จตุกกะ
กรรมกิเลส คือ กรรมเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง
- ๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง.
- ๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
- ๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม.
- ๔. มุสาวาท พูดเท็จ.
กรรม ๔ อย่างนี้ นักปราชญ์ไม่สรรเสริญเลย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๕.
อบายมุข คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ๔ อย่าง
- ๑. ความเป็นนักเลงหญิง.
- ๒. ความเป็นนักเลงสุรา.
- ๓. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน.
- ๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร.
โทษ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประกอบ.
-
-
- องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๖.
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง (๑)
- ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี.
- ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตน ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี.
- ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว.
- ๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟูมฟายนัก.
-
-
- องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๔.
สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ภายหน้า ๔ อย่าง (๒)
- ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น.
- ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือรักษากายวาจาเรียบร้อยดี ไม่มีโทษ.
- ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น.
- ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น
๑. ในบาลีใช้ว่า ธรรม ๔ ประการ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขในปัจจุบัน.
๒. ในบาลีใช้ว่า ธรรม ๔ ประการ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขในภายหน้า.
-
-
- องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๗.
มิตตปฏิรูป คือ คนเทียมมิตร ๔ จำพวก
- ๑. คนปอกลอก.
- ๒. คนดีแต่พูด.
- ๓. คนหัวประจบ.
- ๔. คนชักชวนในทางฉิบหาย.
คน ๔ จำพวกนี้ ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร ไม่ควรคบ.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.
๑. คนปอกลอก มีลักษณะ ๔
- (๑) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว.
- (๒) เสียให้น้อย คิดเอาให้ได้มาก.
- (๓) เมื่อมีภัยแก่ตัว จึงรับทำกิจของเพื่อน.
- (๔) คบเพื่อเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.
๒. คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔
- (๑) เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย.
- (๒) อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย.
- (๓) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้.
- (๔) ออกปากพึ่งมิได้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๐
๓. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔
- (๑) จะทำชั่วก็คล้อยตาม.
- (๒) จะทำดีก็คล้อยตาม.
- (๓) ต่อหน้าว่าสรรเสริญ.
- (๔) ลับหลังตั้งนินทา.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๐.
๔. คนชักชวนในทางฉิบหาย มีลักษณะ ๔
- (๑) ชักชวนดื่มน้ำเมา.
- (๒) ชักชวนเที่ยวกลางคืน.
- (๓) ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น.
- (๔) ชักชวนเล่นการพนัน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๐.
มิตรแท้ ๔ จำพวก
- ๑. มิตรมีอุปการะ.
- ๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์.
- ๓. มิตรแนะประโยชน์.
- ๔. มิตรมีความรักใคร่.
มิตร ๔ จำพวกนี้ เป็นมิตรแท้ ควรคบ.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๑. มิตรมีอุปการะ มีลักษณะ ๔
- (๑) ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว.
- (๒) ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว.
- (๓) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้.
- (๔) เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔
- (๑) ขยายความลับของตนแก่เพื่อน.
- (๒) ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่งพราย.
- (๓) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ.
- (๔) แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๓. มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔
- (๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
- (๒) แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี.
- (๓) ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
- (๔) บอกทางสวรรค์ให้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๔. มิตรมีความรักใคร่ มีลักษณะ ๔
- (๑) ทุกข์ ๆ ด้วย.
- (๒) สุข ๆ ด้วย.
- (๓) โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน.
- (๔) รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.
สังคหวัตถุ ๔ อย่าง
- ๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน.
- ๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน.
- ๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น.
- ๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว.
คุณทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔๒.
สุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง
- ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์.
- ๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค.
- ๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้.
- ๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๐.
ความปรารถนาของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง
- ๑. ขอสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางที่ชอบ.
- ๒. ขอยศจงเกิดมีแก่เราและญาติพวกพ้อง.
- ๓. ขอเราจงรักษาอายุให้ยืนนาน.
- ๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๘๕.
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย มีอยู่ ๔ อย่าง
- ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา.
- ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล.
- ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน.
- ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๘๑.
ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะสถาน ๔
- ๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว.
- ๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า.
- ๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ.
- ๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน.
ผู้หวังจะดำรงตระกูล ควรเว้นสถาน ๔ ประการนั้นเสีย.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๓๖.
ธรรมของฆราวาส ๔
- ๑. สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน.
- ๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน.
- ๓. ขันติ อดทน.
- ๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่ตนที่ควรให้ปัน.
-
-
- สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.