สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
Foot notes เหตุเกิดที่เท้า

แต่ละวัน “เท้า” ต้องแบกร่างกายเราไปไหนมาไหนด้วยหลายพันก้าว แล้วลองคิดดูว่าถ้าเท้าไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ชีวิตเราจะลำบากขนาดไหน เพราะฉะนั้นหันมาเอาใจใส่เท้ากันดีกว่า

รู้จักเท้ากันหน่อย
     อย่างที่บอกว่า แต่ละวันเท้าต้องพาเราก้าวเดินไปโน่นมานี่หลายพันก้าว แต่พอคิดถึงเรื่องสุขภาพ เท้ากลับเป็นสิ่งที่คนไม่ค่อยให้ความสำคัญ ชนิดที่กว่าจะหันมาสนใจก็เกือบจะเดินไม่ได้อยู่แล้ว อย่างชาวออสเตรเลีย ซึ่ง 1/5 มีอาการเจ็บเท้า แต่มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนร้อยละ 85 กลับเพิกเฉย ถ้ามีการสำรวจข้อมูลของคนไทยบ้างก็ไม่น่าจะต่างกันนัก เห็นได้จากพฤติกรรมการสวมรองเท้าของสาวไทย ซึ่งยังนิยมชมชอบรองเท้าส้นสูงกันอยู่มาก ทั้งๆ ที่ส้นสูงจัดว่าเป็นศัตรูสำคัญต่อเท้าและสุขภาพของผู้หญิงทีเดียว แต่นอกจากภัยของรองเท้าส้นสูงที่ HealthToday เคยนำเสนอไปแล้วในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การสวมใส่รองเท้าส้นเตี้ยก็ใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป ส่วนจะไม่ปลอดภัยอย่างไรนั้น เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง

      แต่ก่อนอื่นเราลองมาทำความรู้จักกับอวัยวะที่ต้องทำงานหนักอย่างเท้ากันดูหน่อย เพราะคงไม่ค่อยมีใครรู้หรอกว่า เท้าประกอบไปด้วยกระดูก 26 ชิ้น ข้อต่อ 33 ข้อ และเส้นเอ็นกว่า 100 เส้น ยังไม่รวมกล้ามเนื้อ และเอ็นที่ยึดกระดูก เท้าจึงเป็นผลงานทางวิศวกรรมอันน่ามหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งทีเดียว ไม่เฉพาะแค่รูปลักษณ์เท่านั้น เพราะมีการค้นพบมาตั้งแต่ชาวอียิปต์โบราณแล้วว่า การกดจุดสะท้อนเท้าจะช่วยรักษาอาการป่วยไข้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ซึ่งตรงกับผลการศึกษายุคใหม่ที่ยืนยันว่า การนวดเท้าช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ อาการไม่สบายภายในช่องท้อง อาการปวดหลัง และอาการก่อนมีประจำเดือนได้ เพราะเท้ามีปุ่มรับความรู้สึกจำนวนนับพันปุ่มปกคลุมอยู่และทำการส่งสัญญาณต่างๆ ไปยังสมองส่วนที่อยู่ติดกับส่วนของสมองที่ควบคุมเรื่องเพศ อธิบายกันมาขนาดนี้แล้วสาวๆ เริ่มรู้สึกว่า ควรหันมาดูแลรักษาเท้าให้มากขึ้นกันบ้างไหมนี่

ภัยจากรองเท้าส้นเตี้ย
     รองเท้าส้นเตี้ยที่อันตรายต่อสุขภาพเท้าของสาวๆ คือ รองเท้าส้นเตี้ยที่ดูนิ่มๆ และดูเหมือนว่าจะสวมสบายอย่างสไตล์รองเท้าบัลเล่ต์หรือรองเท้าแตะเนื่องจากว่ารองเท้าแบบนี้มักจะไม่มีอะไรมารองรับบริเวณอุ้งเท้าที่โค้งงอ ทำให้อุ้งเท้าเกิดอาการตึง และหากว่าเราใส่รองเท้าลักษณะนี้นานๆ เนื้อเยื่ออาจจะค่อยๆ เกิดการฉีกขาด จนทำให้เกิดอาการเจ็บแปลบทุกครั้งที่ย่างก้าว ที่รู้จักกันว่าเป็นอาการอักเสบของพังผืดที่ฝ่าเท้า อันเป็นอาการหลักที่นำผู้หญิงไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเท้ามากที่สุด เพราะฉะนั้นคนที่ชอบใส่แต่รองเท้าส้นเตี้ยอาจจะต้องมองหารองเท้าที่มีการหนุนบริเวณความโค้งของอุ้งเท้าและส้นเท้ามาใส่ เพื่อทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล
โดยเราอาจจะต้องทำการทดสอบรองเท้าดูก่อนเพื่อความมั่นใจ ด้วยการใช้มือข้างหนึ่งจับที่หัวรองเท้าอีกข้างจับที่ส้น แล้วลองพับหรือบิดรองเท้าดู ถ้ารองเท้าสามารถบิดเป็นเกลียวหรือพับครึ่งได้ก็จงมองหาคู่ใหม่เสียโดยดี เพราะรองเท้าที่เป็นมิตรกับเท้าควรจะมีความยืดหยุ่นเฉพาะบริเวณนิ้วเท้า และบริเวณที่เท้าสามารถงอได้ตามธรรมชาติเท่านั้น

ขอพื้นที่ให้นิ้วเท้าได้หายใจบ้า
     กฎอีกข้อในการเลือกรองเท้า นอกจากการไปซื้อรองเท้าในช่วงเวลาเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่เท้ามีการขยายตัวมากที่สุดแล้วก็คือ ควรวัดขนาดรองเท้าใหม่ หากว่าน้ำหนักตัวของคุณขึ้นหรือลง หรืออายุมากขึ้น หรือว่าอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ รวมถึงควรเลือกขนาดรองเท้าที่มีพื้นที่ว่างให้นิ้วเท้าที่ยาวที่สุดได้ขยับเขยื้อนประมาณ 1 เซนติเมตร ขณะที่ด้านหน้าของรองเท้าควรมีความกว้างเท่ากับเท้าของเรา เพื่อนิ้วเท้าจะได้ไม่ถูกบีบอยู่เป็นนานๆ จนกลายโรคนิ้วหัวแม่เท้าเกออกด้านนอก หรือ bunion ได้

เลือกซื้อรองเท้าครั้งหน้า อย่าลืมมองหาอะไรที่มากกว่าความงาม เพื่อสุขภาพเท้าของตัวเราเอง







ข้อมูลจาก
//www.healthtoday.net








Create Date : 06 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2554 12:42:11 น. 0 comments
Counter : 881 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.