"แจ๊ส....ฉัน"
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2557
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 ธันวาคม 2557
 
All Blogs
 
แจ๊สกับการเหยียดสีผิว

แปลและเรียบเรียงมาจากบทความของเกร็ก โทมัส

เราลองมาสำรวจความคิดของคนอเมริกันที่มีต่อการเหยียดผิวซึ่งแนวคิดอันรุนแรงเช่นนี้ส่งผลไปทั่วทุกหัวระแหงไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงดนตรีด้วยเช่นกัน เมื่อไม่นานมานี้ นิโคลัส เพย์ตันนักทรัมเป็ตเลื่องชื่อก็ได้เปิดประเด็นเกี่ยวกับสีผิวไว้ได้น่าสนใจไม่น้อย แต่ ณตอนนี้เรามาดูจุดเริ่มต้นกันก่อน โดยผ่านทางมุมมองของเกร็ก โทมัส นักดนตรีผิวสีคนนี้กัน

แจ๊สช่วยให้ผมรอดพ้นจากการเป็นคนเหยียดผิว

ย้อนกลับไปช่วงต้นจนถึงกลางยุค80 ในขณะเรียนอยู่ที่วิทยาลัยแฮมิลตัน ณ ใจกลางกรุงนิวยอร์ก ผมได้เรียนรู้เรื่องราวรายละเอียดในการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งทำให้ผมรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์และโกรธกริ้ว ผมอ่านประวัติศาสตร์ขบวนการเลิกทาสในช่วงศตวรรษที่19 และการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเมื่อศตวรรษที่แล้วรวมถึงระบบการแบ่งแยกสีผิวแบบจิม โครว์ที่เกิดขึ้นมาอย่างขวางลำ “จิม โครว์”บำรุงรักษาไว้ซึ่งอำนาจของคนผิวขาวโดยเฉพาะทางภาคใต้ ทั้งทางเศรษฐกิจ, สังคมและขนบธรรมเนียมประเพณีให้อยู่เหนือคนผิวดำ และผิวสีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ขาว โดยอิงกับทฤษฎีทางกฎหมาย“แบ่งแยกแต่เท่าเทียม” และตำนานอันน่าชัง : ความยิ่งใหญ่ของคนขาว

ในฐานะของผู้นำการประชุมวิชาการของกลุ่มนักศึกษาที่แฮมิลตันผมก็ยังได้มาเจอเอกสารของทางคณะกรรมการหลักสูตร ที่ได้ให้คำอธิบายถึงการที่ไม่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับแอฟริกาอย่างเข้มข้นสนับสนุนด้วยข้อเขียนที่บอกว่า แอฟริกันไม่ใช่ผู้สืบมรดกอันทรงค่าทางวัฒนธรรมลองคิดดูสิ ก็มีทั้งเอเชียศึกษา, ละตินอเมริกันศึกษาและตะวันออกกลางศึกษาในตอนนั้น

เดี๋ยวก่อนก็มันยังมีวัฒนธรรมทางดนตรีแจ๊สอันยิ่งยง ที่ทำให้ผมก้าวกระโดดจากคำว่าโกรธไปเป็นเกลียดพวกคนขาวนี่แหละผมถูกเลี้ยงดูมาอย่างชาวคริสเตียน ซึ่งทำให้ถูกปลูกฝังมาด้วยพื้นฐานของแจ๊สผิวขาวแต่ก็เป็นความเลื่อมใสส่วนตัวของผมเองในฐานะวัยรุ่นในเกาะสเตเต็น นิวยอร์กคนขาวที่ผมชื่นชอบก็มีนักแซ็กโซโฟนอย่าง พอล เดสมอนด์, ซูต ซิมส์, ฟิล วูดส์และครูสอนเป่าแซ็กของผม ซีซาร์ ดิมอโร ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญเลยทีเดียว ในส่วนอื่นๆนั้นกฎระเบียบคำสั่งสอนและความเชื่อถือเป็นเครื่องนำทางที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและสติสัมปชัญญะของแต่ละคนดนตรีซึมซับเข้าสู่ร่างกาย คลุกเคล้าในอารมณ์ และก้องกังวานอยู่ในความทรงจำ

ผมไม่เคยแยกแยะเพลงที่ฟังจากสีผิวของคนเล่นเพราะฉะนั้นในฐานะมือใหม่อัลโตแซ็กอายุ 15 อย่างผมจึงได้สนุกสนานกับบรรดานักแซ็กโซโฟนที่มีมากมายจากอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่จอห์นนี ฮอดเจสและเบนนี คาร์เตอร์,ชาร์ลี “เบิร์ด” พาร์เกอร์และเจมส์ มูดี, ลี คอนิตซ์และเอ็ดดี “คลีนเฮด” วินสัน,จูเลียน “แคนนอนบอล” แอดเดอร์ลีย์ และลุยส์ จอร์แดน, แฟรงก์สโตรซิเออร์ไปจนถึงแฮงก์ ครอว์ฟอร์ด, ซาดาโอะ วาตานาเบะ, เดวิดแซนบอร์นและโกรเวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์

ในขณะที่ผมเรียนอยู่โรงเรียนมัธยมท็อตเทนวิลซึ่งผมก็ได้เล่นในคอนเสิร์ต, เล่นในวงซิมโฟนี และวงดนตรี ผมยังได้หัดเล่นแซ็กกับครูสอนดนตรีมีชื่อระดับท้องถิ่นอย่างซีซาร์ ดิมอโร เขาเล่นทั้งอัลโตแซ็กและโอโบสไตล์คลาสสิก และยังเล่นแจ๊สอีกด้วย(ทั้งอัลโตและเทเนอร์แซ็ก) ซีซาร์ผู้มีจิตวิญญาณอ่อนละมุนคนนี้ยังชอบดื่มและหมักไวน์เองอีกด้วยเขาเล่นกับนักดนตรีท้องถิ่นระดับตำนานอย่าง ชัค เวย์น (กีตาร์) และดอนโจเซฟกับไมก์ มอร์เรียล (ทรัมเป็ต) ซึ่งสอนหนังสืออยู่ที่ท็อตเทนวิล (จริงๆแล้วซีซาร์เล่นให้กับชัคในอัลบัม String Fever (1957, ยูโฟเรีย) แล้วทั้งสองก็เล่นรับเชิญในอัลบัม Cloud 7 (1955, โคลัมเบีย) ของโทนี เบ็นเน็ต เขาชอบสไตลการเล่นของซูต ซิมส์ แล้วเพื่อนๆของเขาก็มักจะชอบเล่าขานเรื่องราวที่เดินทางไปฟังซูต ณ บลูโน้ตคลับตามข่าวที่ว่ากันมา ซูตก็ชอบริฟของซีซาร์อยู่เหมือนกัน เขาเลยป่าวร้องออกไปว่า“เอาเลย ซีซาร์ เอาเลย!” วิธีการเล่นของซีซาร์นั้นได้สืบทอดมาจากเลสเตอร์“เพรซ” ยัง หากแต่ในช่วงหลังที่เขาเล่นนั้น ทำให้ผมกระหวัดรำลึกถึงโคลแมน “ฮอว์ค”ฮอว์กินส์เสียมาก

ผมได้เจอซีซาร์ที่โรงเก็บไม้ตรงชายหาดด้านใต้ของเกาะสเตเต็นริมถนนอาร์เธอร์คิล เขาสอนให้ผมรู้จักพื้นฐานแม้กระทั่งการตัดแต่งเหลาไม้ส่วนเกินตรงริมลิ้นไม้รวกไม่ว่าจะเป็นแซ็กโซโฟนของริโกหรือแวนดอเรน จนได้รูประฆังเรียบสวยเมื่อนำไปส่องแสงต่อมาเราได้ไปเจอกันที่ศูนย์รวมชุมชนชาวยิวที่ถนนวิกตอรีและเบย์เล่นบทฝึกหัดแจ๊สแบบคู่และช่วงย่อยจากหนังสือ Universal Method forSaxophone โดยพอล เดอวิล ผมไม่เคยลืมเลยที่เขาบอกว่า “เกร็ก เธอเรียนไปหมดแล้วทั้งสเกลคอร์ด อาร์เพ็จโจ แล้วก็แพตเทิร์น แต่พอเธอเริ่มคล่อง เริ่มอิมโพรไวส์เธอต้องปล่อยวางทฤษฎีซะ แล้วก็เล่นไป”หนึ่งในคู่หูในวงของเขาเป็นมือเบสอเมริกันผิวดำ มอร์ริส เอ็ดเวิร์ดส์ผู้ซึ่งภูมิใจในเชื้อชาติ เขาเกิดในปี 1925 เคยได้เล่นกับเมย์เนิร์ดเฟอร์กูสัน, ดิซซี กิลเลสปี, อิลลินอยส์ แจ็กเกต์ แล้วก็เพรซกับฮอว์ค บางครั้งมอร์ริสจะเริ่มพูดคุยถึงคนผิวดำและความอยุติธรรมที่เราต้องทนกล้ำกลืน ถ้าซีซาร์กึ่มๆ เหล้าซะหน่อย เขาก็จะบอกว่า“โอ้ว มอร์ริส อย่ามาพูดเรื่องไอ้มืดอะไรนี่อีกนะ!!”บรรดาเซียนทั้งหลายก็จะเปล่งเสียงหัวเราะ แล้วก็กลับไปทำกิจกรรมตรงหน้ากันต่อราวกับว่าสิ่งที่เพิ่งพูดไปมันหาสาระมีไม่

ตอนอยู่ในวิทยาลัยความเข้าใจของผมในเรื่องความสัมพันธ์ของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์และประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของตัวผมเอง และวัฒนธรรมพี่น้อง ซึ่งก็คืออเมริกันผิวดำมีความสำคัญและลึกล้ำมากยิ่งขึ้นนอกเหนือไปจากฟุตเตจวิดีโอภาพขาวดำหยาบๆ ของบูลคอนเนอร์ที่สั่งสายดับเพลิงเพื่อที่จะไปใช้ในชุมชนคนดำในเมืองเซลมา อลาบามา,นอกเหนือไปจากสุนทรพจน์ “ฉันมีความฝัน” ของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง,นอกเหนือไปจากงานรำลึกถึงประจำปีของเฟรเดอริก ดักลาส, แฮเรียต ทับแมนและโซยอร์เนอร์ ทรูธในช่วงกุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นเดือนแห่งประวัติศาสตร์คนผิวสีและแม้กระทั่งนอกเหนือไปจากมินิซีรส์เรื่อง Roots (1977) ของอเล็กซ์ ฮาลีย์ ผมดูด้วยความหงุดหงิดและไม่เชื่อเอาซะเลยในฐานะวัยรุ่นคนหนึ่งที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ชั้นมัธยมต้น

ถ้ามีเรื่องของอันธพาลเหล่าร้ายล่ะก็ผมก็อยากจะยกการทรยศหักหลัง, ความโหดร้าย และความโลภโมโทสันของกลุ่มคนที่พยายามคงไว้ซึ่งระบบค้าทาสและการกดขี่ทางสังคม กระตุ้นให้ผมยอมรับในคำกล่าวอ้างของอิสลามว่าคนขาวนั่นแหละที่โหดร้าย! อีกทั้งตอนที่ผมเข้าเรียนมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปีการศึกษาแรกผมได้เห็นความเคลื่อนไหวเพื่อที่จะกดดันเหล่าบริษัทห้างร้านทั้งหลายงดการลงทุนในแอฟริกาใต้เนื่องจากนโยบายเหยียดผิวอันเป็นความอยุติธรรมของคนขาวกลุ่มน้อยที่ครอบงำและกดขี่คนผิวดำส่วนใหญ่ที่นั่นทำให้ผมรู้สึกโกรธจัดไปด้วย แล้วผมก็เลยกลายเป็นคนที่กล้าพูดเรื่องการเมืองมากยิ่งขึ้น

แต่เดี๋ยวก่อนซีซาร์ ดิมอโร (เชื้อสายอิตาเลียนอเมริกัน), ซูต ซิมส์(เชื้อสายตะวันตกตอนกลางและใต้), พอล เดสมอนด์ (เยอรมันไอริช) และฟิล วูดส์(ไอริชและฝรั่งเศส) ต่างตรึงอยู่ในหูและความรู้สึกของผมมากเกินกว่าที่จะยอมรับเรื่องการเหยียดผิวทั้งในฐานะคนขาว, กลุ่มคนขาวว่าเป็นพวกโหดร้าย(เชื้อสายที่ปนเปและประเพณีตกทอดกันมา เป็นสิ่งที่ผมค้นพบภายหลังจากนักเขียนชื่ออัลเบิร์ต เมอร์เรย์ถึงความหมายในถอยคำว่า “Omni-American” คุณจะไม่เห็นด้วยเลยหรือว่าคำว่า “ขาว” จริงๆ แล้วมันก็คือการทาสีขาวทับวัฒนธรรมและภูมิหลังของตัวเองไปเสียหมดแล้ว?)

การได้ฟังเพลงของซูตและพอลนำพาให้ผมกลับมาหาเพรซด้วยเช่นกันแม้ว่าซูตจะมีกลิ่นของฮอว์คและเบน เว็บสเตอร์ในลีลาอยู่บ้าง แต่ผมก็ชอบในคุณภาพส่วนตัวของแต่ละคนความปรารถนาอันแรงกล้าและท่าทีอันเยือกเย็นทว่าเร่าร้อนในสวิงของซูตจากผลงาน IfI’m Lucky: Zoot Sims Meets Jimmy Rowles (พาโบล, 1977) คือหนึ่งในผลงานเพลงที่พาผมจมดิ่งสู่ความงดงามทางสุ้มเสียงและคุณภาพคับแก้วดรายมาร์ตินีในสุ้มเสียงนุ่มเนียนของพอลในนัดที่เขาเล่นกับเดฟบรูเบ็กและเจอรี มัลลิแกนไหลซึมเข้าสู่ดวงใจวัยเยาว์อันโง่เขลาของผม

ยังมีอีกตอนผมอายุได้ 17 ส่วนผสมทางเทคนิกชั้นครูในการแสดงออกทางอารมณ์ของฟิลวูดส์นี่แหละที่ทำให้ผมให้ผมล่องลอยละลิ่วเขาได้เข้าร่วมสังฆกรรมกับศิลปินระดับตำนานอย่าง ชาร์ลี “เบิร์ด” พาร์เกอร์, จอห์น โคลเทรน, ชาราห์ วอห์น, แคนนอนบอล แอดเดอร์ลีย์, ไมล์สเดวิส และคลิฟฟอร์ด บราวน์ ซึ่งผมเอาจิตใจเข้าจดจ่อกับศิลปินแต่ละคนที่ชำระล้างหูผมให้บริสุทธิ์ด้วยลีลาการอิมโพรไวส์อันเร่าร้อนแห่งดนตรีอันยิ่งใหญ่แล้วก็เติมเชื้อไฟเพิ่มเข้าไปอีกด้วยผลงานในฐานะไซด์แมนร่วมกับเธลอเนียส มังก์,คลาร์ก เทอรี, บิลลี โจล และสตีลลี แดน ผมจำได้ว่าผมขอยืมผลงานบันทึกเสียงยุคแรกๆของฟิลมาฟังซ้ำแล้วซ้ำอีกจากห้องสมุดสาธารณะนิวยอร์ก ซึ่งก็มีชุด Altology(เพรสทีจ, 1957), Sugan (เพรสทีจ, 1957), Phil & Quill With Prestige (อาร์ซีเอ, 1957)เช่นเดียวกับชุดที่เขาเล่นอย่างเหนือชั้นในชุด The Quintessence (อิมพัลส์!, 1962) ของควินซี โจนส์ พลังแห่งแซ็กโซโฟนอันอาจหาญในการสร้างแรงดลใจน่าเกรงขามในผลงานชุดLive From the Showboat (อาร์ซีเอ, 1976) เช่นเดียวกับแคนนอนบอลนั่นเอง ฟิลได้สังเคราะห์เอาสิ่งต่างๆ จากเบนนีคาร์เตอร์, จอห์นนี ฮอดเจส และชาร์ลี พาร์เกอร์เข้าด้วยกันเป็นเอกลักษณ์แห่งตัวเองสร้างสรรค์สุ้มเสียงและลีลาที่มีอัตลักษณ์

ในปี1970หรือ 1980 ขณะที่ยังเรียนอยู่มัธยมปลายผมจมดิ่งติดตามผลงานของฟิลซึ่งเล่นที่โรงแรมห้าดาวในแมนฮัตตันผมจำได้ว่าชื่นชอบวิธีการที่เขาแทบจะไม่ได้ขยับนิ้วบนคย์แซ็กโซโฟนเซลเมอร์อันเปล่งประกายแวววาวนั้นเลยในขณะมันส่งเสียงสละสลวยและรุ่มร้อนอย่างบีบ็อพออกมาอย่างต่อเนื่อง ผมฟังแผ่นเสียงชุดI Remember (ดีซีซี, 1978) จนร่องเสียงแทบสึกและผลงานประพันธ์ดั้งเดิมของฟิลที่อุทิศให้กับแคนนอนบอล, พอล, ออสการ์เพ็ตติฟอร์ด, โอลิเวอร์ เนลสัน, ชาร์ลี, วิลลี รอดริเกซ, วิลลี เดนนิส และแกรีแม็กฟาร์แลนด์ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเสียงในฟิล์มของผมตอนเรียนมัธยมปลายผลงานอุทิศให้พอลนั้นร่ายมนต์สะกดให้ผมออกไปซื้อโน้ตเพลงของฟิลมาเลยทีเดียวเพื่อที่จะลองเอามาเล่นให้ได้ ใช่แล้วครับ ยิ่งอ่านยิ่งเล่นไปผมก็ยิ่งอ้าปากค้างด้วยความอัศจรรย์ใจ

ครูของผมไม่ว่าจะเป็นซีซาร์,ซูต, พอล และฟิลต่างก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณผมความรักที่ผมมีให้พวกเขาเหล่านี้จึงถูกส่งต่อไปยังจิตใจและสติสัมปชัญญะ ซึ่งนั่นยิ่งเป็นการทำให้ผมถอยห่างออกจากอาการเหยียดเผ่าพันธุ์ในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัยความงดงามในการเล่นแจ๊สของนักดนตรีเหล่านี้ และความเฉลียวฉลาดในการสอนของซีซาร์ด้วยรูปแบบแห่งศิลป์สร้างและสรรค์จากวัฒนธรรมของบรรพบุรุษทำให้พวกเขากลายเป็นวีรบุรุษแห่งความสุนทรีย์ในสายตาของผม ซึ่ง “เชื้อชาติ”ของศิลปินเหล่านี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอันใดจากสุนทรียะที่ได้รับจากการฟังเพลงเลยแม้แต่เศษเสี้ยวธุลี

อย่างไรก็ตามผมไม่สนใจที่เขาถกเถียงกันเรื่องคนดำจะเป็นพวกเหยียดผิวไม่ได้เพราะว่าเราไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะข่มคนอื่นได้ การเหยียดผิวในความหมายทั่วไปก็คือทัศนคติที่มีต่อคนอื่นโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของอคติสุดขั้ว และถือมุมมองอันมีทิฐิที่สัมผัสรู้ได้ว่ามาจาก“เชื้อชาติ” ของพวกเขา ถ้าคุณรู้สึกและเชื่อว่าบุคคลแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มต่ำชั้นหรือด้อยค่ากว่ามนุษย์ทั่วไปเพราะว่าเชื้อชาติหรือสีผิวเป็นเหตุ ผมก็ยืนยันได้ว่าคุณเป็นพวกเหยียดผิวในทัศนะพฤติกรรมการเหยียดผิวของแต่ละบุคคลมักจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ทัศนคติทั่วไปและมุมมองเป็นรากฐานของพฤติกรรมส่วนบุคคลความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมอันมาจากการเหยียดผิวคือสิ่งที่เป็นโครงสร้างและระบบและเผยให้เห็นว่าความคิดพรรค์นี้บ่อนทำลายขนาดไหนเมื่อมันได้ฝังรากเข้าไปในสังคมและสถาบันทางกฎหมายของสังคมนั้นๆไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคลหรือสังคมก็แล้วแต่ การเหยียดผิวอาศัยกรอบคิดที่บกพร่องอย่างมากของมนุษยชาติ

ในการเดินทางของบทความชิ้นนี้เราจะเห็นได้ว่ามนุษยชาติได้บอกกล่าวถึงแจ๊สไว้อย่างไรทั้งในอดีตและปัจจุบันและแจ๊สส่องประกายแสงเรืองรองอย่างไรในการขับเคลื่อนผ่านวิธีคิดผิดๆของวัฒนธรรมเหยียดผิว ผมจึงได้เชื่อเหลือเกินว่าดนตรีแจ๊สได้ถือเอากุญแจเพื่อที่จะเอาชนะสิ่งที่นักวิจารณ์เรียกขานไว้ว่าเป็น“เหยื่อแห่งการเหยียดเชื้อชาติ” คุณๆเองก็ได้อ่านแล้วว่าแจ๊สได้ช่วยให้ผมหลุดพ้นจากการเป็นคนเหยียดผิวอย่างไรในประสบการณ์ส่วนตัวผมจะเขียนต่อเนื่องว่าด้วยเรื่องของการเหยียดผิวกับดนตรีแจ๊สว่าทำไมและอย่างไรแจ๊สถึงได้ยังคงทำหน้าที่รับใช้สังคมและวัฒนธรรมต่อไป เราจะสำรวจพลวัตทางวัฒนธรรมที่ตรงข้ามกับโครงสร้างทางสังคมยกตัวอย่างให้เห็นถึงภราดรภาพต่างวัฒนธรรม และปมขัดแย้งในแจ๊ส วิเคราะห์กันว่าเรื่องของการเหยียดผิวได้ก้าวข้ามผ่านคำว่า “ขาวกับดำ” ไปอย่างไร (ซึ่งจอห์น โฮป แฟรงคลินนักประวัติศาสตร์ผู้ล่วงลับเรียกขานว่า“สองโลกแห่งเชื้อชาติ”) ในยุคหลังที่พลเมืองมีความเสมอภาคและโดยเฉพาะในยุคสมัยของบารัก โอบามา

ผมว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราเหลือบแลสอดส่องมุมมองของเหล่านักวิจารณ์สายแจ๊สและกลุ่มนักดนตรีในประเด็นเชื้อชาติกับดนตรีแจ๊สบ้าง ไม่เพียงเท่านั้นเรายังน่าจะตั้งคำถามแสบๆ คันๆ เกี่ยวกับอภิสิทธิ์แห่งการเป็นคนขาวและการโจรกรรมทางวัฒนธรรม,ชาตินิยมผิวสี และทำไมเดี๋ยวนี้คนผิวสีถึงได้ฟังแจ๊สกันน้อยลงหรือว่าอะไรเป็นเหตุผลให้ไม่ค่อยมีนักวิจารณ์เพลงแจ๊สผิวสีในนิตยสารดนตรีหัวดังๆ เราจะยังดูต่อเนื่องไปถึงเหตุใดคนที่เรียกตัวเองว่า“นักดนตรีแจ๊ส” ถึงได้เลี่ยงหรือทอดทิ้งดนตรีที่มีรากอเมริกันผิวดำหากแต่พวกเขาเหล่านั้นก็ยังเล่นและแต่งเพลงที่อิมโพรไวส์ทั้งเจือหรือไม่เจือกลิ่นอายบลูส์หรือไม่ก็จังหวะสวิง

เชื้อชาติอาจจะเป็นเหมือนเส้นทางบทสนทนาในวิถีชีวิตอเมริกันมากกว่าเรื่องการเมือง,ศาสนา, เพศ, ชนชั้น หรือรสนิยมทางเพศ เพราะฉะนั้นการพูดคุยเรื่องเชื้อชาตินั้นไม่ว่าจะเกี่ยวเนื่องกับแจ๊สหรือไม่ก็ตาม คือความเสี่ยงทั้งสิ้น การรวมกันของความถูกต้องทางการเมือง,เกมชี้นิ้วกล่าวโทษคนอื่น, ความตื่นตระหนกหรือเหน็ดเหนื่อยเรื่องเชื้อชาติ,เงามืดที่ครอบงำ และความตะขิดตะขวงของหลายเรื่องราวที่ถูกกวาดเก็บเอาไว้ใต้พรมแล้วก็แค่หลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึง เรื่องเชื้อชาตินั่นก็เหมือนช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิดไม่มิด ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น

เพราะฉะนั้นผมก็เลยพยามที่จะทำสิ่งที่มองไม่เห็นให้มองเห็นได้ผ่านเรื่องราวตัวอย่าง, แบบร่างและความตั้งใจที่คิดเอาไว้ กับเจตนารมณ์มุ่งมั่นที่จะดำรงอยู่เหนือความคิดและมุมมองที่ยึดโยงอยู่กับสีผิวเพื่อขับเคลื่อนการเดินทางส่วนรวมของเราไปสู่เอกภาพอันสมบูรณ์แบบของคนรักแจ๊ส,พลเมืองอเมริกันและชาวโลก เราจะก้าวข้ามเชื้อชาติและอาศัยอยู่อย่างชนชาวอเมริกันที่งดงามถ้าเราไม่ยินยอมเผชิญหน้า และยอมรับบทเรียนอย่างที่ควรหรอกหรือ?

วิทยาลัยแฮมิลตันที่ผมเคยเล่าเรียนมาก่อนตอนนี้ได้กลายเป็นภาควิชาแอฟริกันศึกษา และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแจ๊สด้วยเช่นกันผมเรียนวิชาเอกนโยบายสาธารณะ และวิชาโทดนตรีที่นั่น ซึ่งวิชาดนตรีนี่แหละที่ทำให้ผมเข้าใจถึงดนตรีคลาสสิกยุโรปและอเมริกันแจ๊สผมยังเล่นอัลโตแซ็กในวงเล็กๆ และวงบิ๊กแบนด์ของทางโรงเรียนอีกด้วย

นับสิบปีก่อนที่ผมจะเข้าเรียนต่อใปนปี1981มีเด็กนักเรียนและกลุ่มนักเรียนเก่าที่โรงเรียนและกลุ่มนักดนตรีอาชีพ ซึ่งถูกว่าจ้างมาให้เล่นทั้งในโบสถ์ของโรงเรียนเราและโรงเรียนอื่นๆ สิบปีให้หลังจากที่ผมเรียนจบในปี 1985มังก์ โรว์ นักเทเนอร์แซ็กได้ก่อนตั้งหอจดหมายเหตุแจ๊สวิทยาลัยแฮมิลตัน ซึ่งตอนนี้ได้บรรจุบทสัมภาษณ์ของศิลปินแจ๊สมากกว่า300 ราย ละในช่วงหน้าร้อนปี 2010ผมก็ได้เข้าร่วมงานคืนสู่เหย้าประจำชั้นครั้งที่ 25 และทำพรีเซนเทชันนำเสนอคลิปจากJazz It Up! แหล่งข่าวแจ๊สออนไลน์และโปรแกรมวิดีโอบันเทิงที่ผมเคยจัดมาก่อน แครอล แบช เพื่อนร่วมชั้นรุ่นปี 85 ของผมซึ่งเป็นนักทำสารคดี ก็มานำเสนอผลงานสารคดีที่กำลังดำเนินการสร้างเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักเปียโนแจ๊สและคอมโพเซอร์ แมรี ลู วิลเลียมส์




Create Date : 21 ธันวาคม 2557
Last Update : 21 ธันวาคม 2557 11:23:32 น. 0 comments
Counter : 1687 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nunaggie
Location :
City of Angels, Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




คุยเฉพาะเรื่องเพลง :D

"I still find each day too short for all the thoughts I want to think, all the walks I want to take, all the books I want to read, and all the friends I want to see." John Burroughs

Follow my twitter @nunaggie :)

"มีเรื่องราวอีกมากมายให้ชีวิตต้องเดินทางไปค้นหา เราคงไม่ค้นพบทุกอย่างได้ เพียงแค่ชั่วชีวิตเดียว"
Creative Commons License
© Supada Luangsirimongkol 2015.
qrcode
Friends' blogs
[Add nunaggie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.