สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ยาสีฟัน เพื่อนสนิทใกล้ชิดตอนเช้าและก่อนนอน



         ของใช้สำคัญที่เราต้องเจอกันทุกวัน และเป็นสิ่งที่เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับเรามากที่สุด หนึ่งในนั้นก็คือ ยาสีฟัน ปัจจุบันนี้มียาสีฟันหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายสูตรที่ผลิตออกมาให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้กันอย่างมากมาย แต่…จะรู้ได้อย่างไรว่ายาสีฟันแบบไหนจึงจะดีและเหมาะสมกับสุขภาพฟันของเรา

รู้จักยาสีฟัน

       ยาสีฟัน จัดเป็นเครื่องสำอางที่ไว้ทำความสะอาดช่องปากและฟัน ซึ่งยาสีฟันแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
       1. ยาสีฟันชนิดหลอด ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวข้นแบบครีม (Tooth paste) และของเหลวข้นแบบใส (Gelatine or Translucent tooth paste)
         ส่วนประกอบ
          • สารขัดสี เป็นส่วนประกอบที่ช่วยทำความสะอาดผิวฟัน ซึ่งจะต้องใช้ใน ยาสีฟันทุกชนิด แล้วแต่ว่าจะใช้สารใดเป็นสารขัดสี ซึ่งมักเป็นสารประกอบของพวก อลูมิเนียม แคลเซียม หรือ ซิลิก้า เป็นต้น
          • สารขัดเงา เป็นตัวขัดและเคลือบเงาให้แก่ตัวฟัน ทำให้ฟันลื่น เช่น Calcium phosphate เป็นต้น
          • สารลดแรงตึงผิว เป็นตัวช่วยทำความสะอาด โดยขจัดคราบสกปรกและเศษอาหารจากปากและยังเป็นตัวที่ทำให้เกิดฟองด้วย เช่น Sodium Lauryl Sulfate เป็นต้น
          • สารปรุงแต่งกลิ่นหรือรส เช่น Peppermint oil, Menthol เป็นต้น
          • สารอื่นๆ ที่ทำให้ยาสีฟันคงรูปได้ดี เช่น สารให้ความชื้นแก่เนื้อยาสีฟัน สารเพิ่มความหนืด สารเพิ่มเนื้อยาสีฟันและสารกันเสีย เช่น Sorbitol, Gumtragacath, Sodium benzoate เป็นต้น
          • สารอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น การใส่สารฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ สารช่วยลดแผ่นคราบจุลินทรีย์ สารช่วยลดการเกิดคราบหินปูน เป็นต้น
        2. ยาสีฟันชนิดผง (Tooth powder) มีส่วนประกอบของสารขัดสีมากที่สุด ผู้ใช้ยาสีฟัน ประเภทนี้เป็นประจำ ควรระวังเพราะอาจทำให้ผิวเคลือบฟันสึกได้
          ส่วนประกอบ
          • วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต จะได้มาจากธรรมชาติ เช่น ดินสอพอง แป้งนวล ข่อย เกลือผง เป็นต้น

เลือกใช้ตามความต้องการ

    การเลือกใช้ยาสีฟันนั้นควรใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ตามชนิดของยาสีฟัน ได้แก่
       1 ยาสีฟันช่วยป้องกันฟันผุ จะใช้ได้ผลดีเมื่อใช้เป็นประจำ สารที่ออกฤทธิ์ช่วยป้องกันฟันผุ ได้แก่ ฟลูออไรด์ ถึงแม้ว่าไม่สามารถป้องกันฝันผุได้ 100% แต่สามารถลดอัตราการเกิดฟันผุได้ประมาณ 20 –35 %
       2 ยาสีฟันช่วยลดอาการเสียวฟัน ยาสีฟันชนิดนี้จะลดอาการเสียวฟันที่เกิดจากการสึกของเนื้อฟันหรือเหงือกร่นได้บ้าง แต่จะไม่สามารถลดอาการเสียวฟันเนื่องจากฟันผุ
       3 ยาสีฟันที่ใส่สารกำจัดคราบบุหรี่ จะประกอบด้วยผงขัดที่หยาบกว่าปกติ
       4 ยาสีฟันที่มีเอนไซม์ จะมีการใช้เอนไซม์เพื่อช่วยลดแผ่นคราบจุลินทรีย์ หรือคราบหินปูน
       5 ยาสีฟันสำหรับเด็ก ส่วนใหญ่จะปรุงแต่งด้วยกลิ่น สี รส เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กและดึงดูดให้เด็กๆ อยากแปรงฟัน

       การเลือกใช้ยาสีฟัน ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสมของฟัน ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้มีปัญหาฟันผุ ก็ควรเลือกใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ส่วนยาสีฟันสำหรับเด็ก ทันตแพทย์มักแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับคนทั่วไปที่ฟันแข็งแรง ควรจะเลือกใช้ตามความพอใจ โดยใช้หลักว่ายาสีฟันนั้นเมื่อใช้แล้วทำให้ผิวเคลือบฟันสะอาด กำจัดเศษอาหาร คราบสีและแผ่นคราบจุลินทรีย์ได้ดี ไม่ระคายเคืองเยื่ออ่อนในช่องปาก ไม่ทำให้เหงือกเป็นแผล รวมทั้งมีกลิ่นและรสถูกใจผู้ใช้ หรืออาจจะคำนึงถึงเรื่องราคาอีกประการหนึ่งด้วย

เลือกใช้อย่างปลอดภัย

       1. เลือกยาสีฟันให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ เพราะในปัจจุบันยาสีฟันมีส่วนผสมของสารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษอื่นๆ มากมาย เช่น ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน ยาสีฟันที่มีเอนไซน์
       2. เมื่อเลือกชนิดของยาสีฟันที่เหมาะสมกับผู้ใช้แล้ว ควรพิจารณาฉลากของยาสีฟันว่า มีฉลากครบถ้วนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือไม่ โดยยาสีฟันมีข้อกำหนดต่างๆ กัน ดังนี้
            2.1 ยาสีฟันทั่วไป กำหนดว่าต้องมีชื่อยาสีฟัน ชื่อผู้ผลิตและแหล่งผลิตที่ชัดเจน, วิธีใช้และปริมาณสุทธิ, แสดงบนฉลากเป็นภาษาไทยอย่างชัดเจน
            2.2 ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนผสม นอกจากจะต้องแสดงฉลากเหมือนกับยาสีฟันทั่วไปแล้ว ยังต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับ และคำเตือน “เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ควรใช้ปริมาณยาสีฟันแต่น้อย ไม่ควรกินหรือกลืน” อีกด้วย
            2.3 ยาสีฟันที่มีเอนไซม์เป็นส่วนผสม ต้องแสดงฉลากเหมือนยาสีฟันทั่วไป และต้องแจ้งปริมาณและชนิดของเอนไซม์ที่ใช้ระบุ วันเดือนปี ที่หมดอายุ (Expired date) ของเอนไซม์ยาสีฟัน
       3. เลือกยาสีฟันที่ไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใดๆ กับปากและฟัน เช่น ยาสีฟันบางชนิดมีส่วนผสมของสารขัดสีที่มากเกินไป ทำให้รู้สึกว่าฟันสึกลง ก็ควรเปลี่ยนไปเลือกใช้ ยาสีฟันที่ให้การขัดสีที่เหมาะสมกับฟันตัวเอง เป็นต้น


บีบ…บีบ ยาสีฟัน

         ยังมีผู้เข้าใจผิดว่าฟันสะอาดได้จะต้องบีบยาสีฟันให้ยาวเต็มพื้นที่แปรงตามที่เห็นในโฆษณา แต่แท้ที่จริงแล้วเพียงแค่บีบยาสีฟันให้ยาวประมาณครึ่งเซนติเมตร หรือใช้ในปริมาณเท่าเม็ดถั่วเขียว ก็เพียงพอที่จะขจัดคราบอาหารและทำให้ฟันสะอาดได้แล้ว หากบีบยาสีฟันมากไปนอกจากสิ้นเปลืองแล้วอาจเกิดปัญหาได้ เช่น เด็กที่ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ หากเด็กกินหรือกลืนยาสีฟันโดยไม่ได้ตั้งใจ และได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปอาจนำมาซึ่งปัญหาฟันตกกระ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทันตแพทย์ในปัจจุบันกังวลกันมาก

ประโยชน์ของฟลูออไรด์

        ฟลูออไรด์เป็นส่วนเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับฟันและป้องกันฟันผุ โดย
        1. ฟลูออไรด์ที่กินเข้าไปจะถูกดูดซึมและเข้าไปอยู่ในเลือด และถูกนำไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน ในการสร้างฟันฟลูออไรด์จะรวมตัวกับแคลเซียมและฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบฟลูออร์แอปาไทต์ อยู่ในตัวฟัน จึงทำให้ฟันแข็งแกร่งไม่เกิดโรคฟันผุง่าย

        2. ฟลูออไรด์ที่ทำโดยตรงที่ผิวเคลือบฟัน จะแทรกเข้าไปในผิวเคลือบฟันบางส่วนจะรวมกับแร่ธาตุในผิวเคลือบฟัน กลายเป็นสารประกอบฟลูออร์แอปาไทต์อยู่ในผิวเคลือบฟัน ทำให้ฟันทนทานต่อกรดยิ่งขึ้น

การใช้ฟลูออไรด์

        การใช้ฟลูออไรด์ให้ได้ผลดีในการป้องกันฟันผุจะต้องใช้ทั้งชนิดกิน และชนิดทาเฉพาะที่ในเวลาที่เหมาะสมโดยให้แพทย์หรือทันตแพทย์เป็นผู้แนะนำเท่านั้น คือ
        1. เด็กแรกเกิด – 2 ปี ขณะที่ยังไม่มีฟันในช่องปาก ให้กินฟลูออไรด์ชนิดน้ำ วันละ 0.25 มิลลิกรัม เมื่อฟันขึ้นแล้วและเคี้ยวอาหารเป็น จึงเปลี่ยนเป็นชนิดเม็ดในปริมาณเท่ากัน โดยให้เคี้ยวหรืออมยาให้ค่อยๆ ละลายในปากจะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งเฉพาะที่ และดูดซึมผ่านทางเดินอาหาร
        2. อายุ 2 –3 ปี ให้กินฟลูออไรด์ชนิดเม็ดวันละ 0.5 มิลลิกรัม โดยให้เคี้ยวหรืออมให้นานๆ ก่อนกลืน เวลาที่เหมาะสมที่ให้กินคือก่อนเข้านอน
        3. อายุ 3 – 13 ปี ให้กินฟลูออไรด์ชนิดเม็ด วันละ 1 มิลลิกรัม โดยให้เคี้ยวหรืออม เช่นเดิม และให้ทันตแพทย์เคลือบฟันด้วยน้ำยาฟลูออไรด์ซึ่งทันตแพทย์จะใช้น้ำยาที่มีความเข้มข้น 1% ทาฟันเด็ก การทาฟลูออไรด์นี้ควรทำปีละครั้ง และต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้ทำให้เท่านั้น ห้ามใช้น้ำยาฟลูออไรด์ความเข้มข้น 1% นี้กับลูกหลานด้วยตนเอง

          ฟลูออไรด์ เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปเป็นปริมาณมากๆ จะเป็นสารที่มีทั้งประโยชน์และโทษ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุข จึงประกาศกำหนดให้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เป็นเครื่องสำอางที่ควบคุมซึ่งผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการผลิตหรือนำเข้าแล้วแต่กรณี โดยจะต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอาง โดยกำหนดให้ใช้ไม่เกิน 0.11% โดยคิดในรูปของ แอกทีฟ ฟลูออไรด์ ไออน (1100 ส่วนในล้านส่วน) และจะต้องแสดงคำเตือน “เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ควรใช้ปริมาณแต่น้อยไม่ควรกินหรือกลืน” ไว้ที่ฉลาก สำหรับฟลูออไรด์ ที่นิยมใช้ในยาสีฟัน ได้แก่ โซเดียมฟลูออไรด์ ฟอสเฟต MEP, แสตนนัสฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ในน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟัน

        น้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนผสม เมื่อใช้สม่ำเสมอ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของฟันได้ เพราะฟลูออไรด์ในช่องปากและบริเวณรอบผิวเคลือบฟันจะลดการเกาะติดของโปรตีนจากน้ำลายบนผิวเคลือบฟันทำให้ลดการเกิดแผ่นคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของบักเตรีและเศษอาหารที่ทำให้เกิดกรดมาทำลายฟัน

        ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำยาบ้วนปากโดยทั่วไปจะเป็น 0.02 – 0.1% ส่วนยาสีฟันจะมีฟลูออไรด์ประมาณ 0.1% ทันตแพทย์บางท่านแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นประจำ และใช้น้ำยาบ้วนปากสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 5 นาที

        มีทันตแพทย์บางท่านมีความเห็นว่าแม้ว่าฟลูออไรด์ในน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันจะมีส่วนช่วยให้ฟันแข็งแรงไม่ผุง่าย แต่ถ้าแปรงฟันถูกวิธี ไม่ปล่อยให้มีน้ำตาลหรือเศษอาหารค้างอยู่บนผิวเคลือบฟันหรือในช่องปากนานๆ และฟันไม่มีปัญหา คือไม่กร่อนหรือผุง่ายแล้ว การใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ผสมอยู่ก็ไม่จำเป็น ในทางกลับกันหากบุคคลที่ฟันผุง่าย โครงสร้างฟันไม่แข็งแรง ฟลูออไรด์ในยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากจะช่วยให้ฟันผุลดน้อยลงได้












ขอบคุณข้อมูลจาก
//women.thaiza.com


Create Date : 17 ธันวาคม 2553
Last Update : 17 ธันวาคม 2553 9:05:48 น. 0 comments
Counter : 1416 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
17 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.