"แจ๊ส....ฉัน"
Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
75 สุดยอดมือกีตาร์พันธุ์แจ๊ส (4)

ศิลปินเอกผู้ร่ายดนตรีบลูส์


1. Robert Johnson โรเบิร์ต จอห์นสัน มือกีตาร์พรสวรรค์ชาวมิสซิสซิปปีผู้ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์วัยในปี 1938 โรเบิร์ตเป็นสุดยอดปรมาจารย์ ตำนานของบลูส์เลยก็ว่าได้ ฝีมือระดับเทพที่ใช้เวลาเพียงไม่นานก็ได้มาแบบไม่น่าเชื่อ นักดนตรีร่วมสมัยนั้นต่างก็พากันอิจฉาในความฉกาจฉกรรจ์ เขาผสมผสานทุกอย่างตั้งแต่การสไลด์ที่แพราวพราว ไปจนถึงการทูนกีตาร์ลี้ลับไม่มีใครรู้ นอกจากนั้นเขายังเป็นนักแต่งเพลงที่มีความสร้างสรรค์ดึงเอาแนวคิดในโครงสร้างของเพลงไปใส่ในเพลงบลูส์ และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในความสามารถโดยสัญชาตญาณ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งเป็นนัยถึงความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างให้กับนักดนตรีคนอื่นๆ ที่แสดงบนเวที “โรเบิร์ต จอห์นสันก้าวล้ำหน้าไปไกลมากจนไม่น่าเชื่อ” จอห์น แม็กลัฟลินกล่าว “คอนเซ็ปต์ในการเล่นของเขานั้นเป็นเสมือนรากฐานเลย ส่งอิทธิพลในการเล่นให้ผมเยอะมาก เลยไปถึงมือกีตาร์คนอื่นๆ หลายคน แล้วก็ไม่ใช่น้อยๆ ด้วยหากจะพูดถึงเอริก แคลปตัน”





2. Sister Rosetta Tharpe ซิสเตอร์ โรเช็ตตา ธาร์ป เริ่มแรกด้วยชื่อ ลิตเติล โรเช็ตตา นูบิน “มหัศจรรย์แห่งการร้องเพลงและเล่นกีตาร์” โรเช็ตตาเริ่มต้นอาชีพของเธอด้วยการแสดงคู่กับแม่ หมอสอนศาสนา ผู้ซึ่งเล่นแมนโดลินและเทศน์อยู่ที่แคมป์ลี้ภัยทางภาคใต้ หลังจากครอบครัวย้ายมาที่ชิคาโกช่วงปลายยุค 1920 โรเช็ตตามักจะเล่นบลูส์และแจ๊สด้วยรสนิยมส่วนตัว แต่ในที่สาธารณะเธอจึงเล่นดนตรีกอสเปล สไตล์กีตาร์ของเธอนั้นชัดเจนว่า ได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีทางโลก เนื่องเพราะการโยกสายเปลี่ยนโน้ตอย่างที่นักดนตรีแจ๊สและบลูส์ใช้กัน ในช่วงยุค 1930 เธอได้เล่นกับฮีโรดนตรีแจ๊สบ่อยครั้งกับแค็บ คัลโลเวย์ และเบนนี กูดแมน





3. T-Bone Walker ทีโบน วอล์กเกอร์ ช่วงปลายยุค 1930 ทีโบนเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบุกเบิกกีตาร์ไฟฟ้าไปสู่ดนตรีบลูส์ยุคใหม่ ซึ่งส่งอิทธิพลทางดนตรีให้กับเพลงป็อปที่ตามมาเหมือนกัน เขาผสมผสานเทคนิกการเล่นบลูส์เข้ากับกีตาร์ไฟฟ้าด้วยจังหวะแจ๊สและสวิง อันเป็นที่นิยมของยุคนั้น T-Bone Blues และ Stormy Monday เพลงฮิตในยุค 1940 ของเขาขึ้นหิ้งในฐานะเพลงบลูส์อมตะเป็นที่เรียบร้อย และเป็นบลูส์ที่มีรากฐานแจ๊สอันเป็นสไตล์ของเขา ลีลาการโซโลดุเดือดสายเดี่ยวของทีโบนได้ส่งแรงบันดาลใจให้กับมือกีตาร์บลูส์อย่าง บีบี คิง และกีตาร์ร็อกอย่าง ชัค แบร์รี, เอริก แคลปตัน และสตีวี เรย์ วอห์น





4. B.B. King บีบี คิง ผู้มีการเล่นกีตาร์ที่มีพื้นฐานมาจากสไตล์การเล่นของทีโบน วอล์กเกอร์ บีบี คิงเติมจังหวะของแจ๊สสมัยใหม่และใช้ประโยชน์จากการเล่นผ่านแอมป์ได้อย่างสูงสุด จากการคงเสียงของตัวโน้ตเอาไว้ ทั้งจังหวะ การพัฒนาขั้นสำคัญของเขาเป็นไปในหลายรูปแบบของการเฟรสซิงแบบขัดจังหวะ, ใช้คอร์ดบาร์ราจ หรือไม่ก็การโยกสายเปลี่ยนโน้ต เสียงกีตาร์ของบีบี คิงเป็นส่วนเสริมเติมเต็มให้กับเสียงร้องของเขามาก เป็นท่อนรับส่งที่เข้ามารับช่วงทันทีที่หมดท่อนร้องพอดี “ซาวด์ที่ออกมาสำคัญกว่าการเล่นออกมาแบบโน้ตะเยอะแยะ” เขากล่าว “เหมือนกับรถนั่นแหละ ถ้าไม่ใช่รถแรงๆ ก็เป็นรถประหยัด แต่คุณมีพร้อมกันสองแบบไม่ได้แน่นอน”





5. Lonnie Johnson ลอนนี จอห์นสัน ผู้บุกเบิกการโซโลอิมโพรไวส์ เล่นทีละโน้ตด้วยพิก ในบทเพลง 6/88 Glide ที่ออกมาใช้ปี 1927 เทคนิกการเล่นของเขาเข้าถึงเหล่านักดนตรีที่ใช้สไตล์ลอนนีปูทางสู่ดนตรีอิเล็กทริกบลูส์ งานบันทึกเสียงยุคแรกๆ ของเขาเป็นการเล่นกีตาร์ 12 สาย ในลักษณะที่เป็นอิทธิพลต่อชาร์ลี คริสเตียน และจังโก ไรน์ฮาร์ดต ลอนนีถือเป็นมือกีตาร์บลูส์ที่เล่นติดกลิ่นอายแจ๊สมากที่สุดในบรรดานักเล่นสมัยแรกๆ แล้ว ในปี 1927 ช่วงนิวออร์ลีนส์ขาขึ้น ลอนนีได้บันทึกเสียงกับหลุยส์ อาร์มสตรองและวงฮ็อต ไฟว์ และในปี 1928 เขาได้บันทึกเสียงกับดุก เอลลิงตัน





6. John Lee Hooker จอห์น ลี ฮุกเกอร์ ถนัดในการเล่นคอร์ดเดียวเสียงหอนๆ ซึ่งได้ผูกร้อยเดลตา บลูส์ไว้กับอิเล็กทริก บลูส์ยุคหลังสงครามโลก จอห์นเป็นนักเล่นขับเคลื่อนด้วยจังหวะอิสระไม่ใคร่จะเล่นบีตมาตรฐานเท่าใดนัก เนื่องจากเขาจะเปลี่ยนจังหวะเพื่อให้เข้ากันได้กับเพลงมากกว่า เขาเป็นคนสรรค์สร้างจังหวะใหม่ๆ ให้กับบลูส์ บ่อยครั้งที่ใช้เปียโนสไตล์บูกีวูกีเข้ามาปรับเป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง จอห์น แม็กลัฟลินเคยสาธยายเกี่ยวกับจอห์นไว้ว่า “จอห์นเป็นมือกีตาร์บลูส์คนสำคัญ และเป็นนักเล่นที่น่าเกรงขาม” จอห์นมักจะเดินสายเบสด้วยนิ้วโป้ง หยุดย้ำตอนหมดไลน์ด้วยการแฮมเมอร์ออนและพูลออฟเป็นชุด เพลงที่เป็นที่รู้จักของจอห์นคือ Boogie Chillen (1948) และ Boom Boom (1962)





7. Buddy Guy บัดดี กาย ได้เป็นผู้เปลี่ยนแนวความคิดของดนตรีบลูส์ไปด้วยการเล่นสดที่ทรงพลัง และการเล่นที่ดุดัน หนักกน่วงในแบบซิงเกิลโน้ต เขานำดนตรีไปสู่จุดสูงสุด เล่นทุกอย่างจากดิสทอร์ชันและฟีดแบ็ก ไปสู่การโยกสายเปลี่ยนโน้ตและการการลากเสียง มือกีตาร์บลูส์ผู้หลงใหลในแจ๊สและติดกลิ่นอายนิดๆ ของอาร์แอนด์บีได้เป็นอิทธิพลสำคัญต่อนักเล่นบลูส์ในยุคต่อมาเลยก็ว่าได้ รวมไปถึงเอริก แคลปตัน, สตีวี เรย์ วอห์น และจิมมี เฮนดริกซ์ “ผมวางรากฐานทุกอย่างจากปฏิกิริยาของแฟนเพลง” เขาเคยเล่าไว้ “ถ้าลูกเล่นมันได้ผล ผมก็ใช้”





8. Muddy Waters มัดดี วอเตอร์ส ได้ครอบครองแนวหน้าดนตรีบลูส์ในชิคาโกช่วงยุคหลังสงครามโลก หลังจากย้ายตัวเองไปสู่ Windy City ในปี 1943 ศิลปินที่ถือเป็นอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในแบบฉบับของอิเล็กทริกบลูส์ ทั้งยังเป็นตัวเอ้ของการเล่นกีตาร์สไลด์ในแบบเดลตา บลูส์ที่เสริมเสียงร้องให้กับตัวเองได้อย่างเปี่ยมประสิทธิภาพ ซาวด์วงของเขาเป็นซาวด์ดุดัน ฉูดฉาดในแบบมิสซิสซิปปีรุ่นเก่า “ผมคิดเสมอว่าตัวเองเป็นนักดนตรี” มัดดีเคยกล่าวไว้ “ถ้าผมยังไม่ใช่นักดนตรีที่เก่งพอ ผมก็จะกลายเป็นนักดนตรีเก่งได้ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วหลังจากนั้น ผมมีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นอย่างนั้นจริงๆ”





9. Albert King อัลเบิร์ต คิง หนึ่งในมือกีตาร์ไฟฟ้าระดับหัวแถวช่วงหลังยุคสงครามโลก อัลเบิร์ตเล่นในสไตล์ของมิสซิสซิปปี บลูส์ ได้เรียนกีตาร์ด้วยตัวเอง โดยใช้นิ้วบรรเลงแทนพิก ถือกีตาร์พลิกกลับขึ้นมาในแบบฉบับของกีตาร์ซ้าย ตลอดชีวิตการเล่นดนตรีเขาเจาะจงเล่นออกมาคมบาดจิต ต้องขอบคุณการทูนสายแบบแหวกประเพณีที่เขาใช้ อัลเบิร์ตสามารถโยกสายได้ทารุณในอารมณ์ ซึ่งบ่งบอกสไตล์ของเขาได้อย่างชัดเจน อันเป็นการแยกแยะตัวเองจากมือกีตาร์รุ่นเดียวกันไปโดยปริยาย “เขาโยกโน้ตต่ำลงข้างล่าง เพื่อให้ได้เสียงของการโยกโน้ตขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มือกีตาร์ทั่วไปเล่นกัน” จอห์น สกอฟิลด์พูดถึงการเล่นของอัลเบิร์ต “มีแรงผลักดันที่แตกต่างในการทำงานและกล้ามเนื้อมือขวาที่ใช้เล่น ดังนั้นเขาเลยได้ซาวด์ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกและพิสดาร”






Create Date : 28 มกราคม 2553
Last Update : 28 มกราคม 2553 11:37:26 น. 1 comments
Counter : 1878 Pageviews.

 
แวะมาค่ะ อิอิอิ


โดย: prunelle la belle femme วันที่: 31 มกราคม 2553 เวลา:19:37:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nunaggie
Location :
City of Angels, Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




คุยเฉพาะเรื่องเพลง :D

"I still find each day too short for all the thoughts I want to think, all the walks I want to take, all the books I want to read, and all the friends I want to see." John Burroughs

Follow my twitter @nunaggie :)

"มีเรื่องราวอีกมากมายให้ชีวิตต้องเดินทางไปค้นหา เราคงไม่ค้นพบทุกอย่างได้ เพียงแค่ชั่วชีวิตเดียว"
Creative Commons License
© Supada Luangsirimongkol 2015.
qrcode
Friends' blogs
[Add nunaggie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.