....OUR FAMILY'S JOURNEY....
ช้างกระบานที่บึงสีฐาน ครั้งที่ 2 (ตอนที่ 2)

Title


ช้างกระบานที่บึงสีฐาน ครั้งที่ 2
(ตอนที่ 2 สกุลต่างๆ)



ต่อเนื่องจากตอนที่ 1 ที่นำเสนอกล้วยไม้สกุลช้างไปแล้ว ตอนนี้จึงเป็นการนำเอาบางส่วนที่เขาเอาเข้าประกวดในงานมานำเสนอต่อ ที่จริงมีกล้วยไม้ที่สวยงามมากมาย ผมได้ถ่ายภาพไว้กว่า 200 ภาพ แต่ไม่สามารถนำมาลงให้ได้ชมทั้งหมด เอาเป็นอันว่าถ้าใครชอบกล้วยไม้ ถ้าได้ไปงานนั้นจะไม่ผิดหวังครับ

ราคาที่เขานำไปวางขาย มีตั้งแต่ 10 บาท - เป็นแสนบาท(ตกแต่งแล้ว)ครับ หลากหลายมาก มาจากหลายๆสถานที่ ทั้งจากฟาร์มใหญ่และเลี้ยงเองที่บ้าน....

ตอนที่สองที่นำมาเสนอมีกล้วยไม้บางชนิดผมก็ลืมชื่อไป ต้องขออภัยด้วยแต่ผมมีเวปไซท์อ้างอิงไว้สำหรับท่านต้องการอ่านเพิ่มเติม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้รู้ที่ผ่านเข้ามาอ่านคงจะกรุณาเผื่อแผ่ความรู้แก่เราบ้างนะครับ.


สกุลแคทลียา (Cattleya)

แคทลียาที่พบในธรรมชาติมี 53 ชนิด เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกา แม็กซิโกลงไปจนถึงประเทศในแถบอเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้ แคทลียาปลูกเลี้ยงง่าย สามารถเจริญงอกงามได้ในสภาพแวดล้อมได้เกือบทุกแห่งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนชื้น ซึ่งทำให้กล้วยไม้ในสกุลแคทลียาสามารถกระจายพันธุ์ไปได้ทั่วโลก ในปัจจุบันนอกจากแคทลียาสายพันธุ์แท้แล้ว มนุษย์ยังสามารถผสมพันธุ์แคทลียาออกมาเป็นแคทลียาลูกผสมอีกมากมายที่สามารถเลี้ยงง่าย โตเร็ว และมีดอกที่สวยงามแปลกตามากขึ้น ทำให้กล้วยไม้สกุลนี้เป็นกล้วยไม้ที่สามารถสร้างผลผลิตเพื่อเป็นการค้า สร้างรายได้อย่างมหาศาล







แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกค่อนข้างใหญ่และมีลักษณะที่โดดเด่นกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ด้วยเหตุนี้กล้วยไม้ในสกุลแคทลียาจึงถือว่าเป็นตัวแทนของดอกไม้ในกลุ่มของกล้วยไม้ทั้งหมด นอกจากสกุลแคทลียาแล้ว Cattleya ยังมีกล้วยไม้สกุลอื่นที่จัดอยู่ในกลุ่มของแคทลียา (Cattleya relatives *) หรือสกุลใกล้เคียงซึ่งจัดอยู่ประเภทกล้วยไม้สกุลแท้ ได้แก่

- Barkeria (Bark.)
- Brassavola (B.)
- Broughtonia (Bro.)
- Encyclia (Encycl.)
- Epidendrum (Epi.)
- Euchile
- Laelia (L.)
- Leptotes (Lpt.)
- Rhyncholaelia (Rhynch.)
- Schomburgkia (Schom.)
- Sophronotis (Soph.)
(*ข้อมูลอ้างอิงจาก: www.cattleyaorchidsource.com)









ลักษณะโดยทั่วไปของแคทลียาคือ ลำลูกกล้วยมีรูปร่างต่างกันไป บางชนิดอาจสั้นแต่อ้วน มีใบติดอยู่ 1-2 ใบที่ส่วนปลายของลำลูกกล้วยเท่านั้น โคนลำจะมีกาบบางๆ หุ้มอยู่ เห็นได้ชัดในลำใหม่ที่กำลังเจริญ ใบส่วนมากแบน แต่มีบางชนิดใบกลมรูปทรงกระบอก ใบอาจมีหรือไม่มีกาบ ดอกออกที่ยอด มีทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกชั้นในจะกว้างกว่ากลีบดอกชั้นนอก ปากมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกอื่นๆ ทั้งหมด เส้าเกสรมักยาวและไม่มีฐาน เกสรตัวผู้จะมีเรณู 4 หรือ 8 ก้อน เรณูเป็นก้อนแข็งกลมแบนและมีก้าน กล้วยไม้ในกลุ่มนี้มี 8 สกุล จำแนกได้ดังนี้

1. มีเรณู 4 ก้อน
1.1 ปากเชื่อมติดกับเส้าเกสร
1.1.1 เฉพาะส่วนโคนปากเท่านั้นที่เชื่อมติดกับเส้าเกสร ระหว่างรังไข่กับกลีบชั้นนอกเป็นโพรงอย่างชัดเจน ได้แก่ สกุลบรอจโทเนีย (Broughtonia)
1.1.2 ปากเชื่อมติดกับเส้าเกสรมากกว่า ปลายรังไข่ไม่เป็นโพรงอย่างชัดเจน ได้แก่ สกุลอีปิเด็นดรัม (Epidendrum)

1.2 ปากไม่เชื่อมติดกับเส้าเกสร
1.2.1 ปากแผ่แบนและมีกระเปาะ 2 ข้างใกล้โคนปากด้านบน ได้แก่ สกุลไดอาคริอัม (Diacrium)
1.2.2 ปากส่วนมากจะโอบรอบเส้าเกสร ไม่มีกระเปาะ ได้แก่ สกุลแคทลียา (Cattleya)

2. มีเรณู 8 ก้อน
2.1 ยอดเกสรตัวเมียเป็นแอ่งกลวงด้านหน้าเส้าเกสร จากโคนปากเล็กถึงแผ่นปากจะค่อยๆ ขยายแผ่ออก
2.1.1 ปากโอบรอบเส้าเกสร กลีบดอกชั้นนอกและชั้นในมีขอบที่ไม่เป็นคลื่น ได้แก่ สกุลลีเลีย (Laelia)
2.2.2 ปากไม่โอบหุ้มเส้าเกสร ขอบกลีบดอกชั้นนอกและชั้นในเป็นคลื่นอย่างชัดเจน ได้แก่ สกุลชอมเบอร์กเกีย (Schomburgkia)
2.2.3 โคนปากโอบรอบชิดเส้าเกสรแต่ส่วนปลายปากแผ่บานออก ได้แก่ สกุลบราสซาโวลา (Brassavola)

2.2 แอ่งเกสรตัวเมียโผล่ยื่นขึ้นออกมาเหนือปลายสุดของเส้าเกสรและแยกเป็น 2 แฉก ได้แก่ สกุลโซโฟรนิติส (Sophronitis)









ได้มีการนำเอาแคทลีียาไปผสมพันธุ์กับกล้วยไม้ในกลุ่มเดียวกันนี้มากมาย เมื่อเป็นการผสมข้ามสกุลชื่อสกุลก็ย่อมต้องเปลี่ยนไป แต่ในวงการกล้วยไม้ยังคงเรียกว่า แคทลียา อยู่เหมือนเดิม แม้แต่การตัดสินการประกวดกล้วยไม้ก็ยังจัดกล้วยไม้เหล่านี้เป็นกลุ่มแคทลียา โดยอาจจะแบ่งเป็นประเภทแคทลียาดอกเล็กกับแคทลียาดอกใหญ่ หรืออาจแยกตัดสินตามสี เป็นต้น สำหรับผู้เริ่มเลี้ยงกล้วยไม้ หรือผู้สนใจทั่วไปอาจสังเกตจากป้ายชื่อกล้วยไม้ที่ติดอยู่โดยดูจากอักษรย่อชื่อสกุล ก็จะทราบว่าเป็นสกุลผสมระหว่างอะไรกับอะไร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ลูกผสมสองสกุลเฉพาะที่มีแคทลียาผสมอยู่ด้วย
- บลาสโซแคทเลยา Brassocattleya (Bc.) ลูกผสมระหว่าง Brassavola กับ Cattleya (B. x C.)
- แคทเลโทเนีย Cattleytonia (Ctna.) ลูกผสมระหว่าง Broughtonia กับ Cattleya (Bro. x C.)
- ไดอาแคทเลยา Diacattleya (Diaca.) ลูกผสมระหว่าง Diacrium กับ Cattleya (Diacm. x C.)
- อีีปิแคทเลยา Epicattleya (Epc.) ลูกผสมระหว่าง Epidendrum กับ Cattleya (Epi. x C.)
- ลีลิโอแคทเลยา Laeliocattleya (Lc.) ลูกผสมระหว่าง Laelia กับ Cattleya (L. x C.)
- ชอมโบแคทเลยา Schombocattleya (Smbc.) ลูกผสมระหว่าง Laelia กับ Cattleya (Schom. x C.)
- โซโฟแคทเลยา Sophrocattleya (Sc.) ลูกผสมระหว่าง Sophronitis กับ Cattleya (Soph. x C.)








ลูกผสมสามสกุลเฉพาะที่มีแคทลียาผสมอยู่ด้วย
- ฮุกเกอรารา Hookerara (Hook.) ลูกผสมระหว่าง C. x B. x Diacm.
- วอจนารา Vaughnara (Vnra.) ลูกผสมระหว่าง C. x B. x Epi.
- บราสโซลีลิโอแคทเลยา Brassolaeliocattleya (Blc.) ลูกผสมระหว่าง B. x C. x L.
- ดิเค็นซารา Dekensara (Dek.) ลูกผสมระหว่าง B. x C. x Schom.
- รอล์ฟฟีรา Rolfeara (Rolf.) ลูกผสมระหว่าง B. x C. x Soph.
- ลีลิโอแคทโทเนีย Laeliocatonia (Lctna.) ลูกผสมระหว่าง Bro. x C. x L.
- ไดอาลีลิโอแคทเลยา Dialaeliocattleya (Dialc.) ลูกผสมระหว่าง C. x Diacm. x L.
- มิสซุทารา Mizutara (Miz.) ลูกผสมระหว่าง C. x Diacm. x Schom.
- อีปิลิลิโอแคทเลยา Epilaeliocattleya (Eplc.) ลูกผสมระหว่าง C. x Epi. x L.
- ลีโอนารา Lyonara (Lyon.) ลูกผสมระหว่าง C. x L. x Schom.
- โซโฟรลีลิีโอแคทเลยา Sophrolaeliocattleya (Slc.) ลูกผสมระหว่าง C. x L. x Soph.









ลูกผสมสี่สกุลเฉพาะที่มีแคทลียาผสมอยู่ด้วย
- อิวานะการา Iwanagara (Iwan.) ลูกผสมระหว่าง B. x C. x Diacm. x L.
- ยะมะดารา Yamadara (Yam.) ลูกผสมระหว่าง B. x C. x Epi. x L.
- เร็คคารา Recchara (Recc.) ลูกผสมระหว่าง B. x C. x L. x Schom.
- โพทินารา Potinara (Pot.) ลูกผสมระหว่าง B. x C. x L. x Soph.
- เคิชอารา Kirchara (Kir.) ลูกผสมระหว่าง C. x Epi. x L. x Soph.
- เฮอเบิททารา Herbertara (Hbtr.) ลูกผสมระหว่าง C. x L. x Schom. x Soph.



















สกุลแวนด้า (Vanda)

ในปี 1795 แวนด้า (Vanda) ได้ใช้เป็นชื่อสกุลของกล้วยไม้สกุลแวนด้าเป็นครั้งแรก ซึ่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติ์แด่นักวิจัยชื่อ Sir William Jones ที่ศึกษาเกี่ยวกับทวีปเอเชีย คำว่าแวนด้ามีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ที่เรียกไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นเกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ในแถบประเทศอินเดีย ต่อมาในปี 1820 Dr. Robert Brown ได้ใช้คำว่าแวนด้าเป็นชื่อของสกุล (Genus) กล้วยไม้ในกลุ่มแวนด้า ซึ่งใช้อธิบายชนิดของกล้วยไม้ที่มีลักษณะเดียวกันกับ Vanda tessellata (สามปอยอินเดีย)








กล้วยไม้ในสกุลแวนด้ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ประเทศกลุ่มอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และแถบตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย โดยทั่วไปแล้วในธรรมชาติกล้วยไม้ในกลุ่มแวนด้า (Vandaceous) มักจะพบอยู่ในเขตร้อนชื้น (Topical) และอยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 1,700 ฟุต (500 เมตร) แต่ก็มีกล้วยไม้อีกหลายชนิดในกลุ่ม Vandaceous ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส กล้วยไม้ในกลุ่มของแวนด้าหรือ Vandaceous เช่น Aerides, Angraecum, Ascocentrum, Euanthe, Gastrochilus, Neofinetia, Papilionanthe, Plectrelminthus, Renanthera, Rhynchostylis, Saccolabium, Sarcanthus, Trichoglottis, Vanda, Vandopsis รวมไปถึงกล้วยไม้ลูกผสมสกุล Aranda, Ascocenda และ Mokara เป็นต้น









กล้วยไม้ในสกุลแวนด้า จะมีลำต้นเดี่ยวและเจริญเติบโตออกทางยอดหรือที่เรียกว่าโมโนโพเดียม (Monopodial) โดยลำต้นจะแตกใบออกสองข้างตรงข้ามกันและยอดจะเจริญขึ้นข้างบนไปไม่มีที่สิ้นสุด มีช่อดอกตั้งหรือค่อนข้างตั้ง ก้านช่อดอกยาวและแข็ง ส่วนมากดอกค่อนข้างใหญ่และมักบานทน กลีบดอกชั้นนอกและชั้นในมีขนาดไล่เลี่ยกัน แผ่นกลีบดอกโตแต่โคนกลีบคอด ปากมีเดือยสั้นๆ การจำแนกแวนด้า อาจอาศัยรูปร่างลักษณะของใบเป็นหลัก ซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ประเภทคือ


1. แวนด้าใบกลม (Terete leaved) แวนด้าประเภทนี้จะมีใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง เช่น เอื้องโมก (V. teres) แวนด้าฮุกเกอเรียนา (V. hookeriana) ไอ้หนวด (V. tricuspidata) ส่วนลูกผสมของแวนด้าใบกลม เช่น แวนด้า โจคิม (V. Miss Joaquim) เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้า ฮุกเกอเรียนา กับเอื้องโมก นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เพราะเลี้ยงง่าย ออกดอกเก่ง








2. แวนด้าใบแบน (Strap leaved) แวนด้าประเภทนี้มีใบแผ่แบนออก หน้าตัดของใบจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ ปล้องสั้น จะเห็นใบซ้อนชิดกัน ปลายใบมักจะโค้งลงมา และปลายใบจะมีจักเป็นแฉก เช่น
- ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea)
- ฟ้ามุ่ยน้อย (Vanda coerulescens)
- สามปอยนก (Vanda brunnea ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น V. liouvillei)
- สามปอยชมพู (Vanda bensonii)
- สามปอยดินเดีย (Vanda tessellata)
- สามปอย (Vanda denisoniana) ซึ่งชนิดนี้ดอกมีสีแตกต่างกันไป จึงเรียกต่างกันไปคือ
สามปอยขุนตาล ดอกมีสีเหลืองนวล เหลืองอมเขียว หรือขาวอมเขียว
สามปอยดง ดอกมีพื้นสีน้ำตาล หรือมีลายร่างแห สีน้ำตาล
สามปอยหลวง ดอกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมน้ำตาล มีลายร่างแหและมีกลิ่นหอม
- แวนด้าแซนเดอเรียนา (Vanda sanderiana)
- เข็มขาว (Vanda lilacina)
- เข็มเหลือง (Vanda testacea)
- สะแล่ง (Vanda pumila)








3 . แวนด้าก้างปลา (Semi-terete leaved) เป็นแวนด้าที่มีรูปทรงของใบและลำต้น กึ่งใบกลมกับใบแบน พบในธรรมชาติน้อยมาก เท่าที่พบมี 2 ชนิด ได้แก่ แวนด้า อะเมสเซียนา (Vanda amesiana) และแวนด้า คิมบาลเลียนา (Vanda kimballiana) ซึ่งกล้วยไม้สองชนิดนี้เป็นหมัน เข้าใจว่าน่าจะเป็นลูกผสมป่า (natural hybrid) ไม่ใช่ชนิดแท้ (species)

อย่างไรก็ตามแวนด้าก้างปลามนุษย์ก็ได้นำแวนด้าใบกลมผสมกับแวนด้าใบแบน ได้สายพันธุ์ใหม่ เช่น
- แวนด้า เอ็มมา แวน ดีเวนเตอร์ (Vanda Emma van Deventer) เป็นลูกผสมระหว่าง V. tricolor กับเอื้องโมก
- แวนด้า มาเจสติก (V. Magestic) ลูกผสมระหว่างฟ้ามุ่ยกับเอื้องโมก
- แวนด้า โจเซฟิน แวน เบอโร (Vanda Josephine van Brero) ลูกผสมระหว่าง V. insignis กับเอื้องโมก







4 . แวนด้าใบร่อง (Quarter-terete leaved) เป็นแวนด้าที่มีรูปทรงของใบและลำต้นค่อนข้างไปทางแวนด้าใบแบน ไม่พบในธรรมชาติ ที่ปลูกเลี้ยงกันเป็นลูกผสมทั้งหมด โดยนำแวนด้าก้างปลามาผสมกับแวนด้าใบแบน ตัวอย่างเช่น
- แวนด้า เจ้าพระยา (Vanda Chao Phraya) ลูกผสมระหว่าง แวนด้า เอมมา แวน ดีเวนเตอร์ กับแวนด้า อะลิเซีย โอโน
- แวนด้า ทีเอ็มเอ (Vanda T.M.A.) ลูกผสมระหว่างแวนด้าโจเซฟิน แวน เบอโร กับ แวนด้าแซนเดอเรียนา
- แวนด้า บลูมูน (Vanda Blue Moon) ลูกผสมระหว่างแวนด้าโจเซฟิน แวน เบอโร กับฟ้ามุ่ย
- แวนด้า หว่อง โป นี (Vanda Wong Poh Nee) ลูกผสมระหว่างแวนด้าโจเซฟิน แวน เบอโร กับสามปอยอินเดีย
- แวนด้า ตันชยัน (Vanda Tan Chay Yan) ลูกผสมระหว่างแวนด้าโจเซฟิน แวน เบอโร กับแวนด้าเดียริไอ
















สกุลอื่นๆ

ที่เหลือด้านล่างนี้ บางชนิดเจ้าของบล๊อกก็จำชื่อไม่ได้ ขอเชิญแนะนำด้วยนะครับ




ไม้ขีดไฟ



































อำลากันด้วยภาพนี้นะครับ...




ขอบคุณข้อมูลจาก Ben Orchid.


อ่านตอนแรก ll




___________ END __________








Create Date : 06 มกราคม 2552
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2558 21:10:11 น. 11 comments
Counter : 5872 Pageviews.

 
กล้วยไม้สวยจังค่ะ ตอนนี้ที่บ้านกำลังออกดอกสวยเลย
สกุลแคท,ฟาแลนกำลังบานอยู่ ช้างก็กำลังตูมอยู่เลยค่ะ
อยากไปงานช้างกระบ้าง อยากจะไปตั้งแต่ปีที่แล้ว จนกระทั่ง
ปีนี้ก็ยังไม่มีโอกาสไปเลย...


โดย: toonii (ซากุระสีชมพู ) วันที่: 6 มกราคม 2552 เวลา:10:50:19 น.  

 



โดย: pet.sp วันที่: 6 มกราคม 2552 เวลา:12:32:45 น.  

 
ขอบคุณ toonii และ pet.sp ที่เข้ามาเยี่ยมบล๊อกครับ


โดย: wicsir วันที่: 6 มกราคม 2552 เวลา:16:26:13 น.  

 
ภาพสวยจังค่ะ


โดย: นู๋ที วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:16:25:10 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับนู๋ที.....
ขอบคุณที่แวะมาชมดอกกล้วยไม้ด้วยกันครับ


โดย: wicsir วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:19:52:10 น.  

 
ช้างกระที่บ้านแข่งกันบานหลายต้นอยู่ แต่ปีที่ผ่านมา โดนเชื้อราทำลายช้างไปหลายต้นเหมือนกันเสียดายมากๆ เพราะปลูกมาเป็นสิบปีแล้ว เห็นมันแห้งเฉาตายสงสารมากเลย


โดย: พนมรุ้ง12 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:10:44:14 น.  

 
ขอบคุณพนมรุ้ง12ครับ ที่จริงไปถ่ายเจ้าช้างกระที่วัดป่ามัญจาคีรีมาด้วย... เขามีงาน 17-19 มกราคม ตอนนี้บานทั้งวัดเลยครับ


โดย: wicsir วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:13:14:38 น.  

 
ชนิด สวัสดี ชื่อ ของ ฉัน คือ Cassiano, I am บราซิล และ ต้องการ แลกเปลี่ยน กล้วยไม้ ใน บราซิล Catleya และ ชนิด อื่น ๆ Vanda และ Rhynchostylis และ อื่น ๆ ของ พ่อ แม่ โปรด ถ้า มี คน ยินดี โปรด ส่ง อีเมล. j.a_orquideas cassiano_jardins@hotmail.com @ hotmail.com


โดย: Cassiano IP: 201.49.204.211, 200.168.234.106 วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:30:10 น.  

 
กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ ขอเชิญเพื่อนๆสมาชิกทุกมหาสาขาทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ร่วมทริปอีสานสัญจร “”ม่วนซื่นโฮแซว แอ่วแดนอีสาน 5.63 เบิกบาน ยามนำกันถิ่นดอกคูณ” ณ จังหวัดขอนแก่น วันที่ 23-24 ก.ค. 2554 สนใจเดินทางมาร่วมงานเชิญติดต่อได้ที่ เรืองวิทย์ ล้อศิริรัตน์ 081-5453575 วิชรัตน์ บุปผาพันธ์ 0892060812 กมนวรรณษ์ วัฒนศรีทานัง 0898559931 และ พ.ต.ท.เสฏฐวุฒิ รอดจันทร์ 0817862143


โดย: กลุ่มเพื่อน 5.63 อ.ต. IP: 210.246.186.4 วันที่: 7 กรกฎาคม 2554 เวลา:6:54:28 น.  

 
ขอนแก่นมีการประกวดกล้วยไม้เมื่อไหร่อย่าลืมส่งข่าวนะคะ


โดย: 13 สิงหา IP: 192.168.1.56, 49.48.99.181 วันที่: 12 กันยายน 2554 เวลา:19:57:17 น.  

 
ไม่เคยรู้ ขอบคุณ


โดย: ชุมพจน์ IP: 49.230.210.227 วันที่: 3 มีนาคม 2559 เวลา:11:42:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wicsir
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 75 คน [?]











...... ชอบเดินทาง ชอบท่องเที่ยว และชอบถ่ายภาพ แม้ฝีมือจะไม่ให้ แต่ใจก็รัก เพราะได้ทำแล้วมีความสุข แถมยังมี bloggang ได้ให้โอกาสนำสิ่งเหล่านั้นมาแสดงด้วย ยิ่งทำให้หัวใจพองโต .......


อยากจะบอกว่า

@ ดีใจที่ได้แบ่งปันความสุขเล็กๆน้อยๆ กับเพื่อนๆในบล็อกแก๊ง ตลอดจนคุณๆที่ผ่านเข้ามาอ่าน.... แม้ภาพถ่ายจะไม่สวยนัก แต่กว่าจะได้มาก็แสนยากลำบาก จึงขอสงวนสิทธิไว้เป็นการส่วนตัว

@ ภาพทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของบล๊อก ถ้ามีความประสงค์จะใช้ภาพเพื่อการใด กรุณาติดต่อเจ้าของบล็อกด้วย เพราะจะได้พิจารณาเป็นเรื่องๆไปครับ.

@ ขอบคุณเพื่อนๆสมาชิกที่คอยให้กำลังใจกันเสมอมา และขอบคุณทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่าน หวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าท่านคงแวะเข้ามาอีก...


ด้วยจริงใจ
นาย wicsir.




Rec. 11.06.08
New Comments
Group Blog
 
 
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add wicsir's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.