจ


หลังการฉีดสีหัวใจ แพทย์จะแนะนำให้คนไข้นอนนิ่ง ๆ โดยนอนราบแล้วปรับเตียงให้ศีรษะสูง 30-45 องศาได้ หลังจากนั้นจึงจะสามารถเดิน หรือนั่งได้เบา ๆ ห้ามยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนักเกินไปเพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเลือดแต่ผู้ป่วยสามารถพลิกตะแคงตัว และขยับเคลื่อนไหวปลายเท้าปลายนิ้วได้

เจ้าหน้าที่จะใช้หมอนทรายกดทับไว้บริเวณแผลขาหนีบเพื่อห้ามเลือดอย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง

ถ้าสังเกตพบว่า มีอาการเหนื่อยหอบหายใจ ใจสั่น เจ็บ หรือแน่นหน้าอก มึนงงวิงเวียนศีรษะ มีเลือดออกมากบริเวณแผลขาหนีบ หรือข้อมือ มีผื่นขึ้นตามตัวและเท้า มือเย็น ปวดชาปลายเท้า หรือมือ ควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที

ผู้ป่วยควรดูแลแผลไม่ให้แผลถูกนํ้า หากแผลแห้งดีผู้ป่วยสามารถอาบนํ้าได้ตามปกติ แต่ถ้าแผลไม่แห้งให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์แล้วใช้พาสเตอร์ปิดแผล

กรณีผู้ป่วยไม่ได้จํากัดนํ้าหลังตรวจเสร็จผู้ป่วยควรดื่มนํ้ามาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2000 ซีซี ต่อวันเพื่อให้ไตขับสารทึบแสงออกทางการขับถ่ายปัสสาวะ

ควรงดเช่นการดื่มสุรา ชา กาแฟ โอเลี้ยง นํ้าอัดลม และงดการสูบบุหรี่

ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด เพราะจะเป็นการเพิ่มการทํางานของหัวใจให้ทำงานหนักมากขึ้น


การตรวจ Cath lab เป็นการตรวจสวนหัวใจที่มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจแล้วใช้ยารักษาไม่หาย หรือใช้วิธีอื่นรักษาแล้วไม่หายแพทย์จะพิจารณาให้ตรวจด้วยวิธีนี้เพื่อวางแผนในการรักษาที่แม่นยำขึ้นต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.petcharavejhospital.com/th/Medical_service/med_tech_detail/Cardiac_Catheterization_Lab
 
Health Blog/Education Blog


 
newyorknurse



Create Date : 15 พฤษภาคม 2565
Last Update : 23 พฤษภาคม 2565 20:33:25 น.
Counter : 475 Pageviews.

11 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณปรศุราม, คุณkatoy, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณปัญญา Dh, คุณสองแผ่นดิน, คุณกะว่าก๋า, คุณหอมกร, คุณkae+aoe, คุณญามี่, คุณtoor36, คุณJohnV, คุณSweet_pills, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณอุ้มสี

  

อรุณสวัสดิ์ครับพี่น้อย

ดีใจกับเพื่อนพี่น้อยด้วยนะครับ
ที่ผลตรวจออกมาเรียบร้อยดี
ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

การมีคนไปเป็นเพื่อน
ผมว่าเป็นกำลังใจที่ดีมากๆเลยครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:18:39 น.
  
โรคที่มาพร้อมกับความสูงวัยทั้งนั้นค่ะพี่น้อย

โดย: หอมกร วันที่: 24 พฤษภาคม 2565 เวลา:8:03:14 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่น้อย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:44:59 น.
  
สูงวัยก็ต้องตรวจสุขภาพอะไรเยอะหน่อย ทั้งหมดก็เพื่อตัวเราเองล่ะนะ

จากบล็อก
ตรงข้างกล่องมันเขียนอายุไว้ที่ 15+ เลยนะครับ ผมเลยไม่รู้ว่าควรใช้คำว่าเป็นของเล่นเด็กหรืออย่างไรดี
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 25 พฤษภาคม 2565 เวลา:16:13:41 น.
  
ผลตรวจออกมาดี ดีใจกับเพื่อนพี่น้อยด้วยนะคะ
ขอบคุณพี่น้อยสำหรับข้อมูลสุขภาพดีๆนี้ค่ะ



ขอบคุณพี่น้อยสำหรับกำลังใจด้วยนะคะ
โดย: Sweet_pills วันที่: 26 พฤษภาคม 2565 เวลา:0:20:39 น.
  
อ่านแล้ว มีกำลังใจออกไปวิ่งเลยครับ

อโรคยา ปรมา ลาภา

อือพออ่านคำนี้แล้วนึกนึกภาษาเราเลย

ถ้าอ่านแล้วแปลได้ แปลว่า เรานี่ยืมภาษาเค้ามาเยอะมากเลย
โดย: ผู้ชายในสายลมหนาว วันที่: 26 พฤษภาคม 2565 เวลา:12:46:04 น.
  

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:02:06 น.
  
สวัสดีครับ
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 27 พฤษภาคม 2565 เวลา:7:34:10 น.
  
ขอบคุณพี่น้อยที่นำมาฝาก
โหวตสุขภาพค่ะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 27 พฤษภาคม 2565 เวลา:7:56:06 น.
  
สวัสดีครับพี่น้อย

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ
โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 27 พฤษภาคม 2565 เวลา:22:10:53 น.
  

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:08:47 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด