ฉักกะ คือ หมวด ๖

ฉักกะ คือ หมวด ๖

คารวะ ๖ อย่าง

ความเอื้อเฟื้อ ในพระพุทธเจ้า ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในความศึกษา ๑ ในความไม่ประมาท ๑ ในปฏิสันถารคือต้อนรับปราศรัย ๑. ภิกษุควรทำคารวะ ๖ ประการนี้.

องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๖๙.
สาราณิยธรรม ๖ อย่าง

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เรียกสาราณิยธรรม มี ๖ อย่าง คือ :-

๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยกาย มีพยาบาลภิกษุไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา.
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยวาจา เช่นกล่าวสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา.
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ คิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน.
๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรม ให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว.
๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น.
๖. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่วิวาทกับใคร ๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน.

ธรรม ๖ อย่างนี้ ทำผู้ประพฤติให้เป็นที่รักที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๒.
อายตนะภายใน ๖
ตา
หู
จมูก
ลิ้น
กาย
ใจ.

อินทรีย์ ๖ ก็เรียก.

ม. ม. ๑๒/๙๖. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๘๕.
อายตนะภายนอก ๖
รูป
เสียง
กลิ่น
รส
โผฏฐัพพะ คืออารมณ์ที่มาถูกต้องกาย
ธรรม คืออารมณ์เกิดกับใจ.

อารมณ์ ๖ ก็เรียก.

ม. อุป. ๑๔/๔๐๑. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๘๕.
วิญญาณ ๖
อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น เรียกจักขุวิญญาณ
อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียกโสตวิญญาณ
อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียกฆานวิญญาณ
อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกชิวหาวิญญาณ
อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียกกายวิญญาณ
อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียกมโนวิญญาณ.
ที. มหา. ๑๐/๓๔๔. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๘๕.
สัมผัส ๖

อายตนะภายในมีตาเป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น วิญญาณ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น กระทบกัน เรียกสัมผัส มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น ๖ คือ :-

จักขุสัมผัส.
โสตสัมผัส.
ฆานสัมผัส.
ชิวหาสัมผัส.
กายสัมผัส.
มโนสัมผัส.
ที. มหา. ๑๐/๓๔๔. สํ. นิ. ๑๖/๔.
เวทนา ๖

สัมผัสนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ ไม่สุขบ้าง มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น ๖ คือ :-

จักขุสัมผัสสชาเวทนา
โสตสัมผัสสชาเวทนา
ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
กายสัมผัสสชาเวทนา
มโนสัมผัสสชาเวทนา
ที. มหา. ๑๐/๓๔๔. สํ. นิ. ๑๖/๔.

 

ธาตุ ๖
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน.
๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ.
๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ.
๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม.
๕. อากาสธาตุ คือ ช่องว่างมีในกาย.
๖. วิญญาณธาตุ คือ ความรู้อะไรได้.

ม. อุป. ๑๔/๑๒๕. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๑๐๑.




Create Date : 10 มิถุนายน 2564
Last Update : 10 มิถุนายน 2564 4:25:12 น.
Counter : 179 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
มิถุนายน 2564

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30