สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

อุดฟันไปแล้ว ทำไมผุอีก



การอุดฟัน คือ การบูรณะฟัน เพื่อให้ฟันอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ โดยมีรูปร่างลักษณะเหมือน หรือใกล้เคียงฟันเดิม บางครั้งอาจอุดฟันเพื่อแก้ไขฟันเดิมให้ดีขึ้น หรือสวยงามขึ้น ซึ่งหลังจากอุดไปแล้ว ต้องใช้บดเคี้ยวอาหารได้ด้วย

ฟันที่จะต้องอุดไม่เฉพาะแต่ฟันที่มีรอยผุ หรือ เป็นรูเพียงอย่างเดียว ฟันที่แตก บิ่น ฟันที่มีรอยสึก ทั้งเนื่องจากการแปรงฟัน หรือจากอาหารที่รับประทาน ถ้ามีอาการเสียวฟันขณะทานอาหาร หรือของหวาน ดื่มน้ำเย็นหรือบ้วนน้ำก็อาจต้องอุดก่อนอุดฟัน ทันตแพทย์จะต้องเตรียมฟัน หรือบริเวณที่จะอุดก่อน เพื่อให้เหมาะสมกับวัสดุที่ใช้อุด ถ้าเป็นฟันที่ผุต้องกรอรอยผุออกจนหมด เหลือแต่เนื้อฟันส่วนที่แข็งและดีไว้ ฟันที่แตก บิ่น หรือสึก ก็อาจต้องกรอแต่งฟันบ้าง เพื่อให้ได้ขนาดและรูปร่างเหมาะสม ที่วัสดุอุดจะยึดอยู่กับเนื้อฟัน และมีความแข็งแรงพอ ที่จะรับแรงบดเคี้ยวอาหารได้

วัสดุที่ใช้อุดฟัน ในปัจจุบันมีหลายชนิดมีทั้งวัสดุ ที่เป็นโลหะผสม หรือเรียกว่า อมัลกัม เมื่ออุดใหม่ๆ จะเป็นสีเทา ถ้าขัดแล้วจะขึ้นเงาเป็นสีเงิน มักใช้สำหรับอุดฟันกราม วัสดุอุดที่มีสีเหมือนฟันเป็นพวก คอมโพสิตมักใช้อุดฟันหน้า

อมัลกัม ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของแข็ง อาจเป็นผง หรืออัดเป็นเม็ด ซึ่งจะมีส่วนผสมของเงิน ดีบุก เป็นส่วนใหญ่ ทองแดง สังกะสี เล็กน้อย และส่วนที่เป็นของเหลว คือ ปรอทบริสุทธิ์ เวลาใช้จะนำส่วนผสมทั้งสองนี้มาปั่นให้เข้ากัน จนอยู่ในสภาวะที่ปั้นได้ มีลักษณะนุ่มและไหลแผ่ จึงนำไปอุดในโพรงฟันที่เตรียมไว้ และตกแต่งให้มีรูปร่างตามต้องการได้ และเมื่อทิ้งไว้จะค่อยๆ แข็งตัว ซึ่งจะแข็งเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมง

ดังนั้นท่านจึงมักได้รับคำแนะนำว่า ไม่ควรใช้ฟันเคี้ยวอาหาร 1 วัน หลังจากอุดด้วยอมัลกัมไป เพราะจะทำให้อมัลกัมแตกได้ หลังอุดฟันจึงควรใช้ฟันข้างที่ไม่ได้อุดเคี้ยวอาหารไปก่อน และนี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมหมอฟันจึงไม่อุดฟันให้ ทางด้านซ้ายและขวาพร้อมกัน เพราะต้องเหลือไว้เคี้ยว 1 ข้าง

อมัลกัม ยึดติดในโพรงฟันได้ โดยการอัดเข้าไปให้แนบกับผิวฟัน ฟันที่ผุจะต้องกรอให้ใหญ่พอ ที่จะใช้เครื่องมืออัดลงไปได้ ถ้าอุดไม่แน่นอาจะมีรอยแยกตรงจุดที่ต่อกับผิวฟันได้ และความหนาของวัสดุต้องมากพอเพื่อให้แข็งแรงไม่แตกง่าย ฟันที่ผุเพียงจุดเล็กน้อย ถ้าอุดด้วยอมัลกัม อาจต้องกรอโพรงฟันให้กว้าง และลึกพอที่จะอุดด้วยวัสดุนี้ได้

เนื่องจากอมัลกัมยึดติดกับผิวฟันด้วยความแนบ จึงมีการคิดค้นตัวนี้จะมาเชื่อมรอยต่อระหว่างอมัลกัมกับผิวฟัน ปัจจุบันมีน้ำยาให้ทาที่ผิวฟันก่อนอุดด้วยอมัลกัม เพื่อยึดผิวฟันและอมัลกัมเข้าด้วยกันจึงไม่มีช่องว่างระหว่างผิวฟัน และอมัลกัม ทำให้อมัลกัมยึดอยู่ในโพรงฟันได้ดีขึ้น

มีวัสดุอุดฟันอีกชนิดหนึ่งเป็นพวก คอมโพสิต จะมีคุณสมบัติโปร่งแสง จึงมีการผสมสีเข้าไปเพื่อให้ใกล้เคียงกับสีฟันธรรมชาติ และยึดกับโพรงฟันได้แน่นจึงไม่ต้องกรอฟันมาก ใช้สำหรับอุดฟันหน้า เพื่อความสวยงาม แต่ในปัจจุบันได้มีการเติมสาร เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรง ให้คอมโพสิตเข้าไปจนสามารถรับแรงบดเคี้ยวได้ จึงให้อุดในฟันกรามได้ด้วย

ข้อดีขอองวัสดุนี้ คือ สวยงาม และยึดติดกับผิวฟันได้ดี ดังนั้นในฟันกรามที่รอยผุไม่ใหญ่นัก จึงมักนิยมอุดด้วยคอมโพสิต คอมโพสิตแข็งตัวโดยใช้แสงเป็นตัวเร่งให้เกิดปฏิกิริยา เวลาอุดจะใช้เครื่องมือตักวัสดุออกจากหลอดบรรจุ นำมาใส่ในโพรงฟันที่เตรียมไว้ใช้แสงส่องไปที่วัสดุประมาณ 40 วินาที จะแข็งตัว จึงใช้เคี้ยวอาหารได้ทันทีหลังอุดเสร็จ

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า การอุดฟันจะมีรอยต่อระหว่างวัสดุกับผิวฟัน รอยอุดนี้ถ้าไม่แนบสนิท ไม่เรียบ มีร่องรอยแตกระหว่างรอยต่อ หรือมีขอบขึ้นมา จะเป็นที่กักเศษอาหาร และแปรงออกยาก หรือแปรงไม่ออก จึงอาจทำให้ฟันผุได้อีก วิธีที่จะช่วยได้คือ เมื่ออุดฟันด้วยอมัลกัมแล้ว ควรกลับไปให้ทันตแพทย์ขัดแต่ง บริเวณที่อุดหลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้ว ส่วนคอมโพสิต ทันตแพทย์จะขัดให้ทันทีหลังจากอุดเสร็จ เพราะแข็งตัวด้วยแสง การขัดจะช่วยทำให้ขอบวัสดุอุดแนบกับตัวฟันขึ้น และผิวของวัสดุอุดจะเรียบ ไม่เป็นที่สะสมคราบแบคทีเรีย เพราะจะแปรงออกได้ง่าย

ดังนั้นท่านที่คิดว่า ฟันที่อุดแล้วไม่ผุอีก เป็นการเข้าใจผิด จริงอยู่การอุดฟันทันตแพทย์จะกรอส่วนที่ผุจนหมดก่อนที่จะอุด บริเวณนี้ก็จะไม่ผุอีกแต่ยังมีฟันส่วนที่ไม่ได้อุดเหลือ จึงมีโอกาสผุได้อีก และได้กล่าวแล้วว่า ฟันที่อุดจะมีรอยต่อระหว่างผิวฟันกับวัสดุอุด จึงต้องดูและแปรงฟันให้สะอาด ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันด้วย รอยอุดไม่เรียบ ควรขัดให้เรียบเพื่อทำความสะอาดง่าย หมั่นตรวจดูรอยอุดว่ายังอยู่ในสภาพดีหรือไม่ ถ้ามีรอยแตกบิ่นควรรีบอุดใหม่ เพราะฟันที่ถูกกรอแล้วเคลือบฟันบางส่วนจะหายไปมีแต่เนื้อฟัน เนื้อฟันจะเป็นส่วนที่ผุง่ายจึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนมีอาการปวด เพราะอาจผุจนถึงโพรงประสาทฟันได้

ท่านที่มีฟันที่อุดด้วยคอมโพสิต ถ้าวัสดุหรือตามรอยขอบเปลี่ยนสี ควรให้ทันตแพทย์ตรวจเช็กดูว่า มีรอยรั่วหรือไม่ ท่านมีรอยอุดฟันในปากจึงควรให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปาก ทุก 6 เดือน ค่ะ







ขอบคุณข้อมูลจาก//women.thaiza.com




 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 10 พฤษภาคม 2553 8:59:01 น.
Counter : 1862 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
10 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.