เบซีกลับสู่นิวยอร์กเพื่อต่อสัญญากับคลับเล็กๆ เดอะ เฟมัส ดอร์ ในปี 1938 ซึ่งเป็นการปลูกฝังความสำเร็จให้กับวงอย่างแท้จริง Stop Beatin Round The Mulberry Bush กับจิมมี รัชชิงในตำแหน่งร้องนำ เข้าสู่ 1 ใน 10 อันดับเพลงฮิตช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1938 เบซีใช้เวลาช่วงครึ่งปีแรกของปี 1939 ในชิคาโก ขณะเดียวกันนั้งเอง เขาก็ย้ายรังจากเด็กกามาสู่โคลัมเบีย เรคอร์ดส แล้วย้ายไปที่เวสต์โคสต์ช่วงใบไม้ร่วง ต้นทศวรรษที่ 40 เขาหมดเวลาไปกับการออกทัวร์เสียมาก แต่หลังจากสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเดือนธันวาคม 1941 และการเข้ารุกไล่ของหน่วยงานแบนเพลงในเดือนสิงหาคม 1942 ทำให้การออกตระเวณเล่นคอนเสิร์ตลำบากยากเข็ญมากยิ่งขึ้น พวกเขารับเล่นภาพยนตร์ถึง 5 เรื่องในช่วงที่อยู่เวสต์โคสต์ ซึ่งออกฉายภายในปี 1943 ทั้งหมด อย่าง Hit Parade Of 1943, Reveille With Beverly, Stage Door Canteen, Top Man และ Crazy House นอกจากนั้น เบซียังมุทำเพลงประกอบภาพยนตร์ชุดออกมาด้วย แถมเพลงเหล่านั้นยังพุ่งเข้าอันดับเพลงฮิตอีกต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นชาร์ตอาร์แอนด์บีและป็อป รวมทั้ง I Didnt Know About You (1945), Red Bank Blues (1945), Rusty Dusty Blues (1945), Jimmys Blues (1945) และ Blue Skies (1946) จากนั้นเขาย้ายมาเข้าสังกัดอาร์ซีเอ วิกเตอร์ เรคอร์ดส เพลงของเขาเข้าอันดับหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ 1947 ด้วยเพลง Open The Door, Richard! ตามด้วยอีกสามเพลงถัดมา Free Eats, One OClock Boogie และ I Aint Mad At You (You Aint Mad At Me)
กระแสของวงดนตรีบิ๊กแบนด์เริ่มเสื่อมความนิยมลงในช่วงปลายทศวรรษที่ 40 ตอนนี้ความสำเร็จของเบซีก็เปรียบเสมือนขุนนางระดับท่านดยุค ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจยุบวงออร์เคสตราที่ปลุกปั้นและอยู่กันมานานลงเมื่อปลายยุคนี่เอง เขาเปลี่ยนทิศทางหันกลับมามองดนตรีขนาดย่อมกว่าในช่วงสองสามปีต่อมา แต่ถึงกระนั้นคนเราก็ย่อมกลับสู่รากเหง้าของตัวเอง เช่นกันกับเบซี เมื่อเขากลับมารีฟอร์มวงบิ๊กแบนด์อีกครั้งในปี 1952 โดยเน้นไปในทางออกเดินสายทัวร์มากกว่า เขาไปโชว์ต่างประเทศครั้งแรกที่สแกนดิเนเวีย ในปี 1954 ภายหลังจากนั้น ก็ออกทัวร์นานาชาติไปเรื่อยเป็นส่วนมาก ในช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่ทางวงของเบซีได้โจ วิลเลียมส์นักร้องเสียงชั้นเยี่ยมมาเติมเต็มในช่วงปลายปี 1954 จากตรงนี้เองที่เบซีเริ่มกลับมาอัดแผ่นเสียงขายอีกครั้ง โดยอัลบัมประเดิมได้แก่ Basie Swings, Williams Sings (ตอนนั้นค่ายเคล็ฟเป็นต้นสังกัด) โดยเฉพาะเพลง Every Day (I Have The Blues) ไต่อันดับหนึ่งในห้าของอาร์แอนด์บีชาร์ต และได้รับเชิญเข้าสู่แกรมมี ฮอล ออฟ เฟมในภายหลัง บทเพลงสำคัญอีกหนึ่งบทในยุคนี้ของเบซีคือเพลงบรรเลงอย่าง April In Paris ที่เข้าสู่ท็อปชาร์ตเพลงป็อป 40 อันดับและเข้าหนึ่งในสิบของชาร์ตอาร์แอนด์บีช่วงต้นปี 1956 ซึ่งเพลงนี้ก็เป็นอีกเพลงที่ถูกนำเข้าแกรมมี ฮอล ออฟ เฟมเช่นกัน เพลงที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามเหล่านี้นี่เองที่ทำให้อัลเบิร์ต เมอร์เรย์ เรียกว่า พระคัมภีร์ใหม่ แห่งความสำเร็จของเคานต์ เบซี ส่วนวิลเลียมส์ยังคงร้องอยู่กับเบซีจนกระทั่งปี 1960 หลังจากเขาออกจากวงไปแล้ว เบซีก็ยังสร้างความสำเร็จให้กับวงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการรับรางวัลแกรมมี เบซีเริ่มคว้ารางวัลเมื่อปี 1958 ในสาขา Best Performance By A Dance Band และ Best Jazz Performance, Group ในงานอัลบัม Basie ที่ทำกับสังกัดรูเล็ต เรคอร์ดส์ ส่วนอัลบัม Breakfast Dance And Barbecue ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลในสาขาวงดนตรีสำหรับเพลงเต้นรำเมื่อปี 1959 แต่เขาก็มาได้รับรางวัลนี้ในปี 1960 จากอัลบั้ม Dance With Basie แล้วยังได้รับเสนอชื่อเข้างชิงสาขา Best Performance By An Orchestra และ Best Jazz Performance, Large Group ในปีเดียวกันจากอัลบัม The Count Basie Story นอกจากนั้นยังมีงานอื่นๆ ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Best Jazz Performance อย่าง Basie At Birdland ในปี 1961 และ The Legend ในปี 1962 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าอัลบัมเหล่านั้นไม่ได้รับความสนใจในเชิงพาณิชย์สักเท่าไร อย่างไรก็ตามในปี 1962 นี่เองเบซีกลับเข้าไปสังกัดรีไพรส์ เรคอร์ดสสังกัดเดียวกับ แฟรงก์ สิเนตรา ด้วยคำเชื้อเชิญที่ว่าจะสามารถขายแผ่นได้มากขึ้น Sinatra-Basie ก็เป็นอย่างที่พวกเขาตั้งความหวังไว้จริงๆ มันขึ้นได้ถึงอันดับหนึ่งในห้าเมื่อช่วงต้นปี 1963 แล้วก็พาเหรดมาด้วยเพลงอย่าง This Time By Basie! Hits Of The 50s And 60s ซึ่งดอดเข้าอันดับหนึ่งในยี่สิบ และฟันรางวัลแกรมมีสาขา Best Performance By An Orchestra For Dancing ในปี 1963
ช่วงที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นอีกช่วงที่น่าจดจำของวงการดนตรีแจ๊สที่ชักนำให้เข้าสู่แวดวงนักฟังเพลงอย่างกว้างขวางในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 เมื่อเบซีร่วมทีมกับศิลปินนักร้องหลากหลายคน เพื่อมาทำอัลบัมต่อเนื่องสุดฮิต อาทิ เอลลา ฟิตซเจอรัลด์ (Ella And Basie! ,1963), สิเนตรา (It Might As Well Be Swing, 1964), แซมมี เดวิส จูเนียร์ (Our Shining Hour, 1965), เดอะ มิลส์ บารเธอร์ส (The Board Of Directors, 1968) และ แจ็กกี วิลสัน (Manufacturers Of Soul, 1968) เบซียีงสามารถนำอัลบัมเพลงบรอดเวย์ Broadway Besies ..Way (1966) เข้าอันดับได้เช่นกัน
ปลายปี 1960 เบซีหันกลับมาทำงานแจ๊สทูนมากขึ้น ผลงาน Standing Ovation อัลบัมที่ออกมาในปี 1969 ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรงวัลแกรมมีในสาขา Best Instrumental By A Large Group Or Soloist With Large Group (9 ชิ้นหรือมากกว่า) ในปี 1970 เขาร่วมกับโอลิเวอร์ เนลสัน อะเรนเจอร์และผู้อำนวยเพลงชื่อกระฉ่อน ทำงานอัลบัม Afrique งานทดลองในแบบอะวองต์การ์ด ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีสาขา Best Jazz Performance By A Big Band ในยุคทองนี่เอง วงของเขาออกเล่นตามงานเทศกาลแจ๊สอย่างหลากหลาย ต้นทศวรรษที่ 70 หลังจากทำงานเพลงร่วมกับเพื่อนฝูงหลายคนในระยะสั้นๆ เบซีก็เซ็นต์สัญญาเข้าสังกัดปาโบล เรคอร์ดส ซึ่งเป็นสังกัดสุดท้ายในช่วงบั้นปลายของชีวิต ปาโบลออกผลงานของเบซีมาอย่างมากมายหลายรูปแบบ ทั้งยังออกมาเป็นชุดต่อเนื่องอย่าง Basie Jam ที่ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง ทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีในปี 1975 สาขา Best Jazz Performance By A Group ส่วนอัลบัม Basie And Zoot ก็ได้รับเสนอชื่อในสาขาเดียวกันเมื่อปี 1976 และได้รับรางวัลนี้เมื่อปี 1976 Prime Time ได้รับรางวัลแกรมมีสาขา Best Jazz Performance By A Big Band ในปี 1977 The Gifted Ones บรรเลงโดยเบซีและดิซซี กิลเลสปี ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัล Best Jazz Instrumental Performance By A Group เมื่อปี 1979 หลังจากนั้น เบซีก็ยังคงเป็นตัวเก็งในรางวัล Best Jazz Performance By A Big Band และได้รางวัลในที่สุดจากอัลบัม On The Road ส่วนปี 1982 ก็ได้รับจากอัลบัม Warm Breeze ตามด้วยการได้รับเสนอชื่อเข้าชิงจากอัลบัม Farmers Market Barbecue ในปี1983 และรางวัลสุดท้าย รางวัลแกรมมีครั้งที่เก้าที่เขาได้รับจากอัลบัม 88 Basie Street ในปี 1984
Selected albums of Count Basie 1936 Count Basie 1936-38 (Classics) 1937 The Original American Decca Recording (MCA GRP) 1937 Listen You Shall Hear (Hep) 1938 Do You Wanna Jump (Hep) 1939 Count Basie Volume One 1932-1938 (Jazz Calssics In Digital Stereo) 1939 Count Basie 1938-39 (Classics) 1940 Basie Rhythm (Hep) 1943 The Jubulee Alternatives (Hep) 1955 Count Basie Swings, Joe Williams Sings (Verve) 1955 April In Paris (Clef) 1956 The Complete Atomic Basie (Roulette) 1957 One OClock Jump (MCA) 1957 Count Basie At Newport..Live (Verve) 1957 Atomic Mr.Basie (Roulette) 1959 Basie Swings, Bennett Sings (Roulette) 1960 The Legend (Capitol) 1972 The Golden Years (Pablo) 1973 Basie Jam (Pablo) 1994 The Complete Atomic Basie (Roulette) 1999 Atomic Swing (Blue Note)
"I still find each day too short for all the thoughts I want to think, all the walks I want to take, all the books I want to read, and all the friends I want to see." John Burroughs