หมอรักษาคนไข้ ผลโควิด บวก ( Covid Positive ) ด้วยยา Paxlovid หรือ Monoclonal Antibody
 

หมอรักษาคนไข้
ผลโควิด บวก ( Covid Positive )
ด้วยยา
Paxlovid หรือ Monoclonal Antibody
 


ระยะนี้มีข่าวคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว แล้วติดโควิด(Covid Positive)
มีอาการไม่มากกัน และมียารักษา หายเป็นส่วนมาก ระยะนี้ไม่ได้ข่าวคน
เป็นหนักเลย หรือต้องเข้ารพ. ส่วนมากคุณหมอให้ยาแล้วให้แยกตัวที่บ้าน
ห้าวัน (ยาให้กินเช้า เช้าเย็น ติดต่อกัน 5 วัน)
มีบางส่วนที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่มาก ก็จะให้รักษาตามอาการ
และกักตัวที่บ้านเช่นกัน

Paxlovid เป็นยาที่หมอรักษาคนที่ตรวจพบผลโควิดบวก รัฐจ่าย ไม่เสียค่ายา
แต่ยาไม่ใช่ให้ได้ทุกคน เพราะถ้ากินยาหลายอย่างที่เขามีชื่อรายการยาที่คนใช้
ยานั้นจะกินยา Paxlovid ไม่ได้

การรักษาอีกอย่างคือให้ Monoclonal antibody ต้องไปให้ที่รพ. ไม่ต้องอยู่รพ
ได้ร้บยาเสร็จแล้วก็กลับบ้านได้ และแยกตัวที่บ้านห้าวัน

หลังจากได้ยาครบ กักตัวที่บ้าน 5 วัน ก็เลิกกักตัว แต่ยังต้องใส่แมสด้วย








*********





Thursday, 28 April 2022
ยาที่ WHO แนะนำสำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีความเสี่ยงสูง Paxlovid คือยาอะไร?
จิกิตสา วิทยา
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีคำแนะนำให้ใช้ตัวยา nirmatrelvir และ ritonavir ซึ่งขายภายใต้ชื่อ Paxlovid สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่รุนแรงและปานกลางที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยใช้คำว่า "แนะนำอย่างแข็งขัน" (a strong recommendation) และบอกว่า "เป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในปัจจุบัน" (1)

หลังจากที่ WHO แนะนำไปทำให้ Paxlovid อยู่ในความสนใจของรัฐบาลและสื่อระดับโลก แม้ว่ายาตัวนี้ (ที่ผลิตโดย Pfizer) จะวางจำหน่ายมาระยะหนึ่งแล้ว ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสหรัฐจะผลักดันให้ยาตัวนี้เข้าถึงร้านขายยาให้แพร่หลายมากขึ้น หลังจากที่อนุมัติการใช้งานไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว แต่ไม่สามารถทำให้เข้าถึงมือชาวอเมริกันที่จำเป็นต้องรับการรักษาได้ (2) ซึ่งดูเหมือนว่านี่จะเป็นความกังวลเดียวกับ WHO

WHO กล่าวในแถลงการณ์ว่า "อย่างไรก็ตาม ความพร้อมใช้งาน การขาดความโปร่งใสด้านราคาในข้อตกลงทวิภาคีที่ทำโดยผู้ผลิต และความจำเป็นในการทดสอบที่รวดเร็วและแม่นยำก่อนดำเนินการ ส่งผลให้ยาช่วยชีวิตนี้กลายเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง" (1) ดังนั้น แม้ว่ามันจะเป็นยาแห่งความหวังและได้รับการแนะนำอย่างยิ่ง แต่การเข้าถึงยังมีปัญหา

แต่ยา Paxlovid คืออะไร และประสิทธิภาพของมันมีมากแค่ไหน?

1. ยายี่ห้อ Paxlovid เป็นยาเม็ดสำหรับรับประทานประกอบด้วยตัวยา Nirmatrelvir กับ Ritonavir เป็นยาต้านไวรัสทั้งคู่ โดย Nirmatrelvir พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Pfizer ซึ่งเริ่มการวิจัยและพัฒนาในเดือนมีนาคม 2563 และทำการทดสอบครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ส่วน Ritonavir มีมาก่อนแล้วโดยขายภายใต้ชื่อแบรนด์ Norvir เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ร่วมกับยาอื่นๆ เพื่อรักษาเอชไอวี/เอดส์

2. ในเดือนกันยายน 2564 บริษัท Pfizer เริ่มการทดสอบผสมตัวยา Nirmatrelvir ร่วมกับ Ritonavir ในการทดลองระยะที่ II/III โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 โดย Pfizer ประกาศว่าผลการศึกษาระยะที่ II/III พบว่ามีความเสี่ยงที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตลดลง และในเดือนธันวาคมก็ทำการทดสอบระยะที่ III ในเดือนเดียวกันนั้นก็ทำการเผยแพร่ประสิทธิภาพของยา โดยระบุว่าหากให้ยาภายใน 5 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ประสิทธิผลของยาต่อการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตในผู้ใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 88% (3)

3. ในเดือนธันวาคม 2564 ยา Paxlovid ได้รับอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) สำหรับการรักษาโควิด-19 และได้รับการอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหราชอาณาจักรในเดือนธันวาคมเช่นกัน และได้รับการอนุมัติในสหภาพยุโรปและแคนาดาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565


4. ยา Nirmatrelvir กับ Ritonavir ที่บรรจุร่วมในชื่อ Paxlovid ระบุไว้สำหรับการรักษาโควิด-19 เล็กน้อยถึงปานกลางในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 40 กิโลกรัมโดยมีผลบวกหลังจากการการทดสอบว่าติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยตรง และที่มีความเสี่ยงสูงต่อการลุกลามสู่โรคโควิด-19 ขั้นรุนแรง รวมทั้งความเสี่ยงที่จะต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิต (4) ในสหภาพยุโรประบุไว้ว่ายานี้สำหรับการรักษาโควิด-19 ในผู้ใหญ่ที่ไม่ต้องการออกซิเจนเสริม และผู้ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ไปถึงมีอาการรุนแรง (5)

5. สำหรับประเทศที่อนุมัติให้ใช้ยานี้ เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 Pfizer ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) เพื่อขออนุญาตใช้ในกรณีฉุกเฉิน ได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 หน่วยงาน European Medicines Agency (EMA) ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาในสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 กระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอลอนุมัติการใช้ยาแบบบรรจุร่วมในวันที่ 26 ธันวาคม 2564 เกาหลีใต้อนุมัติการใช้ยานี้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2564

6. สำนักงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (MHRA) ได้อนุมัติให้ใช้ยาในเดือนธันวาคม 2564 องค์การสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) อนุมัติการใช้ยาในเดือนมกราคม 2565 หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งสิงคโปร์ (HSA ) อนุมัติการใช้ยาเพื่อรักษาผู้ใหญ่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จีนอนุมัติยาสำหรับรักษาผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรงได้ (6)


7. ในเดือนเมษายน 2565 WHO ระบุว่า "ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานของ Pfizer (การผสมผสานระหว่างยาเม็ด Nirmatrelvir และ Ritonavir) เป็นยาที่ได้รับการแนะนำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่รุนแรง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเป็นโรคร้ายแรงและต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีน ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง คำแนะนำนี้อิงจากข้อมูลใหม่จากการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย 3,078 ราย ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงของการรักษาในโรงพยาบาลลดลง 85% หลังการรักษานี้ ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (ความเสี่ยงมากกว่า 10% ของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล) นั่นหมายถึงการรักษาในโรงพยาบาลน้อยลง 84 รายต่อผู้ป่วย 1,000 ราย" (1)


8. แต่กลายเป็นว่าความต้องการ Paxlovid น้อยอย่างไม่คาดคิดเนื่องจากข้อกำหนดคุณสมบัติที่ซับซ้อน การตรวจสอบการติดเชื้อที่ลดลง (7) นี่เป็นข้อกังวลของ WHO ซึ่งระบุว่า อุปสรรคประการหนึ่งสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางคือ สามารถให้ยาได้ในขณะที่โรคยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น การทดสอบที่รวดเร็วและแม่นยำจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จกับการรักษานี้ ข้อมูลที่รวบรวมโดย FIND (ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับโลกด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์) แสดงให้เห็นว่าอัตราการทดสอบรายวันโดยเฉลี่ยในประเทศที่มีรายได้ต่ำนั้นต่ำเพียง 1 ใน 8 ของอัตราในประเทศที่มีรายได้สูง การปรับปรุงการเข้าถึงการทดสอบและวินิจฉัยเบื้องต้นในสถานบริการปฐมภูมิจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเปิดตัวการรักษาด้วยยานี้ทั่วโลก (1)

อ้างอิง

1. "WHO recommends highly successful COVID-19 therapy and calls for wide geographical distribution and transparency from originator" (April 22, 2022). WHO.

2. Keith, Tamara. McDaniel, Eric. (April 26, 2022). "Biden will make Paxlovid, a highly effective COVID drug, available to more pharmacies". NPR.

3. Fact sheet for healthcare providers: Emergency Use Authorization for Paxlovid (PDF) (Technical report). Pfizer. 22 December 2021.

4. "FDA Authorizes First Oral Antiviral for Treatment of COVID-19". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 22 December 2021. Retrieved 22 December 2021.

5. "Paxlovid EPAR". European Medicines Agency (EMA). 24 January 2022. Retrieved 3 February 2022.

6. Wikipedia contributors. "Nirmatrelvir/ritonavir." Wikipedia, The Free Encyclopedia. Wikipedia, The Free Encyclopedia, 26 Apr. 2022. Web. 26 Apr. 2022.

7. Explained Desk. (April 26, 2022). "Explained: What is Paxlovid, strongly recommended by WHO as the best therapeutic choice for high-risk Covid-19 patients?". The Indian Express.

ภาพ Kches16414/wikimedia.org

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.hfocus.org/content/2022/04/24993

Monoclonal Antibody คือ ยาอะไร

ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี หรือที่ภาษาอังกฤษเขียนว่า monoclonal antibody เป็นยาที่ใช้รักษาในกลุ่มผู้ป่วยหนักมาก ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งประโยชน์ของยาจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 50 ถึง 70 ขึ้นทะเบียนกับ อย.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) จะเป็นการเสนอให้เริ่มใช้ทดลองในไทย

โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) เป็นโปรตีนชีววัตถุเพื่อการรักษาโรค ที่ผลิตเลียนแบบสารภูมิต้านทานที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่สร้างขึ้นตามธรรมชาติ ไว้ใช้ต่อสู้กับไวรัส ปัจจุบันได้ถูกนำมารักษาโรคบ้างแล้ว เนื่องจากความสามารถในการจำเพาะต่อตำแหน่งเนื้อเยื่อที่ศึกษา เช่น ใช้รักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคทางระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ โรคภูมิต้านตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น


การทำงานของโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody)

กลุ่มยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ จะทำหน้าที่ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมของร่างกายอย่างจำเพาะเจาะจง ตัวโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ที่ได้มาจากเซลล์ภูมิคุ้มกันจะถูกนำมาผ่านกระบวนการโคลนนิ่ง เพื่อให้ได้เซลล์ที่มีลักษณะเดียวกันจำนวนมากและมีความสามารถในการหลั่งสารแอนติบอดี้จำเพาะออกมา โมโนโคลนอลแอนติบอดี้แต่ละชนิดนั้นมีความจำเพาะต่อเซลล์เป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป


แต่เนื่องจากยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) ยังเป็นยาใหม่ จึงมีราคาสูง และผลข้างเคียงของยาอาจยังไม่ชัดเจน การใช้ยาจึงควรใช้ในความควบคุมของแพทย์เฉพาะทางอย่างเคร่งครัด

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://news.trueid.net/detail/B2aVZeyxnANP

 
 
Health Blog/Education Blog
 
newyorknurse



Create Date : 15 พฤษภาคม 2565
Last Update : 15 พฤษภาคม 2565 5:04:49 น.
Counter : 666 Pageviews.

9 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณpeaceplay, คุณปัญญา Dh, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณกะว่าก๋า, คุณหอมกร, คุณปรศุราม, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณtuk-tuk@korat, คุณอุ้มสี, คุณtoor36, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills

  
เจิม
มีคำถามแบบโง่ๆ
เอ๊ย!!เชยๆค่ะ
ไม่รู้..ตอนนี้มียาPaxlovidตัวนี้เข้ามาใช้หรือยัง?

โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:58:42 น.
  

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

มาดามฉีดเข็ม 3 โมเดอน่า
หมิงไฟเซอร์ 2 เข็มก็ติดโควิดทั้งคู่
แต่อาการไม่หนัก
และได้ฟราวิฯมากินที่บ้าน
แต่หลังจากนั้นฟราวิฯก็ไม่มีแจกให้ประชาชนอีก
ตอนนี้ที่ไทยไม่ประกาศตัวเลขผู้ติดเชื้อทุกวันแล้ว
เปลี่ยนมาแจ้งข้อมูลเดือนละครั้งแทน
และผมคิดว่ารัฐบาลไทยยังไม่สามารถจัดซื้อ Paxlovid
เข้ามาได้นะครับในตอนนี้

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:7:05:30 น.
  
ยาฝรั่งนี่เขาว่าผลข้างเคียงสูงค่ะพี่น้อย

โดย: หอมกร วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:10:40:06 น.
  
สวัสดีครับพี่น้อย

เข้ามาอ่านข้อมูลความรู้ครับ
ช่วงนี้ในไทยกราฟผู้ป่วยเริ่มลดลงแล้ว
ดีใจที่หลังสงกรานต์ไม่ได้พุ่งสูงอย่างที่หลายคนคำนวณไว้ครับ
ขอให้ยอดผู้ป่วยลดลงเรื่อยๆ ในทุกๆวัน

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ
โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:12:01:09 น.
  
ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะพี่น้อย
โดย: อุ้มสี วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:37:30 น.
  
ก็หวังว่ามันจะพัฒนาจะดีขึ้นเรื่อยๆ ผลข้างเคียงลดน้อยลงนะครับ
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:55:24 น.
  
ดีครับมียาใหม่ แต่จะเข้าไทยได้หรือยังนี่ซิ....

ของไทยมีขั้นตอนบางอย่างเหมือนเอื้ออะไรบางอย่าง.. แต่ตอนนี้ในไทย ดูจะมีคนติดง่ายแต่หายไว... จ่ายยากลับไปอยู่บ้านไม่กี่วัน
ก็น่าจะหาย ไปไหนมาไหนได้บ้างแล้ว
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:17:00:43 น.
  
บ้านเรา ยาฟาวิขาดตลาดครับ ให้เฉพาะคนที่เชื้อลงปอด
Paxlovid/Monoclonal น่าจะยังไม่มีในไทยครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:23:27:01 น.
  
ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีถ้าเข้าในไทย
จะได้เป็นตัวช่วยในการรักษานะคะ
ขอบคุณพี่น้อยสำหรับข้อมูลค่ะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 22 พฤษภาคม 2565 เวลา:0:33:34 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด