การวัดความดันที่ถูกต้อง







วัดความดันโลหิตอย่างไร ให้ถูกต้อง

เรียบเรียง โดย นพ.เจริญลาภ อุทานปทุมรส

การวัดความดันโลหิตถือเป็น เรื่องง่ายใกล้ตัวของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ รวมทั้งพยาบาลทั้งในโรงพยาบาล และคลินิกแต่ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล จากการสุ่มตรวจการวัดความดันโลหิตของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ทั้งการสังเกตและให้ลองทำให้ดู ในประสบการณ์ของแพทย์ พบว่าส่วนใหญ่(เกือบทั้งหมด)มีเทคนิคการวัดที่ไม่ถูกต้อง หรือถูกต้องบางส่วนแต่
ไม่สมบูรณ์ ….อะไรคือความผิดพลาดที่พบบ่อยในการวัดความดันโลหิต….ที่นี่มีคำตอบ


การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญ ต้องอาศัยทั้งเครื่องมือวัดความดันโลหิตที่ calibrate ได้มาตรฐาน, ขนาดcuff ที่เหมาะสม่ในแต่ละราย, การจัดท่าผู้ป่วย รวมทั้งเทคนิคการวัดที่ถูกต้องเวลาในการวัดความดันโลหิต และปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต


ในรายที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรวัดความดันโลหิตก่อนทานยา เพื่อดูผลของยาในช่วงที่ระดับยาต่ำที่สุด (trougheffect) และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต ในระยะเวลา 60 นาทีก่อนวัดความดัน(3) ได้แก่ การรับประทานอาหาร,


การออกกำลังกาย(อาจทำให้ความดันลดลงได้), การสูบบุหรี่(ทำให้ความดันเพิ่มได้ชั่วคราว), การดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีสาร
คาเฟอีน(ทำให้ความดันเพิ่มได้) และงดยาที่กระตุ้นหัวใจเช่นยาแก้คัดจมูก.ยาหยอดตาขยายม่านตา และปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อน


นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยง การพูดคุยขณะวัดความดัน เพราะสามารถทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้ถึง 8-15 มม.ปรอท
และควรวัดความดันในห้องที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป
ชนิดของเครื่องมือที่ใช้วัดความดันโลหิต


เครื่องมือวัดความดันที่เป็นที่ยอมรับกันว่า มีความแม่นยำที่สุด ได้แก่ เครื่องวัดแบบปรอท (mercurysphygmomanometer) ส่วนเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ(automatic oscillometric BP measuring device) จะวัด
ความดันโลหิตได้ต่ำกว่าการวัดโดยใช้หูฟัง (auscultatory method)
ขนาด cuff


การใช้ cuff ที่เล็กเกินไป จะทำให้ได้ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่าความเป็นจริง เช่น ในกรณีคนอ้วน อาจจะวัดความดันsystolic ได้มากเกินจริงถึง 10-50 มม.ปรอท (4)มาตรฐานของขนาดกระเปาะลมใน cuff ควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 80% และความกว้างไม่น้อยกว่า 40% (บางแห่งใช้46%) ของเส้นรอบวงของต้นแขน(กรณีวัดความดันที่แขน) โดยการแบ่งขนาดของ cuff ใช้อ้างอิง arm circumference เป็นหลัก


-arm circumference 22-26 cm ใช้ “small adult cuff” ขนาด 12X22cm
-arm circumference 27-34 cm ใช้ “ adult cuff” ขนาด 16X30cm
-arm circumference 35-44 cm ใช้ “large adult cuff” ขนาด 16X36cm
ระดับความยาก ♦♦


บทความนี้เหมาะสำหรับ แพทย์,
พยาบาล, ผู้สนใจที่มีความรู้ทางการแพทย์

-arm circumference 45-52 cm ใช้ “adult thigh cuff” ขนาด 16X42cm
Pseudohypertensionเป็นภาวะที่วัดความดันโลหิตได้สูงกว่าความเป็นจริง เนื่องจากเส้นเลือดมีการแข็งตัว (stiffness) เนื่องจากมีแคลเซียม
เกาะที่เส้นเลือดจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้ cuff pressure มากกว่าแรงดันโลหิต โดยมีค่าความดันโลหิตทั้ง systolic และ diastolic จากการวัดด้วย sphygmomanometer สูงกว่าการวัดแรงดันโดยตรงจาก artery 10 มม.ปรอทหรือมากกว่า





การจัดท่าผู้ป่วย

โดยปกติมักใช้ท่านั่งในการวัดความดันโลหิต ส่วนการวัดความดันโลหิต ในท่านอนจะมีความดันโลหิตที่แตกต่างจากท่านั่งเล็กน้อย คือ ความดัน systolic สูงขึ้น 2-3 มม.ปรอท และความดัน diastolic ลดลง 2-3 มม.ปรอท (6)


ในผู้สูงอายุ ควรวัดความดันโลหิตทั้งท่านอนและท่ายืน เพื่อดูภาวะ postural hypotension ซึ่งวินิจฉัยภายในเวลา 2-5นาทีของท่ายืน โดยมีความดันsystolic ลดลงอย่างน้อย 20 มม.ปรอท หรือมีความดัน diastolic ลดลงอย่างน้อย 10 มม.ปรอทหรือมีอาการของสมองขาดเลือดมาเลี้ยงเช่น วูบจะเป็นลม


ในการวัดความดันโลหิต ควรให้แขนที่วัดอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ ส่วนตัวเครื่องวัดอยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัด แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ (2) ทั้งนี้ถ้าระดับแขนอยู่ต่ำกว่าหัวใจ ก็จะมีความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นจาก hydrostatic pressure อันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นถึง 10-12 มม.ปรอท (5)


นอกจากนี้ ผู้ถูกวัดควรนั่งนิ่งๆ ประมาณ 5 นาทีก่อนวัด (4) แต่อย่างไรก็ตามก็อาจเกิดภาวะ white coat hypertensionซึ่งเป็นภาวะความดันโลหิตที่สูง ขึ้นจากความตื่นเต้น เฉพาะเมื่อพบแพทย์ พยาบาล โดยไม่ได้มีความดันสูงจริง พบภาวะนี้ได้ 20-30% (7) ซึ่งสามารถตรวจยืนยันได้โดยการติดเครื่องวัดความดันโลหิต 24 ชม. (24 hour ambulatory BP monitoring)

การวาง cuff ในท่านั่ง

ควรวางตรงกลางกระเปาะของ cuff อยู่บนตำแหน่ง brachial artery pulsation ถ้าผู้ป่วยใส่เสื้อแขนยาวที่หนา ควรถอด
ออก เพราะการพับแขนเสื้อขึ้น อาจรัดต้นแขนส่วนบนได้เหมือนการทำ tourniquet test และปลายขอบล่างของ cuff ควรอยู่สูงกว่าข้อพับแขน 2-3 ซม.

เทคนิคการวัดความดัน

ควรวัดความดันครั้งแรก โดยใช้การคลำ เพื่อประเมินค่าความดัน systolic คร่าวๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดauscultatory gap ขณะวัดความดันโดยใช้หูฟัง(5) (การวัดความดันโดยการคลำจะวัดได้เฉพาะความดัน systolic เท่านั้น)
หลังจากนั้นวัดความดันโดยใช้หูฟัง โดยบีบ cuff ให้สูงกว่าความดัน systolic ที่ได้จากการคลำ ประมาณ 30มม.ปรอท
แล้วค่อยๆปล่อยแรงดันลงช้าๆในอัตรา 2-3มม.ปรอทต่อ heart beat(ถือหลัก”ขึ้นเร็ว ลงช้า”)


การเกิด auscultatory gap คือการที่เสียง korotkoff หายไปบางช่วงในขณะวัดความดันโดยใช้หูฟัง ซึ่งทำให้ค่าความดันที่วัดได้ผิดพลาด ถ้าไม่ใช้เทคนิคที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น เช่น ผู้ป่วยมีความดันโลหิต systolic 190มม.ปรอท ได้ยินเสียงแรก(korotkoff phase I) ที่ 190มม.ปรอท เสียงหายไปในช่วง 160มม.ปรอท และกลับมาได้ยินเสียงอีกครั้งในช่วง 140มม.ปรอท ดัง
นั้นถ้าบีบcuff ขึ้นแรงดันเพียง 150มม.ปรอท ก็จะไม่ได้ยินเสียงจนถึง 140มม.ปรอท ทำให้คิดว่าเสียงที่ตำแหน่ง 140มม.ปรอทเป็น
korotkoff phase I หรือความดันโลหิต systolic ซึ่งผิดพลาดอย่างมาก
นอกจากนี้การวางหูฟัง(stethoscope) ก็มีความสำคัญ ขณะวัดความดันไม่ควรกดหูฟังแน่นเกินไป เพราะจะทำให้เกิดturbulence flow ทำให้เสียงหายไปช้ากว่าที่ควรเป็น ทำให้ค่าความดัน diastolic ต่ำกว่าความเป็นจริง ได้ถึง 10-15มม.ปรอท(5)เสียงที่ได้ยินขณะวัดความดันโลหิต(Korotkoff sound)


- Korotkoff sounds คือเสียงที่เกิดจากการไหลของเลือดขณะกำลังวัดความดันโลหิต มีทั้งหมด 5 phases คือ
phase I เสียงตุบแรก=SBP
phase II เสียงฟู่
phase III เสียงฟู่ที่ดังขึ้น
phase IV เสียงแผ่วลง(muffled)
phaseVเสียงหาย=DBP ยกเว้นกรณีaortic regurgitation จะใช้phaseIVเป็นDBPเพราะใกล้เคียงค่าdiastolic intraarterial
pressure(2,8)
(ปกติphaseVจะห่างจากphaseIVไม่เกิน10มม.ปรอท ถ้าเกินกว่านี้ให้บันทึกผลทั้งค่าphaseIV&V เช่น BP 142/54/10มม.ปรอท ซึ่ง
พบได้ในเด็ก.ภาวะhigh outputเช่น aortic regurgitation,เลือดจาง.โรคไทรอยด์เป็นพิษ)


ในการวัดความดันครั้งแรก ควรวัดความดันทั้ง 2 แขน แรก เพราะอาจไม่เท่ากันได้….ถ้าต่างกันมากกว่า10มม.ปรอท แสดงว่ามีการตีบของเส้นเลือดแดงที่มีความดันต่ำกว่า และให้ใช้ค่าความดันโลหิตข้างที่สูงเป็นหลัก


ในแต่ละครั้งที่ผู้ป่วยมาตรวจควรวัดความดันโลหิต2ครั้ง ห่างกัน1-2นาที ถ้าต่างกันมากกว่า5มม.ปรอท ให้วัดใหม่จนได้ค่าความดัน2 ครั้งติดกันต่างกันไม่เกิน5มม.ปรอท


การวัดความดันโลหิตที่ขา

สามารถวัดได้ โดยต้องใช้ขนาด cuff ที่เหมาะสม ในคนปกติการวัดความดันโลหิตที่ขา มักสูงกว่าที่แขนประมาณ 10-20%

การวัดความดันที่ข้อมือ

ใช้ได้ดีโดยเฉพาะในคนอ้วน หรือในรายที่ต้องการวัดความดันขณะออกกำลังกาย ค่าความดันที่ได้จะสูงกว่าความเป็นจริง เนื่องจากข้อมืออยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ ดังนั้นถ้าจะให้ได้ค่าที่ถูกต้อง ต้องให้ข้อมืออยู่ระดับเดียวกับหัวใจ



เอกสารอ้างอิง
1. Pickering, TG, Hall, JE, Appel, LJ, et al. AHA Scientific Statement: Recommendations for blood pressure
measurement in humans and experimental animals. Part 1: Blood pressure measurement in humans. Circulation
2005; 111:697.
2. Beevers, G, Lip, GY, O'Brien, E. ABC of hypertension. Blood pressure measurement. Part I Sphygmomanometry:
Factors common in all techniques. BMJ 2001; 322:981.
3. Beevers, G, Lip, GY, O'Brien, E. ABC of hypertension. Blood pressure measurement. Part II Conventional
sphygmomanometry: Technique of auscultatory blood pressure measurement. BMJ 2001; 322:1043.
4. O'Brien, E, Asmar, R, Beilin, L, et al. Practice guidelines of the European Society of hypertension for clinic,
ambulatory and self blood pressure measurement. J Hypertens 2005; 23:697.
5. O'Brien, E. Ambulatory blood pressure measurement is indispensible to good clinical practice. J Hypertens 2003;
21(suppl 2):S11.
6. Jamieson, MJ, Webster, J, Philips, S, et al. The measurement of blood pressure: Sitting or supine, once or twice? J
Hypertens 1990; 8:635.
7. Pickering, TG, James, GD, Boddie, C, et al. How common is white coat hypertension? JAMA 1988; 259:225.
8. Bailey, RH, Bauer, JH. A review of common errors in the indirect measurement of blood pressure.
Sphygmomanometer. Arch Intern Med 1993; 153:2741.



Create Date : 18 พฤษภาคม 2554
Last Update : 21 พฤษภาคม 2554 15:23:21 น.
Counter : 36417 Pageviews.

5 comments
  
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ ส่วนใครสน เครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือ ไปดูเพิ่มเติมได้ที่นี้นะครับ //diseasepressure.blogspot.com/
โดย: อนุสรณ์ IP: 58.11.241.130 วันที่: 24 มกราคม 2555 เวลา:22:45:03 น.
  
ขอบคุนมากๆค่า ^^ ความรู้ดีดี
โดย: เนิสน้อย IP: 223.207.160.59 วันที่: 1 กันยายน 2556 เวลา:1:43:33 น.
  

สวัสดีค่ะ คุณเนิสน้อย

ขอบคุณที่แวะมาที่บล็อกนะคะ

newyorknurse

โดย: newyorknurse วันที่: 1 กันยายน 2556 เวลา:2:14:25 น.
  
Hi,I log on to your new stuff named "การวัดความดันที่ถูกต้อง" like every week.Your writing style is awesome, keep it up! And you can look our website about [url=//www.aghanyna.com/arabic/songs/cat/sha3by]????? ????[/url].
โดย: ????? ???? IP: 188.165.201.164 วันที่: 4 มิถุนายน 2560 เวลา:12:46:39 น.
  
????? ???? IP

Thank you for read my blog and nice encourage '
โดย: newyorknurse วันที่: 4 มิถุนายน 2560 เวลา:17:09:09 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Newyorknurse.BlogGang.com

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ...   United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]

บทความทั้งหมด