1
2 3 4 5 6 7 8
9 10 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 21 22
23 24 25 26 27 28 29
30 31
Vince Giordano ชีวิตและจิตใจ คือ แจ๊สและคืนวันแห่งอดีต
คิดว่าหลายๆ คนน่าจะได้ดูภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ มาร์ติน สกอร์เซซี เรื่อง The Aviator กันไปแล้ว สำหรับเรา ครั้งแรกที่เห็น ลีโอนาร์โด ดิคาร์ปริโอ ก็ยังไม่ชวนให้สนใจจะก้าวเท้าเข้าโรงภาพยนตร์สักเท่าไร เนื่องจากยังไม่ค่อยติดใจในผลงานที่ผ่านมาของหนุ่มน้อยคนนี้เท่าไรนัก แต่เขาว่า ดนตรีเปลี่ยนโลกและความคิด นี่ท่าจะจริง เพราะทันทีที่ได้ฟังอัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์เข้าไปแล้ว ก็พาลให้อยากจะดู The Aviator ขึ้นมาทันที หากจัดสรรเวลาลงตัวเมื่อไร คงไม่พลาดแน่ๆ มาเข้าเรื่องอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์กันต่อ งานชุดนี้น่าจะถูกในคอเพลงแจ๊สหลายๆ คนที่ชอบยุคสวิง เหนียวแน่นกับดนตรีเต้นรำแบบแทรดิชัน เพราจะมีเพลงที่อยู่ในช่วงยุคทศวรรษที่ 20, 30 และ 40 ให้ฟังอย่างจุใจ ถึงแม้ซาวด์จะเก่า แต่รับรองได้ว่าอารมณ์ความสุขสนุกสนานมีครบถ้วนแน่นอน ไม่ใช่แค่แจ๊สเท่านั้น หากแต่ยังมี Pop tune เข้ามาสอดแทรกเป็นกระษัยด้วยอีกต่างหาก รวมไปถึงดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นมาใหม่อีก 3 ชิ้น นั่นก็คือเพลง Shake That Thing, Yellow Dog Blue และ Stardust จากฝีมือการทำงานของ Vince Giordano .... ถ้าไม่รู้จัก ลองอ่านบทความสัมภาษณ์นาย จิออร์ดาโน คนนี้ คุณคงจะรู้จักเขามากขึ้น วินซ์ จิออร์ดาโน กับวัย 52 ปีในวันนี้ ได้ผ่านขวบปีแห่งการเรียนรู้ดนตรีตั้งแต่สมัยทศวรรษที่ 20 และ 30 ทั้งแจ๊สและป็อป เขาได้ร่วมงานกับผู้กำกับฝีมือเยี่ยมอย่าง วู้ดดี อัลเลน, มาดอนนา, เทอร์รี ซไวส์ก็อฟ, แกร์ริสัน ไคล์เลอร์ และ นิวยอร์ก ฟิลฮาร์โมนิก ล้วนแล้วแต่เคยใช้บริการ จิออร์ดาโน กับ เดอะ ไนต์ส ฮอว์คส วงดนตรีบิ๊กแบนด์ 11 ชิ้นของเขามาแล้วทั้งนั้น ดนตรีของ จิออร์ดาโน ทำให้หวนระลึกถึงวันคืนแห่งอดีตได้ดีนักแล นอกจากนั้นเขายังปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง The Aviator เรื่องราวของ ฮาวเวิร์ด ฮิวจ์ส ในบทนักร้องทริโอร้องเพลง Happy Feet ในนามวง พอล ไวท์แมนส ริธึม บอยส์ ด้วย ผมยังไม่ได้ดูหนังเลยครับ แต่เพื่อนผมที่ดูแล้วกลับมาบอกผมว่า เพลงของเราอยู่ช่วงครึ่งแรกเยอะเลย จิออร์ดาโน เริ่ม เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับงานของเขาที่ทำใน The Aviator มันมีงานที่ออกมาเป็นซีดีเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้นะครับ จริงๆ เรามีเพลงเยอะแยะในหนัง แต่พวกเขายังไม่ค่อยได้ให้เครดิตเราเท่าไร อย่างเพลงร้องนี่เขาลงเครดิตเฉพาะนักร้อง แต่วงแบ็กอัพอย่าง เดอะ ไนต์ ฮอว์กส กลับไม่มีชื่อให้ มีแต่ชื่อ รูฟัส เวนไรต์, เดอะ แมนฮัตตัน ริธึม คิงส์, มาร์ธา เวนไรต์, ลูดอน เวนไรต์ที่สาม และ เดวิด โจแฮนเสน แต่เราไม่ได้เครดิตในการเป็นวงแบ็กอัพเลย เราเล่นตั้ง 8 เพลง แต่มีเครดิตลงให้แค่ 3 เพลงเท่านั้นเอง จิออร์ดาโน ระบายความในออกมาก่อนจะเล่าต่อว่า ผมชอบฉากโคโคนัท โกรฟครับ ถ่ายกันในแคนาดาและโรงหนังโกรแมน ฉากยิ่งใหญ่อลังการมาก ผมแทบไม่อยากจะเชื่อ พวกเขาทำขึ้นเพื่อย้อนกลับไปให้สมจริงกับความเป็นคลับในอดีตที่เล่นกันสมัยก่อน ผมหวังว่าอัลบัมเพลงประกอบนี่จะเข้าถึงคนในวงกว้าง เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ฟังบ้าง มีอย่างหนึ่ง ดิ คาปริโอ บอกกับผมว่า ผมไม่เคยรู้เลยนะเนี่ยว่า ดนตรีสำคัญกับชีวิตขนาดนี้ มันทำให้เรามีชีวิตชีวามากจริงๆ คุณก็รู้นะใครๆ กีมักจะคิดว่า ดนตรีซาวด์เก่าๆ น่ะเอ๊าท์แล้ว และไม่ค่อยอินกับมันเท่าไร เขาต้องเข้าให้ถึงบุคลิกของ ฮิวจ์ส ให้มากที่สุด สิ่งที่เขาต้องการคือใช้เวลาฟังเพลงเก่าๆ เราก็เลยหวังว่ามันน่าจะส่งผลต่อคนรุ่นใหม่ๆ อย่างนี้บ้าง นักดนตรีแร็กไทม์บางคนมักจะพูดถึงอิทธิพลที่ได้รับจากหนังเรื่อง The Sting ถ้าผมได้อ่านครั้งหนึ่ง ผมก็จะอ่านซ้ำอีกร้อยหน จริงๆ มีหนังดีๆ ที่เกี่ยวกับแร็กไทม์เยอะมากๆ ดังนั้น ผมก็เลยอยากจะมีหนังดีๆ สักเรื่องที่พูดถึงดนตรีในยุคทศวรรษที่ 20 และ 30 ซึ่งคนหนุ่มจะกลับมาพูดว่า หนังเรื่องนี้เยี่ยมจริงๆ เพลงก็แจ๋ว ทำให้ผมทำงานได้ดีขึ้นแล้วก็ชอบเพลงพวกนี้มากขึ้น นั่นล่ะความฝันของผม จิออร์ดาโน เริ่มเล่นดนตรีกับวงคอมโบ (วงดนตรีแจ๊สขนาด 3-6 ชิ้น) เล็กๆ แบบนันสต็อป แต่หากเป็นไปได้ เขาคงจะเลิกเล่นแบบนั้น แล้วหันมาอัดแผ่นเสียงเป็นจริงเป็นจังดีกว่า ผมได้ไปฟังคอนเสิร์ตของคณะแจ๊สนิวยอร์กมาสองครั้ง ผมรู้สึกติดใจมาก นักดนตรีเก่งๆ เล่นเพลงดีๆ พวกนี้ อ่านโน้ตเดิมๆ โซโลแบบเดิมๆ พวกเขาเก่งขนาดที่จะคิดโซโลขึ้นมาเองได้ แต่ก็เหมือนถูกตรึงไว้กับมนต์เพลงเก่าๆ ในคืนนั้น มีทั้ง บิกซ์ เบเดอร์เบ็ก หรือ เฟล็ตเชอร์ เฮนเดอร์สัน ผมก็เลยบอกว่า โอ มันจะเป็นไปได้ไหมเนี่ย ที่เราจะเก็บดนตรีแบบนี้ไว้บนแผ่นซีดี เก็บมันไว้ให้เป็นเหมือนดนตรีของปัจจุบันเนี่ย?? เมื่อครั้งเริ่มต้นเล่นดนตรีใหม่ๆ จิออร์ดาโน ได้ศึกษาวิชาจาก บิล แชลลิส (แชลลิส เป็นนักอะเรนจ์เพลงชื่อดังที่ทำให้กับ พอล ไวท์แมน และเป็นเพื่อนของ บิกซ์ เบเดอร์เบ็ก ซึ่งเขาเป็นคนสร้างไลน์เปียโนสวยๆ ให้กับเพลง In A Mist ไว้ด้วย) บิล จะมีวิธีการสอนแบบ ระบบชิลลิงเงอร์ ซึ่งเป็นวิธีการที่เติบโตในช่วงต้นทศวรรษที่ 30 เป็นการแต่งเพลงและอะเรนจ์เพลงด้วยการคิดอย่างคณิตศาสตร์ เกิร์ชวิน, เกล็น มิลเลอร์, เฟิร์ด กรอฟฟี, บิล แชลลิส แล้วก็นักดนตรีอีกหลายคนที่สนใจวิธีการนี้ ซึ่งจะทำให้สมองของคุณคิดอะไรได้อย่างแม่นยำ เมื่อครั้งที่ จิออร์ดาโน เริ่มต้นกับวง ไนต์ฮอว์กส ในช่วงทศวรรษที่ 70 ซึ่งเป็นยุคสมัยของ อาร์. ครัมบ์, วู้ดดี อัลเลน, ลีออน เรดโบน และหนังเรื่อง The Sting เขาบอกว่า ผมว่าเพลงผมไม่ล้าสมัยหรอก ผมกลับคิดว่ามันเจ๋งซะอีก พวกเขาไม่เข้าใจว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ ผมไปเล่นที่กองทัพเรือ (จิออร์ดาโน เป็นสมาชิกวงเล่นให้กับกองทัพเรือในช่วงปี 1970-1972) เพื่อนๆ ผมเขาก็ไปร่ำไปเรียนที่เบิร์ก ลีกันหมดแล้ว พวกเขาเห็นผมแล้วยังส่ายหัวเลยแบบว่า ทำไมผมต้องย้อนยุคขนาดนี้ด้วยเนี่ย? แต่ผมกลับรู้สึกว่าผมทำงานกับของเก่าแบบนี้ได้ดีกว่านะ ผมว่า 30 ปีก่อนนี้การเล่นแจ๊สเก่าๆ แบบนี้มันยากนะ เพราะว่าจะมีแต่คนตั้งคำถามกับคุณทั้งนั้น แต่ผมว่า.. ไม่กี่ปีผ่านไป ก็มีคนอย่าง วินตัน มาร์แซลิส ออกมาเล่นแจ๊สคู่กับออร์เคสตรา เหมือนจะบอกว่า เฮ้ เราชอบแจ๊สหลายๆ แบบนะ มันไม่เห็นจะเสียหายนี่ถ้าจะชอบแจ๊สอย่าง หลุยส์ อาร์มสตรอง หรือ ดุ๊ค เอลลิงตัน เนี่ยเพลงดีนะ ลูกวงผมก็เคยทะเลาะกันแบบนี้ประจำ ไม่เห็นจะเป็นไรที่เราจะขุดเอา เจลลี โรล มอร์ตัน มาเล่น มันก็เหมือนเล่นเพลงของ โคลเทรน นั่นแหละ กับคำถามเกี่ยวกับคลาสสิค แจ๊สที่นับวันคนรุ่นใหม่จะฟังน้อยลงแล้ว จิออร์ดาโน คุยว่า ผมก็สังเกตมาเหมือนกันว่าเทศกาลเพลงแจ๊สเก่าๆ นั้นคนจัดก็เจ็บตัวไปมากพอควร ผมว่านักดนตรีที่มีฝีมือน่ะมีเยอะแยะไปนะ สิ่งที่ผมกลัวก็คือพวกเขาไม่ค่อยได้คำนึงถึงธุรกิจดนตรีและการทำธุรกิจกับดนตรีเท่าไร โอเค มันดีอยู่แล้วล่ะที่คุณเป่าของคุณไปน่ะ แต่คุณเป่าให้ใครฟังที่ไหนกันล่ะ? แจ๊สคลับในนิวยอร์กนับวันก็จะเล็กลงๆ ทุกวัน ผมไม่อยากจะพูดเลย แต่ทุกวันนี้ คุณไปนิวออร์ลีนส์ แต่คุณจะไม่ได้ยินแจ๊สแบบเก่าๆ อีกแล้ว ที่ที่คุณคิดว่าจะได้ฟังแจ๊สอย่างที่เคย ก็ไม่มีแล้ว มันไม่มีที่ให้เล่น ดนตรีแบบนี้ก็ค่อยๆ เหี่ยวเฉาไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ต้องตายลงไป ทุกครั้งที่ผมเล่นที่คลับจบแล้ว ผมก็จะบอกว่า ช่วยไปดูแสดงสดกันเยอะๆ นะครับ ไม่ว่าจะเป็นคาบาเรต์ เป็นแจ๊ส เป็นคันทรี ดูไปเถอะครับ ผมว่ายังไงคุณก็น่าจะมีความสุขกับการแสดงสดมากกว่าฟังเพลงจากดีเจล่ะ ผมเองก็มีโครงการคืนกำไรให้กับคนฟังเหมือนกัน ผมวางแผนจะทำคลับที่ไม่หวังกำไรขึ้นมาที่นิวยอร์ก สำหรับให้พวกเด็กๆ ได้เข้ามาเยี่ยมชม ซึ่งจะมีทั้งหนัง ทั้งเครื่องดนตรี อืม..อาจจะมีเซซามี สตรีทด้วย แล้วก็จะมีวิทยากรให้ความรู้กับพวกเขาแบบไม่ยากเกินไปนัก พอตกกลางคืนก็มีบรรยากาศจำลองในคลับให้ดูด้วย แล้วการทำองค์กรแบบนี้ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องจะมีพ่อค้ามาเทคโอเวอร์ด้วย เหมือนอย่างที่คลับหลายๆ ที่เป็นมาแล้ว ดูเหมือนว่า จิออร์ดาโน จะค่อนข้างเครียดกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับแทรดิชัน แจ๊สอย่างมากเลยทีเดียว เขาบอกอีกว่า เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยฟังเพลงจากพวกแผ่นเสียงเท่าไร ก็แน่นอนล่ะ เพราะเสียงจากแผ่นเก่าๆ นั้นมันไม่ใสกิ๊กเหมือนการฟังจากแผ่นซีดี ผมคิดว่าการแสดงสดให้เด็กพวกนี้ได้ดู มันเหมือนกับการเปิดโลกให้พวกเขา เด็กๆ จะได้สัมผัสทรอมโบน ได้เห็นคลาริเน็ตจริงๆ แล้วก็มานั่งดูเรื่องราวของ ดุ๊ค เอลลิงตัน กับ หลุยส์ อาร์มสตรอง เขาทำอะไรกันบ้างตอนที่ยังเด็ก ซึ่งคงแน่นอนล่ะครับว่าโครงการนี้ผมคงทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีอะไรจัดการหลายอย่าง ผมยังไม่เคยเห็นใครพูดถึงการทำโครงการแบบนี้ มันต้องมีคนทำขึ้นมา หรือไม่งั้นก็ปล่อยให้มันตายไปอย่างนั้น จิออร์ดาโน ได้ทำงานเพลงประกอบหนังเงียบไปแล้ว 3 เรื่องนั่นก็คือหนังของ บัสเตอร์ คีตัน (Sherlock, Jr.) และอีก 2 เรื่องของ ฮาโรลด์ ลอยด์ (Get Out And Get Under และ Dizzy) ผมได้เล่นเพลงพวกนี้ในเทศกาลหนังอีสต์ แฮมป์ตันด้วย แล้วก็ไปเล่นที่ดิสนีย์ ผมชอบเล่นสดกับหนังเงียบแบบนี้ มันซิงค์กันดี ผมอยากทำงานแบบนี้อีกเยอะๆ เลย หากรู้จำนวนผลงานที่ จิออร์ดาโน สะสมแล้ว หลายๆ คนคงตะลึงมิใช่น้อย คร่าวๆ คือ งานอะเรนจ์เพลงบิ๊กแบนด์ 30,000 ชิ้น มาโน้ตเพลงอีก 27,000 ชิ้น และคิวเพลงประกอบหนังเงียบอีก 10,000 ชิ้น โอ้โห....มิใช่น้อยจริงๆ ผมเก็บสะสมงานมาตั้งแต่ยุค 70 แล้วตั้งแต่ผมเริ่มค้นพบว่ามันมีเพลงให้ฟังมากมายในโลก ตอนแรกก็เริ่มลงโฆษณาในหนังสือ ดิ อินเตอร์เนชันแนล มิวสิเชียน บอกว่าต้องการหาเพลงเต้นรำเก่าๆ แล้วผมก็ได้รับจดหมายจากเพื่อนร่วมอุดมการณ์ มาเรียน แม็คเคย์ ส่งคอลเลคชันมาให้ผม นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้ห้องสมุดดนตรีของเขามาครอบครอง แล้วอีกหนก็ตอนที่ผมนั่งอยู่ในออฟฟิศของ ปีเตอร์ ดัชชิน เพื่อนร่วมงานของผม คุยๆ กันไป เลขาของเขาก็เข้ามาบอกว่า คุณปีเตอร์คะ มีคนเอาคอลเลคชันแผ่นมาขายค่ะ เขาไม่สน แต่ผมรีบบอกเลยว่า เดี๋ยวครับ ให้ผมไปดูแผ่นพวกนั้นเองได้ไหมครับ คนคนนั้นคือ อาร์โนลด์ จอห์นสัน เขามีวงดนตรีเมื่อตอนยุคทศวรรษที่ 20-30 และเป็นคนแรกที่จ้าง ฮาโรลด์ อาร์เลน ตอนที่เพิ่งมาจากบัฟฟาโล ตอนนั้น อาร์เลน กำลังเขียนชิ้นงานด้วยลายมือตัวเอง ถ้าผมไม่ได้นั่งในออฟฟิศตอนนั้น ป่านนี้แผ่นที่มีลายมือของ อาร์เลน คงจะไปอยู่ที่ไหนแล้วก็ไม่รู้ จิออร์ดาโน บอกว่า มีนักดนตรีคนหนึ่งมาหาผม แล้วก็ดูงานที่ผมสะสมพวกนี้ เขาบอกผมว่า คุณทำอะไรอยู่เนี่ย? ผมว่ามันไม่เห็นจะมีราคาอะไรเลยนะ คุณมีสิทธิออกความเห็นนะ แต่ผมจะบอกอะไรไว้อย่าง โจ เฮนเดอร์สัน ก็ใช้ของพวกนี้เป็นวัตถุดิบในการทำงานเหมือนกัน ไม่ใช่แค่ เฮนเดอร์สัน คนเดียว บิกซ์ เบเดอร์เบ็กซ์ ก็ใช้ พอล ไวต์แมน ก็ใช้ พวกเขาไม่มีเงินมานั่งจ้างนักอะเรนจ์ราคาแพงๆ หรอกนะครับ พวกเขาอาจจะได้ไอเดียจากงานเก่าๆ พวกนี้แหละ แล้วหลังจากนั้นเป็นเรื่องการพัฒนาไอเดียแล้ว บิล แชลลิส บอกผมว่า งานเยอะแยะหลายชิ้นของ เฮนเดอร์สัน มาจากการพัฒนาไอเดียแบบนี้แหละ สำหรับผมแล้ว งานดนตรีเก่ามันสื่อภาษาที่แตกต่างจากภาษาที่เราสื่อกันทุกวันนี้..... เป็นการระบายความคิดที่แลดูขมขื่นของ จิออร์ดาโน พอสมควร ผมมักจะถูกวิจารณ์ว่าเป็นตัวแช่แข็งดนตรีแจ๊ส ผมแค่อยากจะบอกว่า เรามี หลุยส์ อาร์มสตรอง เราฟัง หลุยส์ เราฟังคนอื่นๆ เล่นเพลงเดียวกันนี้ แต่เมื่อ หลุยส์ เล่นมันแตกต่าง มันเป็นแบบของเขา นี่เป็นสาเหตุให้เราต้องกลับไปฟังงานของเขา มันเป็นงานอมตะเหมือน Symphony No.5 ของ เบโธเฟน หรือ Magic Flute ของ โมสาร์ต ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงมันได้ จริงๆ ก็ได้ แต่พวกเขาอยากฟังว่า โมสาร์ต เขียนเพลงอะไรออกมา แล้วทำไมเราไม่เคารพสิ่งซึ่งนักประพันธ์เขาเขียนไว้แต่แรกล่ะ? ความคิดและจุดยืนของ จิออร์ดาโน ค่อนข้างจะแข็งและมั่นคงในการอนุรักษ์ดนตรีแทรดิชัน แจ๊ส ถึงแม้เขาจะบอกในบางครั้งว่าไม่ได้ทำตัวเป็นพิพิธภัณฑ์สะสมของเก่า แต่ในส่วนลึกแล้ว เขาคงจะอดบอกตัวเองไม่ได้ว่า กลัวที่ดนตรีเก่าเหล่านี้จะเลือนหายไปจากความทรงจำของนักฟังเพลงและนักดนตรีรุ่นใหม่ๆ ดนตรีแทรดิชันนั้นมีเสน่ห์แน่นอนที่เราไม่สามารถปฎิเสธได้ เราคงจะได้แต่รอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ความกริ่งเกรงของ จิออร์ดาโน นั้นจะเป็นจริงขึ้นมาหรือไม่ ซึ่งเราหวังว่าไงจะไม่เกิดขึ้น Selected works of Vince Giordano 1992 Quality Shout 1994 Vince Giordanos Nighthawks 1995 Goldkette Project 2004 its De-Lovely-The Authentic Cole Porter Collection
Create Date : 09 ตุลาคม 2548
Last Update : 9 ตุลาคม 2548 14:17:09 น.
2 comments
Counter : 5395 Pageviews.
โดย: 5150_b วันที่: 10 ตุลาคม 2548 เวลา:7:56:34 น.
โดย: กังซี IP: 61.91.137.78 วันที่: 18 ตุลาคม 2548 เวลา:13:48:22 น.
Location :
City of Angels, Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [? ]
คุยเฉพาะเรื่องเพลง :D "I still find each day too short for all the thoughts I want to think, all the walks I want to take, all the books I want to read, and all the friends I want to see." John Burroughs Follow my twitter @nunaggie :) "มีเรื่องราวอีกมากมายให้ชีวิตต้องเดินทางไปค้นหา เราคงไม่ค้นพบทุกอย่างได้ เพียงแค่ชั่วชีวิตเดียว"
© Supada Luangsirimongkol 2015.
The following text will not be seen after you upload your website,
please keep it in order to retain your counter functionality
Free Trackers Help