โควิด 19 บทเรียนที่ได้จากเวลาผ่านไป 3 ปี ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต



โควิด 19 บทเรียนที่ได้จากเวลาผ่านไป 3 ปี
ยง ภู่วรวรรณ
ราชบัณฑิต
11 ธันวาคม 2565



จากระยะเวลาที่ผ่านมา 3 ปี เราได้เรียนรู้ เกี่ยวกับโรคโควิด 19 และ
เปลี่ยนแปลงความเข้าใจมากขึ้น ดังนี้
1 โรคโควิด 19 เป็นแล้วเป็นอีกได้ การติดเชื้อซ้ำ หรือมีอาการของโรคซ้ำ
เกิดขึ้นได้ เหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ RSV ไม่เหมือนกับโรคหัด ตับอักเสบ
เอ สุกใส ที่เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีภูมิต้านทานป้องกันโรคตลอดชีวิต

2 ภูมิคุ้มกันหมู่ที่มีการพูดกันมาก ในระยะแรก เพื่อหวังจะยุติการระบาดของโรค
ไม่สามารถใช้ได้กับ covid-19 ถึงแม้ว่าประชาชนเกือบทั้งหมดมีภูมิต้านทาน
โรคก็ยังเกิดอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้หายไปไหน

3 โรคโควิด 19 จะเป็นโรคตามฤดูกาล สำหรับประเทศไทยจะมีจุดสูงสุดของ
การระบาดในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน และช่วงที่ 2 ในกลางเดือน
พฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่จะน้อยกว่าในช่วงแรก

4 ความหวังที่จะใช้วัคซีนในการยุติการระบาดของโรค หรือควบคุมการระบาด
อย่างในปีแรกที่คาดหวัง จึงไม่สามารถใช้ได้

5 วัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่มีวัคซีนตัวไหนเป็นวัคซีนเทพ อย่างที่ตอนแรก
ทุกคนเรียกร้อง วัคซีนทุกตัวไม่แตกต่างกัน เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรคลง
ลดอัตราการเสียชีวิต

6 ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีน ไม่ว่าจะสูงต่ำที่ตรวจวัดกัน ไม่สามารถที่
จะมาป้องกันการติดเชื้อได้ ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจวัดภูมิต้านทาน
ยกเว้นในการศึกษาวิจัยเท่านั้น

7 การดูแลที่สำคัญคงจะต้องเน้นกลุ่มเสี่ยงเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการเสียชีวิตด้วยวัคซีน ต่อไปจะต้องเน้นกลุ่ม
เปราะบางเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่

8 การตรวจวินิจฉัยว่าติดเชื้อหรือไม่ ปัจจุบันใช้เพียง ATK ก็เพียงพอ
ถึงแม้ว่าจะมีความไวต่ำกว่า realtime RT -PCR ด้วยข้อจำกัด
เรื่องค่าใช้จ่ายและระยะเวลา เราหมดเงินไปมากแล้ว

9 สิ่งสำคัญที่ต่อไปจะเน้นการรักษาในกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะการ
ใช้ยาต้านไวรัส ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปได้ต้องการที่ดีกว่าในปัจจุบัน
การศึกษาในประชากรกลุ่มเล็กส่วนใหญ่จะได้ผลดี แต่เมื่อมาใช้จริง
กับบมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการศึกษา เช่นเดียวกันกับวัคซีน การทดลอง
ได้ผลดีแต่เมื่อใช้จริง ประสิทธิภาพน้อยกว่าการทดลองมาก

10 ระยะเวลาการกักตัว น้อยลงมาโดยตลอด ระยะแรกต้องเข้มงวด
เรื่องการแพร่กระจายให้เป็นศูนย์ แต่ปัจจุบันโรคติดต่อง่าย จึงใช้มาตรการ
เข้มงวดและระเบียบวินัย การกักตัวอยู่ที่บ้าน ไม่ใช่โรงพยาบาลหรือ
โรงพยาบาลสนามแล้ว โรงพยาบาลจะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการมากเท่านั้น
เหมือนในภาวะปกติ

11 ในอนาคตเมื่อประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อ ก็จะเกิดภูมิต้านทานแบบลูกผสม
จะมีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี การฉีดวัคซีนบ่อย
จะไม่มีความจำเป็น ไวรัสเองก็จะเปลี่ยนพันธุกรรมไปเรื่อยๆ ภูมิคุ้มกัน
ที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้


12 กลุ่มประชากรที่ยังไม่มีภูมิต้านทานหรือไม่เคยติดเชื้อและไม่เคย
ได้รับวัคซีนเลย จะเป็นกลุ่มเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด ขึ้นไป จนกว่าจะได้
รับวัคซีนหรือการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อในวัยเด็ก ความรุนแรง
น้อยกว่าในวัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ ในวัยเด็กช่วง 6 เดือนแรก จะได้รับ
ภูมิบางส่วนส่งต่อจากมารดา เหมือนโรคทางเดินหายใจทั่วไปเช่น RSV
และก็จะเริ่มไปติดเชื้อหลัง 6 เดือนไปแล้ว

13 ระยะเวลาต่อไป ชีวิตก็จะเข้าสู่ภาวะปกติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และโรคนี้
ก็จะเป็นโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ
ที่เกิดจากเชื้อไวรัส

14 ทุกชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป และเชื่อมั่นว่า ความรุนแรงของโรคมี
แนวโน้มที่จะลดลงเหมือนกับโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดใหญ่ RSV
15 องค์ความรู้ใหม่ด้วยงานวิจัย ยังจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อใช้ความรู้นั้นในบริบทของประเทศไทย





Klaibann Blog


newyorknurse




Create Date : 14 ธันวาคม 2565
Last Update : 14 ธันวาคม 2565 3:15:20 น.
Counter : 503 Pageviews.

10 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSleepless Sea, คุณjiab bangkok, คุณปัญญา Dh, คุณปรศุราม, คุณkae+aoe, คุณหอมกร, คุณhaiku, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณทนายอ้วน, คุณเนินน้ำ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณสองแผ่นดิน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณSweet_pills, คุณกะว่าก๋า, คุณtanjira, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณกิ่งฟ้า

  
โควิด 19 ตอนแรกที่ระบาดมีความรู้สึกว่าเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่ปกติคล้ายๆเป็นไวรัสหุ่นยนต์
จนถึงวันนี้ก็มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเกิดจากธรรมชาติหรือหลุดจากห้องแลป
มีตัวตายตัวแทนออกมาอยู่เรื่อยๆ
เมื่อมนุษย์มีความใกล้ชิดกัน ย่อหย่อนการป้องกันเมื่อไหร่ก็จะเกิดการระบาดขึ้นเป็นรอบ ไม่รู้จักจบสิ้น แม้อาการโรคจะไม่รุนแรงเท่าตอนแรกก็ตาม
โดย: jiab bangkok วันที่: 14 ธันวาคม 2565 เวลา:4:57:30 น.
  
ขอบคุณข้อมูลครับ
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 14 ธันวาคม 2565 เวลา:7:00:11 น.
  
พักหลังนี่ภาครัฐบ้านเราเหมือนรณรงค์
เรื่องการป้องกันน้อยไปหน่อยค่ะพี่น้อย

โดย: หอมกร วันที่: 14 ธันวาคม 2565 เวลา:8:16:03 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะพี่น้อย

โดย: เนินน้ำ วันที่: 14 ธันวาคม 2565 เวลา:14:07:14 น.
  
กลุ่มที่ประท้วงไม่ฉีดวัคซีน ก็ยังไม่ฉีดต่อไป
ผมฉีดวัคซีนไป 3 เข็ม เข็มละยี่ห้อ ชิโนแวค ไฟเซอร์ โมเดอร์นา
โมเดอร์นาฉีดแล้วมีอาการข้างเคียงมาก เป็นไข้อยู่ 2 วัน
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 14 ธันวาคม 2565 เวลา:22:27:41 น.
  
สวัสดีค่ะพี่น้อย

จากข้อ 11 การฉีดวัคซีนบ่อยๆในอนาคตจะไม่มีความจำเป็น
ไวรัสเปลี่ยนพันธุกรรมไปเรื่อยๆ
เราคงต้องดูแลตัวเองต่อๆไปให้ดีที่สุดนะคะ

ขอบคุณพี่น้อยสำหรับข้อมูลดีๆที่เป็นประโยชน์นี้ค่ะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 15 ธันวาคม 2565 เวลา:0:32:47 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับพี่น้อย

ผมนึกถึงโรคเอดส์ครับ
ใหม่ๆก็น่ากลัวมาก
พอเรามีความรู้ มีการศึกษา มีข้อมูล
ก็รับมือกับมันได้ในที่สุด

โควิดก็เช่นกัน

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 ธันวาคม 2565 เวลา:4:55:42 น.
  
สวัสดีค่ะคุณน้อย

คนเริ่มไม่กลัวแล้วมั้งคะ
มีการป้องกันน้อยลงด้วยค่ะ
แต่ยังคงมีคนเป็นอยู่เยอะนะคะ

ขอให้สุขกายสบายใจนะคะคุณน้อย
โดย: tanjira วันที่: 15 ธันวาคม 2565 เวลา:7:56:37 น.
  
รักษาสุขภาพด้วยค่า
โดย: Emmy Journey พากิน พาเที่ยว วันที่: 15 ธันวาคม 2565 เวลา:12:32:53 น.
  
สวัสดีค่ะพี่น้อย ขอบคุณข้อมูลดีๆและมีประโยชน์นะคะ เดี๋ยวนี้ทำตัวไม่ถูกเลยค่ะ บางคนก็บอกฉีดวัคซีนมากไม่ดีต่อร่างกาย บางคนก็บอกฉีดแล้วป้องกันโควิดได้
พอได้อ่านข้อนี้แล้วก็เข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ

11 ในอนาคตเมื่อประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อ ก็จะเกิดภูมิต้านทานแบบลูกผสม
จะมีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี การฉีดวัคซีนบ่อย
จะไม่มีความจำเป็น ไวรัสเองก็จะเปลี่ยนพันธุกรรมไปเรื่อยๆ ภูมิคุ้มกัน
ที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะ

Klaibann Blog

โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 16 ธันวาคม 2565 เวลา:1:22:26 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด