สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ตั้งครรภ์อย่างไร .... แท้งยาก

ว่ากันว่าอายุ ครรภ์ 3 เดือนแรกนั้นเปราะบางและเสี่ยงต่อการ "แท้ง" หมอสูติฯ มีคำแนะนำและวิธีปฏิบัติตัวมาฝาก เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนก้าวพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปได้ด้วยดี

ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่ก็คงฝันถึงวันที่จะได้เห็นหน้าลูก แต่ก็มีหลายรายต้องฝันสลายเพราะเกิดการแท้ง การแท้งที่พบบ่อยที่สุดก็คือในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งจะพบได้ถึงร้อยละ 10-15 ของการตั้งครรภ์ทั่วไป ในบางรายการแท้งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะแรกๆ จนไม่รู้ตัวเลยว่าได้แท้งบุตรไปแล้ว เพราะคิดว่าเป็นประจำเดือนตามปกติ ถ้าสามารถผ่านพ้นช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ไปได้ โอกาสแท้งก็จะลดน้อยลงไปมาก

เราลองมาดูกันว่าสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เกิดการแท้ง

สารพัดเหตุให้แท้งช่วงท้องอ่อน ๆ

มนุษย์เรามีการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ผู้ที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้นที่สามารถจะอยู่รอดต่อไปได้ ตัวอ่อนที่ไม่แข็งแรง หรือมีความผิดปกติจะไม่สามารถเจริญเติบโตและจะถูกร่าง กายกำจัดออกไปตั้งแต่ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นสาเหตุของการแท้งในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ที่พบบ่อยที่สุดกว่าร้อยละ 50 คือตัวอ่อนมีความผิดปกติหรือมีความพิการที่รุนแรง โดยเฉพาะความผิดปกติของโครโมโซม ถ้าขืนให้เติบโตต่อไป ก็คงกลายเป็นมนุษย์ประหลาดหรือมนุษย์พันธุ์ใหม่อย่าง แน่นอน

สาเหตุรอง ๆ ลงมาที่ทำให้เกิดการแท้งในช่วงนี้ ได้แก่ รังไข่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนบำรุงเยื่อบุโพรงมดลูกให้สมบูรณ์ในระยะ 2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ก่อนที่รกจะทำหน้าที่ต่อไปในเดือนที่ 3 มดลูกที่มีรูปร่างผิดปกติหรือมีเนื้องอกมดลูกร่วมด้วย โรคบางอย่าง เช่น โรคของต่อมไทรอยด์และเบาหวาน ถ้าไม่ได้รับการควบคุมให้ดีพอ ก็ทำให้แท้งได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้อชนิด ต่าง ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคไทฟอยด์ โรคมาลาเรีย โรคหัดหรือแม้แต่โรคท้องร่วง

ยา หรือสารเคมีบางอย่าง การได้รับรังสีเอ็กซเรย์ในปริมาณสูง คุณแม่ที่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่จัด การได้รับอุบัติเหตุที่รุนแรง รวมไปถึงมารดาที่มีสุขภาพกาย และจิตใจที่อ่อนแอก็ล้วนเกี่ยวข้องกับการแท้งใน ระยะแรกของการตั้งครรภ์ทั้งสิ้น

ท้องให้ปลอดภัย..ห่างไกลแท้ง

"ภาวะแท้ง" นอกจากมีอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่โดยตรงแล้ว ยังมีผลกระทบต่อจิตใจของคุณแม่เป็นอย่างมากด้วย คุณแม่จะรู้สึกสูญเสีย สิ่งที่มีค่าในชีวิตไปอย่างยากที่จะหาสิ่งใดมาทดแทนได้ นอกจากการได้มีโอกาสตั้งครรภ์ใหม่เท่านั้น และเมื่อโอกาสมาถึงอีกครั้งก็จะรู้สึกกังวล เครียด และกลัวที่จะเกิดการแท้งอีก การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมในระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก จะช่วยให้คุณแม่สามารถผ่านช่วงเปราะบางที่สุด ของการตั้งครรภ์นี้ไปได้

ถ้าพิจารณาจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการแท้งในช่วงแรกแล้ว จะเห็นว่าสาเหตุจากความผิดปกติของโครโมโซม เราคงไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ นอกจากพยายามตรวจวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุด จะได้ไม่ต้องตั้งครรภ์ให้ยาวนาน ต่อไปโดยไม่จำเป็น สาเหตุบางอย่าง ถึงตรวจวินิจฉัยได้ก็ต้องรอแก้ไขหลังจากแท้งไปเรียบร้อยแล้ว เช่น ภาวะเนื้องอกมดลูก หรือมดลูกที่มีรูปร่างผิดปกติ ทำให้เกิดการแท้งบ่อย ๆ ก็คงต้องผ่าตัดแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป

แต่สาเหตุของการแท้งบางอย่าง อาจเกิดจากการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสมในระหว่าง ตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้ ดังต่อไปนี้ครับ...

ควรตรวจเช็คสุขภาพให้ดีตั้งแต่ก่อน ตั้งครรภ์หรือทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคไทรอยด์หรือเบาหวาน ก็ควรได้รับการดูแลควบคุมโรคให้อยู่ในภาวะปกติอย่างดีที่สุด

หลีกเลี่ยงการเดินทางไกลหรือสัมผัสคนที่เป็นโรค เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนหรืออุบัติเหตุที่รุนแรง รวมทั้งการได้รับเชื้อโรคจากแหล่งแพร่โรคต่างๆ

ไม่ควรซื้อยามาทานเองในระหว่างตั้งครรภ์ โดยขาดความรู้หรือไม่ได้ปรึกษาแพทย์

งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วย

พยายามพักผ่อนและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้พอเพียง

ทานยาบำรุงที่แพทย์จัดมาให้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสตลอดการตั้งครรภ์
การฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จะทำให้คุณแม่ได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมทั้งได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง จะช่วยให้ลดอุบัติการของการแท้งลงได้

โภชนาการสำคัญ

การเจริญเติบโตของทารกในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์มีความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่มีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ ถ้าเกิดความบกพร่องของโภชนาการในช่วงนี้ จะส่งผลต่อการสร้างและการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ อาจทำให้เกิดความพิการ หรือการแท้งตามมาได้

จากงานวิจัยทางการแพทย์ทั่วโลกสรุปได้ว่า การที่ทารกได้รับโภชนาการไม่เพียงพอ จะมีผลต่อสุขภาพในบั้นปลายของชีวิตได้ เช่น ตับอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ทำให้อายุการทำงานสั้นลงและเกิดเป็นโรคเบาหวานเมื่ออายุมากขึ้นได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีพันธุกรรมของโรคนี้ติดตัวมาเลย การที่ได้รับโภชนาการไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจของทารกต้องพยายามปั๊มเอาอาหารและ ออกซิเจนจากแม่เพิ่มขึ้น เพื่อนำมาสูบฉีดให้เพียงพอต่อร่างกาย การที่หัวใจทารกต้องทำงานหนักตั้งแต่อยู่ในครรภ์ อาจจะมีผลทำให้เป็นโรคความ ดันโลหิตสูงและโรคหัวใจต่อไปในภายภาคหน้าด้วย

ออกกำลังกายได้ไหมใน 3 เดือนแรก

คำกล่าวที่ว่า "กีฬา ๆ เป็นยาวิเศษ" ยังใช้ได้ดีเสมอแม้แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในระหว่างตั้งครรภ์สามารถเริ่มได้ทันทีเมื่อหาย จากอาการแพ้ท้องแล้ว ส่วนใหญ่แนะนำให้เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ จากการศึกษาในต่างประเทศยืนยันว่า แม้แต่การออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมาก ๆ ก็ไม่มีผลต่อการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด หรือความพิการของทารก รวมไปถึงสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย แต่กลับพบว่า คุณแม่ที่ออกกำลังกายมากพอจะส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองได้ดี กว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ประโยชน์ที่คุณแม่จะได้รับจากการออกกำลังกายมีมากมาย เช่น ทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ช่วยควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากไป และทำให้สามารถลดลงสู่ปกติได้ง่ายหลังคลอด กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและสามารถเบ่งคลอดได้ดีขึ้น กระเพาะอาหารและลำไส้มีการเคลื่อนไหวทำงานดีขึ้น ช่วยให้จิตใจสดชื่น ลดความเครียดตลอดการตั้งครรภ์

สำหรับลูกก็พลอยได้รับอานิสงค์จากการออกกำลังกายของคุณแม่ไปด้วย คือนอกจากจะมีพัฒนาการทางสมองที่ดีในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตแล้ว ยังช่วยทำให้ลูกไม่อ้วนจนเกินไป ช่วยให้คลอดง่ายขึ้น และยังมีผลป้องกันโรคอ้วนในวัยเด็กไปจนอายุ 5 ขวบ นอกจากนี้ในขณะที่แม่ออกกำลังกายจะมีการใช้ออกซิเจนไปบ้าง ทำให้ลูกทนต่ออันตรายจากการขาดออกซิเจน ในระหว่างการคลอดได้ดีขึ้นด้วย

การออกกำลังกายในบ้านเรา ที่แนะนำให้คุณแม่ปฏิบัติกันส่วนใหญ่จะเป็นการออกกำลังกายเพียงเบา ๆ หนักไปทางกายบริหารเสียมากกว่า เช่น การนั่งขัดสมาธิ การนั่งยอง ๆ แยกเข่าออกเพื่อให้กระดูกเชิงกรานขยาย การยกแขนยกขา เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและการหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น การออกกำลังกายแบบนี้จะส่งผลดีต่อเฉพาะคุณแม่โดยตรงเท่านั้น แต่ถ้าจะให้ลูกได้รับประโยชน์ด้วย จะต้องออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงพอสมควร เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิคต่อเนื่องกันอย่างน้อย 20 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับคุณแม่ที่เคยออกกำลังกายมาก่อน การตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้นานครั้งละ 40-60 นาที ได้เลย หรือจนเริ่มรู้สึกเหนื่อย แต่ต้องไม่ใช้แรงเต็มที่นะครับ แค่ 60% ของการออกกำลังกายตามปกติ



ขอบคุณข้อมูลจาก
//variety.teenee.com/
foodforbrain/28462.html


Create Date : 30 สิงหาคม 2553
Last Update : 30 สิงหาคม 2553 8:57:55 น. 1 comments
Counter : 1107 Pageviews.

 
สวัสดีครับคุณกบ
แวะมาหาความดูแลสุขภาพ
แวะมาไม่ผิดหวังเลย สาระน่ารู้มากมาย
อ่านไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งได้ยาวิเศษ ไว้ดูและสุขภาพด้วยครับ


โดย: the mynas วันที่: 30 สิงหาคม 2553 เวลา:21:11:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.