สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
บทบาทและประโยชน์ของสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor markers)

มะเร็งเป็นโรคที่ร้ายแรงและสามารถเป็นได้โดยที่ไม่ได้มีอาการให้ทราบ
แต่แรก บางรายเป็นจนร้ายแรงที่ขั้นสุดท้ายจึงตรวจพบได้ วันนี้มีวิธี
การตรวจโรคมะเร็งมาเป็นความรู้กันคะ


Tumor markers คืออะไร ?

คือตัวบ่งชี้ ทางชีวเคมีที่จะบอกว่ามีมะเร็งหรือไม่ อาจเป็นสารที่ไม่พบในภาวะปกติ หรือเป็นสารปรกติในร่างกายเรา แต่มีปริมาณเพิ่มสูงมากผิดไปจากปกติ สามารถตรวจพบได้ทั้งในเลือด หรือสารคัดหลั่ง (biological fluid)

• สารที่ไม่พบในภาวะปกติ และเป็นสารที่ผลิตมาจากเซ,มะเร็งโดยตรง เช่น CEA , AFP,PSA, CA 19-9 เป็นต้น
• สารที่มีอยู่แล้วในร่างกายซึ่งผลิตโดยเซลปกติ แต่กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อ เซลนั้นกลายเป็นเซลมะเร็ง สารดังกล่าวได้แก่ฮอร์โมนต่างๆ เช่น HCG, Calcitonin, ACTH เป็นต้น หรือเอนไซม์เช่น PAP, ALP, LDH, GGT เป็นต้น


การจัดตารางเวลาสำหรับการตรวจ Tumor markers

สำหรับผู้ที่เริ่มตรวจพบแล้วหรือผู้ที่เริ่มต้นจะทำการรักษา ควรตรวจวัด tumor markers ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้

• ก่อนการผ่าตัด หรือก่อนเริ่มต้นให้การรักษาใดๆ เพื่อเก็บเป็นค่าเริ่มต้นของผู้ป่วยแต่ละราย
• ภายหลังการผ่าตัด

ปีที่ 1 และ 2 ควรตรวจทุกเดือนในระยะต้น จนกระทั่งค่าลดลงมามากแล้ว จึงเปลี่ยนมาตรวจทุก 3 เดือน
ปีที่ 3 - 5 ควรตรวจปีละ 1 - 2 ครั้ง
ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป ตรวจทุกปี ปีละครั้ง

ตารางเวลาข้างต้นเป็นเพียงข้อแนะนำทั่วๆ ไป เนื่องจากระยะเวลาของการเกิดโรคมะเร็งแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่การหมั่นตรวจเป็นระยะก็จะช่วยติดตามผลการรักษา และการตรวจพบการกลับมาเป็นใหม่ได้รวดเร็ว ช่วยให้การป้องกัน รักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

• ซึ่งถ้าตรวจได้ค่าเริ่มต้นมีค่าสูง แล้วเริ่มมีระดับลดลงอย่างรวดเร็วหลังการรักษา จะช่วยในการบ่งชี้ว่าการผ่าตัดได้ผล
• ถ้าค่าลดลงเพียงเล็กน้อยตามด้วยค่าที่กลับสูงขึ้นมาใหม่ในภายหลัง แสดงว่า การผ่าตัดรักษาไม่ได้ผลการที่มีค่า tumor markers สูงเพิ่มขึ้นใหม่หลังการให้เคมีบำบัดรอบแรกๆ เป็นสัญญาณบอกให้หยุดยา ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนวิธีการรักษา


เทคนิคการตรวจ tumor markers

ควรใช้วิธีการทดสอบที่มีความไวสูง ซึ่งจะช่วยสามารถตรวจปริมาณ tumor markers ที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยได้ ชุดทดสอบควรมีความจำเพาะต่อ tumor markers ให้มากที่สุด วิธีที่เหมาะสมในปัจจุบันจึงเป็น Immunoassay โดยอาจเป็นวิธี RIA / EIA /CICA

การรบกวนผลการทดสอบ ในปฏิกริยา immunoassay ตามทฤษฏีแล้วจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการรบกวนของผลทดสอบได้ ซึ่งมีหลักที่ควรคำนึงถึงคือ

• High dose Hook Effect
เมื่อใช้ตรวจหาแอนติเจนที่มีความเข้มข้นสูงมากเกินไป จะเกิดผลต่ำปลอม ซึ่งกรณีนี้ปฏิกริยาการจับกันระหว่าง แอนติเจน-แอนติบอดีย์ถูกกีดขวาง โดยแอนติเจนที่มีปริมาณสูงมากเกินไป ซึ่งวิธีแก้ไขโดยการเจือจางตัวอย่างที่มีแอนติเจนสูง ก่อนทำการทดสอบ
• Heterophile antibodies
ในตัวอย่างทดสอบบางรายมี heterophile antibodies อยู่ในน้ำเหลือง โดยเฉพาะ human anti mouse antibodies ซึ่งวิธีการทดสอบส่วนใหญ่จะใช้ monoclonal antibodies จากหนูซึ่งจะทำให้เหมือนเกิดปฏิกริยาขึ้น ถึวแม้ จะไม่มีแอนติเจนในน้ำเหลืองเลย ทำให้ได้ค่าผลบวกปลอมได้


สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor markers)

1. เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค

เนื่องจาก tumor marker ส่วนใหญ่มีความไวสูงจึงสามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ควรจะใช้ร่วมหรือเสริมกับการตรวจอื่นๆ เช่น การใช้ CA19-9 ร่วมกับการตรวจด้วยอุลตราซาวนด์ หรือเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ จะสามารถช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตับอ่อนได้ดีขึ้น ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ tumor marker มากกว่า 1 ชนิดในการช่วยวินิจฉัยโรค อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่าการตรวจวัด tumor marker นั้น อาจตรวจได้ผลในลักษณะผลบวก หรือผลลบปลอมได้ เพราะมะเร็งในช่วงเริ่มต้นบางชนิด ระดับ tumor marker ไม่สูงนัก และพอให้ค่าขึ้นสูงก็ต่อเมื่อเกิดการแพร่กระจายของมะเร็งไปมากแล้ว

2. เพื่อการพยากรณ์โรค

สามารถใช้ในการช่วยพยากรณ์ความรุนแรงของโรค เป็นประโยชน์ในการช่วยแพทย์ในการตัดสินใจเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย เช่น ควรให้การรักษาโดยการผ่าตัด หรือโดยการให้รังสีรักษาหรืออาจใช้เคมีบำบัด เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องตรวจระดับ tumor marker ในผู้ป่วยทุกรายก่อนเริ่มต้นให้การรักษา

3. การตรวจคัดกรองโรค (Screening Test)

คุณสมบัติของ tumor marker ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการตรวจกรองเพียงอย่างเดียว แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีความไวสูงในการตรวจวินิจฉัยโรคแต่ก็ยังมีความจำเพาะต่ำ เช่น ในผู้ป่วยมะเร็งตับขั้นต้น แม้จะตรวจพบค่า AFP สูงผิดปกติถึง 95% ของผู้ป่วย แต่ค่า AFP ก็สูงผิดปกติได้ในโรคอื่นๆ ของตับ เช่น ตับอักเสบจากการดื่มเหล้า โรคตับแข็ง เป็นต้น แต่ก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี่ด้านอิมมูโนวิทยาอย่างไม่หยุดยั้ง อาจสามารถใช้ในการตรวจกรองโรคมะเร็งได้ในเร็วๆ นี้

4. การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา

ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดชองการตรวจ tumor marker คือ การติดตามผู้ป่วยมะเร็งในระหว่าง และภายหลังการรักษา ควรมีการตรวจเป็นระยะๆ ทุก 3-6 เดือน หรือถี่กว่านั้นในระยะแรก ค่าที่ตรวจได้ควรนำไปเปรียบเทียบกับค่าที่ได้ก่อนให้การรักษา หากการรักษานั้น ได้ผลดีจะพบว่าระดับ tumor marker ลดลงจนกลับมาสู่ระดับปกติ หากระดับ marker ยังให้ค่าสูงอยู่แสดงว่าการรักษาไม่ได้ผลควรพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษา

5. การสืบค้นโอกาสการเกิดมะเร็งซ้ำและการกระจายของโรค

ผู้ป่วยมะเร็งทุกรายแม้ว่าจะรักษาจนหายหรือโรคสงบลงแล้ว ควรได้มีการตรวจวัดระดับ tumor marker อย่างน้อยทุก 6 เดือน ผู้ป่วยที่มีระดับปกติแล้ว ต่อมาเริ่มมีระดับสูงขึ้น ควรตรวจซ้ำภายใน 1 เดือน ถ้าพบว่าค่ายังสูงอยู่ให้ตรวจร่วมกับวิธีอื่นๆ ในการวินิจฉัยว่า เกิดโรคว้ำหรือเกิดการกระจายตัวของมะเร็งหรือไม่ tumor marker ที่ดี จะช่วยวินิจฉัยได้หลายเดือนก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก //www.thailabonline.com



Create Date : 12 พฤษภาคม 2552
Last Update : 12 พฤษภาคม 2552 8:58:22 น. 0 comments
Counter : 1192 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
12 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.