"แจ๊ส....ฉัน"
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
ตะลุย 50 อัลบัมเพลงแจ๊สตามอำเภอใจ (จบ)

25. Jackie Ryan – You and the Night and the Music (Openart)

แจ็กกีเป็นนักร้องเลือดแท้พันธุ์ดีที่มีคุณค่าเทียบเคียงกับ เดอะ ทริปเปิลคราวน์ คู่แข่งของแซสซีผู้ซุกซน ซาราห์ วอห์น, นักร้องผู้ปราดเปรื่องโดยสัญชาติญาณ คาร์เมน แม็กเร และเพชรเม็ดงามที่เปล่งประกายแวววับอย่าง ไดอานา ครอล

24. Stefano Battaglia – Re:Pasolini (ECM)

ความซาบซึ้งในการแสดงแต่ละครั้งที่ค่อนข้างจะเคร่งขรึมของสเตฟาโน กับความมีชีวิตชีวาที่ทำให้คุณจดจ่ออยู่กับดนตรีของเขาได้ แม้ว่ามันจะล่องลอยสร้างความเยือกเย็น

23. Ron Carter – Dear Miles (Blue Note)

งานทริบิวต์ที่เกินกำหนดจากมือเบสสูงวัยให้กับบุคคลที่สร้างเขาขึ้นมา รอนเดินเบสรสชาติด้วยฝีมือเอกลักษณ์แบบเก่า ในขณะที่มือเพอร์คัสชัน โรเบิร์ต ควินเทโร ก็สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับบทเพลงเก่าๆ

22. Kurt Elling – Night Moves (Blue Note)

เป็นอีกสิ่งมหัศจรรย์ในการสร้างสรรค์ที่ยากนักจะเกิดขึ้น เมื่อมันสมอง, เครื่องใน และความอยากรู้อยากเห็นมันเดินทางมาบรรจบกัน

21. John Scofield – This Meets That (Emarcy)

ดุเหมือนจอห์น สโคฟิลด์จะไม่เคยเอาโพสต์บ็อปปราดเปรื่องของเขา มาปะทะกับความรักในดนตรีป๊อปและโซลในยุคเบบี บูมของตัวเอง ดนตรีภาคเครื่องเป่าทองเหลืองสุดแสนจะอลังการและสละสลวย

20. Bill Charlap Trio – Live at the Village Vanguard (Blue Note)

หากว่าคุณไม่เคยมีอัลบัมของบิล ชาร์แล็พเลย ซื้ออัลบัมนี้มาฟังเป็นชุดแรกได้เลย เพลงช้าก็โรแมนติกแบบไม่อายร้อยเรียงอยู่บนพื้นฐานดนตรีที่ที่เต็มเปี่ยม

19. Andy Bey – Ain’t Necessarily So (12th Street)

สิ่งที่เป็นธรรมดาที่สุดของแอนดีคือ เสียงบาริโทนที่เป็นธรรมชาติ นุ่มพลิ้วเหมือนเส้นไหม เหมือนกับวิจิตรแห่งการอ่านวรรณกรรมคลาสสิกและความสำราญในความมืดมน

18. Bennie Wallace – Disorder at the Border:The Music of Coleman Hawkins (Enja/Justine Time)

เป็นกรณีศึกษาที่ยอดเยี่ยมของนักแซ็กฯ ที่มีสไตล์ฟรี สวิงแบบไม่เหมือนใคร และเป็นความสำเร็จอย่างแท้จริงของอะเรนเจอร์ แอนโธนี วิลสัน ที่คราวนี้ไม่ได้มาในตำแหน่งกีตาร์เหมือนอย่างเคย

17. Anat Cohen – Poetica (Anzic)

ปี 2550 นี่คงจะเป็นปีทองของอะนัท โคห์น นักดนตรีชาวอิสราเอลจริงๆ เพราะดูเหมือนว่าเธอจะเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงยิ่งกว่าศิลปินหญิงคนไหนๆ เสียอีก Poetica เป็นงานกลุ่มดนตรีกลุ่มเล็กๆ ที่ฝีมือเข้มข้น ให้ความหมายของคำว่า แชมเบอร์ แจ๊ส พร้อมทั้งสร้างความหมายใหม่ของ Third Stream

16. Bill Holman – Hommage (Jazzed)

บิล ฮอลแมนยังคงอนุรักษ์ดนตรีในแบบบิ๊กแบนด์เอาไว้เพื่อมวลมนุษยชาติ (เวอร์เข้าไปนั่น) เขาเรียบเรียงดนตรีไปได้ด้วยรสชาติแปลกใหม่ในมุมต่าง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับไซด์แมนในวงของเขาในการออกโซโลและการเล่นเอนเซมเบิล

15. Tierney Sutton Band – On the Other Side (Telarc)

จุดเด่น : ความสามารถของเทียร์นีคือ การเข้าถึงหัวใจของเนื้อเพลง และในระหว่างกระบวนการ เธอสามารถทำให้เรา คนฟังทั้งหลาย ตั้งอกตั้งใจในการฟังเพลงของเธออย่างไม่ควรพลาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป

14. SFJazz Collective – Live 2007:4th Annual Concert Tour (SFJazz)

อัลบัมชุดใหม่นี้สมควรจะได้รับการวิจารณ์สองครั้ง เพราะว่าจริงๆ แล้วมันเป็นงานเพลงที่โดดเด่นสองแผ่น แผ่นแรก ซึ่งเป็นการรวบรวมเพลงสิบสองของเธลอเนียส มังก์ ทำออกมาได้ดีทีเดียว ส่วนแผ่นที่สอง ซึ่งเป็นเพลงต้นฉบับทั้งหมด นั่นคือหมัดเด็ด

13. John Abercrombie – The Third Quartet (ECM)

หลังจากที่จอห์นหยุดใช้พิกในการเล่นกีตาร์ มือกีตาร์ที่สุดแสนจะอาร์ติสต์คนนี้ก็กลายมาสุดยอดของเศรษฐศาสตร์ทางดนตรี ที่ใช้หลักการใช้น้อยได้มาก อัลบัมชุดนี้เขาสร้างสรรค์งานฟรอนต์ไลน์ที่สุดจะสราญรมย์กับนักไวโอลินอย่าง มาร์ก เฟลด์แมน

12. Charles Tolliver Big Band – With Love (Blue Note)

อย่าเรียกว่าเป็นการกลับมา เพราะชาร์ลส ทอลลิเวอร์ ผู้เกิดใหม่ คือนักทรัมเป็ตที่วางศิลปะแห่งวงดนตรีบิ๊กแบนด์ในแบบของเขา และเอามันลงมาใช้อย่างลุ่มลึก ด้วยความฉลาดเฉลียวในแบบหัวหน้าวงและนักประพันธ์

11. Joe Zawinul & WDR Big Band – Brown Street (Heads Up)

เวเธอร์ รีพอร์ต วงฟิวชันจากฝีมือการอะเรนจ์ของโจ ซาวินัล ที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม กับผลงานชุดนี้ เขาให้ความเข้มข้นทางดนตรีกับวงนี้มากยิ่งไปกว่านั้น

10. Mccoy Tyner – Quartet (McCoy Tyner Music/Half Note)

ด้วยวงดนตรีแบบดรีมทีมที่เขาสมควรจะได้ และผลงานชุดใหม่ แม็กคอยกลายมาเป็นมือพิฆาตรวมฮิตเซ็ต และไม่พลาดงานวงดนตรีสี่ชิ้น

9. Joe Lovano & Hank Jones – Kids:Live at Dizzy’s (Blue Note)

Kids เป็นผลงานล่าสุดของโจ โลวาโน แต่แฮงก์ไม่ได้ชื่อเสียงจากอัลบัมนี้มานัก เขาก็เล่นเป็นคู่หูให้ตลอดทั้งอัลบัม สำเนียงของเขาบางครั้งทำให้รู้สึกรื่นรมย์ ที่สามารถย้อนหลังกลับไปสู่ยุคสวิงและสไตรด์ได้พอตัว

8. Paul Motian/Bill Frisell/Joe Lovano – Time and Time Again (ECM)

อีกยกหนึ่งของวงดนตรีสามชิ้นอัจฉริยะในโลกแห่งแจ๊สที่หม่นหมอง เพลง Cambodia พูดถึงมิตรภาพที่หลอมรวมทางจิตใจ K.T. โต้ว่าพอล โมเชียนเป็นหนึ่งในนักประพันธ์ยุคโพสต์บ็อปที่ช่ำชองและเอาแต่ใจมากที่สุด

7. Dee Dee Bridgewater – Red Earth:A Malian Journey (DDB/Emarcy)

นักร้องนักดนตรีหญิงอัฟริกัน-อเมริกันที่ค้นหารากฐานทางดนตรีอัฟริกันของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถ้าเป็นแจ๊สฟิวชันที่โก้หรู ผนวกกับจังหวะแบบพื้นเมืองบ้านเกิดเข้ากันได้แบบไร้รอยต่อ นั่นคือสิ่งใหม่ที่น่าจับตามอง

6. Keith Jarrett/Gary Peacock/Jack DeJohnette – My Foolish Heart (ECM)

ในขณะที่นักดนตรีคนอื่นๆ ในโลกก็พากันตั้งหน้าจะปราบดนตรีสแตนดาร์ด แจ๊ส หากแต่วงดนตรีสามชิ้นอายุมากกว่ายี่สิบห้าปีวงนี้ยังคงทำให้เรานึกย้อนไปถึงความสวยงามของท่วงทำนองแบบเดิมๆ



5. Joshua Redman – Back East (Nonesuch)

หลังจากที่เป็นเด็กเนิร์ด เรียนหนังสือประสบความสำเร็จมาแล้ว ตอนนี้บางสำนักก็ว่าเขาเป็นเป็นซันนี รอลลินส์คนที่สอง ด้วยความปราดเปรื่องของงานดนตรีสามชิ้นในชุดนี้ โจชัวพิสูจน์ว่าเขาเป็นได้ บทเพลงดูเอ็ตระหว่างเขากับพ่อ ดิวอี เรดแมน เป็นเพลงที่ทำให้คนฟังตะลึง



4. Herbie Hancock - River : The Joni Letters (Verve)

ไม่ใช่ทั้งอัลบัมทริบิวต์ตามธรรมเนียม และไม่ใช่ทั้งอัลบัมปกติของเฮอร์บี แต่ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ River:The joni Letters เป็นเมล็ดพันธุ์ที่บ่มเพาะให้ความสดชื่นมากกว่าที่จะเป็นคอนเซ็ปต์อัลบัม



3. Terence Blanchard – A Tale of God’s Will (A Requiem for Katrina) (Blue Note)

ด้วยการทำงานแบบวงห้าชิ้นไปสู่วงออร์เคสตราสี่สิบชิ้น เทอเรนซ์บรรลุเป้าหมายในการทำเพลงออกมาสิบสามเพลง ออกมาเป็นชุดเพลงที่ดำเนินจากความรู้สึกหมดหวัง หดหู่ไปสู่ความเดือดดาล โทสะ



2. Maria Schneider Orchestra – Sky Blue (Artistshare)

ด้วยการขยายตัวทางทัศนคติศิลปินของมาเรีย ตอนนี้ก็เป็นที่ประจักษ์ในไหวพริบทุกส่วนของเวลาและระยะทาง เธอยังคงขยายทัศนคตินั้นให้กว้างออกด้วยบทเพลงห้าชิ้น ที่ก่อให้เกิด Sky Blue ผลงานชุดล่าสุด อีกทั้งยังเป็นผลงานที่น่าสนใจที่สุดของเธอเอง



1. Michael Brecker – Pilgrimage (Heads Up)

ผลงานที่น่าภาคภูมิใจของนักแซ็กโซโฟนที่เป็นอิทธิพลมากที่สุดนับจากเวย์น ชอร์เตอร์ ไมเคิล เบร็กเกอร์ในยุคหลังไม่ได้ต้องการอาวุโสเพื่อให้ Pilgrimage มาเอาชนะสิ่งเหล่านี้ แพ็ต เม็ทธินี, เฮอร์บี แฮนค็อก, แบรด เมห์ลดาว, จอห์น พาทิทักชีและแจ็ก ดิจอห์นเน็ต ก็ให้คุณภาพของวงแบ็กอัพได้อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเล่นสนับสนุนกันได้เปี่ยมประสิทธิภาพและเอกภาพเยี่ยงนี้ ส่วนไมเคิลเองก็ประสบอัญหาทางสุขภาพสามเดือนก่อนหน้าที่อัลบัมจะสำเร็จลุล่วง ทำให้เขาเล่นราวกับคนถูกวิญญาณสิง จนคุณเองอาจจะไม่รู้เลยว่างานชุดนี้ทำออกมาโดยนักดนตรีที่กำลังต่อสู้กับโรคภัยอยู่ บทเพลงทั้งหมดเป็นบทประพันธ์ดั้งเดิมของไมเคิลทั้งสิ้น



Create Date : 09 มิถุนายน 2551
Last Update : 9 กรกฎาคม 2551 2:33:34 น. 0 comments
Counter : 1386 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nunaggie
Location :
City of Angels, Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




คุยเฉพาะเรื่องเพลง :D

"I still find each day too short for all the thoughts I want to think, all the walks I want to take, all the books I want to read, and all the friends I want to see." John Burroughs

Follow my twitter @nunaggie :)

"มีเรื่องราวอีกมากมายให้ชีวิตต้องเดินทางไปค้นหา เราคงไม่ค้นพบทุกอย่างได้ เพียงแค่ชั่วชีวิตเดียว"
Creative Commons License
© Supada Luangsirimongkol 2015.
qrcode
Friends' blogs
[Add nunaggie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.