รู้ทัน เข้าใจ อยู่อย่างปลอดภัยกับโรคเบาหวาน


รู้ทัน เข้าใจ อยู่อย่างปลอดภัยกับ
โรคเบาหวาน






โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังอันตรายที่มักพบร่วมกันกับโรคความดันโลหิตสูง องค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่าในปีนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 285 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.4 ของจำนวนประชากรทั่วโลก และคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ป่วยจะพุ่งขึ้นเป็น 438 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของจำนวนประชากรทั่วโลก

ในประเทศไทย จากการเก็บข้อมูลของกรมการแพทย์ตั้งแต่ปี 2548 - 2552 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี อีกทั้งพบผู้ป่วยที่อายุน้อยลง ๆ ผศ. นพ. วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ อายุรแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน) ให้ความรู้เรื่องเบาหวานไว้ดังนี้

เบาหวานคืออะไร

“เบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากไม่อาจนำแป้ง และน้ำตาลที่บริโภคเข้าไปมาใช้ได้ เนื่องจาก ประการแรก ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ หรือได้ไม่มากพอ โดยอินซูลินนี้มีหน้าที่ช่วยส่งผ่านน้ำตาลที่อยู่ในรูปของกลูโคสในกระแสเลือดไปสู่ระบบเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อนำไปเผาผลาญ และแปลงเป็นพลังงาน ประการที่สอง เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ (ไขมัน ตับ กล้ามเนื้อ ฯลฯ) มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน” ผศ. นพ. วราภณกล่าว

ด้วยความผิดปกติทั้งสองประการข้างต้น ส่งผลให้มีน้ำตาลตกค้างอยู่ในกระแสเลือดในปริมาณมาก และหากไม่มีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องก็จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ มากมาย

โดยทั่วไป โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น2 ประเภท ได้แก่ เบาหวานประเภทที่หนึ่ง และเบาหวานประเภทที่สอง ซึ่ง ผศ. นพ.วราภณอธิบายต่อว่า “เบาหวานประเภทที่หนึ่งนั้นพบค่อนข้างน้อยประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย เบาหวานประเภทนี้เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย ผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งการฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน และระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนกระทั่งหมดสติ และเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ โรคเบาหวานประเภทที่หนึ่งมักจะพบในเด็กและวัยรุ่น มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่ภาวะภูมิต้านทานทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน นอกจากนี้ ระดับน้ำตาลที่สูงเรื้อรังจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่อไป

ส่วนโรคเบาหวานประเภทที่สองเป็นชนิดที่พบได้บ่อยคิดเป็นร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานไทยโดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป “เบาหวานประเภทที่สองเกิดจากการที่ตับอ่อนของผู้ป่วยไม่สามารถสร้างอินซูลินให้เพียงพอ และร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน” ผศ. นพ. วราภณกล่าว “เบาหวานประเภทนี้มักไม่พบอาการอันตรายอย่างเฉียบพลันเหมือนแบบแรก แต่หากไม่มีการควบคุมให้ดีก็จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เป็นอันตรายอย่างเฉียบพลันได้เช่นกัน”

คุณเป็นเบาหวานหรือไม่

การตรวจสอบว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ทำได้โดยการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และ ได้ผลดี การวินิจฉัยโรคเบาหวานสามารถทำได้โดยอาศัยเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้
มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
มีอาการของโรคเบาหวาน ร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ตามมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
มีระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ณ 2 ชั่วโมง ภายหลังทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส 75 กรัมที่รับประทานเข้าไป
มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 6.5 ขึ้นไป


“หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ปรากฏว่ามีน้ำตาลอยู่กระแสเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เดี๋ยวนี้ก็ถือว่าเริ่มผิดปกติ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นเบาหวานเต็มขั้น หากไม่รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ๆ เป็นที่มาของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เมื่อประกอบกับภาวะ น้ำหนักเกิน ไขมันสูงและความดันโลหิตสูง ย่อมส่งผลเสียต่อโครงสร้าง และการทำงานของหลอดเลือดทำให้ อวัยวะต่าง ๆ ค่อย ๆ เสื่อมหน้าที่ลง” ผศ. นพ. วราภณกล่าว

อยู่กับเบาหวานอย่างสบายใจ

สำหรับการดูแลและรักษาโรคเบาหวานนั้น ผศ. นพ. วราภณอธิบายว่าการรักษาเบาหวานประเภทที่สอง หากโรคยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ก็สามารถอาศัยการควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และออกกำลังกายได้ แต่ถ้าเป็นมากขึ้นก็ต้องให้รับประทานยาควบคู่กันไป ส่วนในรายที่ใช้ยาเม็ดแล้วไม่ได้ผลก็ต้องพึ่งยาฉีดอินซูลินเช่นเดียวกับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่หนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้การฉีดอินซูลินด้วยตนเอง เพราะต้องฉีดเองที่บ้านเป็นประจำทุกวัน

เป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวานอยู่ที่การควบคุมน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ ก็เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และอายุที่ยืนยาวขึ้นของผู้ป่วยนั่นเอง

“หากผู้ป่วยปรารถนาจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ป่วย และผู้ดูแลควรมีความเข้าใจว่าเป้าหมายการรักษาคืออะไร และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ ถ้าทำได้ก็จะสามารถอยู่กับเบาหวานอย่างสบายใจ และสบายกายมากขึ้น
ผศ. นพ. วราภณกล่าวปิดท้าย
อาการของเบาหวานที่ต้องสังเกต

เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้
ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
กระหายน้ำ เนื่องจากสูญเสียน้ำมากจากการปัสสาวะ
อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้
หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น
คันตามตัว ติดเชื้อได้ง่าย เป็นเชื้อรา ตกขาวบ่อย
ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
ขาชาอันเนื่องมาจากปลายประสาทเสื่อม

ใครบ้างที่เสี่ยงเบาหวาน!

คุณมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 รวมทั้ง โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง และ โรคหลอดเลือดสมอง หากคุณ
อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป
มีประวัติครอบครัวโรคเบาหวาน
เป็นผู้มีน้ำหนักเกิน หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25
มีความดันโลหิต หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง (เป็นโรคใดโรคหนึ่ง ความเสี่ยงต่ออีกโรคก็เพิ่มขึ้น) มีระดับไขมันในเลือดสูง
สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กก.
ไม่ออกกำลังกาย ดื่มสุรา และ/หรือสูบบุหรี่
ปรับนิสัย เปลี่ยนอาหาร รับมือความดัน และเบาหวาน

กุญแจสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ควบคุมและอยู่กับโรคได้อย่างมีความสุข ได้แก่ การควบคุมเรื่องการรับประทานอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเรามีคำแนะนำ ดังต่อไปนี้


เลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี ในปริมาณที่พอเหมาะ
พยายามงดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นหวาน มัน หรือเค็ม
รับประทานผัก และผลไม้ที่ไม่หวานจัดเพื่อเพิ่มกากใยอาหาร
ควบคุมน้ำหนัก
งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา
ออกกำลังกายเป็นประจำในแบบแอโรบิควันละ30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ตามคำแนะนำของแพทย์
รับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
ระวังอย่ารับประทานยาใด ๆ เองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะยากลุ่มที่เป็นเสตียรอยด์ ยาฮอร์โมน หมั่นศึกษาหาความรู้ในการดูแลตนเอง
ทำจิตใจให้สงบ และผ่อนคลายความเครียด ไม่โกรธ หรือโมโหง่าย

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2553/30th-anniversary/living-with-hypertension-and-diabetes



ข่าวดี! แพทย์เผย… ตำรับยาพื้นบ้าน “น้ำต้มใบชะพลู” พิชิตเบาหวาน! (diabetes) [lnwHealth]




มีงานวิจัยยืนยันแล้วว่าเหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวาน เนื่องจากมีสารแอนติออกซิแดนต์ แคลเซียม วิตามินเอและซีในปริมาณที่สูงมาก ที่สำคัญคือ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดี



ข่าวดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะตอนนี้สมุนไพรไทยหาง่ายอย่าง “ชะพลู” นั้นมีงานวิจัยยืนยันแล้วว่าเหมาะสำหรับคุณ เนื่องจากมีสารแอนติออกซิแดนต์ แคลเซียม วิตามินเอและซีในปริมาณที่สูงมาก ที่สำคัญคือ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดีเลยทีเดียว

โดยตำรับยาพื้นบ้านแก้เบาหวานนั้น แค่เตรียมชะพลูทั้งห้า (ทั้งต้นจนถึงราก) 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำ 3 ขันยกขึ้นตั้งเตาเคี่ยวจนเหลือ 1 ขันรับประทานครั้งละครึ่งแก้วกาแฟก่อนอาหาร 3 มื้อ เพียงเท่านี้ก็สามารถลดระดับน้ำตาลได้แล้ว…



ประโยชน์ของใบชะพลู

1.ประโยชน์ของใบชะพลู ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระต่างๆ (ใบ)
2.สรรพคุณของใบชะพลู มีรสเผ็ดร้อน ช่วยทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น (ใบ)
3.ใบชะพลูมี เบต้าแคโรทีน ในปริมาณมากซึ่งช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน แก้โรคตาฟาง เป็นต้น (ใบ)
4.ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ใบ)
5.สรรพคุณใบชะพลู ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ชะพลูสดทั้งต้นประมาณ 7 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มให้เดือดสักพัด แล้วนำมาดื่มเป็นชา (ทั้งต้น)
6.ช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ (ราก)
7.ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (ใบ)
8.ช่วยทำให้เสมหะงวดและแห้ง (ดอก,ราก)
9.สรรพคุณชะพลู ช่วยในการขับเสมหะบริเวณทรวงอก ลำคอ (ใบ,ราก,ต้น)
10.ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ (ราก)
11.ช่วยในการขับถ่ายเนื่องจากมีเส้นใยในปริมาณมาก (ใบ)
12.ช่วยแก้อาการบิด ด้วยการใช้รากประมาณครึ่งกำมือ ใช้ผลประมาณ 3 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก)
13.ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก,ทั้งต้น)
14.ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ดอก,ราก)
15.รากชะพลูเป็นหนึ่งในส่วนผสม ของตำรับสมุนไพรพิกัดยาตรีสาร ซึ่งช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้คูถเสมหะ
16.เมนูใบชะพลู ก็ได้แก่ แกงคั่วไก่ใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู หมูห่อใบชะพลู ไข่น้ำใบชะพลู ยำตะไคร้ใบชะพลู เมี่ยงปลาเผาใบชะพลู ผัดป่าใบชะพลู แกงอ่อมใบชะพลู ยำปลาทูใบชะพลู เป็นต้น

ที่มา : โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร




7 สมุนไพรพื้นบ้าน...แก้เบาหวานและความดัน





โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการน้ำตาลในเลือดสูง เพราะร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากอาหารไปใช้ได้ตามปกติ มีสาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายเกิดความบกพร่องจากการที่ตับอ่อนเกิดการหลั่งอินซูลินผิดปกติ ซึ่งตัวอินซูลินมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างพลังงาน เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง

โรคแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน

ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น โรคความดัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย อาการชา ปลายประสาทเสื่อม ตาพร่ามัว เกิดต้อหิน ต้อกระจก ซึ่งโรคที่มักเป็นคู่กันกับโรคเบาหวานคือความดันโลหิต ในปัจจุบันการรักษาเบาหวาน และความดันโลหิต แพทย์จะให้ยามารับประทานเพื่อช่วยประคองและรักษาอาการ

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตล้วนแสวงหาวิธีที่จะรักษาโรคนี้ การใช้สมุนไพรถือเป็นแนวทางการรักษาอีกทานหนึ่งที่ได้รับความนิยม ซึ่งมีสมุนไพรหลายชนิดที่มีรายงานการศึกษาว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันในเลือด ทำให้การไหลเวียนของหลอดเลือดดีขึ้น ซึ่งสมุนไพรที่นิยมในการนำมารักษาโรคเบาหวาน และความดันโลหิต คืออะไรนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพรแก้เบาหวานและความดันกันเลยค่ะ
สมุนไพรพื้นบ้านแก้เบาหวานลดความดัน

1 มะระขี้นก เป็นไม้เลื้อยและเป็นผักพื้นบ้านของไทย อาจจะนำมาลวกจิ้ม กินเป็นผักจิ้มน้ำพริกก็อร่อยดี มีวิตามิน เอ และ ซี สูง มีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด และชะลอการเกิดต้อกระจกได้

2 ใบย่านาง มีสรรพคุณเป็นยาเย็น เมื่อทานเข้าไปจะทำให้ร่างกายเย็นลง ทำให้ระบบในร่างกายสามารถผลิตอินซูลินมาเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ จึงเป็นสมุนไพรแก้เบาหวานได้นั่นเอง

3 กระเทียม มีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิตลงได้ ควรรับประทานกระเทียมหัวแก่ หากรับประทานสดจะได้รับคุณประโยชน์มากกว่ากระเทียมที่ปรุงสุกแล้ว

4 ตะไคร้ เป็นสมุนไพรแก้เบาหวานและความดันที่เรารู้จักกันดี เพราะนิยมนำมาประกอบอาหาร ซึ่งตะไคร้จะมีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ ขับลม และยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย

5 ผักตำลึง ในผักตำลึงมีประโยชน์มากมาย เป็นยาพื้นบ้านใช้รักษาเบาหวาน สามารถใช้ได้ทั้ง ราก เถา ใบ ซึ่งมีสูตรหลากหลาย แม้กระทั่งชาวเบงกอลในอินเดียก็ใช้ตำลึงเป็นยาประจำแก้โรคเบาหวาน

6 ผักเชียงดา มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียว มีรสขมอ่อน ๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก เป็นผักที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นผักเพื่อเพิ่มพละกำลัง ทั้งยังสามารถใช้เป็นยาลดน้ำหนักได้ เนื่องจากว่าผักเชียงดาช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการไปสร้างเป็นไขมันสะสม ซึ่งมีการศึกษาผู้ป่วยจากโรคเบาหวานที่ใช้ผักเชียงดาในการรักษา สามารถลดปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบันได้ และบางรายสามารถใช้ผักเชียงดาอย่างเดียวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

7 ใบชะพลู เป็นผักพื้นบ้านของไทยและเป็นสมุนไพรแก้เบาหวานและความดัน นิยมนำมารับประทานสด ในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านสามารถนำใบชะพลูมาต้มเพื่อลดเบาหวานได้ เนื่องจากใบชะพลูมีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง มีแคลเซียม วิตามินเอและซี สูงมาก

การเลือกใช้สมุนไพรในการรักษาโรคความดันโลหิตและเบาหวาน ถึงแม้ว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วย แต่สิ่งที่สำคัญที่ต้องระมัดระวังคือสมุนไพรบางชนิดอาจส่งผลเป็นพิษต่อร่างกายถ้าหากใช้ไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะเลือกใช้สมุนไพรแก้เบาหวานและความดันเหล่านี้ รวมถึงการเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรเป็นสารสกัดจากสมุนไพรและผ่านการตรวจสอบจากองค์การอาหารและยา รับรองความปลอดภัยด้วยนะค่ะ สำหรับผู้ที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดเบาหวาน ไขมัน คอเลสเตอรอลแบบแคปซูล ทานง่าย ได้ผลจริง และมีคำยืนยันจากผู้ที่ลองใช้ ลองคลิกที่นี่ ได้เลยค่ะ

ถึงแม้ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้มีภาวะเสี่ยงโรคความดันจะเลือกทานอาหารเสริมสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินและออกกำลังกายเพิ่มเติมด้วย เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องทำควบคู่กับการรับประทานยา และอาหารเสริมค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/HJhFgU

สาขา Health Blog



newyorknurse



Create Date : 13 มิถุนายน 2560
Last Update : 22 มิถุนายน 2560 17:41:21 น.
Counter : 2909 Pageviews.

8 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณเนินน้ำ, คุณhaiku, คุณสองแผ่นดิน, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณQuel, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณClose To Heaven

  
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐนะคะพี่น้อย
โหวตค่ะ
โดย: เนินน้ำ วันที่: 22 มิถุนายน 2560 เวลา:20:22:11 น.
  
ทั้ง 7 อย่าง ตำลึง ทานง่ายที่สุดครับ ต้มจิ้มน้ำพริก
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 23 มิถุนายน 2560 เวลา:0:10:53 น.
  
โรคนี้กาญก็กลัวมากค่ะพี่น้อย
เพราะพ่อ อา พี่ชาย ญาติหลายคนเป็นเบาหวาน
และกาญก็ชอบกินขนมหวานด้วย แต่ตรวจเลือดประจำค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะพี่น้อย

บ้านกาญร้อนมาก ฝนไม่ตกหลายวันแล้วค่ะ
ดอกกุหลาบข้างบ้านโดนแดดร้อนๆ ดอกไม้หมด

newyorknurse Health Blog
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 23 มิถุนายน 2560 เวลา:2:24:23 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
newyorknurse Health Blog ดู Blog
โดย: Quel วันที่: 23 มิถุนายน 2560 เวลา:4:15:31 น.
  
สวัสดีตอนเช้าค่ะ พี่น้อย
อาม่าก็เป็นเบาหวาน ความดัน ครบสูตรค่ะ
ต้องควบคุมอาหารจริงๆ ค่ะ
พอเผลอกินขนมหวานถึงจะแค่ถ้วยเล็ก
น้ำตาลขึ้นจนน่าจกใจเลยค่ะ
โดย: ann_shinchang วันที่: 23 มิถุนายน 2560 เวลา:7:41:16 น.
  
newyorknurse Health Blog ดู Blog
อาหารแก้เบาหวานไม่อร่อยสักอย่างคต่ะพี่น้อย
ผักก็ขม ไม่ก็เผ็ดฉุน โชคดีที่ไม่เป็นนะคะ


โดย: หอมกร วันที่: 23 มิถุนายน 2560 เวลา:9:14:42 น.
  
บ้านเราถ้าเกิน 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมอก็เตือนให้คุมอาหารแล้วค่ะ

ผักสมุนไพร 7 ชนิด หนูไม่รู้จักผักเชียงดาอย่างเดียวค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
newyorknurse Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 23 มิถุนายน 2560 เวลา:12:50:17 น.
  
newyorknurse Health Blog ดู Blog

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์ค่ะพี่น้อย
โดย: Close To Heaven วันที่: 23 มิถุนายน 2560 เวลา:13:22:32 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด