ส่องกล้องตรวจกะเพาะ และ ลำไส้

ส่องกล้องตรวจกะเพาะ และ ลำไส้
มีความสำคัญนะ
 


ปกติประกันสุขภาพที่เมกา จะจ่ายให้ประชาชน ตรวจร่างกายประจำปีทุกปี
เป็นการป้องกัน เผื่อมีปัญหาสุขภาพอะไร จะได้รักษาได้เนิ่นๆ
ประกันจะจ่ายให้มีการตรวจมะเร็งเต้านม และการตรวจลำไส้
หามะเร็งลำไส้ด้วย มีการตรวจหลายชนิด เพื่อเป็นการป้องกัน


ปีนี้เรากับเพื่อนรุ่นน้องไปตรวจร่างกายกัน พบคุณหมอ คุณหมอก็บอกว่า
เราสองคนเคยตรวจลำไส้​(Colonosccopy)มาเกินสิบปีแล้ว
ถึงเวลาที่ต้องตรวจอีกครั้ง เราสองคนไม่อยากตรวจเท่าไร
ก็ได้แต่พยักหน้ารับคำ

หมอบอกว่าของเราไม่อยากตรวจมีวิธีตรวจอีกอย่างเรียก Cologuard
หมอบอกว่าจะสั่งให้เขาส่ง set ไปให้ที่บ้าน ถ้าผลออกมาปกติ ก็ไม่ต้องตรวจ
อีกสามปี ตกลงก็ส่งตรวจ เป็นการตรวจที่สะดวก โดยเขาส่ง set มาให้ และ
อธิบายขั้นตอนต่างๆ ถ้าไม่เข้าใจก็มีเบอร์โทรศัพท์ให้โทรติดต่อได้ 24 ชม
ตกลงก็ส่งเรียบร้อยภายในเจ็ดวัน ผลออกมา negative ดีใจไม่ต้องตรวจ
Colonoscopy

สำหรับน้องที่ไปด้วย หมอบอกว่าผลเลือดมีโลหิตจาง (ANEMIA) สั่งให้ไปตรวจเลือด
อีกครั้ง เลยไปตรวจเลือดอีกครั้งหลังจากออกจากคลีนิคคุณหมอ

วันรุ่งขี้นคุณหมอโทรมาบอกว่าผลเลือดก็ยังเป็นโลหิตจางอยู่
คุณหมอส่งไปตรวจดูกะเพาะและลำไส้ ส่งไปหาหมอกระเพาะลำไส้

นัดคุณหมอทางกะเพาะลำไส้ ระยะนี้ใกล้ปลายปี วันหยุดต่างๆ เลขาบอกว่างที่จะนัด
กลางเดิือนกุมภา เราบอกดี ไม่รีบ เขาถามแล้วทำไมจะทำ บอกหมอบอกเป็น Anemia
เลขาน่ารักมาก เอ้าต้องทำเร็วละ วันนั้น(วันพุธ)แวะไปเอาใบสั่งยา เริ่มกินยาถ่ายวันนี้
และพรุ่งนี้ กินยาต่างๆ เตรียมตรวจวันศุกร์ โอย วิ่งกันเลย เพราะเย็นแล้วกว่าจะ
ไปเอาใบสั่งยา และไปรอยาอีก

ทุกอย่างก็เรียบร้อย ตรวจทั้งกระเพาะและลำไส้ เช้าวันศุกร์ เสร็จแล้ว
คุณหมอบอกว่า ลำไส้ มีติ่งเนื้อในลำไส้หนี่งแห่ง หมอเอาไปส่งตรวจ อีกสามปีต้อง
กลับมาส่องกล้องอีก แต่.. ที่กระเพาะมีแผลนิดหนี่ง ไม่ใหญ่ ก็ส่งส่วนเนื้อไปตรวจ
ตอนนี้ก็ให้กินยาก่อนอาหารรักษาแผลในกระเพาะสักหนี่งเดิอน กินก่อนอาหาร
(ยา PentapraSole Sod DR 40 Mg) ราคา 30 เม็ด ราคา $ 83 เหรียญ
โชคดีประกันจ่าย น้องจ่าย $3

อาทิตย์ต่อมาผลเนื้อที่กระเพาะออกมาว่าเป็นเชื้อ H Pylori คุณหมอสั่งยาให้สองชนิด
(H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือเชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ในบางกรณีการติดเชื้อชนิดนี้อาจส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ และอาจกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร)

คุณหมอสั่งยาให้สองชนิด ต้องกินยาครบสิบวัน แล้วหลังจากครบยาสองชนิด
สองอาทิตย์ คุณหมอให้ไปตรวจ h pylori urea breath test
ต้องไปตรวจที่แผนก Lab

Amoxicilline 500 mg เข้า เย็น 10 วัน
Clarithromycin 500 mg ทุก 12 ชม 10 วัน

ขนิดแรกเสียเงิน CO PAy $3
ส่วนยา Clarithromycin เสียค่า CO PA


******


 

การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดอาหาร
กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
 


เป็นการใช้กล้องส่องที่มีลักษณะเล็ก โค้งงอได้ ที่มีกล้องวิดีโอขนาดเล็กและหลอดไฟอยู่ที่ส่วนปลาย ซึ่งแพทย์จะสามารถขยับกล้องเพื่อให้เข้าไปในร่างกายได้อย่างปลอดภัย และทำการตรวจสอบผนังของระบบทางเดินอาหารส่วนต้น โดยภาพที่กล้องบันทึกได้จะปรากฏบนจอโทรทัศน์ ให้คุณภาพความคมชัดสูง ชัดเจน และมองเห็นรายละเอียดได้ ในหลายๆ กรณี การตรวจสอบด้วยการส่องกล้องจะให้ความแม่นยำมากกว่าการเอกซเรย์ โดยการส่องกล้องวิธีนี้จะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการสงสัยโรคของระบบทางเดินอาหาร หรือมีสัญญานเตือนที่สงสัยมะเร็งในทางเดินอาหารส่วนต้น ได้แก่ อาการกลืนอาหารลำบาก อาเจียนเป็นเลือด ปวดท้อง จุกแน่นที่ลิ้นปี่ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.bumrungrad.com/th/packages/gastro-screening

******

เปิดชมวีดีโอ กดที่ลูกศร  ค่ะ



Bumrungrad International Hospital

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นวิธีการทางการแพทย์ที่ใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก (endoscope) สอดเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อตรวจวินิจฉัยภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมด รวมถึงประเมินอาการผิดปกติของลำไส้ใหญ่ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ลำไส้แปรปรวน ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกเรื้อรัง เป็นต้น

วิดีโอนี้แสดงถึงวิธีการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยให้รายละเอียดของขั้นตอนการส่องกล้อง การตัดชิ้นเนื้อหากพบเนื้องอกหรือความผิดปกติใดๆ การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการส่องกล้อง คำแนะนำหลังการส่องกล้อง รวมถึงภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการส่องกล้อง และอาการผิดปกติที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ info@bumrungrad.com

ขอขอบตุณข้อมูลจาก

https://www.youtube.com/watch?v=-tU4w02ux10

*******

 


โรคกระเพาะอาหารกับเชื้อแบคทีเรีย H.pylori
 



โรคกระเพาะอาหารที่เรียกกันแพร่หลายจนติดปากนั้น ทางการแพทย์จะหมายถึง โรคแผลเปปติค (Peptic ulcer) ซึ่งจะเกิดเป็นแผลบริเวณกระเพาะอาหารโดยตรง หรือเกิดเป็นแผลที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งอยู่ติดกับกระเพาะอาหาร 80% ของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะประสบปัญหาการเป็นๆ หายๆ คือหลังจากการรักษาแผลให้หายแล้วก็มักจะกลับมาเป็นแผลอีกเรื่อยๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในอดีตมีความเชื่อว่า โรคกระเพาะเป็นผลมาจากการที่กระเพาะอาหารมีกรดมาก หรือเยื่อบุกระเพาะอาหารไม่แข็งแรงแต่เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันเราพบว่าโรคกระเพาะอาหารมีสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งมาจาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ เอช.ไพโลไร (Helicobacter Pylori or H. Pylori)


แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร
เป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว ที่มีการค้นพบเชื้อแบคทีเรียที่กระเพาะอาหาร แต่ไม่ทราบถึงความสำคัญจนกระทั่งปี พ.ศ. 2526 แพทย์ชาวออสเตรเลีย 2 ท่านคือ Barry Marchall และ Robin Warren สามารถเพาะเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้ และค้นพบว่าเชื้อนี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระเพาะอาหาร และได้ตั้งชื่อแบคทีเรียตัวนี้ว่า เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) โดยปกติแล้วกระเพาะอาหารจะมีสภาพที่เป็นกรดอย่างแรง ซึ่งจะทำหน้าที่ทำลายแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรีย ส่วนใหญ่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่เนื่องจากเชื้อ เอช.ไพโลไร จะมีลักษณะพิเศษที่สำคัญคือ สามารถสร้างด่างมาหักล้างกับกรด ทำให้เชื้อนี้ สามารถอยู่และเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดอย่างแรงในกระเพาะอาหารได้ จากการศึกษาวิจัยตลอด 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าเชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร และเป็นสาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นและยังเป็นปัจจัยเสี่ยงประการหนึ่งในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเพิ่มขึ้น 6-40 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อและมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น 2-6 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติและไม่มีการติดเชื้อ

อาการของโรคกระเพาะ
ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอก หรือ ใต้ลิ้นปี่ โดยมีประวัติเป็นเรื้อรังมานานโดยสุขภาพทั่วไป ไม่ทรุดโทรม ผู้ป่วยบางรายมีอาการ จุก เสียด แน่น เจ็บ แสบ หรือร้อน โดยอาการจะสัมพันธ์กับการกินอาหาร หรือ ชนิดของอาหารที่กิน เช่น อาจปวดมากตอนหิว หลังอาหารอาการจะทุเลา แต่ผู้ป่วยบางคนอาการปวดเป็นมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น บางรายอาจมีอาการปวดท้องกลางคืน

ติดต่อกันอย่างไร
สันนิษฐานกันว่าการถ่ายทอดของเชื้อเกิดจากคนสู่คน โดยผ่านทางปาก เชื้อแบคทีเรียดังกล่าว เข้าสู่ร่างกายตั้งแต่ยังเด็ก เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความชุกของการติดเชื้อนี้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่ามีการระบาดค่อนข้างสูงในชุมชนที่อยู่แออัดในครอบครัวหรือสถาบันเดียวกัน


♦ แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
ในปัจจุบันการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ส่วนใหญ่แล้วจะทำโดยวิธีการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร แล้วตัดเนื้อเยื่อบุกระเพาะมาตรวจหาเชื้อโดยเทคนิคต่างๆ เช่น วิธีการทางพยาธิวิทยา หรือดูการเปลี่ยนสีของชุดตรวจพิเศษเพื่อหาเชื้อ เอช.ไพโลไร นอกจากวิธีส่องกล้องแล้วก็ยังมีวิธีการเจาะเลือดตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ วิธีการตรวจลมหายใจ ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้่อ เอช.ไพโลไร ที่ดีที่สุด แต่ราคาค่อนข้างแพง



♦ การรักษาเพื่อกำจัดเชื้อ
ในปัจจุบันแนวทางการรักษาทั่วไป แนะนำให้ตรวจหาเชื้อ เอช.ไพโลไร ในผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารทุกราย และให้การรักษาเพื่อการกำจัดเชื้อเอช. ไพโลไร ด้วยเสมอ ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อร่วมด้วย ไม่ว่าจะเพิ่งเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นครั้งแรก หรือเคยเป็นๆ หายๆ การรักษาที่นิยมใช้กันมากและมีประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วยการใช้ยาลดการหลั่งกรด 1 ชนิดร่วมกับยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ พบว่าได้ผลการกำจัดเชื้อมากกว่า 90 % ข้อบ่งชี้ว่ากำจัดเชื้อได้ คือ การตรวจไม่พบเชื้่อ เอช.ไพโลไร เมื่อ 4 สัปดาห์หลังจากหยุดการรักษา


♦ ข้อดีของการกำจัดเชื้อ ♦
พบว่าหลังจากที่กำจัดเชื้อได้แล้ว โอกาสที่จะกลับมาเป็นแผลในกระเพาะอาหารซ้ำอีกลดลงไปอย่างมาก (จาก 80% ใน 1 ปี ลดลงเหลือไม่เกิน 10% ใน 1 ปี) และมีโอกาสหายขาดทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุกข์ทรมาน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาลงไปได้อย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องรักษาอยู่เรื่อยๆ และยังลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

♦ ข้อควรปฏิบัติ ♦

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น มักเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก ถ้าไม่ระวัง รักษา หรือ ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องดังนี้

กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่บ่อย ไม่ควรกินจนอิ่มในแต่ละมื้อ
หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม
งดบุหรี่ และงดดื่มสุรา
งดการให้ยาแอสไพรินและยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูกทุกชนิด (NSAID)
ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวลทั้งหลาย
ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ ปวดท้องรุนแรง หรือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปหาแพทย์


https://www.thonburihospital.com/Peptic_Ulcer_and_Bacteria.html
 

ขอขอบคุณ ภาพและข้อมูลจากอินเตอร์เนต

 
 
Health Blog
 
newyorknurse



Create Date : 14 ธันวาคม 2564
Last Update : 15 ธันวาคม 2564 4:51:11 น.
Counter : 1081 Pageviews.

13 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณกะว่าก๋า, คุณคนเคยผ่านมหาสมุทร, คุณอุ้มสี, คุณทนายอ้วน, คุณkae+aoe, คุณTui Laksi, คุณหอมกร, คุณzungzaa, คุณThe Kop Civil, คุณtoor36, คุณร่มไม้เย็น, คุณเริงฤดีนะ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสองแผ่นดิน, คุณเจ้าหญิงไอดิน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณชีริว, คุณกิ่งฟ้า, คุณhaiku, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว

  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่น้อย

ระบบประกันสุขภาพของอเมริกา
ดีมากๆเลยครับ
ช่วยแบ่งเบาภาระการจ่ายไปได้เยอะมาก

การตรวจสุขภาพช่วยได้เยอะมาก
เป็นการป้องกันซึ่งดีกว่าการรักษา

ของผมเองก็พบหมอทุกสามเดือน
หนึ่งปีมีตรวจสุขภาพใหญ่อีกครั้งครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:5:49:55 น.
  
เก็บความรู้ดีดีไปใช้ครับ
โดย: คนเคยผ่านมหาสมุทร วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:6:41:44 น.
  
ขอบคุณข่าวสารดีดีค่ะพี่น้อย
โดย: อุ้มสี วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:6:49:12 น.
  
สวัสดีครับ
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:8:20:19 น.
  
เป็นความรู้เพิ่มมีประโยขน์ต่อสุขภาพของเรามากๆค่ะ
ตรวจเช็คดีกว่านะคะ....ขอบคุณค่ะคุณน้อย
โดย: Tui Laksi วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:11:13:22 น.
  
เรียกว่าโรคผู้ดีค่ะพี่น้อย

โดย: หอมกร วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:11:48:22 น.
  
การตรวจร่างกายนี่สำคัญจริงๆ ถ้าเจออะไรผิดปกติก็จะสามารถจัดการได้ในเร็ววัน
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:16:48:44 น.
  
เป็นวิธีการตรวจที่ดีมากมายเขียวค่ะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:18:19:08 น.
  
ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก - นิทรรศการยืนเครื่องโขน ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ บางไทร อยุธยา ด้วยนะครับ
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 15 ธันวาคม 2564 เวลา:21:21:44 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

ผมเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพเลยครับพี่
รู้ก่อน ป้องกันเร็ว
ก็กลับมาเปลี่ยนวิธีกิน วิธีใช้ชีวิตของตัวเองได้
ไม่ต้องรอให้เป็นเยอะๆแล้วค่อยมารักษา
ซึ่งตอนนั้นก็จะรักษายากแล้ว

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 ธันวาคม 2564 เวลา:6:09:49 น.
  
สวัสดีค่ะพี่น้อยขอบคุณที่ไปชมแดนเทวดานะคะ

ตามมาอ่านเรื่องสุขภาพน่ารู้ ชอบประกันของต่างประเทศนะคะเค้าดีจริงๆ ได้ไปตรวจสุขภาพประจำปีด้วยดีมากเลยค่ะ
เรื่องส่องกล้องกิ่งเคยส่องกล้องตรวจดูมะเร็งลำไส้ ก่อนที่จะส่องกล้องทรมานมากต้องอดอาหารกินแต่น้ำยาระบายที่หมอให้มาเพาะเราต้องล้างท้องให้สะอาด จนไมมีเศศอาหารเราถึงจะส่องกล้องได้ พอถ่ายล้างทองจนหมดหมอมาเอาตัวไปส่องกล้องโดนฉีดยาหนึ่งเข็มหลับไปไม่รู้เรื่องเลย หลับไปนานมากมตื่นอีกทีเกือบเที่ยงแล้วค่ะไปส่องกล้อง 7 โมงเช้า วันต่อมาหมอส่งผลมาให้ที่บ้านปกติดีใจมากมายค่ะ อิอิ

โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 16 ธันวาคม 2564 เวลา:20:48:37 น.
  
ขอบคุณพี่น้อยมากนะคะที่แวะไปอวยพรวันเกิดให้
กว่าจะแวะมาได้ก็หลายวันเลย พี่น้อยสบายดีนะคะ
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพดี ๆ ที่นำมาฝากกันนะคะ โหวตให้ค่า
โดย: haiku วันที่: 16 ธันวาคม 2564 เวลา:23:14:01 น.
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ด้านสุขภาพดีๆ ค่ะ
โดย: Emmy Journey พากิน พาเที่ยว วันที่: 17 ธันวาคม 2564 เวลา:10:37:40 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด