ทสกะ คือ หมวด ๑๐
- อกุศลกรรมบถ ๑๐
จัดเป็นกายกรรม คือทำด้วยกาย ๓ อย่าง
- ๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือฆ่าสัตว์.
- ๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
- ๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม.
จัดเป็นวจีกรรม คือทำด้วยวาจา ๔ อย่าง
- ๔. มุสาวาท พูดเท็จ.
- ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด.
- ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ.
- ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ.
จัดเป็นมโนกรรม คือทำด้วยใจ ๓ อย่าง
- ๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา.
- ๙. พยาบาท ปองร้ายเขา.
- ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม.
กรรม ๑๐ อย่างนี้ เป็นทางบาป ไม่ควรดำเนิน.
-
-
- ที.มหา. ๑๐/๓๕๖. ที.ปาฏิ. ๑๑/๒๘๔. ม.มู. ๑๒/๕๒๑.
- กุศลกรรมบถ ๑๐
จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง
- ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง.
- ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
- ๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม.
จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง
- ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ.
- ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด.
- ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ.
- ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ.
จัดเป็นมโนกรรม ๓ อย่าง
- ๘. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา.
- ๙. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา.
- ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม.
กรรม ๑๐ อย่างนี้เป็นทางบุญ ควรดำเนิน.
-
-
- ที. มหา. ๑๐/๓๕๙. ที ปาฏิ. ๑๑/๒๘๔. ม. มู. ๑๒/๕๒๓.
- บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง
- ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน.
- ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล.
- ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา.
- ๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่.
- ๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ.
- ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ.
- ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ.
- ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม.
- ๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม.
- ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง.
-
-
- สุ.วิ. ๓/๒๕๖. อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิ. ๒๙. ตฏฺฏีกา. ๑๗๑.
- ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ๑๐ อย่าง
- ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ.
- ๒. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย.
- ๓. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้.
- ๔. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่.
- ๕. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่.
- ๖. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น.
- ๗. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัวเราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว.
- ๘. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่.
- ๙. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรายินดีในที่สงัดหรือไม่.
- ๑๐. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง.
-
-
- องฺ. ทสก. ๒๔/๙๑.
- นาถกรณธรรม คือ ธรรมทำที่พึ่ง ๑๐ อย่าง
- ๑. ศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย.
- ๒. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้สดับรับฟังมาก.
- ๓. กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม.
- ๔. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย.
- ๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุสามเณร
- ๖. ธัมมกามตา ความใคร่ในธรรมที่ชอบ.
- ๗. วิริยะ เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี.
- ๘. สันโดษ ยินดีด้วยผ้านุ่ง ผ้าห่ม อาหาร ที่นอน ที่นั่ง และยา ตามมีตามได้.
- ๙. สติ จำการที่ได้ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้.
- ๑๐. ปัญญา รอบรู้ในกองสังขารตามเป็นจริงอย่างไร.
-
-
- องฺ. ทสก. ๒๔/ ๒๗.
- กถาวัตถุ คือ ถ้อยคำที่ควรพูด ๑๐ อย่าง
- ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย.
- ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้.
- ๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ.
- ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่.
- ๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร.
- ๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล.
- ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ.
- ๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา.
- ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส.
- ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส.
-
-
- องฺ. ทสก. ๒๔/๑๓๘.
- อนุสสติ คือ อารมณ์ควรระลึก ๑๐ ประการ
- ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า.
- ๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม.
- ๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์.
- ๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตน.
- ๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว.
- ๖. เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา.
- ๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน.
- ๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่า ไม่งาม น่าเกลียดโสโครก.
- ๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก.
- ๑๐. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์.
-
-
- วิ. ฉอนุสฺสติ. ปม. ๒๕๐.