Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
13 พฤศจิกายน 2564
 
All Blogs
 

Ladakh 2019 - หมู่บ้าน Sakti





 

ไกลออกไปจากเลห์ทางทิศใต้ราว 46 กม. จากแยก Kharu เมื่อเลี้ยวซ้ายก็จะผ่าน Chemery และมา
ถึงยัง  
Sakti หมู่บ้านชื่อแปลก ที่ฟังดูเหมือนออกไปทางลัทธิหนึ่งของฮินดูเสียมากกว่า ที่นี่มักถูกใช้เป็นทาง
ผ่านของผู้คนที่สัญจรเชื่อมไปยัง Nubra Valley ที่มีสถานที่โด่งดังอย่าง DeskitHundar (เป็นพื้นที่ทะเล-
ทรายที่คนชอบไปเช่าอูฐขี่กัน อูฐที่นั่นเป็นพันธุ์ bactrian camel มีสองหนอก
) และไกลโพ้นออกไปยังตะเข็บ
ชายแดนปากีสถานอย่างหมู่บ้าน 
Turtuk ผ่านแยกซ้ายไปยัง Wari La*... หรือจะตรงไปยังทะเลสาบชื่อดัง
อย่าง 
Pangong โดยผ่าน Chang Laและเลี้ยวขวาเข้าสู่หมู่บ้าน Tangste


* La หมายถึง ช่องเขาสูง 

 

จึงเป็นสาเหตุให้ หมู่บ้าน Sakti ที่มีแต่บ้านเรือนของผู้คนและท้องนา กลายเป็นจุดแวะพักกลางทาง
ของนักเดินทาง แม้จะมีเกสเฮาส์  ที่พักแนว farm stay ให้บริการอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีร้านค้า ร้านอาหาร
อย่างที่พบเห็นดาษดื่นตาม
แหล่งท่องเที่ยวปกติเท่าไหร่


 




⭗ ภายในร้านขายของเล็ก ๆ ท้ายหมู่บ้าน  บนโต๊ะมีถังสีที่มักถูกนำกลับมาใช้ใหม่เป็นที่ใส่อาหารและอื่น ๆ




ใกล้กับจุดรอรถประจำทาง ท้ายหมู่บ้านจะมีร้านขายของชำที่เหมือนยังไม่ได้เปิดแบบจริงจัง 
มีคนเฝ้าร้านอยู่  ที่ตั้งของโต๊ะเก้าอี้ที่อยู่มุมด้านในก็ยังดูไม่เป็นระเบียบนัก แต่
เราก็แวะเข้าไป
ถามหาชาร้อนมาดื่มสักหน่อย 


ถึงจะดูเหมือนยังไม่ได้เปิดร้านอย่างเป็นทางการนัก แต่ลุงผู้เป็นเจ้าของฯ ก็ให้คนดูแลช่วยจัดการ
ต้มนมเพื่อชงชาแบบอินเดียให้ บนโต๊ะมีถังสีขนาดกลางวางเอาไว้ คาดว่าคงใส่พวกของดองที่กินแก้
เลี่ยนแนว ๆ Indian pickle แบบที่เคยเจอ พอส่องดูแล้วกลับไม่ใช่  มันคือซัมป้า (ข้าวบาร์เลย์คั่วบด)

อย่างเคยเขียนถึงไว้ใน เอนทรี่ย์เก่า : อาหารท้องถิ่นของลาดัก

เราไม่แปลกใจในเรื่องการนำของมา reuse สไตล์คนแถวนี้สักเท่าไหร่ พวกเขาชอบเอาแกลลอน
พลาสติกใช้แล้ว มาเฉือนกว้านส่วนบนออกโดยเหลือที่จับหิ้วเอาไว้เพื่อใช้ตักน้ำ หรือที่เห็นบ่อย
คือเอาถังสีมาดัดแปลงเป็นกระถาง
ต้นไม้ ฯลฯ  คงเป็นของเหลือทิ้งมาจากงานก่อสร้าง มองแล้ว
ก็คิดว่าเป็นเรื่องดีนะ ใช้งานกันจนคุ้มเลย

พอถามลุงว่าจะขอลองชิมดูได้มั้ย แกก็จัดการเอาชามและช้อนมาให้ แถมน้ำตาลเผื่อปรุงรส
ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าเขากินกันยังไง พี่ที่เป็นคนดูแลร้านก็ตักซัมป้าลงในชาม แล้วก็ให้เทชานม
ในถ้วยลงไปผสมเอง ถึงจะไม่ได้เซียนจนสามารถคลุกแป้งผสมชาจนปั้นเป็นก้อนเพื่อกินแบบ
กะให้อิ่มท้อง  รสชาติที่ผสมนมต้มเพิ่มลงไปมันก็พอไหว ทำให้เรากินได้จนหมด  







จากที่รู้กัน ชาวลาดักฝั่งเลห์นี่นับถือพุทธเป็นส่วนมาก ตามหมู่บ้านก็มักจะมีวัดตั้งอยู่ ทีแรกไม่รู้นะว่า
ด้านบนมีอะไร บังเอิญว่าจุดลงจอดสุดทางของรถโดยสารก็คือหน้าวัด 
ก็เลยเริ่มต้นจากตรงนี้ เดินขึ้นไป
ตามบันไดที่ปูบนพื้นหิน ลัดเลาะผ่านอาคารหลังต่าง ๆ จนเจอกับทางเดินที่
พาเราไปสู่ “ถ้ำ” แห่งหนึ่งเข้า





⭗ บันไดที่สร้างไว้สำหรับเดินขึ้นเนินสูง ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดประจำหมู่บ้าน


⭗ พื้นที่ของหมู่บ้าน เมื่อผ่านมุมด้านบนจากวัด 

ไม่ต้องคิดไปไกลจนเป็นเรื่องแฟนตาซีเลยค่ะ มันไม่ใช่สถานที่ลึกลับขนาดนั้นเพราะมีการสร้างอาคารและ
สิ่งต่อเติมด้านนอกครอบเอาไว้  ตอนแรกที่เดินเข้าไป
ก็ยังคิดว่าคงเป็นอุโบสถหรือวิหารแบบที่อื่น บรรยากาศ
แวดล้อมแรกที่พบเจอก็คือ ห้องเก็บกันจูร์ (ไตรปิกฏ) 108 เล่ม 
มีพระพุทธรูป รูปเคารพอื่น ๆ  แบบพุทธทิเบต
และกองผ้าคาตักผืนขาวที่พาดสุม  ตรงเสาไม้กลางห้องทั้งสองมีหน้ากากของธรรมบาลติดแขวน จุดที่มีแสง
ธรรมชาติลอดผ่านเข้ามา ก็คือมุมด้านบนที่ต่อเติมให้มีวัสดุโปร่งแสงมาล้อมไว้


(Click ภาพที่ย่อไว้เพื่อดูภาพขนาดจริงได้ค่ะ)

 

         

⭗ ส่วนแรกของห้อง มีชั้นวางพระไตรปิฎก พระพุทธรูป หน้ากากธรรมบาล และลวดลายภาพวาดเก่าแก่บนผนัง
 



⭗ พื้นที่ด้านในสุด ที่อยู่ในส่วนของถ้ำ



ด้านในสุดที่เริ่มเห็นว่าเป็นลักษณะผนังถ้ำมืดทึบและดำ มีการเจาะช่องให้แสงลอดผ่านเข้ามาหนึ่งตำแหน่ง
บนผนังถ้ำถูกติดปะไปด้วย
เหรียญและธนบัตร มาทราบภายหลังว่าเคยเป็นถ้ำที่ กูรูรินโปเช มานั่งทำสมาธิใน
ศตวรรษที่ 8 
ประวัติของถ้ำดังกล่าวฟังดูแล้ว ก็คล้ายกับ ถ้ำในเมือง Rewalsar ที่เราเคยไปเมื่อปี 2015 เลย  
ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ผูกโยงเรื่องราวกับคุรุปัทมสัมภวะ (กูรู รินโปเช) หรือที่รู้จักกันในนามของ “พระพุทธ-
เจ้า
องค์ที่สอง” ตามความเชื่อของชาวพุทธวัชรยาน

ในช่วงที่นั่งอยู่ด้านในตามลำพัง ก็มีนักท่องเที่ยวต่างชาติสองรายที่เข้ามาเพิ่มเติม  พวกเขาน่าจะมากับรถรับ
จ้างและคงมีจุดหมายไปต่อยังที่อื่นต่อ  
พวกเขาหันมาทักทาย เรามีกล้องเล็ก ๆ ตัวหนึ่งแขวนห้อยไว้ สิ่งนี้น่า
จะ
ทำให้เดาไม่ยากว่าเป็นนักท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน

 

"เงิน เงิน เงิน...มีแต่เงินติดเยอะแยะไปหมด"

 

พวกเขาพูดจากสิ่งที่ได้เห็นตรงหน้า และก็คงมีข้อสงสัยเช่นเดียวกับเรา  
ในเวลานั้นไม่มีคนมาอธิบายสิ่งดังกล่าว จะมีก็แต่พระรูปหนึ่งที่มายืนเฝ้าดูความเรียบร้อย

 




⭗ ทางขึ้นไปยัง "ถ้ำ" ที่ในอดีต Guru Rinpoche เคยมานั่งสมาธิ




พอได้ใช้เวลากับที่ตรงนี้ไปแล้วเราก็ลงมายังลานข้างล่าง ที่มีเก้าอี้นั่งพัก พระอีกรูปหนึ่งที่ดูมีอายุ
ก็เข้ามาคุยด้วยแน่นอนว่าที่ถ้ำนั้นมีค่าเข้าและ
การที่เราเดินขึ้นมาผิดทาง ก็ทำให้ไม่ได้จ่ายค่าผ่าน
ประตูแต่แรก หลวงลุงถือเล่ม
ตั๋วมาโชว์ให้ดูว่าต้องเสียค่าบำรุงสถานที่ 50 รูปีนะ

พกแบงค์ห้าร้อยมา หลังจ่ายค่ารถก็ไม่มีเศษแล้ว ทีแรกว่าจะแตกเงินที่ร้านน้ำชาแต่ลุงแกก็ดันไม่
คิดค่าอาหาร   เราเลยถามถึงแบงค์ย่อยที่พอจะมีทอนให้มั้ย
พระก็รับไปพร้อมกับหายเข้าสำนักงาน
ครู่หนึ่งหลวงลุงแลกเงินมาให้เต็มจำนวน  
ก่อนที่จะส่งภาษามือสื่อท่าทาง โดยทำทีชักแบงค์ห้าสิบ
ออกมาแล้วเหมือนจะเ
ก็บเข้าไว้กับพระ  ท่านพูดอังกฤษไม่ได้ ฮินดีพอไหว และลาดักคล่องปร๋อ 
จากนั้นก็ฉีกตั๋วกระดาษให้ เลยได้รู้ชื่อสถานที่ก็คือ  Takthok Chhoskhor Padmaling 


ที่นี่เป็น นิกายนิงมาป(Nyingmapa) ซึ่งถือเป็นนิกายแรกของพุทธวัชรยานในทิเบต
​​​และเป็นวัดสังกัดนิกายนิงมาปะ แห่งเดียวในลาดัก ด้วยสร้างขึ้นเมื่อช่วงกลางศตวรรษที่ 16
โดยชื่อ Takthok มีความหมายแปลตรงตัวว่า "หลังคาหิน"  สามารถค้นข้อมูลอื่นเพิ่มเติมได้
จากชื่อ Takthok Gompa หรือ Takthok Monastery 




ส่วนคลิปนี้เราไปค้นเจอจากใน youtube ดูบรรยากาศแล้วเหมือนช่วงฤดูหนาว พระที่ใส่หน้ากากถือดาบ
เหมือนคนทรงผู้ทำหน้าที่พยากรณ์ ถูกเขียนระบุว่าเป็น Oracle mask dance  ซึ่งเป็นคนละงานกับเทศกาล 
ประจำปีของวัดที่ชื่อว่า Takthok Tsechu festival ในช่วงฤดูร้อน ที่จะมีการแสดงระบำหน้ากากเช่นกัน   





Youtube  : TSEWANG NORBU
Link ที่มา   : https://www.youtube.com/watch?v=JpOxodXNq9s





⭗ พระผู้หน้าที่ดูแลสถานที่ในวันนั้น และฉากหลังที่เป็นภาพวาดบนผนังตรงบริเวณร่มชายคาของลานวัด



 

ด้วยว่าเหตุเกิดจากความว่าง ไม่ได้รีบออกไปไหนต่อเหมือนนักท่องเที่ยวคู่นั้นพระก็ชวนดื่มชา
โดยหลังจากเอาเงินไปเก็บที่สำนักงาน  หลวงลุงก็ออกมาพร้อมกับถ้วยใส่ชานมร้อนสองใบ  

จำได้แค่ว่าพระบอกให้ลองเดินไปอีก 4 กิโลเมตร แล้วจะเจอกับวัดอีกแห่งที่ใหญ่โตกว่านี้ตอนแรก
ไม่เข้าใจนะว่าหมายถึงอะไร
(ที่จริงแล้วท่านหมายถึง Chemery หมู่บ้านที่เราเคยผ่านตอนขามา)
ก็ไม่ได้เดินไปตามคำชี้แนะหรอก หลุดจากหมู่บ้าน  Sakti ไปแล้วมันก็ไม่ค่อยร่มรื่นเท่าไหร่ วันนี้
ตั้งใจมาตระเวนเที่ยวรอบหมู่บ้านอย่างเดียวน่ะ






⭗ ตำแหน่งบ้านบริเวณผืนนา เขตแนวรั้วกั้น และวัว 



⭗ ต้นข้าวบาร์เลย์ หรือที่ชาวลาดักเรียกว่า Nas    

ช่วงนี้เป็นฤดูเก็บเกี่ยว รวงข้าวที่เริ่มสุกดูเป็นสีเหลืองทองอร่ามมาก
ความจริงก็แยกไม่ออกหรอกว่าเป็นข้าวสาลีหรือบาร์เลย์กันแน่  แต่พืชหลักที่เพาะปลูกกัน
มาแต่ไหนแต่ไรในลาดักก็คือข้าวบาร์เลย์ ผลผลิตที่นำไปแปรรูปนอกเหนือจากที่เอาไปบด
เป็นซัมป้า ก็จะถูกนำไปหมักเบียร์ ที่เรียกว่า ชาง
(chang) และกลั่นเป็นสุราหรือที่เรียกว่า
อารัก
(Arak) แม้จะฟังดูเป็นเรื่องของสุราเมรัยแต่ก็มีพิธีกรรมหลายอย่างที่นำ 'ชาง' มาใช้
เป็นหนึ่งในองค์ประกอบเสมอ 



หลักเกณฑ์ในการปลูกพืชของลาดักจากที่ทราบมาก็คือ :

* ...พื้นที่สูงกว่าหนึ่ง 10,000 ฟุต ซึ่งมีระยะการเพาะปลูกสั้น ๆ เพียงแค่ 4 เดือน การตัดสินใจ
ว่าจะปลูกอะไรล้วนแทบจะถูกกำหนดมาแต่แรก พืชหลักก็มักเป็นข้าวบาร์เลย์ อาหารหลักคือ
แป้งข้าวบาร์เลย์บด
(งัมเฟ ) ราว 2/3 ของพื้นที่เล็ก ๆ ใช้ปลูกถั่ว และทำสวนเทอร์นิป
ในหุบเขาที่มีความสูงต่ำกว่า
11,000 ฟุต ก็จะมีการทำสวนแอปพริคอตและวอลนัต ส่วนตาม
หมู่บ้านที่อยู่ในเขตสูงขึ้นไป ซึ่งแม้แต่ข้าวบาร์เลย์ก็ไม่อาจงอกงามได้
ชาวบ้านส่วนใหญ่มีชีวิต
อยู่ได้ด้วยการเลี้ยงสัตว์...

* คัดลอกจากบทที่ 1: ดินแดนทิเบตน้อยอนาคตอันเก่าแก่ (Ancient Futures), Helena Norberg-Hodge



ระยะห่างของปีที่ได้อ่านจากบันทึกด้านบน อยู่ไกลจากปัจจุบันราวสี่สิบกว่าปีแล้ว
เฮเลนน่า เดินทางเข้ามายังลาดักครั้งแรกในปี ค.ศ.
1975 ในฐานะนักภาษาศาสตร์
ผู้ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลทาง
ภาษา และวัฒนธรรม นิทานพื้นบ้าน เพลงท้องถิ่น ฯลฯ 
จากการได้ใช้เวลาพำนักอาศัยและเรียนรู้
จึงกลายเป็นความผูกพัน  เธอได้เห็นความเปลี่ยน
แปลงของลาดักหลังจากถูกเปิดให้โลกภายนอกได้เข้า
มาเยือน พร้อมสิ่งแปลกปลอมที่ส่ง-
ผลกระทบให้วิถีชีวิตของผู้คนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป



ลาดัก กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เธอก่อตั้งสมาคมนานาชาติเพื่อนิเวศวิทยาและวัฒนธรรม
(International Society for Ecology and Culture : ISEC) ขึ้นมา ชื่อปัจจุบันขององค์กรนี้
คือ Local Futures ที่เน้นการส่งเสริมและขับเคลื่อนทางวัฒธรรมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไป
กับวิถีความยั่งยืน

นอกเหนือจาก Ancient  Futures (1991) หนังสือเล่มใหม่ของเธอที่เพิ่งตีพิมพ์ 
ก็คือ Local is Our Future (2019) ไม่รู้ว่ามีแปลเป็นภาษาไทยแล้วหรือยังนะ 

 

 

ถึงจะไม่ได้คาดหวังที่จะเห็นภาพอดีต หรือคิดจะอยากให้ทุกอย่างดูเหมือนถูกหยุดเวลาไว้
เราอยากมาเก็บภาพของหมู่บ้านที่อยู่นอกตัวเมือง ที่น่าจะยังมีร่องรอยของความเป็นอยู่และ
สภาพแวดล้อม ตามที่เคยได้อ่านมาไม่มากก็น้อย ภาพถ่ายที่หมู่บ้าน Sakti เหล่านี้ จะไม่ได้
มุ่งเน้นเพื่อการท่องเที่ยว แต่อย่างน้อยก็เก็บเอาไว้ดูในอนาคตข้างหน้าว่า สภาพแวดล้อมที่
เห็นในปัจจุบันนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง 





⭗ คนงานกำลังเก็บเกี่ยวข้าว 
 

        

[คำบรรยายใต้ภาพเรียงจากซ้ายไปขวา]

⭗  ฟางที่สุมกองไว้ และเครื่องจักรสำหรับบดย่อย

⭗  เด็กท้องถิ่นกำลังเดินอุ้มขวดน้ำอัดลมยี่ห้อ mountain dew ผ่านมา

⭗  วัวอ้วน หมอบนอนลงบนผืนนาที่เก็บเกี่ยวจนโล่งโกร๋น




⭗ แนวหินที่ก่อไว้สำหรับกั้นเขต พื้นที่เพาะปลูกตรงนี้มีการแบ่งออกสำหรับพืชชนิดอื่นด้วย




⭗ คนงานกำลังขับรถแทร็กเตอร์ขนนำหญ้าที่สุมอยู่ตรงกระบะพ่วงท้ายไปไว้ที่ไหนสักแห่ง คงถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์



แหล่งน้ำ และการลำเลียง



⭗ ร่องดินที่ขุดสำหรับให้น้ำไหลส่งไปยังแอ่งพักน้ำ

        

⭗ ธารน้ำไหลกลางหมู่บ้าน

⭗ กองหินและเศษผ้าเก่าที่นำมาใช้ปิดเส้นทางน้ำเพื่อกำหนดทิศทาง
โดยกติกาการใช้น้ำจะต้องมีการตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วในชุมชน

⭗ ภาพตัวอย่างของร่องที่ขุดเพื่อผันน้ำเข้าสู่พื้นที่





พลังงาน สัตว์ใช้แรงงาน และเชื้อเพลิง

        

⭗ กองมูลสัตว์ที่ผ่านการปั้นรูปให้เป็นทรงกลมแบน ถูกนำมาเรียงตากไว้เพื่อเก็บไว้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม

⭗ โซ (DZO) ลูกผสมระหว่างวัวและจามรี ที่เดาว่ามันเป็น โซ เพศผู้เพราะเห็นมันวุ่นวายกับการวิ่งไล่ตามวัวตัวเมีย 

⭗ แผงโซลาร์เซล ขนาดใหญ่ที่มีจุดตั้งอยู่กลางลานกว้าง น่าจะเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าหลักของที่นี่





⭗ เสาไฟฟ้า และสายไฟ 


สิ่งก่อสร้าง และ บ้านเรือน 

           

⭗ บ้านเรือนและคอกสัตว์ ที่บนหลังคาเริ่มมีการนำฟาง หญ้า พืชตระกูลถั่ว มาสุมวางด้านบน
เพื่อกักเก็บไว้เป็นอาหารสัตว์ในฤดูหนาว รวมถึงใช้คลุมเพื่อความอบอุ่นในอาคารด้วย

⭗ แนวกำแพงทางเดินในหมู่บ้าน 

⭗ กิ่งไม้จากต้นวิลโลว์ ที่นำมากองพาดเอาไว้ที่ซอกกำแพง มันอาจนำไปใช้ต่อเติม
ซ่อมแซมฝ้าเพดานในงานก่อสร้าง หรือไม่ก็นำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น



        

⭗ กงล้ออธิษฐาน

⭗ กลุ่มสถูปขาวและธงมนตราที่โยงผูก ตั้งอยู่บริเวณท้ายหมู่บ้าน

⭗ แท่นปูนทรงเหลี่ยม บริเวณด้านบนมีการก่อวางแผ่นปูนเอนทำมุมเข้าหากันเป็นปลายแหลม
เห็นมีอยู่ทุกหมู่บ้าน (แต่ไม่แน่ใจว่ามันเรียกว่า Nyitho หรือเปล่านะ จากคำบรรยายในหนังสือ
กล่าวว่ามันเป็นเสาทรง obelisk ตั้งเหนือหมู่บ้านบนทิศตะวันออก ใช้เป็นปฎิทินสุริยคติเพื่อบอกฤดูกาล) 






⭗ หน้าโรงเรียน Manjushri Lamdon Model School สาขา Sakti และรถรับส่งนักเรียน
มีภาษิตโรงเรียนเขียนไว้บนกำแพงด้านหน้าด้วยว่า  Come to Learn, Leave to Serve




เส้นทาง และผู้สัญจรผ่านมา



⭗ นักเดินทางที่แวะสัญจรผ่านมาด้วยการขับรถมอเตอร์ไซค์ 


        

⭗ ป้ายบอกทางไปยังทะลสาบ Pangong และทางแยกไปยัง Wari La 

⭗ ยวดยานพาหนะที่วิ่งผ่านไปตามไหล่เขา มองจากตรงนี้จะเห็นรถเป็นจุดเล็กนิดเดียว

⭗ ป้ายแจ้งเตือนให้ยระวังเด็กวิ่งข้ามถนน บนเนินเขาด้านหน้า
ดูเหมือนมีสิ่งก่อสร้างเก่าที่ผุกร่อนหลงเหลือให้เห็น





ใช้เวลาอยู่ที่หมู่บ้าน เกือบทั้งวันถึงจะดูเหมือนไม่ค่อยมีผู้คนมากนักก็ตาม น่าแปลกใจตอนมารอรถกลับ
ตรงที่เก่าเราได้เจอกับคนท้องถิ่นที่ออกมายืนรอรถเหมือนกัน กลุ่มเด็กนักเรียนที่เดินทางกลับบ้านเองจะพา
กันไปดักรอรถประจำทางกันที่ศาลาถัดไป ทั้งวันนี้ เราแทบไม่เห็นนักท่องเที่ยวอื่นที่แวะมาเยือน ยกเว้นชาว
ต่างชาติสองรายที่วัด แต่ก็เป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ   ไม่น่าเชื่อว่า ช่วงบ่าย 4 ที่ใกล้ตกเย็นขนาดนี้แล้วจะยัง
ทันได้เห็นนักเดินทางอีกรายหนึ่งในหมู่บ้าน เขาใช้จักรยานในการเดินทาง มีกระเป๋าใส่สัมภาระด้านหลังที่วาง
พาดซ้ายขวา ปั่นผ่านหน้ามาแบบเรื่อย ๆ ไม่รีบร้อน น่าอิจฉานะ ถ้ามีเวลาหรือมีจักรยานดี ๆ สักคัน  เราเองก็
อยากทำแบบนี้บ้าง  






⭗ พื้นที่ชุ่มน้ำและร่มไม้ จุดจอดพักของรถโดยสาร เป็นที่งีบหลับของคนขับเพื่อรอเวลาตีรถกลับไปยังเลห์ รอบบ่าย 4



⭗ พุ่มดอกไม้ริมทางสีเหลืองกอใหญ่  มันมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหย เราชอบเด็ดมันมาดมหากพบเจอระหว่างเดินทางไกล 
ต้นดอกเหลืองมีชื่อเรียกท้องถิ่นว่า Khamchu (วงศ์ ASTERACEAE) หาค้นได้จากชื่อ Tanacetum gracile 
ส่วนต้นที่มีดอกม่วงคือ sTag-sha-nagpo (วงศ์ FABACEAE) ชื่อสามัญ Small Leaved Locoweed





⭗ วิวข้างทางที่ถ่ายจากบนรถประจำทางช่วงขากลับตอนเย็น 
อาคารหลังขาวที่ตั้งบนเนินเขาไกล ๆ ก็คือ Chemery Monastery (ถ่ายจากมือถือ)  

 




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2564
15 comments
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2564 14:49:23 น.
Counter : 990 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmultiple, คุณtoor36, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณKavanich96, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณtuk-tuk@korat, คุณเจ้าหญิงไอดิน, คุณnewyorknurse, คุณกะว่าก๋า, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก

 

วัดก็เป็นแบบทิเบตนะครับ อากาศดีแร้งอยู่เหมือนกัน ฝุ่นเยอะด้วย

เที่ยวลักษณะนี้ผมนึกไม่ออกเลยว่าถ้าตัวเองไปเที่ยวจะอยู่ได้นานแค่ไหน

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 13 พฤศจิกายน 2564 21:32:40 น.  

 

เปิดทริปมา น้องฟ้าก็ซด มาม่าต้มยำกุ้ง ไม่ใช่ซิ555
เดาว่าอากาศเย็นๆแบบนี้ ต้องเติมสารเพิ่มพลังงาน ชาร้อนๆ+ซัมป้า
ถึงจะมีแรงปีนป่าย เพราะมันไม่ใช่ความสูงระดับธรรมดา 10000ฟุต
โอ๊ย ถ้าเป็น อ.เต๊ะ นี่ ต้องขอออกซิเจน ซี้ด ทุก50เมตร แน่ๆเลย555

อ.เต๊ะ อ่านแล้วก็ พยายามนึกภาพตาม หมู่บ้านเล็กๆ แต่มีอารามลึกลับ เหมือนเป็นถ้ำซ่อนตัวอยู่ แต่ภายนอก
ดูก็เหมือนอาคารทั่วไป ครอบอยู่อีกที ที่แท้ก็คือ Takthok Monastery อันโด่งดังนี่เอง แถมเกือบจะได้ดูฟรีอยู่แล้ว
สงสัยคนน้อย รอบนี้ 1 คน หลวงพี่เลยจำแม่นตามมาเก็บเงินทัน 555

สังเกตอาคารในแถบนี้ น่าจะเป็นเพราะภูมิประเทศที่มีแต่ขุนเขา และความแห้งแล้ง ซะส่วนใหญ่ นานๆจะเห็นพื้นที่สีเขียว
อาคารเลยต้องใช้สีสดๆ ตัดกับภูมิประเทศ ดูโดดเด่นสดุดตาเอามากๆ

ภาพ บันไดที่สร้างไว้สำหรับเดินขึ้นเนินสูง นี่ องค์ประกอบได้เลย
งามมาก

ปล.ยังเม้นท์ไม่จบจ้า แต่ง่วงมาก เดี๋ยวพรุ่งนี้มาต่อน้า 555


 

โดย: multiple 13 พฤศจิกายน 2564 22:10:07 น.  

 

ภูเขาที่เห็นไม่มีต้นไม้ขึ้นเลย แต่ที่ราบยังพอมีต้นไม้ให้ร่มเงา
จากคลิปพระธิเบต เล่นการแสดงได้ด้วย

 

โดย: สองแผ่นดิน 13 พฤศจิกายน 2564 23:27:41 น.  

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

โดย: Kavanich96 14 พฤศจิกายน 2564 4:55:33 น.  

 

ความเดิมตอน เอ๊ยเม้นท์ที่แล้ว ไม่ใช่ซินะ555

มองผ่านสายตานักเดินทาง อาจจะเพราะสภาพภูมิประเทศ
ดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ จะเป็นตัวกำหนด วิถีชีวิต
ที่ต้องพึ่ง การเกษตร+เลี้ยงสัตว์ คงจะมาตั้งตัว เป็นyoutuber
ทำ content แปลกๆ หรือ เจ้าแม่ ใบ้หวย แบบบ้านเราก็คงไม่มีใครดู

อ้าวลืมไป ไฟฟ้ายัง ต้องพึ่งพา แสงแดด งั้นสัญญาน 5G คงไม่มีแน่
แต่ดูแล้ว น่าจะเหมาะ กับคนอย่าง อ.เต๊ะ ที่ไม่เล่นไลนื เล่นเฟซ ไม่อัพบล็อกบ่อย อิอิ

เพื่อนๆที่ขยันอัพบล็อก ร้อง เดี๊ยะๆ เอามันซักป๊าบซะดีมั้ย555

ต้องออกแนว ชอบสำรวจธรรมชาติ ปีนป่ายเดินทน จักรยานเสือภูเขา มอไซค์วิบาก กางเต๊นท์นอนริมลำธาร กล้องซักตัว นอนดูดาว นั่ง sketchภาพ
กินอยู่ง่ายๆ ทำบาบีคิว เนื้อ โซกิน อิอิ

น้องฟ้า อ่านแล้ว กลืนน้ำลายเอื๊อกก เอ็งห้ามมาแย่ง สันใน กะไส้อ่อน ข้าเด็ดขาด ข้าจองไอ้ตัวในรูป อุ๊บอิ๊บ555
ข้ากินแต่ ชากับ ซัมป้า มาครึ่งเดือนแล้ว

ข้าหิวววๆๆๆๆ น้องฟ้าตะโกนเสียงก้องหุบเขา +เอคโค่ด้วย เย้ย 555

เผ่นดีกว่าเรา เดี๋ยวจะโดนไม่ใช่น้อย 555

 

โดย: multiple 14 พฤศจิกายน 2564 5:19:13 น.  

 

ส่งข่าวaddsiripun คุณแม่พลทหารไรอัน
ถึงแก่กรรม เมื่อเย็นวันเสาร์ที่ 13 พ.ย 2564

 

โดย: เริงฤดีนะ 15 พฤศจิกายน 2564 7:24:40 น.  

 

แวะมาก่อนเดี๋ยวมาละเลียดอ่านใหม่ค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 16 พฤศจิกายน 2564 12:05:26 น.  

 

ต้องเปิดแผนที่ดูไปด้วยค่ะ
ชอบความสงบจัง

 

โดย: tuk-tuk@korat 16 พฤศจิกายน 2564 12:44:53 น.  

 

ตามมาเที่ยว
น่าสนใจมากค่ะสถานที่เที่ยว

 

โดย: เจ้าหญิงไอดิน 16 พฤศจิกายน 2564 17:03:11 น.  

 


มาเที่ยวด้วยค่ะ

 

โดย: newyorknurse 17 พฤศจิกายน 2564 3:35:05 น.  

 

ขอบคุณข่าวจากเพจนะครับน้องฟ้า
พี่ก๋าชอบอ่านคำสอนของท่านทะไล ลามะครับ



ถ้าน้องฟ้าเป็นไกด์นำเที่ยว
พี่ว่าลูกทัวร์โชคดีมากๆเลยนะ
เที่ยวแบบลุยเข้าไปแบบสัมผัสของจริง
เจอบรรยากาศที่ไม่มีวันเจอจากทัวร์ท่องเที่ยว
แบบนี้เจ๋งกว่าเยอะเลย

 

โดย: กะว่าก๋า 17 พฤศจิกายน 2564 13:39:14 น.  

 

สวัสดีครับน้องฟ้า

 

โดย: กะว่าก๋า 18 พฤศจิกายน 2564 6:06:20 น.  

 

เห็นพื้นที่ ดินปนหิน คงจะเพาะปลูกพืชยาก เดาเอาว่าปลูกข้าว
สาลี และพื่ชบางอย่าง อ่านดูแล้วเดาใกล้เคียง

ที่จะดีกว่าไทยเรา ก็คงอากาศที่่เย็นสบายกว่าไทย น่าสนใจครับ

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 20 พฤศจิกายน 2564 20:24:42 น.  

 

บล๊อกที่แล้ว (Thiksay Monastery) ถามถึงเสียงเครื่องเป่าที่ทรงยาว ๆ ว่าเป็นยังไง พออ่านบล๊อกนี้รู้แล้ว แต่เจ้าของคลิปเค้าถ่ายได้น่าหวาดเสียวจังแฮะ ถ่ายซะใกล้เลย พระกำลังรำดาบฉัวะ ๆ อยู่ กลัวโดนลูกหลงอะ ^^"


บันไดที่เดินขึ้นวัดประจำหมู่บ้านชันมาก แต่ก็คุ้มกับการขึ้นไปเหมือนกัน ชอบรูป [พื้นที่ของหมู่บ้าน เมื่อผ่านมุมด้านบนจากวัด] ถ่ายมุมสวยดี มองเห็นหมู่บ้านแบบกว้าง ๆ เลย


ลักษณะภูมิประเทศแถบนี้ที่มีหินใหญ่ฝังอยู่ทั่วที่ราบแปลกดีแฮะ แต่พื้นที่แบบนี้ใช้ปลูกอะไรก็ไม่ได้ด้วยสิ นอกจากปล่อยให้หญ้าขึ้นให้สัตว์กินแล้ว ใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นน่าจะลำบากแฮะ


ต้นพุ่มดอกไม้สีเหลืองสวยจัง ชอบมาก ลองเอาชื่อไปค้นดูไม่เจอ อ๋อ ชื่อวงศ์ ASTERACEAE พิมพ์ตัว R เกินมาตัวนึงนี่เอง

 

โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก 21 พฤศจิกายน 2564 23:35:50 น.  

 

ู^

Thank you หลาย แก้ไขแล้วฮะ

คลิปที่พระเป่า Dung-chen น่ะมีอยู่
แต่ยังไม่รู้ว่าจะเอามาลงยังไง
ถ่ายสั้นกุดแค่ 26 วิ

 

โดย: กาบริเอล 22 พฤศจิกายน 2564 15:57:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


กาบริเอล
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




ชอบต้นไม้, แมว, หนังสือ
และออกเดินทางท่องเที่ยวบ้าง

ไม่ชอบพบปะผู้คนมากนัก
เป็นมนุษย์จำพวก introvert

การเขียนบล็อก
คืออีกพื้นที่บอกเล่าผ่านตัวอักษร
และตัวตนของเราก็อยู่ในสิ่งที่เขียนค่ะ

ขอบคุณ Bloggang
สำหรับพื้นที่แบ่งปันตรงนี้

....

เริ่มต้นลงบันทึกอย่างเป็นทางการ
ณ วันที่ 16 ม.ค. 2014


###ไม่สะดวกพูดคุยหลังไมค์นะคะ###

© ขอสงวนลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย 
ห้ามนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข 
โดยไม่แจ้งที่มา ก่อนได้รับอนุญาต


New Comments
Friends' blogs
[Add กาบริเอล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.