ผ่าตัดรักษาต้อหิน สว.เป็นกันมาก





https://www.surgeryencyclopedia.com/St-Wr/Trabeculectomy.html





ต้อหิน อาการและการรักษา
ศุนย์จักษุรพ.บำรุงราษฎร์



ต้อหิน

ต้อหิน เป็นกลุ่มโรคที่มีการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น และเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน ได้แก่ ความดันตาที่สูง


กลไกการเกิดต้อหิน

ในลูกตาส่วนหน้ามีการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา (aqueous humor) ซึ่งถูกสร้างจากอวัยวะภายในลูกตาที่เรียกว่า ciliary body ไหลเวียนผ่านช่องระหว่างม่านตาและเลนส์ตาสู่ช่องหน้าลูกตา และไหลเวียนออกจากลูกตาทาง trabecular meshwork (ทางระบายออกของน้ำในลูกตาอยู่ที่มุมตา มีลักษณะเป็นตะแกรง) ซึ่งในโรคต้อหินจะมีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นและเกิดการทำลายประสาทตาตามมา
ต้อหินคือ
การรักษาต้อหิน ลักษณะต้อหิน


ความดันตากับต้อหิน

ความดันตา หมายถึง ความดันของของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ภายในลูกตา โดยทั่วไปค่าความดันตาอยู่ที่ 5-22 มิลลิเมตรปรอท หากพบความดันตาสูงกว่า 22 มิลลิเมตรปรอทถือว่าเป็นภาวะความดันตาสูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน


ปัจจัยเสี่ยงของต้อหิน

  • เชื้อชาติ คนเชื้อชาติแอฟริกันอเมริกันจะพบต้อหินสูงกว่าคนผิวขาวถึง 6-8 เท่า ส่วนคนเชื้อชาติเอเชียจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิด
  • อายุมากกว่า 40 ปี
  • มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
  • ตรวจพบความดันตาสูง
  • เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา
  • การใช้ยาสเตียรอยด์
  • ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ สายตายาวหรือสั้นมาก กระจกตาบาง โรคเบาหวาน ไมเกรน


ประเภทของต้อหิน

  • ต้อหินมุมเปิด (primary open angle glaucoma) เป็นต้อหินที่พบได้บ่อยกว่าต้อหินประเภทอื่น เกิดจากการอุดตันของ trabecular meshwork ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ตามปกติ จึงเกิดความดันตาสูงและส่งผลให้ประสาทตาถูกทำลาย
ต้อหินมุมเปิด
อาการ: ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการแสดงในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้นจะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากด้านข้างและนำไปสู่การตาบอดในที่สุด โดยทั่วไปต้อหินมุมเปิดมักควบคุมได้ด้วยยาหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก
อาการและระยะของต้อหิน
  • ต้อหินมุมเปิดที่มีความดันตาปกติ (normal-tension glaucoma) ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดต้อหินทั้งที่มีความดันตาต่ำกว่า 22 มิลลิเมตรปรอท (แม้ความดันตาจะไม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ แต่มักพบว่าความดันตาอยู่ใกล้กับค่าเพดานบนของค่าปกติ) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่
    • มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหินชนิดความดันตาปกติ
    • เชื้อชาติญี่ปุ่น
    • มีประวัติโรคหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด มีภาวะเส้นเลือดหดตัวง่าย ความดันโลหิตต่ำในช่วงกลางคืน ภาวะเลือดหนืด ไมเกรน หรือโรคทางระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด
  • ต้อหินมุมปิด (angle-closure glaucoma) ต้อหินประเภทนี้พบได้น้อยกว่าต้อหินมุมเปิด เกิดจากการที่มุมตาถูกม่านตาปิดกั้น ส่งผลให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ปกติ เกิดความดันตาสูงตามมา
ต้อหินมุมปิด
อาการ: ต้อหินมุมปิดมีอาการแสดงได้แตกต่างกัน ดังนี้
    • ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะเป็นภาวะที่มีความดันตาสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ตาแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ตามัว เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ รวมถึงคลื่นไส้อาเจียน
    • ต้อหินมุมปิดกึ่งเฉียบพลัน อาการในกลุ่มนี้จะค่อนข้างน้อยและเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยอาจมีแค่อาการปวดศีรษะ ซึ่งการวินิจฉัยค่อนข้างยากหากไม่ได้รับการตรวจตา
    • ต้อหินมุมปิดเรื้อรัง มักไม่มีอาการในระยะแรก เนื่องจากการดำเนินโรคเป็นไปอย่างช้าๆ
  • ต้อหินแต่กำเนิด (congenital glaucoma) เกิดในทารกหรือเด็กและอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ พบได้น้อยแต่อาการมักค่อนข้างรุนแรงและควบคุมโรคได้ยาก หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกมักจะตาบอด
  • ต้อหินทุติยภูมิ (secondary glaucoma) ต้อหินกลุ่มนี้เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุจากโรคทางตาอื่นๆ หรือโรคทางร่างกาย เช่น เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา การอักเสบในลูกตา เนื้องอกในตา ต้อกระจกที่เป็นมาก หรือเบาหวานขึ้นตามาก รวมถึงการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ทั้งนี้การรักษาขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันตาสูง
  • ภาวะสงสัยต้อหิน (glaucoma suspect) ในบางรายอาจพบประสาทตาหรือลานสายตาที่คล้ายคลึงกับคนเป็นโรคต้อหิน โดยมีความดันตาปกติ ซึ่งกลุ่มนี้ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด

การวินิจฉัยต้อหิน 

ประกอบด้วย

  • การตรวจตาด้วย slit-lamp microscopy
  • การตรวจวัดความดันภายในลูกตา
  • การตรวจลักษณะมุมตา
  • การตรวจลักษณะของขั้วประสาทตา
  • การตรวจลานสายตา


การรักษาต้อหิน

เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค
  • การรักษาด้วยยา มีเป้าหมายในการรักษาเพื่อลดความดันตาให้อยู่ในระดับที่ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันยารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ซึ่งยาหยอดเหล่านี้จะออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาหรือช่วยให้การไหลเวียนออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาดีขึ้น การรักษาด้วยยาจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และแพทย์จะนัดติดตามอาการเป็นระยะๆ เพื่อประเมินผลการรักษา การดำเนินโรค และผลข้างเคียงจากยา
  • การใช้เลเซอร์ โดยประเภทของเลเซอร์ที่ใช้จะขึ้นกับชนิดของต้อหินและระยะของโรค
    • Selective laser trabeculoplasty (SLT) เป็นการรักษาต้อหินมุมเปิด ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาแล้วได้ผลไม่ดีนัก มักเลือกใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ
    • Laser peripheral iridotomy (LPI) เป็นการรักษาต้อหินมุมปิด
    • Argon laser peripheral iridoplasty (ALPI) ใช้ร่วมกับ LPI หรือในกรณีไม่สามารถใช้ LPI รักษาได้
    • Laser cyclophotocoagulation มักใช้ในกรณีที่การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
  • การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้
    • Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายสำหรับน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาใหม่เพื่อลดความดันตา
    • Aqueous shunt surgery กรณีที่ผ่าตัดวิธีแรกไม่ได้ผล อาจทำการผ่าตัดด้วยการใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันตา






ต้อหิน เป็นโรคทางตาที่ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่มีอันตรายถึงขั้นทำให้ดวงตาสูญเสียการมองเห็นได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะในระยะแรกของโรค แต่เมื่อทราบก็มักจะสูญเสียการมองเห็นไปมากแล้ว ทั้งนี้ ต้อหินสามารถเกิดกับตาได้ทั้งสองข้าง จากความผิดปกติของความดันภายในลูกตาที่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้น จนทำลายประสาทตาและสูญเสียการมองเห็นในที่สุด และสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการได้รับการถ่ายทอดโครงสร้างตาทางพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเกิดต้อหินได้เช่นกัน ต้อหินที่พบได้บ่อย มักเป็นต้อหินชนิดมุมเปิด (Primary open-angle glaucoma)

สาเหตุ
ความผิดปกติของความดันภายในลูกตา เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดภาวะต้อหิน ดวงตาของเรานั้น จะมีส่วนที่เรียกว่า ช่องด้านหน้าของลูกตา (Anterior chamber) ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ด้านหลังกระจกตา แต่อยู่ด้านหน้าม่านตา ภายในช่องนี้จะมีของเหลวที่เรียกว่า Aqueous humor บรรจุอยู่ ของเหลวนี้จะทำหน้าที่นำออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอัตราการสร้างของเหลวนี้จะสมดุลพอดีกับอัตราการไหลออกจากลูกตา ดวงตาจึงมีระดับความดันภายในลูกตาที่เป็นปกติ
แต่ในสภาวะที่เป็นต้อหิน ของเหลวนี้จะไหลออกจากลูกตาผ่านช่องด้านหน้าของลูกตาด้วยอัตราที่ลดน้อยลง จึงเกิดการคั่งของของเหลวภายในลูกตา จนทำให้ระดับความดันภายในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ถ้าความดันลูกตายังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ความดันภายในลูกตานี้จะไปกดประสาทตา ทำให้เลือดมาเลี้ยงประสาทตาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นผลให้ประสาทตาเสื่อม ฝ่อตัวลง ขั้วประสาทตาถูกทำลาย สายตาจะมัวลงจนถึงขึ้นสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด
ทั้งนี้ ตาจะมีอาการแข็งเหมือนกับหิน จากความดันภายในลูกตาที่สูงขึ้น ทางการแพทย์จึงเรียกว่า "ต้อหิน"

ปัจจัยความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นต้อหิน
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป แต่อาจพบได้ในคนที่มีอายุต่ำกว่านี้ (แต่อย่างไรก็ตาม ต้อหินเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ไม่ใช่เพียงอายุเท่านั้น)
- ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นต้อหิน จะได้รับการถ่ายทอดโครงสร้างตาทางพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเกิดต้อหินได้
- ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก พบว่าจะมีขนาดลูกตาใหญ่ จอประสาทตาบาง มีโอกาสเสี่ยงที่ความดันตาจะไปกดประสาทตาให้เสื่อมเร็วขึ้นได้มากกว่าคนสายตาปกติ
- ผู้ที่มีสายตายาวมาก พบว่าจะมีขนาดลูกตาเล็ก มีช่องด้านหน้าลูกตาแคบและมุมตาแคบ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นต้อหินได้ง่าย กว่าคนสายตาปกติ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบ พบว่าอุบัติการเกิดต้อหินจะเร็วกว่าคนที่มีสุขภาพดี
- คนผิวสี (คนผิวเหลือง ผิวคล้ำ ผิวดำ) ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดต้อหินสูงเป็น 5 เท่าของคนผิวขาว มีอาการรุนแรงและมีโอกาสสูญเสียการมองเห็นได้มากกว่าคนผิวขาวถึง 4 เท่า และในช่วงอายุ 45 - 64 ปี คนผิวสีที่เป็นต้อหิน จะมีโอกาสสูญเสียการมองเห็นมากกว่าคนผิวขาวถึง 15 เท่า
- ผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนทางตา
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของลูกตา เช่น แก้วตาเล็ก หรือ มีความผิดปกติทางตาอื่นๆ

ชนิดของโรคต้อหิน

1. ต้อหินชนิดปฐมภูมิ (Primary glaucoma)
1.1 ชนิดมุมเปิด (Primary open-angle glaucoma)ต้อหินชนิดนี้เป็นต้อหินที่พบบ่อย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ความดันตาสูง และ ความดันตาปกติ ต้อหินทั้ง 2 ประเภทนี้ จะไม่มีอาการปวดตา หรือตาแดง ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าเป็นต้อหิน แต่สายตาจะค่อยๆมัวลง อาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด แต่หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วก็จะรักษาสายตาไว้ได้
1.2 ชนิดมุมปิด (Primary angle-closure glaucoma)แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
(1) ต้อหินชนิดเฉียบพลัน เกิดจากความดันลูกตาที่ขึ้นสูงโดยทันที ทำให้ตามัวลงอย่างรวดเร็ว อาจเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ มีอาการปวดตาอย่างรุนแรง ตาแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มักไม่หายด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ถ้าไม่รักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ตาบอดได้อย่างรวดเร็ว
(2) ต้อหินชนิดเรื้อรัง เกิดจากความดันลูกตาที่ขึ้นช้าๆ อาจขึ้นไม่สูงมาก จะมีอาการปวดตา ปวดศีรษะเล็กน้อยหรือไม่ปวดเลย ตาจะค่อยๆเห็นแคบหรือมัวลงทีละน้อยจนแทบไม่ได้สังเกตว่าเกิดความผิดปกติขึ้น จึงมักถูกปล่อยทิ้งไว้จนประสาทตาเสียไปมาก แล้วค่อยมาพบแพทย์ ซึ่งอาจสายเกินไปที่จะรักษาให้ตากลับไปเห็นได้ดีเหมือนเดิม

**รูปภาพ ความดันในลูกตาสูงจนกดทับจอประสาทตา
**รูปภาพ ช่องด้านหน้าลูกตา, เนื้อเยื่อมุมช่องด้านหน้าลูกตา, เนื้อเยื่อที่สร้างของเหลว

ของเหลวในช่องด้านหน้าลูกตาจะไหลออกจากดวงตาผ่านทางเนื้อเยื่อ Trabecular Meshwork ซึ่งอยู่บริเวณมุมของช่องด้านหน้าลูกตา
ปัจจุบันพบผู้ป่วยต้อหินที่มีความดันลูกตาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ( ≤ 21 มม. ปรอท) เพิ่มมากขึ้น ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด คาดว่าอาจเกิดจาก มีความดันลูกตาสูงบางช่วงเวลาที่ไม่ตรงกับเวลาที่จักษุแพทย์ทำการวัด เกิดจากความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือดบริเวณประสาทตา หรือเกิดจากเนื้อเยื่อประสาทตาอ่อนแอกว่าปกติ อาการจะเหมือนกับต้อหินชนิดเรื้อรัง วิธีการรักษาเหมือนกับต้อหินชนิดเรื้อรัง เนื่องจากพบว่าการลดความดันตาสามารถชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคได้

2. ต้อหินทุติยภูมิ (Secondary glaucoma)
เป็นต้อหินที่เป็นผลตามมาจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น จากต้อกระจกที่เป็นมาก ม่านตาอักเสบ อุบัติเหตุทางตา การใช้ยาหยอดตาพวก
สเตอรอยด์เป็นเวลานาน เบาหวานขึ้นจอตา เส้นเลือดที่จอประสาทตาอุดตัน หรือหลังการผ่าตัดตาบางอย่าง

3. ต้อหินแต่กำเนิด (Congenital glaucoma)
เป็นต้อหินที่พบในเด็กแรกคลอดจนถึงอายุ 3 ปี สาเหตุอาจเป็นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น มารดาเป็นหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ อาการของต้อหินชนิดนี้คือ เด็กจะมีน้ำตาไหล สู้แสงไม่ค่อยได้ ไม่ยอมลืมตา ลูกตาอาจมีขนาดโตขึ้น ตาดำมีขนาดใหญ่กว่าปกติ กระจกตาดำขาวขุ่น ถ้าไม่ได้รับการรักษาเด็กจะมองไม่เห็น และตาบอดในที่สุด


อาการ
1. สูญเสียลานสายตาของการมองเห็น (Field of Viewing) เช่น เห็นแสงแคบลง ไม่เห็นด้านข้าง หรือถ้าปิดตาดูทีละข้างอาจมีจุดบอดเป็นบางส่วน
2. ตามัวลง เกิดขึ้นเมื่อโรคต้อหินเป็นมากแล้ว
3. ในที่มีแสงสลัวจะมองเห็นวัตถุได้ไม่ชัดเหมือนเดิม
4. เห็นรุ้งรอบๆดวงไฟ
5. กรณีที่เป็นต้อหินชนิดเฉียบพลัน จะคลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะมาก และตามัวลงอย่างรวดเร็ว

การรักษา
แม้ต้อหินจะรักษาให้หายขาดไม่ได้ เพราะประสาทตาจะเสียอย่างถาวรไม่สามารถรักษาให้กลับมาปกติ แต่การรักษาที่ถูกต้องจะป้องกันไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้นไปอีก เมื่อพบว่าเป็นต้อหิน ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเพื่อควบคุมความดันภายในลูกตาให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ซึ่งวิธีการรักษาต้อหินทำได้หลายวิธีคือ
1. การใช้ยา
มีทั้งยาหยอดตา ยารับประทาน และยาฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อลดการผลิตของน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตา หรือไปขยายช่องถ่ายเทให้น้ำไหลออกสะดวกขึ้น แต่เนื่องจากยาออกฤทธิ์อยู่ได้ไม่นาน ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องคอยหมั่นใช้ยาตามเวลาที่ได้รับการแนะนำอย่างเคร่งครัด ถ้าใช้ยาไม่สม่ำเสมอ ความดันตาจะสูงขึ้นในช่วงที่ยาหมดฤทธิ์ และทำลายการมองเห็นไปเรื่อยๆจนตาบอดได้ นอกจากนี้ต้องไปรับการตรวจรักษาจากจักษุแพทย์เป็นระยะๆ เพื่อดูความดันตา และลานสายตา รวมทั้งการตรวจอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่ายาที่ให้เพียงพอที่จะควบคุมโรคได้ จักษุแพทย์จะช่วยปรับวิธีการรักษาให้เหมาะสมตามความรุนแรงของโรค
2. การใช้แสงเลเซอร์และการผ่าตัด
ในรายที่ใช้ยาไม่ได้หรือไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะยาไม่สามารถลดความดันตาลงได้พอ หรือแพ้ผลข้างเคียงของยา ต้องใช้วิธีฉายแสงเลเซอร์หรือการผ่าตัด โดยการทำช่องทางถ่ายเทน้ำหล่อเลี้ยงใหม่ เพื่อให้ไหลได้สะดวกขึ้น ใช้ในรายที่พบว่าประสาทตายังถูกทำลายไปเรื่อยๆ แม้ความดันตาไม่สูงมากก็ตาม หรือรายที่ใช้ยาไม่ได้หรือใช้แล้วไม่ได้ผล และผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถมารับการรักษาเป็นประจำได้
การจะเลือกรักษาโดยวิธีใด ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรงและอาการของโรค และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของจักษุแพทย์
ต้อหินส่วนใหญ่เกิดขึ้นเอง แต่ในผู้ป่วยบางรายเกิดจากการซื้อยาหยอดตาบางชนิดมาใช้เอง ได้แก่ ยาหยอดตาสเตอรอยด์ที่ใช้รักษาการอักเสบ แต่อาจทำให้เกิดโรคต้อหินได้ ถ้าใช้หยอดตาติดต่อกันหลายๆขวด จึงไม่ควรซื้อยาหยอดตามาใช้เอง ควรใช้ยาเฉพาะที่จักษุแพทย์สั่งให้เท่านั้น ในรายที่จักษุแพทย์เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคต้อหิน หรือเป็นต้อหินแล้วในตาข้างหนึ่ง จักษุแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยป้องกันตาอีกข้างหนึ่งไม่ให้เป็น เนื่องจากต้อหินมักเป็นกับตาทั้งสองข้าง ซึ่งจะป้องกันรักษา โดยการหยอดยา การฉายแสงเลเซอร์ หรือ การผ่าตัด
การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นโรคต้อหิน
ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตเช่นคนปกติ แต่จะต้องเอาใจใส่ ใช้ยาตามเวลาที่จักษุแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ตรวจตาอย่างสม่ำเสมอตามนัดของแพทย์
สำหรับการออกกำลังกายนั้น ผู้ป่วยส่วนมากสามารถเล่นกีฬาได้ทุกชนิด ยกเว้นกีฬาที่ต้องห้อยศีรษะต่ำเป็นเวลานาน มีผู้ป่วยต้อหินบางชนิดเท่านั้นที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ ซึ่งจักษุแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ
ถึงแม้ต้อหินส่วนใหญ่ รักษาให้กลับมาเป็นปกติไม่ได้ แต่การรักษาที่ถูกต้อง สามารถถนอมสายตาและประสาทตาไม่ให้เสื่อมมากขึ้นจนถึงขั้นตาบอดได้เนื่องจากต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาด หรือให้เห็นดีขึ้น การป้องกันไม่ให้เกิดต้อหินจึงเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุด ถึงแม้ต้อหินส่วนใหญ่เกิดขึ้นเองและป้องกันไม่ได้ แต่มีหลายชนิดที่สามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะต้อหินชนิดเฉียบพลัน หรือ ต้อหินมุมปิด ซึ่งพบได้มากในคนเอเชีย
ดังนั้นควรดูแลรักษาดวงตา หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ และไม่ซื้อยาหยอดตาใช้เอง ผู้มีอายุมากกว่า 35 ปี และมีแนวโน้มจะเป็นต้อหินได้ง่าย เช่น มีประวัติต้อหินในครอบครัว มีสายตาสั้นหรือยาว มีปานแดงหรือดำบริเวณใบหน้า เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณตามาก่อน ควรได้รับการตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง



https://www.surgeryencyclopedia.com/St-Wr/Trabeculectomy.html

ขอขอบคุณข้อมูลจากอินเตอร์เนต


สาขา Health Blog




newyorknurse



Create Date : 05 กรกฎาคม 2561
Last Update : 24 กรกฎาคม 2561 3:16:07 น.
Counter : 1952 Pageviews.

13 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณKavanich96, คุณกะว่าก๋า, คุณInsignia_Museum, คุณเนินน้ำ, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณRananrin, คุณเริงฤดีนะ, คุณmoresaw, คุณSweet_pills, คุณJinnyTent, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณโอพีย์, คุณtuk-tuk@korat, คุณThe Kop Civil

  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 24 กรกฎาคม 2561 เวลา:4:23:58 น.
  


สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

โรคภัยไข้เจ็บเกือบทุกโรค
มีผลมาจากปัญหาสุขภาพร่างกายจริงๆครับ
บางโรคถ้าเราดูแลสุขภาพให้ดี
ก็ช่วยชะลอเวลาที่จะเกิดโรคได้
แต่ถ้าไม่สนใจดูแลสุขภาพร่างกาย
ถึงเวลาโรคภัยก็ตามมาเป็นชุดเลย

โหวตครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 กรกฎาคม 2561 เวลา:6:25:09 น.
  
ได้อ่านแล้วจึงทราบข้อควรระวัง และการป้องกันแต่เนิ่นๆ
ถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพมากๆครับ

ปล. ปลากั่วมีสีขาวที่หัว น่าจะชนิดเดียวกัน เป็นปลาที่เด็กๆชอบเลี้ยงกับครับ
โดย: Insignia_Museum วันที่: 24 กรกฎาคม 2561 เวลา:15:38:54 น.
  
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐแท้จริงค่ะ
โดย: เนินน้ำ วันที่: 24 กรกฎาคม 2561 เวลา:17:06:01 น.
  
ใช่ครับ พายุสุริยะ เป็นอีกคน ที่เห็นหมูย่างวางบนโต๊ะแบบนี้ ที่งานใหนละก็ หนีเลยครับ...อิ..อิ..
โดย: พายุสุริยะ วันที่: 24 กรกฎาคม 2561 เวลา:18:35:46 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูล มีประโยชน์มากครับ
ความดันตาสูง สังเกตจากอะไรครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 24 กรกฎาคม 2561 เวลา:23:02:20 น.
  
ต้อหินเป็นพันธุกรรม
อ้อก็เป็นตามพ่อเหม่ง
ทั้ง 2 ข้าง
รักษาด้วยการหยอดตาเพื่อควบคุมความดันลูกตา
ให้คงที่มากว่า 15 ปี

Vote ค่ะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 กรกฎาคม 2561 เวลา:4:55:22 น.
  
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดต้อหินมีหลายข้อนะคะพี่น้อย
การตรวจวัดความดันลูกตาและอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
คงช่วยชะลอหรือรักษาได้ทันการนะคะ
ขอบคุณพี่น้อยสำหรับข้อมูลสุขภาพดีๆนี้ค่ะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 25 กรกฎาคม 2561 เวลา:9:44:43 น.
  
ไม่ได้แวะมาทักทายพี่น้อยเสียหลายวัน
เรื่องสุขภาพ บางทีเราก็ไม่คาดคิดว่าจะเป็นนั่นนี่นะคะ
กว่าจะรู้ตัว บางทีก็สายไป ก็รักษากันไปตามอาการ

จินก็กลัวอยู่เหมือนกันค่ะ
เพราะสายตาจำเป็นมาก ทุกวันนี้สายตาถูกทำลายไวมาก
เพราะโลกมันเปลี่ยน ทั้งทีวี มือถือ คอมพิวเตอร์
ได้แต่ป้องกัน และใส่แว่นถนอมสายตา
เพราะมันเลี่ยงวิถีชีวิตไม่ได้

ไว้แวะมาทักทายพี่น้อยใหม่ค่า
โดย: JinnyTent วันที่: 25 กรกฎาคม 2561 เวลา:20:47:42 น.
  
เช็กอยู่ค่ะ ยังไม่มีแนวโน้มเรื่องนี้
กลัวเหมือนกัน ไม่อยากมีปัญหา
เรื่องการทองเห็นและได้ยินเลย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 25 กรกฎาคม 2561 เวลา:20:49:48 น.
  
เป็นโรคที่มาเงียบ ๆ แล้วก็ตาบอดเลย
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 26 กรกฎาคม 2561 เวลา:14:01:02 น.
  
เป็นโรคที่น่ากลัวเหมือนกันนะครับ ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดี
โดย: The Kop Civil วันที่: 26 กรกฎาคม 2561 เวลา:15:57:33 น.
  
เส้นขนมจีนอบแห้งใช้สะดวก รสชาติก็ดีพอจะแทนขนมจีนเส้นสดได้ค่ะพี่น้อย
ขอบคุณพี่น้อยสำหรับกำลังใจนะคะ
โดย: Sweet_pills วันที่: 27 กรกฎาคม 2561 เวลา:0:10:12 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด