
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
นิยายอดีตรักเหมืองป่า บทที่ 21
 เมื่อนึกถึงการสัญจรด้วยการเดินเท้าไปตามถนนหนทางในเมืองกรุงของเราทั้งสองในคราวนั้น ก็อดขำไม่ได้ เพราะเรามักจะข้ามถนนกันอย่างลุงเชยเข้ากรุง กล้า ๆ กลัว ๆ แม้กระทั่งหยุดยืนละล้าละลังอยู่บนทางม้าลายก็มี เป็นเหตุให้เจ้าของรถใจร้อนบางคนไขกระจกยื่นหน้าออกมาตะโกนด่าเสียงลั่น ทว่าไม่นานเราก็ได้เรียนรู้ คือพยายามหาเพื่อนเกาะกลุ่ม พอเห็นเขาก้าวเท้าเดินข้าม เราก็เร่งจูงมือกันเดินตามเขาไปติด ๆ เว้นแต่ตรงไหนไม่ใช่ทางม้าลายผมก็ดึงมือสาวบัวไว้ ไม่ปล่อยให้ข้ามตามไป
สถานที่สำคัญแห่งแรกที่เราสองคนได้มีโอกาสเข้าไปเที่ยวชม คือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ความงดงามของศิลปวัตถุ และโบราณวัตถุ ที่มีอยู่ตามที่ต่าง ๆ ที่เขารวบรวมนำมาจัดแสดงไว้ในนั้น บางอย่างผมก็เคยศึกษาประวัติความเป็นมาของมันมาบ้างแล้ว ผมจึงบอกรายละเอียดให้สาวบัวฟังได้ เหมือนผู้นำนักท่องเที่ยวหรือไกด์บางคนที่สาธยายให้ลูกทัวร์ของเขาฟังอย่างชนิดน้ำไหลไฟดับได้เหมือนกัน
ภายหลังเดินชมความงามและความยิ่งใหญ่ในเกียรติประวัติของบรรดาศิลปวัตถุเหล่านั้นจนรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจกันแล้ว ผมก็พาสาวบัวเดินไปดูโปรแกรมละครที่โรงละครแห่งชาติ ซึ่งอยู่ใกล้กัน วิญญาณนักแสดงละครที่ติดอยู่กับตัว ฉุดให้ผมคิดถึงความหลัง... คิดถึงเพื่อน ๆ ในชุมนุมดนตรีนาฏศิลป์และการละครที่ วค. ป่านนี้พวกเขาจะได้ออกงานข้างนอกกันบ้างหรือเปล่า? หรือว่าจัดแสดงกันแต่ภายในเพียงอย่างเดียว? เพราะผมเชื่อว่า ตอนนี้สถานการณ์โดยทั่วไปของ วค. ก็คงจะไม่ดีนัก
ต่อจากนั้น ผมพาสาวบัวเดินเข้าไปชมความอลังการของสถาปัตยกรรมไทยภายในวัดพระแก้ว ซึ่งเราได้รับคู่มือการเที่ยวชมจากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลคนละฉบับ แล้วเราก็เดินซอกแซกไปตามคู่มือนั้นจนทั่ว พร้อมกับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่บ้างก็มากันเป็นหมู่คณะ และบ้างก็มากันเป็นคู่ ๆ เหมือนอย่างเราสองคน
ภายหลังผมกับสาวบัวเดินชมพระอารามหลวงชั้นพิเศษแห่งนี้ด้วยความปลื้มปีติในความเป็นไทยไปจนทั่วแล้ว เราสองคนก็ชวนกันเดินย้อนกลับออกมาทางเดิม และข้ามถนนสู่แนวต้นมะขามรายรอบตลาดนัดสนามหลวง ซึ่งภายในตลาดนัดดังกล่าวมีร้านค้าแผงลอยเบียดเสียดกันอยู่เต็มพื้นที่ มีผู้คนเดินเที่ยวและเลือกซื้อสินค้ากันเนืองแน่น
แน่ล่ะ! ภายในสถานที่ที่แออัดยัดเยียดเช่นนั้น ย่อมเป็นบริเวณที่ผมไม่อยากเข้าใกล้เป็นที่สุด...
กลัวถูกล้วงกระเป๋า!
เคยมีคนพูดกันว่า มากรุงเทพฯถ้าไปไหนไม่ถูกก็ให้ตั้งหลักที่สนามหลวง ซึ่งก่อนจะข้ามถนนมุ่งกลับโรงแรมในวันนั้น สิ่งต่าง ๆ ที่ผมได้เห็นก็ทำให้เชื่อได้ว่าคำพูดนั้นถูกต้อง โดยเฉพาะรถเมล์สายหลัก ๆ ส่วนมากจะผ่านมาทางนี้แทบทุกสาย
แต่ทว่าใต้โคนไม้ที่เราเดินผ่าน ไม่มีที่ว่างให้นั่งพักผ่อน ตรงไหนไม่ใช่แผงลอยขายสินค้าก็จะเป็นทำเลของพวกหมอดู ปูเสื่อสาดนั่งทำนายทายทักโชคชะตาราศีอยู่กับลูกค้า หรือไม่ก็เป็นที่ยึดครองของพวกขอทานและคนจรจัดซึ่งนอนซบหน้าอยู่กับพื้นฟุตบาทก็มีไม่น้อย สาระรูปของแต่ละคนช่างดูไม่ได้เอาเสียเลย เสื้อผ้าเนื้อตัวสกปรกมอมแมมยิ่งกว่าผ้าเช็ดเท้า
นรก! ผมนึกในใจ และคิดถึงคำพูดของชายขับแท็กซี่คนนั้นขึ้นมาทันที... เจ้าพวกนี้เอง- เปรตในนรก!
แผ่นดินไทยกว้างใหญ่ไพศาล ทำไมถึงต้องถ่อสังขารมากระจุกตัวกันอยู่ที่นี่?
คิดแล้ว ผมก็จับแขนสาวบัวชวนกันเร่งเดินผ่านไปโดยเร็ว
เมื่อเดินกันมาได้สักหน่อย ก่อนจะเลี้ยวโค้งไปตามถนนหน้าพระลาน ช่วงที่บรรจบกับถนนราชดำเนินในฝั่งตรงข้ามกับศาลหลักเมือง สาวบัวชี้ให้ผมดูตึกโบราณอันใหญ่โตระโหฐาน ที่อยู่เยื้องไปทางขวามือประมาณสี่ร้อยเมตร ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับกำแพงวัดพระแก้วตรงแยกสนามไชย พร้อมกับพูดว่า "ตึกหลังนั้นเก่าจัง มีปืนใหญ่หันปากกระบอกมาทางนี้ด้วย...?"
"ตึกกระทรวงกลาโหม" ผมบอกหล่อน ขณะหยุดยืนและหันมองไปยังตึกหลังนั้นด้วยกัน "แต่เดิมเคยเป็นที่ตั้งวังประทับของพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นจิตรภักดี กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ และกรมหมื่นอินทราพิพิธ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ต่อมาได้ร้างลง แล้วถูกใช้เป็นฉางเก็บข้าวหลวง ครั้นลุถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างเป็น "โรงทหารหน้า" เป็นที่รวมทหารประจำการรักษาพระนคร อาวุธ สัตว์ พาหนะ และเสบียงอาหาร ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "กระทรวงกลาโหม" อย่างในปัจจุบัน"
หม้ายสาวหันหน้ามาทางผม พร้อมกับส่งยิ้มมาให้
"ค่ะ อาจารย์"
"เราข้ามถนนกลับโรงแรมทางนี้กันดีกว่า" ผมพูดกับสาวบัวเมื่อเดินเลียบไปตามริมขอบทางเท้ารอบสนามหลวงด้านนอก เลยผ่านหน้าที่ทำการศาลฎีกาซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามมาพอประมาณ "ผมจะไปดูรอยกระสุนที่ทหารกราดยิงประชาชนเมื่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา สักหน่อย เขาว่ายังมีร่องรอยประจานอยู่ตามผนังตึกแถวนั้นด้วย"
ผมชี้ไปที่ตึกสีน้ำตาลที่ตั้งตระหง่านอยู่สองฟากถนนราชดำเนินกล างช่วงที่เลยโรงแรมรัตนโกสินทร์ ขึ้นไป แล้วเราก็จูงมือกันข้ามถนนตรงทางม้าลายก่อนถึงแยกราชินี คือ ถนนราชดำเนินใน ทะลุสู่ถนนราชินี และข้ามต่อไปจนถึงถนนอัษฎางค์ กระทั่งในที่สุดก็ข้ามมาถึงหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีต้นไม้แผ่กิ่งก้านทอดเงาร่มรื่น นอกจากตามผนังตึกบางแห่งที่ปรากฏรอยกระสุนอยู่หมาด ๆ ตามต้นไม้บางต้นก็มีรอยกระสุนที่ทหารยิงใส่ประชาชนให้เราสองคนไ ด้แลเห็นอยู่บ้างเหมือนกัน
๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นวันมหาวิปโยค เป็นวันที่ชายชาติทหารฆ่าคนมือเปล่าด้วยอาวุธสงครามได้ลงคอ ช่างน่าเศร้าและน่าละอายเหลือเกิน
"หิวไหม"
ผมถามสาวบัวภายหลังข้ามถนนราชดำเนินกลางตรงสี่แยกคอกวัวมาถึงถน นตะนาว ใกล้ปากตรอกถนนข้าวสาร ซึ่งตรงหัวมุมติดซอยดำเนินกลางเหนือมีร้านข้าวแกงและอาหารตามสั ่งอยู่ร้านหนึ่ง ผมมองเห็นไปแต่ไกล
"เราหาอะไรกินกันที่นั่นก็ได้นะ แล้วสักประเดี๋ยวเราจะเดินไปเที่ยววัดบวรฯกันอีก" ผมขอความเห็นจากหล่อน
สาวบัวพยักหน้า
"โรงแรมที่เราพักก็อยู่ไม่ไกลแล้วใช่ไหม? บัวจำได้"
"เก่งมาก" ผมพยักหน้าและส่งยิ้มให้หล่อนด้วยใจจริง เพราะแสดงว่าหล่อนก็เป็นคนช่างสังเกต ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนเรา ผมรักผู้หญิงไม่ผิดเลย ผมคิดในใจ
สาวบัวเหลียวมองผมและยิ้มเขินอาย ขณะเราชวนกันเดินเข้าไปนั่งในร้านอาหารที่ว่า... พร้อมสั่งข้าวราดแกงและแกงจืดเต้าหู้หมูสับมากินกัน
"วัดที่ว่านั้นอยู่แถวไหน" สาวบัวถามผม
"อยู่ตรงนี้- -เห็นไหม?" ผมกางแผนที่ และชี้หล่อนดู "ใกล้วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ผมชี้ให้ดูเมื่อครู่นั่นแหละ แต่ที่ผมพาบัวมาทางนี้ เพราะรู้สึกหิว ผมหมายตาร้านอาหารแถวนี้ไว้ตั้งแต่ตอนที่เดินหาซื้อแผนที่เมื่อเช้านั่นแหละ"
"ที่วัดนั้นมีอะไรน่าสนใจบ้างค่ะ - อาจารย์?"
ผมหัวเราะหึ หึ ก่อนขยายความให้ฟังว่า "เท่าที่อ่านเจอมา มีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญที่ผมอยากเข้าไปชมเป็นภาพเขียนฝีมือจิตรกรไทยสมัย ร.๓ คือ ภาพจิตกรรมฝาผนังของขรัวอินโข่ง"
ขณะที่ผมกำลังบอกกล่าวเรื่องขรัวอินโข่งให้สาวบัวฟัง ก็มีชายหนุ่มหน้าตากระเดียดไปทางเจ๊กยกถาดแกงจืดและข้าวราดแกงเดินมาวางให้เราบนโต๊ะ มองหน้าผมสลับกับสาวบัวแล้วยิ้มทักทาย
"พวกคุณมาจากทางใต้หรือครับ" เขาถามเราด้วยสำเนียงปักษ์ใต้ชัดแจ๋ว พร้อมกับแนะนำตัวเองว่า "ผมอยู่ภูเก็ตครับ"
"อ้าว - -ไอ้บ่าว" ผมร้องขึ้น บอกไม่ถูกว่ารู้สึกดีใจสักขนาดไหน ที่ได้พบเจอคนถิ่นเดียวกัน จึงเผลอส่งสำเนียงท้องถิ่นกับเขาเสียยืดยาว "แล้วมาทำพรือที่นี่ หรือว่าย้ายครอบครัวมาอยู่กรุงเทพฯ..."
"เปล่าครับ ผมมาเรียนหนังสือที่รามฯ ที่นี่เป็นบ้านญาติครับ"
"แหม - เหมือนมีอะไรมาดลใจนะ" ผมว่า "ร้านอื่นมีตั้งเยอะ แต่ผมกลับตั้งใจแวะมาเข้าร้านนี้"
เด็กหนุ่มคนนั้นยิ้มตาหยี
"เชิญตามสบายนะครับ" เขาพูด "มีอะไรจะให้ช่วยหรือแนะนำก็ขอให้บอก ไม่ต้องเกรงใจ ผมยินดีช่วยเสมอครับ"
"ขอบคุณ ขอบคุณ" ผมยิ้มให้เขา
จากร้านอาหารร้านแห่งนั้นมาถึงประตูหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร เราเดินกันพอเหงื่อซึมแผ่นหลัง ครั้นเมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปภายใน ก็รู้สึกร่มรื่น และตื่นตลึงกับความงามของสถาปัตยกรรมไทยอันวิจิตรพิสดารอีกเช่น เคย โดยเฉพาะพระอุโบสถ ที่รูปแบบเป็นอาคารทรงไทยตรีมุข ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบลูกฟูกแบบจีน บานประตูหน้าต่างด้านนอกแกะสลักไว้อย่างสวยงาม
วัดบวรนิเวศวิหารมีชื่อเดิมว่า " วัดใหม่ " เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพกรมพระราชวังบวรสถา นมงคล ได้ทรงสถาปนาขึ้น สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ พระองค์ได้เสด็จมาปกครองที่วัดนี้และได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า " วัดบวรนิเวศวิหาร "
ก่อนจะเดินเข้าไปชมภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่งภายในพระอ ุโบสถ ผมได้พาสาวบัวเดินไปหยุดยืนอยู่ที่หน้าพระตำหนักปั้นหยา พร้อมทั้งเล่าประวัติความเป็นมาให้หล่อนรู้ว่า พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นในรัชสมัยใด อีกทั้งบอกต่อไปว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงผนวชแล้วทรงประทับที่วัดบวรฯแห่งนี้ จะเสด็จประทับที่พระตำหนักปั้นหยาทุกพระองค์
"นุ้ยเหมาะที่จะเป็นครูบาอาจารย์จริง ๆ "
สาวบัวเอ่ยปากชม แต่ผมกลับรู้สึกไม่ค่อยสบายใจกับคำชมนั้น...
"ไม่รู้จะได้เรียนต่ออีกหรือเปล่า?"
"อ้าว ก็ไหนบอกว่า เมื่อพ้นกำหนดสั่งพักการเรียน ก็กลับเข้าไปเรียนต่อได้อีกไม่ใช่หรือ?"
"ระเบียบการมันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น" ผมว่า "แต่ระเบียบเกินไม่รู้จะออกหัวออกก้อย"
"มีด้วยรึ-ระเบียบเกิน" หม้ายสาวทำสีหน้าแปลกใจ
"ผมก็ว่าไปเรื่อยอย่างนั้นแหละ" ผมหัวเราะขัน ๆ "มันเป็นลางสังหรณ์หรือเปล่าก็ไม่รู้ ผมอาจวิตกเพราะเกรงจะไม่ได้กลับเข้าเรียนอีกก็ได้... จริง ๆ นะ บัว ผมนึกสังหรณ์ใจอย่างนี้จริง ๆ "
"นุ้ยห่างห้องเรียน- - แล้วก็ห่างเพื่อมานานนะซี ทำให้คิดมากจนพลอยวิตกกังวล...เราเข้าไปชมภาพเขียนภายในโบสถ์ตา มที่นุ้ยว่ากันเถอะ"
แม่ยอดรักของผมตัดบท ซึ่งก็คงเพราะหล่อนไม่ต้องการให้ผมสับสนวุ่นวายกับเหตุการณ์ที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคตจนเกินไปนั่นเอง
************************************************
Create Date : 28 พฤศจิกายน 2554 |
Last Update : 8 ธันวาคม 2554 21:00:23 น. |
|
30 comments
|
Counter : 1389 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: หลวงเส วันที่: 28 พฤศจิกายน 2554 เวลา:17:37:08 น. |
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา:0:18:29 น. |
|
โดย: diamondsky วันที่: 1 ธันวาคม 2554 เวลา:16:52:53 น. |
|
โดย: หลวงเส วันที่: 4 ธันวาคม 2554 เวลา:19:48:54 น. |
|
โดย: diamondsky วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:17:49:48 น. |
|
โดย: diamondsky วันที่: 5 ธันวาคม 2554 เวลา:17:52:49 น. |
|
โดย: go far far วันที่: 8 ธันวาคม 2554 เวลา:12:17:44 น. |
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 16 ธันวาคม 2554 เวลา:9:45:41 น. |
|
โดย: go far far วันที่: 17 ธันวาคม 2554 เวลา:12:11:56 น. |
|
โดย: หลวงเส วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:18:51:33 น. |
|
โดย: หลวงเส วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:19:02:42 น. |
|
โดย: diamondsky วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:20:50:52 น. |
|
โดย: diamondsky วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:20:53:40 น. |
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 19 ธันวาคม 2554 เวลา:20:21:13 น. |
|
โดย: KeRiDa วันที่: 22 ธันวาคม 2554 เวลา:9:14:27 น. |
|
โดย: go far far วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:7:13:14 น. |
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 25 ธันวาคม 2554 เวลา:5:55:43 น. |
|
โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:20:39:56 น. |
|
โดย: KeRiDa วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:1:10:15 น. |
|
โดย: KeRiDa วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:9:35:02 น. |
|
โดย: หลวงเส วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:15:56:46 น. |
|
โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:16:23:06 น. |
|
โดย: KeRiDa วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:8:45:15 น. |
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:7:47:49 น. |
|
โดย: KeRiDa วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:9:00:46 น. |
|
โดย: go far far วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:19:01:41 น. |
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 1 มีนาคม 2555 เวลา:9:30:25 น. |
|
โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 7 มีนาคม 2555 เวลา:15:22:52 น. |
|
| |
|
หลวงเส |
 |
|
 |
|